ผลิตภัณฑ์พลาสติก
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ เป็นต้น ผลผลิตร้อยละ 70 จำหน่ายใน
ประเทศ ที่เหลือส่งออก โรงงานส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และ มีเพียงร้อยละ 10 ที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมี 2 ประเภท ได้แก่
1. พลาสติกชนิดหลอมใหม่ได้ เช่น โพลีเอทีลีน โพลีโพรพิลีน โพลีไวนิลคลอไรด์
2. พลาสติกชนิดที่หลอมใหม่ไม่ได้ เช่น Phenolies , Polyesters , Urea , Melamine
อุตสาหกรรมที่ใช้พลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้แก่ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประกอบด้วยวัตถุดิบ(เม็ดพลาสติก)ร้อยละ 70 แรงงานร้อยละ 10 — 15
พลังงานร้อยละ 8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 7-12
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก เพื่อเป็นตัวแทนในการพิจารณาจัดทำดัชนีผลผลิต
ของภาคอุตสาหกรรมซึ่งสรุปได้ดังนี้
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติก
ผลิตภัณฑ์ Q2 ปี50 Q3 ปี50 Q4 ปี50 Q1 ปี51 Q2 ปี51 Q2/Q1ปี51
(ร้อยละ)
พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ 133.93 137.37 144.89 144.5 141.02 -2.41
พลาสติกแผ่น 120.42 120.79 163.12 128.97 127.42 -1.2
แผ่นฟิล์มพลาสติก 246.10 259.27 249.09 232.31 245 5.46
กระสอบพลาสติก 108.22 109.57 110.78 113.33 108.72 -4.07
ถุงพลาสติก 123.53 125.48 137.3 145.19 137.8 -5.09
เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ 101.31 103.85 107.26 108.6 102.76 -5.38
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 2.41 โดยแผ่นฟิล์ม
พลาสติกมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 เพียงผลิตภัณฑ์เดียว ส่วนที่เหลือลดลงทั้งหมด เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุดยาววันสงกรานต์
การนำเข้า
ประเภท -------------------------------- มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) -------------------------------------
ผลิตภัณฑ์ Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q2/2551เทียบกับQ1/2551 Q2/2551เทียบกับQ2/2550
2549 2550 2550 2550 2550 2551 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 21 19.9 22.6 23 33.91 27.9 29.1 4.3 28.76
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 183 192 208 228 231.1 239 245.5 2.85 17.97
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 337 315 354 360 389.34 447 420.1 -5.93 18.57
รวมทั้งสิ้น 541 527 585 611 654.35 713 694.7 -2.59 18.75
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกรวมในไตรมาสที่ 2 มีมูลค่า 694.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบพลาสติก มีมูลค่านำเข้า 245.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ มีมูลค่านำเข้า
420.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.93 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์
พลาสติก คือ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย
การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกในไตรมาสที่ 2 ลดลงเนื่องจาก ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าพลาสติกเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นเหตุให้การนำเข้าลดลง
การส่งออก
ประเภท ----------------------------- มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ) ----------------------------------
ผลิตภัณฑ์ Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q2/2551เทียบกับQ1/2551 Q2/2551เทียบกับQ2/2550
2549 2550 2550 2550 2550 2551 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 124 124 127 145 157.8 160 168 5.51 32.29
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ 128 154 183 180 197.5 198 223 12.9 22.05
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ 3.9 5.5 4.8 5.2 5.75 5.3 6.9 30.19 43.75
กล่องหีบพลาสติก 5.4 8.9 11.5 13.6 17.92 20.4 21.8 6.86 89.57
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 4.4 5 5.5 5.4 5.71 5.1 5.4 5.88 -1.82
หลอดและท่อพลาสติก 8.5 11.8 11.4 12.4 15.73 16.9 16.3 -3.55 42.98
พลาสติกปูพื้นและผนัง 8.7 18.5 19.9 20.5 18.82 20.2 22.2 9.9 11.56
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 28.6 24.6 28.5 30.2 30.35 30.2 36.8 21.85 29.12
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 155 175 188 204 214.4 211 230 9.25 22.76
รวมทั้งสิ้น 466 527 579 617 664 666 731 9.77 26.22
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกรวมในไตรมาสที่ 2 มีมูลค่า 731.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก168.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 5.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ มีมูลค่าส่ง
ออก 223.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.90 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลักผลิตภัณฑ์
พลาสติกของไทย คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
การส่งออกเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 เนื่องจาก ผู้นำเข้าต่างประเทศคาดการณ์ว่า ราคาจะมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ จึง
สั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อสต็อกมากขึ้น
แนวโน้ม
ผลิตภัณฑ์พลาสติกน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ต้นทุน
การผลิตต่ำลง แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องภาวะค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งตัว เมื่อเทียบกับสกุลเงินสหรัฐอเมริกา อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ
ที่ชะลอตัว อันจะทำให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ เป็นต้น ผลผลิตร้อยละ 70 จำหน่ายใน
ประเทศ ที่เหลือส่งออก โรงงานส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และ มีเพียงร้อยละ 10 ที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมี 2 ประเภท ได้แก่
1. พลาสติกชนิดหลอมใหม่ได้ เช่น โพลีเอทีลีน โพลีโพรพิลีน โพลีไวนิลคลอไรด์
2. พลาสติกชนิดที่หลอมใหม่ไม่ได้ เช่น Phenolies , Polyesters , Urea , Melamine
อุตสาหกรรมที่ใช้พลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้แก่ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประกอบด้วยวัตถุดิบ(เม็ดพลาสติก)ร้อยละ 70 แรงงานร้อยละ 10 — 15
พลังงานร้อยละ 8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 7-12
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก เพื่อเป็นตัวแทนในการพิจารณาจัดทำดัชนีผลผลิต
ของภาคอุตสาหกรรมซึ่งสรุปได้ดังนี้
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติก
ผลิตภัณฑ์ Q2 ปี50 Q3 ปี50 Q4 ปี50 Q1 ปี51 Q2 ปี51 Q2/Q1ปี51
(ร้อยละ)
พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ 133.93 137.37 144.89 144.5 141.02 -2.41
พลาสติกแผ่น 120.42 120.79 163.12 128.97 127.42 -1.2
แผ่นฟิล์มพลาสติก 246.10 259.27 249.09 232.31 245 5.46
กระสอบพลาสติก 108.22 109.57 110.78 113.33 108.72 -4.07
ถุงพลาสติก 123.53 125.48 137.3 145.19 137.8 -5.09
เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ 101.31 103.85 107.26 108.6 102.76 -5.38
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 2.41 โดยแผ่นฟิล์ม
พลาสติกมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 เพียงผลิตภัณฑ์เดียว ส่วนที่เหลือลดลงทั้งหมด เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุดยาววันสงกรานต์
การนำเข้า
ประเภท -------------------------------- มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) -------------------------------------
ผลิตภัณฑ์ Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q2/2551เทียบกับQ1/2551 Q2/2551เทียบกับQ2/2550
2549 2550 2550 2550 2550 2551 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 21 19.9 22.6 23 33.91 27.9 29.1 4.3 28.76
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 183 192 208 228 231.1 239 245.5 2.85 17.97
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 337 315 354 360 389.34 447 420.1 -5.93 18.57
รวมทั้งสิ้น 541 527 585 611 654.35 713 694.7 -2.59 18.75
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกรวมในไตรมาสที่ 2 มีมูลค่า 694.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบพลาสติก มีมูลค่านำเข้า 245.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ มีมูลค่านำเข้า
420.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.93 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์
พลาสติก คือ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย
การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกในไตรมาสที่ 2 ลดลงเนื่องจาก ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าพลาสติกเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นเหตุให้การนำเข้าลดลง
การส่งออก
ประเภท ----------------------------- มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ) ----------------------------------
ผลิตภัณฑ์ Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q3 ปี Q4 ปี Q1 ปี Q2 ปี Q2/2551เทียบกับQ1/2551 Q2/2551เทียบกับQ2/2550
2549 2550 2550 2550 2550 2551 2551 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 124 124 127 145 157.8 160 168 5.51 32.29
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ 128 154 183 180 197.5 198 223 12.9 22.05
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ 3.9 5.5 4.8 5.2 5.75 5.3 6.9 30.19 43.75
กล่องหีบพลาสติก 5.4 8.9 11.5 13.6 17.92 20.4 21.8 6.86 89.57
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 4.4 5 5.5 5.4 5.71 5.1 5.4 5.88 -1.82
หลอดและท่อพลาสติก 8.5 11.8 11.4 12.4 15.73 16.9 16.3 -3.55 42.98
พลาสติกปูพื้นและผนัง 8.7 18.5 19.9 20.5 18.82 20.2 22.2 9.9 11.56
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 28.6 24.6 28.5 30.2 30.35 30.2 36.8 21.85 29.12
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 155 175 188 204 214.4 211 230 9.25 22.76
รวมทั้งสิ้น 466 527 579 617 664 666 731 9.77 26.22
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกรวมในไตรมาสที่ 2 มีมูลค่า 731.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก168.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 5.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ มีมูลค่าส่ง
ออก 223.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.90 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลักผลิตภัณฑ์
พลาสติกของไทย คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน
การส่งออกเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 เนื่องจาก ผู้นำเข้าต่างประเทศคาดการณ์ว่า ราคาจะมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ จึง
สั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อสต็อกมากขึ้น
แนวโน้ม
ผลิตภัณฑ์พลาสติกน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ต้นทุน
การผลิตต่ำลง แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องภาวะค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งตัว เมื่อเทียบกับสกุลเงินสหรัฐอเมริกา อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ
ที่ชะลอตัว อันจะทำให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-