o วันที่ 3 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตาม
มาตรฐาน พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
- ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
- ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547
- ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2350-2551 ตามประกาศกระทรวง
อุตสาหกรรม ฉบับที่ 3842 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิก และกำหนด
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6 ลงวันที่ 4 เมษายน 2551
o วันที่ 3 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่อง
ยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
- ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
- ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต้องเป็นไปตาม
มาตรฐาน พ.ศ. 2542
- ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.
2315-2551 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3841 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.
2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดเฉพาะด้านความปลอดภัย :
สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 4 ลงวันที่ 4 เมษายน 2551
o วันที่ 3 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการมาตราการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมัน E85 ตามที่กระทรวงการคลัง
เสนอ (ที่มา : www.thaigov.go.th) ดังนี้
- ยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับยานยนต์ E85 ที่มีลักษณะเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E85 และไม่มีผลิต
ในประเทศเป็นการชั่วคราว 3 ปี(นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้)
- ลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E85 ลงเหลือร้อยละ 25 30 และ 35 ตามขนาดเครื่องยนต์ เท่ากับอัตราภาษีสรรพ
สามิตรถยนต์ E20 ในปัจจุบัน
- ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E85 เหลือ 2.5795 บาทต่อลิตร จาก 3.6850 บาทต่อลิตร ซึ่งคิดตามค่าประสิทธิภาพ
ความร้อน หรือร้อยละ 70 ของอัตราภาษีสรรพสามิต น้ำมันเบนซิน 95 เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
o สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีโครงการลงทุนที่
ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 15 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 24,500.50 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกัน
ของปีที่แล้ว ร้อยละ 814.91 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 5,800 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 12 โครงการ และ
โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล 3 โครงการ สำหรับไตรมาสนี้ การลงทุนมีการขยายตัวสูง เนื่องจากมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่
มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน
7,731 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,572 คน ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 107,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ
12 และส่งออกร้อยละ 88 ตลาดส่งออกได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น เริ่มผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลปี
2553
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เงินลงทุน
6,642 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 2,400 คน ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 100,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ
50 และส่งออกร้อยละ 50 ตลาดส่งออกได้แก่ อาเซียน และโอเชเนีย เริ่มผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลปี 2555
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ทาทา มอเตอร์ ประเทศอินเดีย เงินลงทุน 7,317
ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,000 คน ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 100,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 48 และ
ส่งออกร้อยละ 52 ตลาดส่งออกได้แก่ กลุ่มอาเซียน เอเซียแปซิฟิก และประเทศแอฟริกาใต้ เริ่มผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลปี 2553
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 719,487 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.01 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.16 และ 14.24 ตามลำดับ สำหรับ
ปริมาณการผลิตรถยนต์นั่งที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการสนับสนุนของภาครัฐโดยปรับลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
ประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง(E20) เมื่อต้นเดือนมกราคม 2551 ส่งผลให้รถยนต์นั่ง(E20) เป็นที่ต้องการ
ของตลาดภายในประเทศ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 11.83 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่ง
ออก 391,910 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.47 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อ
การส่งออกร้อยละ 76.23 และรถยนต์นั่งร้อยละ 23.77 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์
1,501-1,800 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซี.
ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 353,864 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณ
การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.68 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.50 และ 10.13 ตามลำดับ แต่การผลิต
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.41 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ
3.22 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 4.26, 1.18 และ 0.66 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 320,283 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.49 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 31.26, 12.40 และ 6.60 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 1.00 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มี
การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 159,497 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41 โดยมีการ
จำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.80, 2.94 และ 0.29 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถ
ยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 7.11 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.80 โดยมี
การจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 16.13, 5.24 และ 4.11ตามลำดับ แต่การ
จำหน่ายรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้ให้ความเห็นถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดต่ำลง
เนื่องจากผู้บริโภคไม่เคยเผชิญกับราคาน้ำมันดีเซลที่สูงระดับนี้มาก่อนทำให้เกิดความตื่นตระหนกและชะลอการซื้อ ประกอบกับความนิยมใช้พลังงานอื่น
เนื่องจากข่าวสารไม่ครบถ้วน ผู้ใช้บางส่วนตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องยนต์เพื่อดัดแปลงไปใช้ก๊าซ เช่น LPG หรือ NGV โดยเฉพาะ LPG ซึ่งมีสถานีจำนวน
มาก เติมได้สะดวก และได้มีการชะลอการปรับราคาขึ้นตามแผนเดิม นอกจากนี้พลวัตรทางด้านนโยบายที่มีการส่งเสริมหรือส่งสัญญาณการสนับสนุน E85
และก๊าซธรรมชาติมากเกินไป จนทำให้เกิดความสับสนและตัดสินใจผิด ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์กระบะ 1
ตัน และอนุพันธ์ของรถรถกระบะ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU)
จำนวน 385,370 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.42 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 175,848.54 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2550 ร้อยละ 29.96 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถปิกอัพ 1 ตัน ไปในกลุ่มประเทศโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และ
ยุโรป ในขณะที่การส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบเอเชีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้มีการขยายตัวสูงกว่าประเทศอื่น เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่
สองของปี 2551 มีปริมาณการส่งออก จำนวน 187,820 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 86,949.81 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 22.96 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.05 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 ปริมาณการส่ง
ออกลดลงร้อยละ 4.93 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 2.19
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง
ครึ่งปีแรก 2551 มีมูลค่า 75,838.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 ร้อยละ 37.90 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์
นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.52, 13.87 และ 8.00 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถ
ยนต์นั่งไปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.46, 56.26 และ 82.49 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถ
บรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 มีมูลค่า 11,984.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 ร้อยละ 4.73 ประเทศที่เป็นตลาดส่ง
ออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 35.23, 19.29 และ
7.09 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.65 และ 427.10 ตามลำดับ แต่การ
ส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 24.42
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและ
รถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 6,654.27 และ 7,671.02 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง
และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.06 และ 27.13 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง
และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,540.79 และ 3,745.23 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำ
เข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.20 และ 25.09 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี
2551 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.72 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 4.60 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญ
ในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 36.62, 18.97 และ13.16 ตามลำดับ โดยการ
นำเข้ารถยนต์นั่งจาก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.11, 123.26 และ 33.72 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและ
รถบรรทุกที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 59.36, 8.60 และ 6.22 ตาม
ลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินโดนีเซีย และอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 303.45 และ 57,181.22 ตามลำดับ แต่การนำเข้า
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยะ 6.84
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ในภาพรวมมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยตลาดในประเทศที่
ได้รับผลดีจากการปรับลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง
(E20) ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ที่ผ่านมาแต่ในส่วนของตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และอนุพันธ์ (รถ PPV) เริ่มชะลอตัวในไตรมาส
ที่สอง อย่างไรก็ดี การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดหลัก เช่น ออสเตรเลีย และอาเซียน ซึ่งมีกรอบความร่วมมือทางการค้ากับ
ไทย ตลอดจนการแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ อเมริกากลาง เป็นต้น สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรรมรถยนต์ในไตร
มาสที่สาม ปี 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรีบเทียบกับไตรมาสที่สอง ปี 2551 เนื่องจากจะยังได้รับผลดีจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ตลาดในประเทศมีปัจจัยด้านราคาพลังงานเชื้อเพลิงอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบ
การ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ ในไตรมาสที่สาม ปี 2551 ประมาณ 3.5 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 42 และ
ผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 58
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 935,704 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.54 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 861,045 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
74,659 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.40 และ 66.71 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน
499,367 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.44 โดยการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบ
สปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.83 และ 47.25 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2551 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.45 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.27 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 13.51
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 872,644 คัน เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 467,378 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
