อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ของประเทศไทยมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายของประเภทผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อ
ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเคมีภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย
ผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐานที่มีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือ ส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ โซดาไฟ คลอรีน ไฮโดร
คลอริก(กรดเกลือ) และกรดซัลฟูริก ซึ่ง สศอ. ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟ เพื่อเป็นตัวแทนในการพิจารณาจัดทำดัชนีผล
ผลิตของภาคอุตสาหกรรมซึ่งสรุปได้ดังนี้
การผลิต
โซดาไฟ
หน่วย: ตัน
Q1 ปี 2551 Q2 ปี 2551 Q2/Q1ปี2551
( ร้อยละ )
การผลิต 221,325.7 239,833.6 8.36
การจำหน่าย 193,136.1 198,740.2 2.90
ที่มา :สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 2 มีปริมาณ 239,833.6 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.36 และการจำหน่ายโซดาไฟในไตร
มาสที่ 2 มีปริมาณ 198,740.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.90
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2551 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 19,413 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 25,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.89 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 26,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
52.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 5,445 ล้าน
บาท ลดลงร้อยละ 0.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q2/2551 Q2/51กับQ1/51 Q2/51กับQ2/50
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 11,189 12,592 12,586 14,734 19,413 31.76 73.5
1.2 อินทรีย์ * 29 22,269 22,029 23,312 24,927 25,149 0.89 12.93
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 16,314 14,372 18,345 22,717 20,345 -10.44 24.71
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 15,415 12,959 7,798 17,192 26,269 52.8 70.41
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 9,353 8,743 8,662 9,172 9,748 6.28 4.22
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,776 4,676 4,900 5,484 5,445 -0.71 14.01
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,725 4,295 3,600 4,228 4,425 4.66 18.79
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 6,994 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 14.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก
7,898 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 1.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมี
มูลค่าการส่งออก 731 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q2/2551 Q2/51กับQ1/51 Q2/51กับQ2/50
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 2,438 3,158 3,283 2,867 3,436 19.85 40.94
1.2 อินทรีย์ * 29 6,109 5,077 5,898 6,742 6,994 3.74 14.49
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,919 4,295 3,665 4,660 4,357 -6.5 11.18
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 530 657 370 416 731 75.72 37.92
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 2,320 2,387 2,231 2,412 2,608 8.13 12.41
2.3 เครื่องสำอาง 33 8,027 7,987 8,262 7,875 7,898 0.29 -1.61
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,948 3,279 3,361 3,425 21,589 530.34 632.33
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
จากปัจจัยของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า
ขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดังนั้นในช่วงที่ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้น ผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรจะสั่งซื้อวัตถุดิบการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : การนำเข้าปุ๋ยเคมียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการที่ภาครัฐจะนำเข้าปุ๋ยเพื่อจำหน่ายโดยตรงให้กับ
เกษตรกรในราคาถูก โดยมีการอนุมัติงบประมาณ 300 ล้านบาทเพื่อนำเข้าปุ๋ยในปริมาณ 20,000 ตัน มาช่วยเกษตรกร บรรเทาปัญหาขาดแคลนปุ๋ย
และเกษตรกรที่มีทุนน้อยในการซื้อปุ๋ย ถือเป็นการช่วยเหลือเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แนวโน้มในอนาคตภาครัฐจะมีการส่งเสริมการใช้ปุ๋ย
อินทรีย์เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งนี้ควรส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยเคมี และให้ความรู้ที่ถูกต้องกับเกษตรกร เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์
มีข้อดีในการปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย และพืชสามารถนำธาตุอาหารสำคัญในปุ๋ยเคมีไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลดลง โดย
เงื่อนไขที่สำคัญคือ ต้องมีการวิเคราะห์ดินเพื่อการใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง และไม่สิ้นเปลืองที่จะใส่ธาตุปุ๋ยในดินที่มีธาตุอาหารนั้นอยู่แล้ว
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2551 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปโดย DG Enterprise and Industry ได้
ประกาศปรับปรุงกฎระเบียบเครื่องสำอาง (Cosmetic Directive) ที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1976 และข้อแก้ไขต่อระเบียบนี้กว่า 50 ฉบับที่มีอยู่ใน
ปัจจุบัน โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดทำข้อเสนอระเบียบเครื่องสำอางขึ้นใหม่เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปฏิบัติให้สอดคล้องกับระเบียบที่มีอยู่ได้
ง่ายขึ้น คาดว่ากฎระเบียบดังกล่าว จะมีการเร่งรัดและผลักดันให้มีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าเครื่องสำอางไปจำหน่ายใน
ตลาดสหภาพยุโรป ควรมีการติดตามข้อมูลรายละเอียดต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมและปรับตัวในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ
ระเบียบเครื่องสำอางใหม่ที่สหภาพยุโรปจะนำมาบังคับใช้
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร: แม้ว่าภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลง แต่มองว่าตลาดสีน่าจะมีแนวโน้มการเติบโตในครึ่งหลัง
เนื่องจากผู้ประกอบการบ้านจัดสรรต่างเร่งก่อสร้างงานเพื่อให้เสร็จทันโอนภายในปีนี้ เพื่อรับประโยชน์จากการลดค่าธรรมเนียมการโอนตามมาตรการ
กระตุ้นและส่งเสริมของภาครัฐในอสังหาริมทรัพย์ อีกประการหนึ่งความต้องการของผู้บริโภคน่าจะเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อแต่ตลาดสีใน
