ไตรมาส 2 ปี 2551 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับตัวผันผวนอย่างมากตามราคาน้ำมันดิบ โดยปรับตัวสูงขึ้นตลอดไตรมาส ปัจจัยหลัก
ได้แก่ ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยด้านอุปทาน ได้แก่ ท่อส่งน้ำมันดิบในไนจีเรียเกิดเพลิงไหม้จากการที่ผู้ก่อการร้าย
โจมตีและการประท้วงของสหภาพแรงงานในประเทศ แม็กซิโกประสบปัญหาอากาศแปรปรวนทำให้ต้องหยุดดำเนินการ การหยุดงานประท้วงของสหภาพ
แรงงานและเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันในสก็อตแลนด์ และอิหร่านยังยืนกรานที่จะเดินหน้าพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของประเทศ ส่วนราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ย
ของตลาดเอเชียค่อนข้างตึงตัวมีการปรับตัวในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาแนฟธาซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ทรงตัวอยู่ในระดับที่สูง ผู้ผลิตเอทิลีนใน
เอเชียหลายรายได้ลดปริมาณการผลิตลง และเอทิลีนแครกเกอร์หลายแห่งปิดซ่อมบำรุงและแก้ปัญหาทางเทคนิค ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และไทย ประกอบ
กับผู้ซื้อเริ่มมีการต่อต้านการปรับขึ้นราคาเนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีเอทิลีนจากอิหร่านเข้ามาในตลาดเอเซีย เพื่อช่วยบรรเทาความตึงตัวที่เกิดขึ้น
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลาดค่อนข้างตึงตัว ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาเอทิลีนและราคาน้ำมันดิบ ทำให้
ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ปริมาณสินค้าในตลาดมีจำกัด เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงเอทิลีนแครกเกอร์ของผู้ผลิตในหลายประเทศในเอเชียและตะวันออกกลาง
รวมถึง รัฐบาลจีนได้บังคับให้หน่วยผลิตปิโตรเคมีและเอทิลีนแครกเกอร์ในประเทศลดกำลังการผลิตลง เพื่อสงวนน้ำมันไว้ใช้สำหรับงานฟื้นฟูประเทศหลัง
เหตุการณ์แผ่นดินไหว
การผลิต
ไตรมาส 2 ปี 2551 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีโครงการลงทุนผลิตสาร Bisphenol A ที่มีกำลังการผลิต 150,000 ตัน/
ปี มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 โครงการผลิต Propylene Oxide กำลังการผลิต 390,000 ตัน/ปี ในนิคม
อุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในปลายไตรมาสที่ 2 ปี 2554 นอกจากนี้ มีแผนร่วมลงทุนสร้างหน่วย
ผลิต PP คอมพาวด์ ขนาด 10,000 ตัน/ปี ในซาอุดิอาระเบีย คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ในปลายไตรมาสแรกของปี 2553 แผนร่วมลง
ทุนขยายกำลังการผลิต PP คอมพาวด์ในประเทศจีน กำลังการผลิตเพิ่มจาก 11,000 ตัน/ปี เป็น 22,000 ตัน/ปี เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการที่
คาดว่าจะเติบโตขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในจีน
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีการขยายกำลังการผลิต ดังนี้
- ประเทศอินเดีย โครงการคอมเพล็กซ์โรงกลั่นน้ำมันและหน่วยผลิต PP กำลังการผลิต 900,000 ตัน/ปี คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องเชิง
พาณิชย์ในเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิม 4 เดือน มีแผนที่จะสร้าง Propylene Derivatives Complex ประกอบด้วยหน่วยผลิต PP
2 หน่วย กำลังการผลิตรวม 900,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต cumene กำลังการผลิต 265,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต phenol กำลังการผลิต 200,000
ตัน/ปี และหน่วยผลิต acetone กำลังการผลิต 120,000 ตัน/ปี จะดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในต้นไตรมาสที่ 2 ปี 2554 และเลื่อนกำหนดเดิน
เครื่องหน่วยผลิต MEG กำลังการผลิต 700,000 ตัน/ปี จากปี 2553 เป็นปี 2554
- ประเทศจีน สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ทำให้บริษัทปิโตรเคมีในประเทศลดกำลังการผลิตโพลีเอทิลีนลง ส่งผลให้วัตถุดิบในการ
ผลิต Ethylene และ Propylene ลดลงตามไปด้วย ส่งผลต่อเนื่องถึงการผลิตเม็ดพลาสติก โดยคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิต PE และ PP จะลดลง
ถึงประมาณ 95,000 ตัน และ 30,000 ตัน ตามลำดับ ในเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ยังมีแผนปิดซ่อมบำรุงแนฟธาแครกเกอร์ กำลังการผลิต