9,205 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ 396,061 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97, 23.96 และ 2.42 ตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์ที่มีการขยายตัว ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลทางการเกษตร ส่งผลให้ผู้บริโภคหลักของตลาด ซึ่งอยู่ในภาคการ
เกษตรมีรายได้และกำลังซื้อสูงขึ้น เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 444,422 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.34 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และรถจักรยานยนต์
สกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.87, 25.32 และ 3.17 ตามลำดับ สำหรับในไตรมาสนี้ มีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์แบบ
หัวฉีด ที่มีความประหยัดน้ำมันสูง ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับ
ไตรมาสแรกของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์
แบบสปอร์ต และรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.96, 2.84 และ 1.29 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน
789,188 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 75,236 คัน และ CKD จำนวน 713,952 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ลดลงร้อย
ละ 9.76 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 13,547.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.99 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สอง
ของปี 2551 มีปริมาณการส่งออก 383,842 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 6,914.53 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 18.71 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 5.63 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551
ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 5.31 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่ง
ปีแรก 2551 ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.74, 15.67 และ 11.68 ตามลำดับ
โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) ไปสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 529.95 และ 401.31 ตามลำดับ แต่การส่งออกไป
สหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 63.68
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็น
มูลค่า 203.51 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ลดลงร้อยละ 83.44 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า
รถจักรยานยนต์ 63.74 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 88.10 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับ
ไตรมาสแรกของปี 2551 มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 54.40 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่
ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.31, 16.98 และ 15.57 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จาก
ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 95.16 แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 402.37 และ 81.14 ตามลำดับ
ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2551 ภาพรวมอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ซึ่งเป็นผล
มาจากหลากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการปรับราคาเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางด้านการเกษตร ส่งผลให้กลุ่มผู้บริโภคหลักของตลาด ที่ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในภาค
การเกษตรมีรายได้และกำลังซื้อสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2551 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจและกระตุ้น
ให้กลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์เปลี่ยนมาให้ความสนใจ รวมทั้งให้ความนิยมใช้รถจักรยานยนต์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการมีความประหยัดน้ำมัน สำหรับ
สถานการณ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่สาม คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรีบเทียบกับไตรมาสที่สอง ปี 2551 เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่
สูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญ รวมถึงมีการพัฒนารถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ประหยัดน้ำมันจะเป็นแรงกระตุ้นให้หันมาใช้รถ
จักรยานยนต์มากขึ้น จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ CBU ในไตรมาสที่สาม ปี 2551 ประมาณ 4.2
แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 92 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 8
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ( ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า
66,391.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ร้อยละ 37.45 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 8,924.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ร้อยละ 94.05 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 4,502.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงครึ่งปีแรก 2550 ร้อยละ 32.17 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า
34,725.16 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 4,328.09 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 2,177.20 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.69, 74.05 และ 23.66 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี
2551 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.66 แต่การส่งออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ลดลงร้อย
ละ 5.83 และ 6.36 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 มีมูลค่า 79,379.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 16.39 ตลาด
ส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.71, 12.03 และ
10.86 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.95 และ 33.57 ตามลำดับ แต่
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 5.04
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)
มีมูลค่า 10,498 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.59 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 349
ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ลดลงร้อยละ 30.96 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 5,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.39 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 134 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 59.65 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.13 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 37.67 จากข้อมูลของศูนย์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก
2551 มีมูลค่า 11,560.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.45 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์
ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.26, 19.04 และ 14.56 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถ
จักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย กัมพูชาและเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.31, 65.06 และ 41.02 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า
65,347.05 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.94 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2551 ส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 32,555.86 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
14.90 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.72 แหล่งนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 60.85,
6.30 และ 5.68 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.12, 8.91 และ
16.34 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.
ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 6,451.79 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.68 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2551
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 3,161.66 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.73 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
จักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 3.90 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และ
เวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.56, 22.07 และ 8.35 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จาก
ญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.98 และ 51.53 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากเวียดนาม ลดลงร้อยละ
0.42
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 2551 % เปลี่ยน แปลง
ม.ค.-มิ.ย. ม.ค.-มิ.ย.
รถยนต์ 1,188,044 1,287,346 599,536 719,487 20.01
รถยนต์นั่ง 298,819 315,444 144,936 203,148 40.16
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 866,769 948,388 443,088 506,189 14.24
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 22,456 23,514 11,512 10,150 -11.83
รถจักรยานยนต์ 2,084,001 1,653,139 846,472 935,704 10.54
ครอบครัว(2) 2,005,968 1,563,788 801,689 861,045 7.4
สปอร์ต 78,033 89,351 44,783 74,659 66.71
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์ 365,623 353,864 -3.22 305,901 353,864 15.68
รถยนต์นั่ง 101,912 101,236 -0.66 75,267 101,236 34.5
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 258,606 247,583 -4.26 224,808 247,583 10.13
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,105 5,045 -1.18 5,826 5,045 -13.41
รถจักรยานยนต์ 436,337 499,367 14.45 414,620 499,367 20.44
ครอบครัว(2) 396,304 464,741 17.27 391,105 464,741 18.83
สปอร์ต 40,033 34,626 -13.51 23,515 34,626 47.25
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-มิ.ย. 2551 ม.ค.-มิ.ย. % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 682,161 631,251 292,514 320,283 9.49
รถยนต์นั่ง 191,763 170,118 83,390 109,455 31.26
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 423,395 382,636 172,281 170,550 -1
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 36,907 42,619 19,546 20,837 6.6
รถยนต์ PPV และ SUV 30,096 35,878 17,297 19,441 12.4
รถจักรยานยนต์ 2,061,610 1,598,876 848,055 872,644 2.9
ครอบครัว 1,250,608 856,028 453,914 467,378 2.97
สปอร์ต 20,683 14,979 7,426 9,205 23.96
สกูตเตอร์ 790,319 727,869 386,715 396,061 2.42
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์ 160,786 159,497 -0.8 154,244 159,497 3.41
รถยนต์นั่ง 52,448 57,007 8.69 45,679 57,007 24.8
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 87,066 83,484 -4.11 89,875 83,484 -7.11
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 10,699 10,138 -5.24 9,848 10,138 2.94
รถยนต์ PPV และ SUV 10,573 8,868 -16.13 8,842 8,868 0.29
รถจักรยานยนต์ 428,222 444,422 3.78 421,883 444,422 5.34
ครอบครัว 226,922 240,456 5.96 224,993 240,456 6.87
สปอร์ต 4,538 4,667 2.84 3,724 4,667 25.32
สกูตเตอร์ 196,762 199,299 1.29 193,166 199,299 3.17
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-มิ.ย. 2551 ม.ค.-มิ.ย. % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 538,966 690,100 307,273 385,370 25.42
รถยนต์ 240,764.09 306,595.20 135,307.62 175,848.54 29.96
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 87,170.92 112,341.89 48,302.60 66,391.42 37.45
เครื่องยนต์ 8,357.93 10,504.23 4,598.78 8,924.03 94.05
ชิ้นส่วนอะไหล่ 5,453.40 7,630.59 3,406.46 4,502.19 32.17
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,575,666 1,789,485 874,512 789,188 -9.76
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) 24,535.24 26,400.00 13,026.90 13,547.29 3.99
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 13,076.26 14,220.13 6,704.04 10,498.00 56.59
ชิ้นส่วนอะไหล่ 699.26 1,033.67 505.53 349 -30.96
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 197,550 187,820 -4.93 152,753 187,820 22.96
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 88,898.73 86,949.81 -2.19 66,860.98 86,949.81 30.05
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 31,666.26 34,725.16 9.66 25,591.70 34,725.16 35.69
เครื่องยนต์ 4,595.94 4,328.09 -5.83 2,486.67 4,328.09 74.05
ชิ้นส่วนอะไหล่ 2,324.99 2,177.20 -6.36 1,760.68 2,177.20 23.66
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 405,346 383,842 -5.31 472,175 383,842 -18.71
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) 6,632.76 6,914.53 4.25 7,326.87 6,914.53 -5.63
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 4,622.00 5,876.00 27.13 3,275.48 5,876.00 79.39
ชิ้นส่วนอะไหล่ 215 134 -37.67 332.1 134 -59.65
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-มิ.ย. 2551 ม.ค.-มิ.ย. % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 9,462.01 8,578.32 4,157.36 6,654.27 60.06
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,099.52 14,162.56 6,033.95 7,671.02 27.13
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 117,916.77 116,100.67 54,482.74 65,347.05 19.94
รถจักรยานยนต์ 2,135.08 2,266.57 1,229.18 203.51 -83.44
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 8,654.61 10,039.47 4,974.64 6,451.79 29.68
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์นั่ง 3,113.48 3,540.79 13.72 2,698.83 3,540.79 31.2
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,925.79 3,745.23 -4.6 2,994.07 3,745.23 25.09
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 32,791.19 32,555.86 -0.72 28,334.63 32,555.86 14.9
รถจักรยานยนต์ 139.77 63.74 -54.4 535.66 63.74 -88.1
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 3,290.13 3,161.66 -3.9 2,382.10 3,161.66 32.73
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-มิ.ย. 2551 ม.ค.-มิ.ย. % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 245.1 246.95 117.94 205.41 74.16
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 264.25 407.63 170.36 236.07 38.57
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 3,070.80 3,336.89 1,539.67 2,013.08 30.79
รถจักรยานยนต์ 55.59 64.88 34.62 6.23 -81.99
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 232.07 288.15 140.3 198.7 41.6
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์นั่ง 93.96 111.45 18.61 77.39 111.45 44.01
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 118.06 118.01 -0.04 85.86 118.01 37.44
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 987.01 1,026.07 3.96 812.8 1,026.07 26.24
รถจักรยานยนต์ 4.22 2.01 -52.37 15.34 2.01 -86.9
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 99.02 99.68 0.67 98.28 99.68 45.99
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
มาตรฐาน พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
- ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
- ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547
- ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2350-2551 ตามประกาศกระทรวง
อุตสาหกรรม ฉบับที่ 3842 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิก และกำหนด
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6 ลงวันที่ 4 เมษายน 2551
o วันที่ 3 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่อง
ยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
- ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
- ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต้องเป็นไปตาม
มาตรฐาน พ.ศ. 2542
- ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.
