1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 124.94 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 6.10 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็ก
กว่า 20 นิ้ว) กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 50.58 24.32 และ 15.78 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 5.87 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ โทรทัศน์สี
(ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และสายไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 60.38 9.90 และ 8.56 ตามลำดับ
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่
กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุง
ข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาโดยได้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายหน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อม
นึ่ง หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 4,544.77ล้านเหรียญสหรัฐ ทรงตัวร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 11.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 870.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้น 39.32% จากมูลค่าการส่งออกมากที่สุดของสินค้า 3 รายการแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อ
ป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 35.18 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ
38.73 และ 56.35 ตามลำดับ
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,361.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบ
ไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.31 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 2
ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก 1,543.79 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 52.90 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง
20.97% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.25 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และญี่ปุ่นร้อยละ 72.92 และ 20.53 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่3 ปี 2551 จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือน
กรกฎาคม 2551ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้
ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2551 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณการว่าจะทรงตัว
ร้อยละ 0.45 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศโดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.68
และ 10.67 %YoY ตามลำดับ ทางด้านส่วนประกอบคอมเพรสเซอร์ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น12.35% จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกจีน
ขณะที่ การประมาณการการขายโดยรวมโดยดูจากดัชนีการส่งสินค้า พบว่า เครื่องรับโทรทัศน์ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 20.48 ถึงแม้ว่า
จะมีการวางแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายจากช่วงโอลิมปิก 2008 แต่กระนั้นการทำตลาดของสินค้าในประเทศจีนเองที่เป็นเจ้าภาพก็ครอบครองส่วน
แบ่งตลาดค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ34.79ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.74 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัญหาการจัดการด้านการขนส่ง และราคาวัตถุดิบที่กระทบต่อต้น
ทุนโดยรวม เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 124.94 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 6.10 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็ก
กว่า 20 นิ้ว) กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 50.58 24.32 และ 15.78 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 5.87 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ โทรทัศน์สี
(ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และสายไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 60.38 9.90 และ 8.56 ตาม
ลำดับ ดังตารางที่ 1
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่
กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุง
ข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาโดยได้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายหน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อม
นึ่ง หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัว
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2551
สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่1 ปี51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่2 ปี50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 321.42 -0.42 7.69
- คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 320.29 -0.68 0.97
- แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 166.95 1.99 9.46
พัดลม 35.79 11.04 0.11
ตู้เย็น 249.79 0.99 15.50
กระติกน้ำร้อน 128.38 -24.32 13.12
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 110.57 -1.83 17.26
สายไฟฟ้า 118.70 -15.78 -8.56
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 13.14 -50.58 -60.38
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 272.28 -1.75 -9.90
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรกฎาคม 2551
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551ทรงตัวร้อยละ 0.63 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) กระติกน้ำ
ร้อน สายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.19 25.49 และ 22.20ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) โทรทัศน์สี
(ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และพัดลม ลดลงร้อยละ 57.62 12.55 และ 8.84 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดในประเทศที่ชะลอลงจาก
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงการจัดซื้อเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม และการทำตลาดจากงานโครงการ และมหกรรมสินค้าราคาประหยัดที่สามารถ
กระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับขยายตัวสูงโดยตลาดที่มีมูลค่าส่งออกสูงและอัตราการขยายตัวสูงด้วยได้แก่ ตลาดอา