150,000 ตัน/ปี มีผลทำให้ปริมาณการผลิตเม็ดพลาสติกลดลง โดย LDPE ลดลง 4,000 ตัน HDPE และ PP ลดลงอย่างละ 10,000 ตัน และเลื่อน
กำหนดเดินเครื่องหน่วยผลิต MEG กำลังการผลิต 360,000 ตัน/ปี จากปี 2552 เป็นครึ่งแรกของปี 2553
- ประเทศอิหร่าน เริ่มทดลองเดินเครื่องหน่วยผลิต LDPE กำลังการผลิต 300,000 ตัน/ปี ในอัตรา 50-60% โดยใช้เอทิลีนเป็นวัตถุ
ดิบ นอกจากนี้ยังมีหน่วยผลิต HDPE / LLDPE กำลังการผลิต 300,000 ตัน/ปี คาดว่าเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปลายไตรมาสที่ 2 ปี 2551
- ประเทศซาอุดิอาระเบีย เลื่อนกำหนดการเดินเครื่องสายการผลิต MEG กำลังการผลิต 700,000 ตัน/ปี จากเดิมไตรมาสที่ 4 ปี
2551 เป็นไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เลื่อนกำหนดเดินเครื่องหน่วยผลิต MEG กำลังการผลิต 700,000 ตัน/ปี จากไตรมาสแรก ปี 2552 เป็นไตรมาสสุด
ท้าย ปี 2551 และเลื่อนกำหนดเดินเครื่องหน่วยผลิต MEG กำลังการผลิต 600,000 ตัน/ปี จากปลายไตรมาสสุดท้าย ปี 2551 เป็นต้นไตรมาสสุด
ท้าย ปี 2551 นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมลงทุนกับประเทศฝรั่งเศสสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 400,000 บาร์เรล/วัน โดยประกอบด้วยหน่วยผลิต P-
xylene กำลังการผลิต 700,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต benzene กำลังการผลิต 140,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต Propylene-polymer grade
กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี ซึ่งจะเปิดประมูลการก่อสร้างโรงงานในไตรมาสแรก ปี 2552
- ประเทศคูเวต เลื่อนกำหนดการเดินเครื่องสายการผลิต MEG กำลังการผลิต 600,000 ตัน/ปี จากเดิมปลายไตรมาสที่ 4 ปี
2551 เป็นปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2551
- ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต วางแผนการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์โพลีโอเลฟินส์ในระยะที่ 3 ซึ่งจะส่งผลให้กำลังการผลิตโพลีโอเลฟินส์
เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.5 ล้านตัน/ปี ในช่วงปลายปี 2557
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2551 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือน
มิถุนายน 2551 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 62.26, 61.58 และ 66.15 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ
PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 55.56, 51.05 และ 48.94 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2551 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 7,361.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 7,463.71 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.14 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 22,689.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 7.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q2/2550 Q1/2551 Q2/2551 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 6,407.74 5,586.69 7,361.04 31.76 14.88
ขั้นกลาง 7,188.23 9,464.88 7,463.71 -21.14 3.83
ขั้นปลาย 18,580.15 21,139.06 22,689.32 7.33 22.12
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 พบว่า ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลางและขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
มกราคม-มิถุนายน มกราคม-มิถุนายน
2550 2551
ขั้นต้น 12,414.56 12,947.74 4.29
ขั้นกลาง 15,413.96 16,928.59 9.83
ขั้นปลาย 36,460.10 43,828.37 20.21
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 5,134.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 12,977.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.31 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 3.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 46,749.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q2/2550 Q1/2551 Q2/2551 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 4,317.68 3,044.03 5,134.80 68.68 18.92
