1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีค่าดัชนีผลผลิต 142.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบ
ครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 1.6 สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษที่เพิ่มขึ้น (ตารางที่
1 และตารางที่ 2) เพื่อเตรียมรองรับการเปิดภาคเรียน ของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งต้องมีการจัดพิมพ์สมุด หนังสือ ตำราแบบเรียนต่าง
ๆ และเตรียมรองรับการจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนภาวะการผลิตกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง และกระดาษคราฟท์ มีค่าดัชนีผลผลิต125.6 129.9 และ 137.1 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง คิดเป็นร้อยละ 3.5 4.9 และ 3.0 ตามลำดับ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของกระดาษทั้ง 3 ประเภทลดลง
ด้วยเช่นกัน (ตารางที่ 1 และตารางที่ 2) เนื่องจากต้นทุนในส่วนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และยังมีสต๊อกสินค้าจากไตรมาสก่อนที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น แต่เมื่อ
เทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าดัชนีผลผลิตของกระดาษ โดยเฉพาะกระดาษแข็งและกระดาษลูกฟูกเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อย
ละ 23.4 และ 8.3 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องของผู้ใช้กระดาษ เพื่อนำไปบรรจุ ห่อหุ้มและขน
ส่งสินค้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 192.8 และ
343.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 23.3 และ 9.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี
2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7 และ 24.3 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) หากพิจารณาปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษ
กระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าการนำเข้าร้อยละ 24.5 และ 8.0
ตามลำดับ และเมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันร้อยละ 23.6 และ 4.4 ตามลำดับ (ตารางที่ 4)
โดยสาเหตุที่ต้องนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเพราะว่า เยื่อประเภทใยยาวและเศษกระดาษ ที่ผลิตจากเยื่อใยยาว
หรือมีสัดส่วนเยื่อใยยาวสูง ในประเทศไม่สามารถผลิตได้ ส่วนมูลค่าและปริมาณการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับ
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เป็นผลจากการขยายตัวของการนำเข้ากระดาษประเภทกระดาษ พิมพ์เขียนและบรรจุภัณฑ์
กระดาษ โดยนำเข้ากระดาษพิมพ์เขียน จาก จีน สวีเดน และญี่ปุ่น และนำเข้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ จาก จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
ในส่วนภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 89.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ
96.3 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของ ปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1 (ตารางที่ 3) เนื่องจากการขยายตัวของการนำเข้าสิ่งพิมพ์
ประเภทโฆษณา ทางการค้า ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย จากเกาหลีใต้ สำหรับปริมาณการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้และครึ่งปีแรกของปี 2551 จะสวน
ทางกับมูลค่าการนำเข้า (ตารางที่ 4) เนื่องจากการนำเข้าสิ่งพิมพ์ประเภทดังกล่าว มีน้ำหนักเบากว่าสิ่งพิมพ์ประเภทที่เป็นหนังสือ ซึ่งมีการนำเข้ามา
มากในช่วงไตรมาสก่อน
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 35.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงต่อเนื่อง
ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงเช่นกันร้อยละ 14.5 (ตารางที่ 5) หากพิจารณาปริมาณการส่งออก
เยื่อกระดาษ ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อนและเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าการส่งออก
ร้อยละ 13.5 และ 26.4 ตามลำดับ (ตารางที่ 6) เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้ ราคาเยื่อกระดาษต้องปรับตัวสูงขึ้น ทำให้คู่ค้าที่สำคัญ
คือ จีน ชะลอการนำเข้าลง
ในส่วนภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 350.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 (ตารางที่ 5) ซึ่งหากพิจารณาปริมาณ
การส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 5.7 แต่เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 (ตารางที่ 6) โดยสาเหตุที่มูลค่าและปริมาณการส่งออกสวนทางกันในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากต้นทุนการ
ผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ราคากระดาษในตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกกระดาษเพิ่มขึ้น โดยตลาดส่งออกที่สำคัญคือ เวียดนาม มาเลเซีย และจีน
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 350.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อย
ละ 14.1 แต่เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 316.8 (ตารางที่ 5) เนื่องจากมีการรับจ้างพิมพ์งาน
ประเภทไปรษณียากร และใบเอกสารทางการเงิน ผ่านนายหน้าจากฮ่องกง ทำให้การส่งออกสิ่งพิมพ์ไปฮ่องกงขยายตัวมาก หากพิจารณาในส่วน
ปริมาณการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ เมื่อเทียบกับไตรมาสนี้กับไตรมาสก่อนและครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน สวนทางกับมูลค่า
(ตารางที่ 6) เนื่องจากบางช่วงมีการสั่งซื้อสิ่งพิมพ์ที่มีน้ำหนักเบาแต่มีมูลค่าสูงกว่าสิ่งพิมพ์ที่มีน้ำหนักมาก
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิต และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้ โดยรวมปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน
เป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่หากพิจารณาด้านภาวะการนำเข้า ในไตรมาสนี้ กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นการนำ
เข้าผลิตภัณฑ์ บางประเภทที่ผลิตได้ไม่เพียงพอ เช่น กระดาษพิมพ์เขียน และบรรจุภัณฑ์กระดาษ และที่ไม่สามารถผลิตได้ เช่น เยื่อใยยาว
จำนวนมาก อย่างไรก็ดี หากเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อ
กระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะทรงตัว เนื่องจากต้นทุนการผลิตเยื่อ
กระดาษ และกระดาษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจีนซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย มีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษขนาดใหญ่ ทำให้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากคุณภาพงานพิมพ์ของไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ทำให้ตลาดต่าง
ประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เห็นถึงศักยภาพความพร้อมในด้านงานพิมพ์ของไทย
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต ไตรมาส 2550 2551
(ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.)