2315-2551 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3841 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.
2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดเฉพาะด้านความปลอดภัย :
สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 4 ลงวันที่ 4 เมษายน 2551
o วันที่ 3 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการมาตราการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมัน E85 ตามที่กระทรวงการคลัง
เสนอ (ที่มา : www.thaigov.go.th) ดังนี้
- ยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับยานยนต์ E85 ที่มีลักษณะเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E85 และไม่มีผลิต
ในประเทศเป็นการชั่วคราว 3 ปี(นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้)
- ลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E85 ลงเหลือร้อยละ 25 30 และ 35 ตามขนาดเครื่องยนต์ เท่ากับอัตราภาษีสรรพ
สามิตรถยนต์ E20 ในปัจจุบัน
- ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E85 เหลือ 2.5795 บาทต่อลิตร จาก 3.6850 บาทต่อลิตร ซึ่งคิดตามค่าประสิทธิภาพ
ความร้อน หรือร้อยละ 70 ของอัตราภาษีสรรพสามิต น้ำมันเบนซิน 95 เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
o สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีโครงการลงทุนที่
ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 15 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 24,500.50 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกัน
ของปีที่แล้ว ร้อยละ 814.91 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 5,800 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 12 โครงการ และ
โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล 3 โครงการ สำหรับไตรมาสนี้ การลงทุนมีการขยายตัวสูง เนื่องจากมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่
มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน
7,731 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,572 คน ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 107,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ
12 และส่งออกร้อยละ 88 ตลาดส่งออกได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น เริ่มผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลปี
2553
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เงินลงทุน
6,642 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 2,400 คน ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 100,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ
50 และส่งออกร้อยละ 50 ตลาดส่งออกได้แก่ อาเซียน และโอเชเนีย เริ่มผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลปี 2555
- โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ทาทา มอเตอร์ ประเทศอินเดีย เงินลงทุน 7,317
ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,000 คน ซึ่งมีกำลังการผลิตรถยนต์ 100,000 คัน/ปี โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 48 และ
ส่งออกร้อยละ 52 ตลาดส่งออกได้แก่ กลุ่มอาเซียน เอเซียแปซิฟิก และประเทศแอฟริกาใต้ เริ่มผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลปี 2553
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 719,487 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.01 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.16 และ 14.24 ตามลำดับ สำหรับ
ปริมาณการผลิตรถยนต์นั่งที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการสนับสนุนของภาครัฐโดยปรับลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
ประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง(E20) เมื่อต้นเดือนมกราคม 2551 ส่งผลให้รถยนต์นั่ง(E20) เป็นที่ต้องการ
ของตลาดภายในประเทศ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 11.83 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่ง
ออก 391,910 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.47 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อ
การส่งออกร้อยละ 76.23 และรถยนต์นั่งร้อยละ 23.77 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์
1,501-1,800 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซี.
ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 353,864 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณ
การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.68 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.50 และ 10.13 ตามลำดับ แต่การผลิต
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.41 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ
3.22 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 4.26, 1.18 และ 0.66 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 320,283 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.49 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 31.26, 12.40 และ 6.60 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 1.00 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มี
การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 159,497 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.41 โดยมีการ
จำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.80, 2.94 และ 0.29 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถ
ยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 7.11 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.80 โดยมี
การจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 16.13, 5.24 และ 4.11ตามลำดับ แต่การ
จำหน่ายรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้ให้ความเห็นถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดต่ำลง
เนื่องจากผู้บริโภคไม่เคยเผชิญกับราคาน้ำมันดีเซลที่สูงระดับนี้มาก่อนทำให้เกิดความตื่นตระหนกและชะลอการซื้อ ประกอบกับความนิยมใช้พลังงานอื่น
เนื่องจากข่าวสารไม่ครบถ้วน ผู้ใช้บางส่วนตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องยนต์เพื่อดัดแปลงไปใช้ก๊าซ เช่น LPG หรือ NGV โดยเฉพาะ LPG ซึ่งมีสถานีจำนวน
มาก เติมได้สะดวก และได้มีการชะลอการปรับราคาขึ้นตามแผนเดิม นอกจากนี้พลวัตรทางด้านนโยบายที่มีการส่งเสริมหรือส่งสัญญาณการสนับสนุน E85
และก๊าซธรรมชาติมากเกินไป จนทำให้เกิดความสับสนและตัดสินใจผิด ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์กระบะ 1
ตัน และอนุพันธ์ของรถรถกระบะ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU)
จำนวน 385,370 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.42 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 175,848.54 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2550 ร้อยละ 29.96 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถปิกอัพ 1 ตัน ไปในกลุ่มประเทศโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และ
ยุโรป ในขณะที่การส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบเอเชีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้มีการขยายตัวสูงกว่าประเทศอื่น เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่
สองของปี 2551 มีปริมาณการส่งออก จำนวน 187,820 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 86,949.81 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 22.96 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.05 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 ปริมาณการส่ง
ออกลดลงร้อยละ 4.93 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 2.19
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง
ครึ่งปีแรก 2551 มีมูลค่า 75,838.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 ร้อยละ 37.90 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์
นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.52, 13.87 และ 8.00 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถ
ยนต์นั่งไปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.46, 56.26 และ 82.49 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถ
บรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 มีมูลค่า 11,984.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 ร้อยละ 4.73 ประเทศที่เป็นตลาดส่ง
ออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 35.23, 19.29 และ
7.09 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.65 และ 427.10 ตามลำดับ แต่การ
ส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 24.42
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและ
รถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 6,654.27 และ 7,671.02 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง
และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.06 และ 27.13 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง
และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,540.79 และ 3,745.23 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำ
เข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.20 และ 25.09 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี
2551 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.72 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 4.60 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญ
ในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 36.62, 18.97 และ13.16 ตามลำดับ โดยการ
นำเข้ารถยนต์นั่งจาก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.11, 123.26 และ 33.72 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและ
รถบรรทุกที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 59.36, 8.60 และ 6.22 ตาม
ลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินโดนีเซีย และอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 303.45 และ 57,181.22 ตามลำดับ แต่การนำเข้า
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยะ 6.84
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ในภาพรวมมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยตลาดในประเทศที่
ได้รับผลดีจากการปรับลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง
(E20) ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ที่ผ่านมาแต่ในส่วนของตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และอนุพันธ์ (รถ PPV) เริ่มชะลอตัวในไตรมาส
ที่สอง อย่างไรก็ดี การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดหลัก เช่น ออสเตรเลีย และอาเซียน ซึ่งมีกรอบความร่วมมือทางการค้ากับ
ไทย ตลอดจนการแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ อเมริกากลาง เป็นต้น สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรรมรถยนต์ในไตร
มาสที่สาม ปี 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรีบเทียบกับไตรมาสที่สอง ปี 2551 เนื่องจากจะยังได้รับผลดีจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ตลาดในประเทศมีปัจจัยด้านราคาพลังงานเชื้อเพลิงอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบ
การ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ ในไตรมาสที่สาม ปี 2551 ประมาณ 3.5 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 42 และ
ผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 58
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 935,704 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.54 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 861,045 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
74,659 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.40 และ 66.71 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน
499,367 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.44 โดยการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบ
สปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.83 และ 47.25 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2551 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.45 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.27 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 13.51