ระดับกลาง-บนก็ยังคงขายได้อย่างต่อเนื่อง เพราะการทาสีบ้านถือว่าเป็นการซ่อมแซมบ้านที่ใช้งบน้อยที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเคมีภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย
ผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐานที่มีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือ ส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ โซดาไฟ คลอรีน ไฮโดร
คลอริก(กรดเกลือ) และกรดซัลฟูริก ซึ่ง สศอ. ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟ เพื่อเป็นตัวแทนในการพิจารณาจัดทำดัชนีผล
ผลิตของภาคอุตสาหกรรมซึ่งสรุปได้ดังนี้
การผลิต
โซดาไฟ
หน่วย: ตัน
Q1 ปี 2551 Q2 ปี 2551 Q2/Q1ปี2551
( ร้อยละ )
การผลิต 221,325.7 239,833.6 8.36
การจำหน่าย 193,136.1 198,740.2 2.90
ที่มา :สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 2 มีปริมาณ 239,833.6 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.36 และการจำหน่ายโซดาไฟในไตร
มาสที่ 2 มีปริมาณ 198,740.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.90
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2551 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 19,413 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 25,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.89 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 26,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
52.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 5,445 ล้าน
บาท ลดลงร้อยละ 0.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q2/2551 Q2/51กับQ1/51 Q2/51กับQ2/50
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 11,189 12,592 12,586 14,734 19,413 31.76 73.5
1.2 อินทรีย์ * 29 22,269 22,029 23,312 24,927 25,149 0.89 12.93
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 16,314 14,372 18,345 22,717 20,345 -10.44 24.71
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 15,415 12,959 7,798 17,192 26,269 52.8 70.41
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 9,353 8,743 8,662 9,172 9,748 6.28 4.22
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,776 4,676 4,900 5,484 5,445 -0.71 14.01
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,725 4,295 3,600 4,228 4,425 4.66 18.79
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 6,994 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 14.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.85 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก
7,898 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 1.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมี
มูลค่าการส่งออก 731 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง
Q2/2550 Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q2/2551 Q2/51กับQ1/51 Q2/51กับQ2/50
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 2,438 3,158 3,283 2,867 3,436 19.85 40.94
1.2 อินทรีย์ * 29 6,109 5,077 5,898 6,742 6,994 3.74 14.49
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,919 4,295 3,665 4,660 4,357 -6.5 11.18
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 530 657 370 416 731 75.72 37.92
2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 2,320 2,387 2,231 2,412 2,608 8.13 12.41
2.3 เครื่องสำอาง 33 8,027 7,987 8,262 7,875 7,898 0.29 -1.61
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,948 3,279 3,361 3,425 21,589 530.34 632.33
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
จากปัจจัยของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า
ขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดังนั้นในช่วงที่ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้น ผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ควรจะสั่งซื้อวัตถุดิบการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : การนำเข้าปุ๋ยเคมียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการที่ภาครัฐจะนำเข้าปุ๋ยเพื่อจำหน่ายโดยตรงให้กับ
เกษตรกรในราคาถูก โดยมีการอนุมัติงบประมาณ 300 ล้านบาทเพื่อนำเข้าปุ๋ยในปริมาณ 20,000 ตัน มาช่วยเกษตรกร บรรเทาปัญหาขาดแคลนปุ๋ย
และเกษตรกรที่มีทุนน้อยในการซื้อปุ๋ย ถือเป็นการช่วยเหลือเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น แนวโน้มในอนาคตภาครัฐจะมีการส่งเสริมการใช้ปุ๋ย
อินทรีย์เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งนี้ควรส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยเคมี และให้ความรู้ที่ถูกต้องกับเกษตรกร เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์
มีข้อดีในการปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย และพืชสามารถนำธาตุอาหารสำคัญในปุ๋ยเคมีไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลดลง โดย
เงื่อนไขที่สำคัญคือ ต้องมีการวิเคราะห์ดินเพื่อการใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง และไม่สิ้นเปลืองที่จะใส่ธาตุปุ๋ยในดินที่มีธาตุอาหารนั้นอยู่แล้ว
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2551 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปโดย DG Enterprise and Industry ได้
ประกาศปรับปรุงกฎระเบียบเครื่องสำอาง (Cosmetic Directive) ที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1976 และข้อแก้ไขต่อระเบียบนี้กว่า 50 ฉบับที่มีอยู่ใน
ปัจจุบัน โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดทำข้อเสนอระเบียบเครื่องสำอางขึ้นใหม่เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและปฏิบัติให้สอดคล้องกับระเบียบที่มีอยู่ได้
ง่ายขึ้น คาดว่ากฎระเบียบดังกล่าว จะมีการเร่งรัดและผลักดันให้มีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าเครื่องสำอางไปจำหน่ายใน
ตลาดสหภาพยุโรป ควรมีการติดตามข้อมูลรายละเอียดต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมและปรับตัวในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ
ระเบียบเครื่องสำอางใหม่ที่สหภาพยุโรปจะนำมาบังคับใช้
อุตสาหกรรมสีทาอาคาร: แม้ว่าภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลง แต่มองว่าตลาดสีน่าจะมีแนวโน้มการเติบโตในครึ่งหลัง
เนื่องจากผู้ประกอบการบ้านจัดสรรต่างเร่งก่อสร้างงานเพื่อให้เสร็จทันโอนภายในปีนี้ เพื่อรับประโยชน์จากการลดค่าธรรมเนียมการโอนตามมาตรการ
กระตุ้นและส่งเสริมของภาครัฐในอสังหาริมทรัพย์ อีกประการหนึ่งความต้องการของผู้บริโภคน่าจะเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อแต่ตลาดสีใน
ระดับกลาง-บนก็ยังคงขายได้อย่างต่อเนื่อง เพราะการทาสีบ้านถือว่าเป็นการซ่อมแซมบ้านที่ใช้งบน้อยที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-