เซียน สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากในตลาดนี้ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ขณะที่ ตลาดจีนถึงแม้จะมีมูลค่าไม่มากนักแต่กลับมีอัตราการขยายตัวที่สูง
มากถึงร้อยละ 20.03 ส่วนใหญ่เป็นประเภทส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ เครื่องคอมเพรสเซอร์ มอเตอร์เล็ก power supply
เป็นต้น
มูลค่าการส่งออกโดยรวมของเครื่องรับโทรทัศน์สีในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 23.80 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของตลาดอินเดีย ที่ยังคงมีคำสั่งซื้อจากสินค้าเทคโนโลยี CRT ขณะที่ผู้ประกอบการได้มีการผลิตประกอบในส่วนของ LCD
TV เพิ่มมากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มของบริษัทค่ายเกาหลีที่มีส่วนประกอบหลัก Panel จึงเป็นข้อได้เปรียบในการควบคุมต้นทุนการผลิต ขณะที่ผู้
ประกอบการในกลุ่มประเทศอาเซียนยังไม่ได้รับสิทธิ์แหล่งกำเนิดสินค้าจากส่วนประกอบหลัก Panel นี้ ทำให้การแข่งขันเป็นไปได้ยากขึ้น ส่วนตลาดส่ง
ออกสหรัฐอเมริกาชะลอลงถึงแม้จะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ลดลงในตลาดนี้ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาด US ร้อยละ 2.45 จากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนเท่านั้น
มูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออกสูงสุดในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยมีมูลค่าส่งออกรวม 867.49 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราชะลอตัวลงร้อยละ 3.53 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอลงในตลาดสหรัฐ อียูและญี่ปุ่น โดยปรับตัวลดลงร้อยละ
30.27 10.69 และ 23.69 ตามลำดับ แต่มีสัดส่วนการส่งออกเครื่องปรับอากาศที่ไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐ และญี่ปุ่นค่อนข้างน้อย
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2551
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 342.55 9.78 8.32
คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 352.98 11.97 3.76
แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 190.71 -1.61 5.89
พัดลม 37.38 10.39 -8.84
ตู้เย็น 254.52 1.67 14.04
กระติกน้ำร้อน 124.45 -25.49 8.18
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 113.61 6 21.01
สายไฟฟ้า 117.4 -22.2 -1.63
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 14.67 -45.19 -57.62
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 257.4 -3.77 -12.55
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรกฎาคม 2551
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 4,544.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ทรงตัวร้อยละ 0.43 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 11.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 870.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้น 39.32% จากมูลค่าการส่งออกมากที่สุดของสินค้า 3 รายการแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อ
ป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
ตลาดส่งออกส่งออกมากอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 796.46 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย 2.98% จาก
การปรับตัวลดลงของสินค้าเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันมีการจัดตั้งโรงงานในยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะค่ายเกาหลีเพื่อส่งขายใน
ยุโรป เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งได้
เครื่องปรับอากาศ
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา 30.49 -30.27
อียู 302.67 -10.69
ญี่ปุ่น 67.66 -23.69
อาเซียน 135.71 32.25
จีน 2.78 70.51
ตะวันออกกลาง 136.88 49.82
ตลาดอื่นๆ 191.31 11.84
รวมมูลค่าส่งออก 867.49 3.53
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน ถึงร้อยละ 23.80 โดยมีมูลค่าส่งออกเพียง 244.66 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการเร่งตัวขึ้นของตลาดส่งออกอื่นๆ เช่น อินเดีย และ
ตลาดอาเซียน เป็นต้น ขณะที่ในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุดประมาณ 54.21% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับ
โทรทัศน์รวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงถูกตัดจีเอสพี
เครื่องรับโทรทัศน์สี
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา 132.62 2.45
อียู 10.62 -35.81
ญี่ปุ่น 7.96 7
อาเซียน 33.09 180.97
ตะวันออกกลาง 11.37 -16.46
ตลาดอื่นๆ 49 160.78
รวมมูลค่าส่งออก 244.66 23.8
ที่มา กรมศุลกากร, กรกฎาคม 2551
ตารางที่ 3 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่2 ปี50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,544.77 0.43 11.2
เครื่องปรับอากาศ 867.49 -9.28 3.53
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า 485.02 13.84 39.84
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 255.09 0.44 17.99
เครื่องรับโทรทัศน์สี 244.66 79.99 23.8
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ 239.08 -17.43 8.74
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 204.53 -6.4 23.04
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ 196.54 13.9 23.34
สายไฟ ชุดสายไฟ 176.75 1.87 15.34
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 175 -9.16 9.59
เครื่องซักผ้า 163.23 0.84 21.35
ที่มา กรมศุลกากร, กรกฎาคม 2551
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออก 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ รองลงมา ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกัน
วงจรไฟฟ้า และตู้เย็น เป็นต้น
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 35.18 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ
38.73 และ 56.35 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะ HDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ อัตราการขยายตัวการส่ง
ออกไปยังตลาดจีน ร้อยละ 52.90 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าส่งออกไปยังตลาดนี้ 1,543 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงสุดของตลาด
ส่งออกทั้งหมด สอดคล้องกับปรับตัวเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่
มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่ม
มูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2551
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