ขั้นกลาง 13,448.54 10,969.31 12,977.82 18.31 -3.5
ขั้นปลาย 40,445.01 42,314.00 46,749.64 10.48 15.59
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
เมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 พบว่า ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง
ในขณะที่ปิโตรเคมีขั้นปลาย มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
มกราคม-มิถุนายน มกราคม-มิถุนายน
2550 2551
ขั้นต้น 8,311.23 8,178.83 -1.59
ขั้นกลาง 26,013.92 23,947.13 -7.94
ขั้นปลาย 77,120.76 89,063.64 15.49
แนวโน้ม
การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีโดยทั่วไป สามารถแบ่งเป็น 2 เกรดหลักๆ ได้แก่ Commodity และ Specialty โดยผู้ผลิตในประเทศส่วน
ใหญ่จะผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีลักษณะ Commodity ซึ่งมีลักษณะเป็น Homogeneous Goods คือ ผลิตภัณฑ์เดียวกันไม่ว่าจะผลิตจากแหล่งภายในประเทศ
หรือต่างประเทศแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลยสามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ ราคาจึงเป็นตัวกำหนดการแข่งขัน ซึ่งในปัจจุบันแนวโน้มราคา
น้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อการผลิตปิโตรเคมีซึ่งใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบ ดังนั้นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ผู้ประกอบการไทยควร
เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยการยกระดับไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะ Specialty ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงให้มากขึ้น โดยการพัฒนาเทคโนโลยี การปรับ
ปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี การพัฒนาบุคลากร
และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง รวมถึงการวางแผนการผลิตให้ครบวงจร โดยการผลิตทั้งปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย เพื่อลดความเสี่ยง นอก
จากนั้น การมองหาตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียและตะวันออก
กลาง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ได้แก่ ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยด้านอุปทาน ได้แก่ ท่อส่งน้ำมันดิบในไนจีเรียเกิดเพลิงไหม้จากการที่ผู้ก่อการร้าย
โจมตีและการประท้วงของสหภาพแรงงานในประเทศ แม็กซิโกประสบปัญหาอากาศแปรปรวนทำให้ต้องหยุดดำเนินการ การหยุดงานประท้วงของสหภาพ
แรงงานและเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันในสก็อตแลนด์ และอิหร่านยังยืนกรานที่จะเดินหน้าพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของประเทศ ส่วนราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ย
ของตลาดเอเชียค่อนข้างตึงตัวมีการปรับตัวในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาแนฟธาซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ทรงตัวอยู่ในระดับที่สูง ผู้ผลิตเอทิลีนใน
เอเชียหลายรายได้ลดปริมาณการผลิตลง และเอทิลีนแครกเกอร์หลายแห่งปิดซ่อมบำรุงและแก้ปัญหาทางเทคนิค ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และไทย ประกอบ
กับผู้ซื้อเริ่มมีการต่อต้านการปรับขึ้นราคาเนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีเอทิลีนจากอิหร่านเข้ามาในตลาดเอเซีย เพื่อช่วยบรรเทาความตึงตัวที่เกิดขึ้น
สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลาดค่อนข้างตึงตัว ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นตามราคาเอทิลีนและราคาน้ำมันดิบ ทำให้
ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ปริมาณสินค้าในตลาดมีจำกัด เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงเอทิลีนแครกเกอร์ของผู้ผลิตในหลายประเทศในเอเชียและตะวันออกกลาง
รวมถึง รัฐบาลจีนได้บังคับให้หน่วยผลิตปิโตรเคมีและเอทิลีนแครกเกอร์ในประเทศลดกำลังการผลิตลง เพื่อสงวนน้ำมันไว้ใช้สำหรับงานฟื้นฟูประเทศหลัง
เหตุการณ์แผ่นดินไหว
การผลิต
ไตรมาส 2 ปี 2551 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีโครงการลงทุนผลิตสาร Bisphenol A ที่มีกำลังการผลิต 150,000 ตัน/
ปี มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 โครงการผลิต Propylene Oxide กำลังการผลิต 390,000 ตัน/ปี ในนิคม
อุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในปลายไตรมาสที่ 2 ปี 2554 นอกจากนี้ มีแผนร่วมลงทุนสร้างหน่วย
ผลิต PP คอมพาวด์ ขนาด 10,000 ตัน/ปี ในซาอุดิอาระเบีย คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ในปลายไตรมาสแรกของปี 2553 แผนร่วมลง
ทุนขยายกำลังการผลิต PP คอมพาวด์ในประเทศจีน กำลังการผลิตเพิ่มจาก 11,000 ตัน/ปี เป็น 22,000 ตัน/ปี เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการที่
คาดว่าจะเติบโตขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในจีน
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีการขยายกำลังการผลิต ดังนี้
- ประเทศอินเดีย โครงการคอมเพล็กซ์โรงกลั่นน้ำมันและหน่วยผลิต PP กำลังการผลิต 900,000 ตัน/ปี คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องเชิง
พาณิชย์ในเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิม 4 เดือน มีแผนที่จะสร้าง Propylene Derivatives Complex ประกอบด้วยหน่วยผลิต PP
2 หน่วย กำลังการผลิตรวม 900,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต cumene กำลังการผลิต 265,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต phenol กำลังการผลิต 200,000
ตัน/ปี และหน่วยผลิต acetone กำลังการผลิต 120,000 ตัน/ปี จะดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในต้นไตรมาสที่ 2 ปี 2554 และเลื่อนกำหนดเดิน
เครื่องหน่วยผลิต MEG กำลังการผลิต 700,000 ตัน/ปี จากปี 2553 เป็นปี 2554
- ประเทศจีน สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ทำให้บริษัทปิโตรเคมีในประเทศลดกำลังการผลิตโพลีเอทิลีนลง ส่งผลให้วัตถุดิบในการ
ผลิต Ethylene และ Propylene ลดลงตามไปด้วย ส่งผลต่อเนื่องถึงการผลิตเม็ดพลาสติก โดยคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิต PE และ PP จะลดลง
ถึงประมาณ 95,000 ตัน และ 30,000 ตัน ตามลำดับ ในเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ยังมีแผนปิดซ่อมบำรุงแนฟธาแครกเกอร์ กำลังการผลิต
150,000 ตัน/ปี มีผลทำให้ปริมาณการผลิตเม็ดพลาสติกลดลง โดย LDPE ลดลง 4,000 ตัน HDPE และ PP ลดลงอย่างละ 10,000 ตัน และเลื่อน
กำหนดเดินเครื่องหน่วยผลิต MEG กำลังการผลิต 360,000 ตัน/ปี จากปี 2552 เป็นครึ่งแรกของปี 2553
- ประเทศอิหร่าน เริ่มทดลองเดินเครื่องหน่วยผลิต LDPE กำลังการผลิต 300,000 ตัน/ปี ในอัตรา 50-60% โดยใช้เอทิลีนเป็นวัตถุ
ดิบ นอกจากนี้ยังมีหน่วยผลิต HDPE / LLDPE กำลังการผลิต 300,000 ตัน/ปี คาดว่าเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปลายไตรมาสที่ 2 ปี 2551
- ประเทศซาอุดิอาระเบีย เลื่อนกำหนดการเดินเครื่องสายการผลิต MEG กำลังการผลิต 700,000 ตัน/ปี จากเดิมไตรมาสที่ 4 ปี
2551 เป็นไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เลื่อนกำหนดเดินเครื่องหน่วยผลิต MEG กำลังการผลิต 700,000 ตัน/ปี จากไตรมาสแรก ปี 2552 เป็นไตรมาสสุด
ท้าย ปี 2551 และเลื่อนกำหนดเดินเครื่องหน่วยผลิต MEG กำลังการผลิต 600,000 ตัน/ปี จากปลายไตรมาสสุดท้าย ปี 2551 เป็นต้นไตรมาสสุด
ท้าย ปี 2551 นอกจากนี้ยังมีโครงการร่วมลงทุนกับประเทศฝรั่งเศสสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 400,000 บาร์เรล/วัน โดยประกอบด้วยหน่วยผลิต P-
xylene กำลังการผลิต 700,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต benzene กำลังการผลิต 140,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต Propylene-polymer grade
กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี ซึ่งจะเปิดประมูลการก่อสร้างโรงงานในไตรมาสแรก ปี 2552
- ประเทศคูเวต เลื่อนกำหนดการเดินเครื่องสายการผลิต MEG กำลังการผลิต 600,000 ตัน/ปี จากเดิมปลายไตรมาสที่ 4 ปี
2551 เป็นปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2551
- ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต วางแผนการลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์โพลีโอเลฟินส์ในระยะที่ 3 ซึ่งจะส่งผลให้กำลังการผลิตโพลีโอเลฟินส์
เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2.5 ล้านตัน/ปี ในช่วงปลายปี 2557
การตลาด
ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2551 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือน
มิถุนายน 2551 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 62.26, 61.58 และ 66.15 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ
PP มีระดับราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 55.56, 51.05 และ 48.94 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2551 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 7,361.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 7,463.71 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.14 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 22,689.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 7.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q2/2550 Q1/2551 Q2/2551 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 6,407.74 5,586.69 7,361.04 31.76 14.88
ขั้นกลาง 7,188.23 9,464.88 7,463.71 -21.14 3.83
ขั้นปลาย 18,580.15 21,139.06 22,689.32 7.33 22.12
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 พบว่า ปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลางและขั้นปลาย มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
มกราคม-มิถุนายน มกราคม-มิถุนายน
2550 2551
ขั้นต้น 12,414.56 12,947.74 4.29
ขั้นกลาง 15,413.96 16,928.59 9.83
ขั้นปลาย 36,460.10 43,828.37 20.21
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 5,134.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 12,977.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.31 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 3.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 46,749.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q2/2550 Q1/2551 Q2/2551 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น 4,317.68 3,044.03 5,134.80 68.68 18.92
ขั้นกลาง 13,448.54 10,969.31 12,977.82 18.31 -3.5
ขั้นปลาย 40,445.01 42,314.00 46,749.64 10.48 15.59
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
เมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 พบว่า ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวลดลง
ในขณะที่ปิโตรเคมีขั้นปลาย มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
มกราคม-มิถุนายน มกราคม-มิถุนายน
2550 2551
ขั้นต้น 8,311.23 8,178.83 -1.59
ขั้นกลาง 26,013.92 23,947.13 -7.94
ขั้นปลาย 77,120.76 89,063.64 15.49
แนวโน้ม
การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีโดยทั่วไป สามารถแบ่งเป็น 2 เกรดหลักๆ ได้แก่ Commodity และ Specialty โดยผู้ผลิตในประเทศส่วน
ใหญ่จะผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีลักษณะ Commodity ซึ่งมีลักษณะเป็น Homogeneous Goods คือ ผลิตภัณฑ์เดียวกันไม่ว่าจะผลิตจากแหล่งภายในประเทศ
หรือต่างประเทศแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลยสามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ ราคาจึงเป็นตัวกำหนดการแข่งขัน ซึ่งในปัจจุบันแนวโน้มราคา
น้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อการผลิตปิโตรเคมีซึ่งใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบ ดังนั้นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว ผู้ประกอบการไทยควร
เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยการยกระดับไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะ Specialty ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงให้มากขึ้น โดยการพัฒนาเทคโนโลยี การปรับ
ปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี การพัฒนาบุคลากร
และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง รวมถึงการวางแผนการผลิตให้ครบวงจร โดยการผลิตทั้งปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย เพื่อลดความเสี่ยง นอก
จากนั้น การมองหาตลาดใหม่ๆที่มีศักยภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียและตะวันออก
กลาง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-