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 872,644 คัน เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 467,378 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต
9,205 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ 396,061 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97, 23.96 และ 2.42 ตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์ที่มีการขยายตัว ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลทางการเกษตร ส่งผลให้ผู้บริโภคหลักของตลาด ซึ่งอยู่ในภาคการ
เกษตรมีรายได้และกำลังซื้อสูงขึ้น เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 444,422 คัน เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.34 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และรถจักรยานยนต์
สกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.87, 25.32 และ 3.17 ตามลำดับ สำหรับในไตรมาสนี้ มีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์แบบ
หัวฉีด ที่มีความประหยัดน้ำมันสูง ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับ
ไตรมาสแรกของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์
แบบสปอร์ต และรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.96, 2.84 และ 1.29 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน
789,188 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 75,236 คัน และ CKD จำนวน 713,952 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ลดลงร้อย
ละ 9.76 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 13,547.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.99 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สอง
ของปี 2551 มีปริมาณการส่งออก 383,842 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 6,914.53 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 18.71 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 5.63 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551
ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 5.31 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่ง
ปีแรก 2551 ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.74, 15.67 และ 11.68 ตามลำดับ
โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) ไปสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 529.95 และ 401.31 ตามลำดับ แต่การส่งออกไป
สหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 63.68
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็น
มูลค่า 203.51 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ลดลงร้อยละ 83.44 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า
รถจักรยานยนต์ 63.74 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 88.10 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับ
ไตรมาสแรกของปี 2551 มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 54.40 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่
ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.31, 16.98 และ 15.57 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จาก
ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 95.16 แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 402.37 และ 81.14 ตามลำดับ
ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2551 ภาพรวมอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ซึ่งเป็นผล
มาจากหลากหลายปัจจัย โดยเฉพาะการปรับราคาเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางด้านการเกษตร ส่งผลให้กลุ่มผู้บริโภคหลักของตลาด ที่ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในภาค
การเกษตรมีรายได้และกำลังซื้อสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2551 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจและกระตุ้น
ให้กลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์เปลี่ยนมาให้ความสนใจ รวมทั้งให้ความนิยมใช้รถจักรยานยนต์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการมีความประหยัดน้ำมัน สำหรับ
สถานการณ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่สาม คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรีบเทียบกับไตรมาสที่สอง ปี 2551 เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่
สูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญ รวมถึงมีการพัฒนารถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ประหยัดน้ำมันจะเป็นแรงกระตุ้นให้หันมาใช้รถ
จักรยานยนต์มากขึ้น จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ CBU ในไตรมาสที่สาม ปี 2551 ประมาณ 4.2
แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 92 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 8
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ( ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า
66,391.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ร้อยละ 37.45 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 8,924.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ร้อยละ 94.05 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 4,502.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงครึ่งปีแรก 2550 ร้อยละ 32.17 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า
34,725.16 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 4,328.09 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 2,177.20 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.69, 74.05 และ 23.66 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี
2551 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.66 แต่การส่งออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ลดลงร้อย
ละ 5.83 และ 6.36 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 มีมูลค่า 79,379.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 16.39 ตลาด
ส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.71, 12.03 และ
10.86 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.95 และ 33.57 ตามลำดับ แต่
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 5.04
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)
มีมูลค่า 10,498 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.59 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 349
ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 ลดลงร้อยละ 30.96 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 5,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.39 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 134 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 59.65 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.13 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 37.67 จากข้อมูลของศูนย์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก
2551 มีมูลค่า 11,560.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.45 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์
ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.26, 19.04 และ 14.56 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถ
จักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย กัมพูชาและเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.31, 65.06 และ 41.02 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า
65,347.05 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.94 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2551 ส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 32,555.86 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