ปี2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 449.58 -2.71 35.18
Semiconductor Devices Transisters 142.54 3.03 13.76
Monolithic IC 151.15 2.09 1.15
Other IC 269.48 10.01 56.35
Hard Disk Drive 795.84 -4.26 38.73
Printer 23.3 28.87 -9.24
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรกฎาคม 2551
3.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตร
มาสที่ 2 ปี2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทรงตัวร้อยละ 0.44 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมี
การปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.17 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 41.07 และ 50.44 ตามลำดับ
ชิ้นส่วนและส่วนประกอบของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆนั้น ส่วนใหญ่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการสินค้าสำเร็จรูปที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สินค้า
ที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น (เช่น ความจุของ HDD ที่พัฒนาให้มีการเก็บข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ) ซึ่งสวนทางกับราคาโดยเฉลี่ยที่ลดลง นอกจากนี้กลุ่มผู้ใช้งาน
ขยายวงกว้างเพิ่มมากขึ้น จากที่ใช้ในผู้บริโภคทั่วไป กลับใช้มากขึ้นในองค์กรธุรกิจซึ่งอาจเป็นส่วนหลักของการนำไปใช้ในสินค้าสำเร็จรูปในอนาคต จาก
เหตุผลดังกล่าวถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจชะลอลงบ้าง แต่ความต้องการของตลาดยังคงมีสูงอยู่ทำให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายก็ยังคงสูงตามไปด้วย (สรุป
จาก “Hard Drive Shipments Grow Rapidly Despite Recession”, July 25, 2008)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ในปี 2551 นี้ พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดต่างๆยกเว้น
ตลาดสหรัฐที่ยังคงชะลอลงจากเดิม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยรวมในแง่ปริมาณ ร้อยละ 12 ส่วนโทรศัพท์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้นในแง่ของปริมาณ ร้อยละ
14.3 เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากยอดขายในตลาด Emerging Markets ทำให้การขยายตัวในของสินค้า Consumer Electronics เพิ่มขึ้นมากใน
ภูมิภาคนี้ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนประเภทเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการใช้ชิ้นส่วนที่ใช้ในเครื่อง
คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ที่มีสัดส่วนการใช้เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Consumption) มากที่สุดถึง 41% ของการใช้เซมิคอนดักเตอร์
รวม
ตารางที่ 5 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2551
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
ปี2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 452.59 -0.44 37.17
Semiconductor devices Transisters 144.07 4.57 13.44
Monolithic IC 147.73 4.37 1.5
Other IC 235.65 10.87 50.44
Hard Disk Drive 811.62 -1.84 41.07
Printer 24.66 45.58 -7.89
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรกฎาคม 2551
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,361.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบ
ไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.31 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 2
ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก 1,543.79 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 52.90 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง
20.97% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.25 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และญี่ปุ่นร้อยละ 72.92 และ 20.53 ตามลำดับ
ตารางที่ 6 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมอิเล็กทรอนิกส์ 7,361.37 -2.66 8.31
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4,313.35 -4.47 23.25
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 1,770.27 -1.37 -19.03
(Integrated Circuit)
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข 268.7 0.64 8.54
วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ 255.8 13.1 1.48
อุปกรณ์กึ่งตัวนำ
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 237.94 -4.49 -8.44
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ 179.15 7.44 129.01
โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า 117.58 4.45 38.85
เครื่องโทรศัพท์ 83.04 -10.73 7.91
ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 61.1 32.2 23.93
Mobile Telephone 29.53 25.92 12.75
ที่มา กรมศุลกากร, กรกฎาคม 2551
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551
การประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2551ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2551 โดยดูจากดัชนีการส่ง
สินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.45 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับ
อากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.68 และ 10.67 %YoY ตามลำดับ ทางด้านส่วนประกอบคอมเพรสเซอร์ประมาณการว่าจะปรับตัว
เพิ่มขึ้น 12.35% จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกจีน
ขณะที่ การประมาณการการขายโดยรวมโดยดูจากดัชนีการส่งสินค้า พบว่า เครื่องรับโทรทัศน์ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 20.48 ถึงแม้ว่า
จะมีการวางแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายจากช่วงโอลิมปิก 2008 แต่กระนั้นการทำตลาดของสินค้าในประเทศจีนเองที่เป็นเจ้าภาพก็ครอบครองส่วน
แบ่งตลาดค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ34.79ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.74 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US
ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.32 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 124.94 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 6.10 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็ก
กว่า 20 นิ้ว) กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 50.58 24.32 และ 15.78 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 5.87 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ โทรทัศน์สี
(ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และสายไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 60.38 9.90 และ 8.56 ตามลำดับ
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่
กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุง
ข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาโดยได้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายหน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อม
นึ่ง หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 4,544.77ล้านเหรียญสหรัฐ ทรงตัวร้อยละ 0.43 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 11.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 870.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้น 39.32% จากมูลค่าการส่งออกมากที่สุดของสินค้า 3 รายการแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อ
ป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 35.18 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ
38.73 และ 56.35 ตามลำดับ
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,361.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบ
ไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.31 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 2
ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก 1,543.79 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 52.90 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง
20.97% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.25 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และญี่ปุ่นร้อยละ 72.92 และ 20.53 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่3 ปี 2551 จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือน
กรกฎาคม 2551ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้
ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2551 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณการว่าจะทรงตัว
ร้อยละ 0.45 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับอากาศโดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.68
และ 10.67 %YoY ตามลำดับ ทางด้านส่วนประกอบคอมเพรสเซอร์ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น12.35% จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกจีน
ขณะที่ การประมาณการการขายโดยรวมโดยดูจากดัชนีการส่งสินค้า พบว่า เครื่องรับโทรทัศน์ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 20.48 ถึงแม้ว่า
จะมีการวางแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายจากช่วงโอลิมปิก 2008 แต่กระนั้นการทำตลาดของสินค้าในประเทศจีนเองที่เป็นเจ้าภาพก็ครอบครองส่วน
แบ่งตลาดค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ34.79ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.74 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่
ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัญหาการจัดการด้านการขนส่ง และราคาวัตถุดิบที่กระทบต่อต้น
ทุนโดยรวม เช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น
ขณะที่ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศอีกด้วย และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 124.94 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 6.10 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็ก
กว่า 20 นิ้ว) กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 50.58 24.32 และ 15.78 ตามลำดับ
หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 5.87 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ โทรทัศน์สี
(ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และสายไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 60.38 9.90 และ 8.56 ตาม
ลำดับ ดังตารางที่ 1
สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่
กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุง
ข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาโดยได้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายหน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อม
นึ่ง หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัว
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2551
สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่1 ปี51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่2 ปี50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 321.42 -0.42 7.69
- คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 320.29 -0.68 0.97
- แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 166.95 1.99 9.46
พัดลม 35.79 11.04 0.11
ตู้เย็น 249.79 0.99 15.50
กระติกน้ำร้อน 128.38 -24.32 13.12
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 110.57 -1.83 17.26
สายไฟฟ้า 118.70 -15.78 -8.56
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 13.14 -50.58 -60.38
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 272.28 -1.75 -9.90
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรกฎาคม 2551
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551ทรงตัวร้อยละ 0.63 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) กระติกน้ำ
ร้อน สายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.19 25.49 และ 22.20ตามลำดับ
ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) โทรทัศน์สี
(ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และพัดลม ลดลงร้อยละ 57.62 12.55 และ 8.84 ตามลำดับ
ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดในประเทศที่ชะลอลงจาก
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงการจัดซื้อเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม และการทำตลาดจากงานโครงการ และมหกรรมสินค้าราคาประหยัดที่สามารถ
กระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับขยายตัวสูงโดยตลาดที่มีมูลค่าส่งออกสูงและอัตราการขยายตัวสูงด้วยได้แก่ ตลาดอา
เซียน สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากในตลาดนี้ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น ขณะที่ ตลาดจีนถึงแม้จะมีมูลค่าไม่มากนักแต่กลับมีอัตราการขยายตัวที่สูง
มากถึงร้อยละ 20.03 ส่วนใหญ่เป็นประเภทส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ เครื่องคอมเพรสเซอร์ มอเตอร์เล็ก power supply
เป็นต้น
มูลค่าการส่งออกโดยรวมของเครื่องรับโทรทัศน์สีในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 23.80 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของตลาดอินเดีย ที่ยังคงมีคำสั่งซื้อจากสินค้าเทคโนโลยี CRT ขณะที่ผู้ประกอบการได้มีการผลิตประกอบในส่วนของ LCD
TV เพิ่มมากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มของบริษัทค่ายเกาหลีที่มีส่วนประกอบหลัก Panel จึงเป็นข้อได้เปรียบในการควบคุมต้นทุนการผลิต ขณะที่ผู้
ประกอบการในกลุ่มประเทศอาเซียนยังไม่ได้รับสิทธิ์แหล่งกำเนิดสินค้าจากส่วนประกอบหลัก Panel นี้ ทำให้การแข่งขันเป็นไปได้ยากขึ้น ส่วนตลาดส่ง
ออกสหรัฐอเมริกาชะลอลงถึงแม้จะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ลดลงในตลาดนี้ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาด US ร้อยละ 2.45 จากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนเท่านั้น
มูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศมีมูลค่าส่งออกสูงสุดในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยมีมูลค่าส่งออกรวม 867.49 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราชะลอตัวลงร้อยละ 3.53 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอลงในตลาดสหรัฐ อียูและญี่ปุ่น โดยปรับตัวลดลงร้อยละ
30.27 10.69 และ 23.69 ตามลำดับ แต่มีสัดส่วนการส่งออกเครื่องปรับอากาศที่ไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐ และญี่ปุ่นค่อนข้างน้อย
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2551
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
ปี 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 342.55 9.78 8.32
คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 352.98 11.97 3.76
แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 190.71 -1.61 5.89
พัดลม 37.38 10.39 -8.84
ตู้เย็น 254.52 1.67 14.04
กระติกน้ำร้อน 124.45 -25.49 8.18
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 113.61 6 21.01
สายไฟฟ้า 117.4 -22.2 -1.63
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 14.67 -45.19 -57.62
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 257.4 -3.77 -12.55
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรกฎาคม 2551
การส่งออก
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 4,544.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ทรงตัวร้อยละ 0.43 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 11.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 870.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้น 39.32% จากมูลค่าการส่งออกมากที่สุดของสินค้า 3 รายการแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อ
ป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
ตลาดส่งออกส่งออกมากอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 796.46 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย 2.98% จาก
การปรับตัวลดลงของสินค้าเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันมีการจัดตั้งโรงงานในยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะค่ายเกาหลีเพื่อส่งขายใน
ยุโรป เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งได้
เครื่องปรับอากาศ
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา 30.49 -30.27
อียู 302.67 -10.69
ญี่ปุ่น 67.66 -23.69
อาเซียน 135.71 32.25
จีน 2.78 70.51
ตะวันออกกลาง 136.88 49.82
ตลาดอื่นๆ 191.31 11.84
รวมมูลค่าส่งออก 867.49 3.53
ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน ถึงร้อยละ 23.80 โดยมีมูลค่าส่งออกเพียง 244.66 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการเร่งตัวขึ้นของตลาดส่งออกอื่นๆ เช่น อินเดีย และ
ตลาดอาเซียน เป็นต้น ขณะที่ในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุดประมาณ 54.21% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับ
โทรทัศน์รวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงถูกตัดจีเอสพี
เครื่องรับโทรทัศน์สี
ตลาดส่งออก มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา 132.62 2.45
อียู 10.62 -35.81
ญี่ปุ่น 7.96 7
อาเซียน 33.09 180.97
ตะวันออกกลาง 11.37 -16.46
ตลาดอื่นๆ 49 160.78
รวมมูลค่าส่งออก 244.66 23.8
ที่มา กรมศุลกากร, กรกฎาคม 2551
ตารางที่ 3 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่2 ปี50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า 4,544.77 0.43 11.2
เครื่องปรับอากาศ 867.49 -9.28 3.53
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า 485.02 13.84 39.84
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 255.09 0.44 17.99
เครื่องรับโทรทัศน์สี 244.66 79.99 23.8
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ 239.08 -17.43 8.74
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 204.53 -6.4 23.04
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ 196.54 13.9 23.34
สายไฟ ชุดสายไฟ 176.75 1.87 15.34
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W) 175 -9.16 9.59
เครื่องซักผ้า 163.23 0.84 21.35
ที่มา กรมศุลกากร, กรกฎาคม 2551
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออก 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ รองลงมา ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกัน
วงจรไฟฟ้า และตู้เย็น เป็นต้น
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 2.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 35.18 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Hard Disk Drive และ Other IC เพิ่มขึ้นร้อยละ
38.73 และ 56.35 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะ HDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ
การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ อัตราการขยายตัวการส่ง
ออกไปยังตลาดจีน ร้อยละ 52.90 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าส่งออกไปยังตลาดนี้ 1,543 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงสุดของตลาด
ส่งออกทั้งหมด สอดคล้องกับปรับตัวเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่
มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่ม
มูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2551