14.90 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.72 แหล่งนำเข้า
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 60.85,
6.30 และ 5.68 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.12, 8.91 และ
16.34 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 (ม.
ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 6,451.79 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.68 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2551
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 3,161.66 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.73 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
จักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 3.90 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และ
เวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.56, 22.07 และ 8.35 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จาก
ญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.98 และ 51.53 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากเวียดนาม ลดลงร้อยละ
0.42
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 2551 % เปลี่ยน แปลง
ม.ค.-มิ.ย. ม.ค.-มิ.ย.
รถยนต์ 1,188,044 1,287,346 599,536 719,487 20.01
รถยนต์นั่ง 298,819 315,444 144,936 203,148 40.16
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 866,769 948,388 443,088 506,189 14.24
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 22,456 23,514 11,512 10,150 -11.83
รถจักรยานยนต์ 2,084,001 1,653,139 846,472 935,704 10.54
ครอบครัว(2) 2,005,968 1,563,788 801,689 861,045 7.4
สปอร์ต 78,033 89,351 44,783 74,659 66.71
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์ 365,623 353,864 -3.22 305,901 353,864 15.68
รถยนต์นั่ง 101,912 101,236 -0.66 75,267 101,236 34.5
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 258,606 247,583 -4.26 224,808 247,583 10.13
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,105 5,045 -1.18 5,826 5,045 -13.41
รถจักรยานยนต์ 436,337 499,367 14.45 414,620 499,367 20.44
ครอบครัว(2) 396,304 464,741 17.27 391,105 464,741 18.83
สปอร์ต 40,033 34,626 -13.51 23,515 34,626 47.25
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-มิ.ย. 2551 ม.ค.-มิ.ย. % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ 682,161 631,251 292,514 320,283 9.49
รถยนต์นั่ง 191,763 170,118 83,390 109,455 31.26
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 423,395 382,636 172,281 170,550 -1
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 36,907 42,619 19,546 20,837 6.6
รถยนต์ PPV และ SUV 30,096 35,878 17,297 19,441 12.4
รถจักรยานยนต์ 2,061,610 1,598,876 848,055 872,644 2.9
ครอบครัว 1,250,608 856,028 453,914 467,378 2.97
สปอร์ต 20,683 14,979 7,426 9,205 23.96
สกูตเตอร์ 790,319 727,869 386,715 396,061 2.42
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์ 160,786 159,497 -0.8 154,244 159,497 3.41
รถยนต์นั่ง 52,448 57,007 8.69 45,679 57,007 24.8
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 87,066 83,484 -4.11 89,875 83,484 -7.11
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 10,699 10,138 -5.24 9,848 10,138 2.94
รถยนต์ PPV และ SUV 10,573 8,868 -16.13 8,842 8,868 0.29
รถจักรยานยนต์ 428,222 444,422 3.78 421,883 444,422 5.34
ครอบครัว 226,922 240,456 5.96 224,993 240,456 6.87
สปอร์ต 4,538 4,667 2.84 3,724 4,667 25.32
สกูตเตอร์ 196,762 199,299 1.29 193,166 199,299 3.17
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-มิ.ย. 2551 ม.ค.-มิ.ย. % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 538,966 690,100 307,273 385,370 25.42
รถยนต์ 240,764.09 306,595.20 135,307.62 175,848.54 29.96
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 87,170.92 112,341.89 48,302.60 66,391.42 37.45
เครื่องยนต์ 8,357.93 10,504.23 4,598.78 8,924.03 94.05
ชิ้นส่วนอะไหล่ 5,453.40 7,630.59 3,406.46 4,502.19 32.17
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,575,666 1,789,485 874,512 789,188 -9.76
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) 24,535.24 26,400.00 13,026.90 13,547.29 3.99
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 13,076.26 14,220.13 6,704.04 10,498.00 56.59
ชิ้นส่วนอะไหล่ 699.26 1,033.67 505.53 349 -30.96
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 197,550 187,820 -4.93 152,753 187,820 22.96
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 88,898.73 86,949.81 -2.19 66,860.98 86,949.81 30.05
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 31,666.26 34,725.16 9.66 25,591.70 34,725.16 35.69
เครื่องยนต์ 4,595.94 4,328.09 -5.83 2,486.67 4,328.09 74.05
ชิ้นส่วนอะไหล่ 2,324.99 2,177.20 -6.36 1,760.68 2,177.20 23.66
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 405,346 383,842 -5.31 472,175 383,842 -18.71
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) 6,632.76 6,914.53 4.25 7,326.87 6,914.53 -5.63
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM) 4,622.00 5,876.00 27.13 3,275.48 5,876.00 79.39
ชิ้นส่วนอะไหล่ 215 134 -37.67 332.1 134 -59.65
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-มิ.ย. 2551 ม.ค.-มิ.ย. % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 9,462.01 8,578.32 4,157.36 6,654.27 60.06
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,099.52 14,162.56 6,033.95 7,671.02 27.13
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 117,916.77 116,100.67 54,482.74 65,347.05 19.94
รถจักรยานยนต์ 2,135.08 2,266.57 1,229.18 203.51 -83.44
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 8,654.61 10,039.47 4,974.64 6,451.79 29.68
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์นั่ง 3,113.48 3,540.79 13.72 2,698.83 3,540.79 31.2
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,925.79 3,745.23 -4.6 2,994.07 3,745.23 25.09
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 32,791.19 32,555.86 -0.72 28,334.63 32,555.86 14.9
รถจักรยานยนต์ 139.77 63.74 -54.4 535.66 63.74 -88.1
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 3,290.13 3,161.66 -3.9 2,382.10 3,161.66 32.73
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-มิ.ย. 2551 ม.ค.-มิ.ย. % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง 245.1 246.95 117.94 205.41 74.16
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 264.25 407.63 170.36 236.07 38.57
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 3,070.80 3,336.89 1,539.67 2,013.08 30.79
รถจักรยานยนต์ 55.59 64.88 34.62 6.23 -81.99
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 232.07 288.15 140.3 198.7 41.6
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 % เปลี่ยน
ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง
รถยนต์นั่ง 93.96 111.45 18.61 77.39 111.45 44.01
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 118.06 118.01 -0.04 85.86 118.01 37.44
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 987.01 1,026.07 3.96 812.8 1,026.07 26.24
รถจักรยานยนต์ 4.22 2.01 -52.37 15.34 2.01 -86.9
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 99.02 99.68 0.67 98.28 99.68 45.99
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-