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
ปี2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 449.58 -2.71 35.18
Semiconductor Devices Transisters 142.54 3.03 13.76
Monolithic IC 151.15 2.09 1.15
Other IC 269.48 10.01 56.35
Hard Disk Drive 795.84 -4.26 38.73
Printer 23.3 28.87 -9.24
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรกฎาคม 2551
3.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตร
มาสที่ 2 ปี2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทรงตัวร้อยละ 0.44 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมี
การปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.17 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ HDD และ Other IC ร้อยละ 41.07 และ 50.44 ตามลำดับ
ชิ้นส่วนและส่วนประกอบของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆนั้น ส่วนใหญ่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการสินค้าสำเร็จรูปที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สินค้า
ที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น (เช่น ความจุของ HDD ที่พัฒนาให้มีการเก็บข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ) ซึ่งสวนทางกับราคาโดยเฉลี่ยที่ลดลง นอกจากนี้กลุ่มผู้ใช้งาน
ขยายวงกว้างเพิ่มมากขึ้น จากที่ใช้ในผู้บริโภคทั่วไป กลับใช้มากขึ้นในองค์กรธุรกิจซึ่งอาจเป็นส่วนหลักของการนำไปใช้ในสินค้าสำเร็จรูปในอนาคต จาก
เหตุผลดังกล่าวถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจชะลอลงบ้าง แต่ความต้องการของตลาดยังคงมีสูงอยู่ทำให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายก็ยังคงสูงตามไปด้วย (สรุป
จาก “Hard Drive Shipments Grow Rapidly Despite Recession”, July 25, 2008)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ในปี 2551 นี้ พบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดต่างๆยกเว้น
ตลาดสหรัฐที่ยังคงชะลอลงจากเดิม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยรวมในแง่ปริมาณ ร้อยละ 12 ส่วนโทรศัพท์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้นในแง่ของปริมาณ ร้อยละ
14.3 เกิดจากแรงขับเคลื่อนจากยอดขายในตลาด Emerging Markets ทำให้การขยายตัวในของสินค้า Consumer Electronics เพิ่มขึ้นมากใน
ภูมิภาคนี้ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ยังส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนประเภทเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการใช้ชิ้นส่วนที่ใช้ในเครื่อง
คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ที่มีสัดส่วนการใช้เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Consumption) มากที่สุดถึง 41% ของการใช้เซมิคอนดักเตอร์
รวม
ตารางที่ 5 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2551
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
ปี2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์ 452.59 -0.44 37.17
Semiconductor devices Transisters 144.07 4.57 13.44
Monolithic IC 147.73 4.37 1.5
Other IC 235.65 10.87 50.44
Hard Disk Drive 811.62 -1.84 41.07
Printer 24.66 45.58 -7.89
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรกฎาคม 2551
การส่งออก
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,361.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบ
ไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.31 ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 2
ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก 1,543.79 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 52.90 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง
20.97% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม
มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.25 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และญี่ปุ่นร้อยละ 72.92 และ 20.53 ตามลำดับ
ตารางที่ 6 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 50
(ล้านเหรียญสหรัฐ) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
รวมอิเล็กทรอนิกส์ 7,361.37 -2.66 8.31
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4,313.35 -4.47 23.25
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 1,770.27 -1.37 -19.03
(Integrated Circuit)
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข 268.7 0.64 8.54
วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ 255.8 13.1 1.48
อุปกรณ์กึ่งตัวนำ
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) 237.94 -4.49 -8.44
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ 179.15 7.44 129.01
โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า 117.58 4.45 38.85
เครื่องโทรศัพท์ 83.04 -10.73 7.91
ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 61.1 32.2 23.93
Mobile Telephone 29.53 25.92 12.75
ที่มา กรมศุลกากร, กรกฎาคม 2551
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551
การประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2551ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2551 โดยดูจากดัชนีการส่ง
สินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.45 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตู้เย็น เครื่องปรับ
อากาศ โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.68 และ 10.67 %YoY ตามลำดับ ทางด้านส่วนประกอบคอมเพรสเซอร์ประมาณการว่าจะปรับตัว
เพิ่มขึ้น 12.35% จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกจีน
ขณะที่ การประมาณการการขายโดยรวมโดยดูจากดัชนีการส่งสินค้า พบว่า เครื่องรับโทรทัศน์ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 20.48 ถึงแม้ว่า
จะมีการวางแผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายจากช่วงโอลิมปิก 2008 แต่กระนั้นการทำตลาดของสินค้าในประเทศจีนเองที่เป็นเจ้าภาพก็ครอบครองส่วน
แบ่งตลาดค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ34.79ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นของ HDD ประมาณการว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.74 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US
ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.32 ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-