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551
เยื่อกระดาษ 146.1 140.5 142.5 835.1 848.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2.5 1.6
กระดาษพิมพ์เขียน 121.2 130.1 125.6 726.5 767
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -3.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.6 5.6
กระดาษแข็ง 117 136.5 129.9 647.5 799.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -4.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.1 23.4
กระดาษคราฟท์ 134.6 141.3 137.1 816.5 835.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.8 2.3
กระดาษลูกฟูก 189.4 205.9 206.3 1,141.30 1,236.40
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 0.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.9 8.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 อัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษ 80.1 75.8 76.8 457.8 457.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.1 0.02
กระดาษพิมพ์เขียน 78.5 84.3 81.3 471.5 496.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -3.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.5 5.4
กระดาษแข็ง 73.9 70.7 67.2 420.5 413.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -4.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.1 -1.6
กระดาษคราฟท์ 85.3 88.9 86.1 517.4 525.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -3.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1 1.5
กระดาษลูกฟูก 59.1 63.5 63.3 358.9 380.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -0.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.2 6
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 134.6 156.4 192.8 257.3 349.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 23.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 43.2 35.7
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 273.5 313.7 343.3 528.4 657
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 9.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 25.5 24.3
สิ่งพิมพ์ 42.4 45.6 89.5 77.6 135.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 96.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 111.1 74.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 ปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : พันตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 367.7 407.1 506.9 739.2 914
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 24.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 37.8 23.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 201.9 213.4 230.6 425.1 444
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.2 4.4
สิ่งพิมพ์ 8 4.9 3.8 11.6 8.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -22.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -52.5 -25
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 5 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษ 47.5 38.6 35.3 86.4 73.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -8.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -25.7 -14.5
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 295.4 343.8 350.5 569.8 694.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.6 21.8
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 159.3 407.4 350 181.7 757.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -14.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 119.7 316.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 6 ปริมาณการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : พันตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษ 87.9 62.2 53.8 157.6 116
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -13.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -38.8 -26.4
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 330.6 329.6 310.7 635.4 640.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -5.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.1 0.8
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 5.3 5.5 5.6 11.4 11.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.7 -2.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีค่าดัชนีผลผลิต 142.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบ
ครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 1.6 สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษที่เพิ่มขึ้น (ตารางที่
1 และตารางที่ 2) เพื่อเตรียมรองรับการเปิดภาคเรียน ของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งต้องมีการจัดพิมพ์สมุด หนังสือ ตำราแบบเรียนต่าง
ๆ และเตรียมรองรับการจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนภาวะการผลิตกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง และกระดาษคราฟท์ มีค่าดัชนีผลผลิต125.6 129.9 และ 137.1 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง คิดเป็นร้อยละ 3.5 4.9 และ 3.0 ตามลำดับ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของกระดาษทั้ง 3 ประเภทลดลง
ด้วยเช่นกัน (ตารางที่ 1 และตารางที่ 2) เนื่องจากต้นทุนในส่วนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และยังมีสต๊อกสินค้าจากไตรมาสก่อนที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น แต่เมื่อ
เทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าดัชนีผลผลิตของกระดาษ โดยเฉพาะกระดาษแข็งและกระดาษลูกฟูกเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อย
ละ 23.4 และ 8.3 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องของผู้ใช้กระดาษ เพื่อนำไปบรรจุ ห่อหุ้มและขน
ส่งสินค้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 192.8 และ
343.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 23.3 และ 9.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี
2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7 และ 24.3 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) หากพิจารณาปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษ
กระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าการนำเข้าร้อยละ 24.5 และ 8.0
ตามลำดับ และเมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันร้อยละ 23.6 และ 4.4 ตามลำดับ (ตารางที่ 4)
โดยสาเหตุที่ต้องนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเพราะว่า เยื่อประเภทใยยาวและเศษกระดาษ ที่ผลิตจากเยื่อใยยาว
หรือมีสัดส่วนเยื่อใยยาวสูง ในประเทศไม่สามารถผลิตได้ ส่วนมูลค่าและปริมาณการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับ
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เป็นผลจากการขยายตัวของการนำเข้ากระดาษประเภทกระดาษ พิมพ์เขียนและบรรจุภัณฑ์
กระดาษ โดยนำเข้ากระดาษพิมพ์เขียน จาก จีน สวีเดน และญี่ปุ่น และนำเข้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ จาก จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
ในส่วนภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 89.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ
96.3 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของ ปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1 (ตารางที่ 3) เนื่องจากการขยายตัวของการนำเข้าสิ่งพิมพ์
ประเภทโฆษณา ทางการค้า ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย จากเกาหลีใต้ สำหรับปริมาณการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้และครึ่งปีแรกของปี 2551 จะสวน
ทางกับมูลค่าการนำเข้า (ตารางที่ 4) เนื่องจากการนำเข้าสิ่งพิมพ์ประเภทดังกล่าว มีน้ำหนักเบากว่าสิ่งพิมพ์ประเภทที่เป็นหนังสือ ซึ่งมีการนำเข้ามา
มากในช่วงไตรมาสก่อน
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 35.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงต่อเนื่อง
ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงเช่นกันร้อยละ 14.5 (ตารางที่ 5) หากพิจารณาปริมาณการส่งออก
เยื่อกระดาษ ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อนและเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าการส่งออก
ร้อยละ 13.5 และ 26.4 ตามลำดับ (ตารางที่ 6) เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้ ราคาเยื่อกระดาษต้องปรับตัวสูงขึ้น ทำให้คู่ค้าที่สำคัญ
คือ จีน ชะลอการนำเข้าลง
ในส่วนภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 350.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 (ตารางที่ 5) ซึ่งหากพิจารณาปริมาณ
การส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 5.7 แต่เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 (ตารางที่ 6) โดยสาเหตุที่มูลค่าและปริมาณการส่งออกสวนทางกันในไตรมาสนี้เทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากต้นทุนการ
ผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ราคากระดาษในตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกกระดาษเพิ่มขึ้น โดยตลาดส่งออกที่สำคัญคือ เวียดนาม มาเลเซีย และจีน
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 350.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อย
ละ 14.1 แต่เมื่อเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 316.8 (ตารางที่ 5) เนื่องจากมีการรับจ้างพิมพ์งาน
ประเภทไปรษณียากร และใบเอกสารทางการเงิน ผ่านนายหน้าจากฮ่องกง ทำให้การส่งออกสิ่งพิมพ์ไปฮ่องกงขยายตัวมาก หากพิจารณาในส่วน
ปริมาณการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ เมื่อเทียบกับไตรมาสนี้กับไตรมาสก่อนและครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน สวนทางกับมูลค่า
(ตารางที่ 6) เนื่องจากบางช่วงมีการสั่งซื้อสิ่งพิมพ์ที่มีน้ำหนักเบาแต่มีมูลค่าสูงกว่าสิ่งพิมพ์ที่มีน้ำหนักมาก
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิต และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้ โดยรวมปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน
เป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แต่หากพิจารณาด้านภาวะการนำเข้า ในไตรมาสนี้ กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นการนำ
เข้าผลิตภัณฑ์ บางประเภทที่ผลิตได้ไม่เพียงพอ เช่น กระดาษพิมพ์เขียน และบรรจุภัณฑ์กระดาษ และที่ไม่สามารถผลิตได้ เช่น เยื่อใยยาว
จำนวนมาก อย่างไรก็ดี หากเทียบครึ่งปีแรกของปี 2551 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกอุตสาหกรรมเยื่อ
กระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับแนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ ในไตรมาสหน้าคาดว่า จะทรงตัว เนื่องจากต้นทุนการผลิตเยื่อ
กระดาษ และกระดาษสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจีนซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย มีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษขนาดใหญ่ ทำให้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากคุณภาพงานพิมพ์ของไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ทำให้ตลาดต่าง
ประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เห็นถึงศักยภาพความพร้อมในด้านงานพิมพ์ของไทย
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีผลผลิต ไตรมาส 2550 2551
(ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.)
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551
เยื่อกระดาษ 146.1 140.5 142.5 835.1 848.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2.5 1.6
กระดาษพิมพ์เขียน 121.2 130.1 125.6 726.5 767
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -3.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.6 5.6
กระดาษแข็ง 117 136.5 129.9 647.5 799.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -4.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.1 23.4
กระดาษคราฟท์ 134.6 141.3 137.1 816.5 835.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.8 2.3
กระดาษลูกฟูก 189.4 205.9 206.3 1,141.30 1,236.40
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 0.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.9 8.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 อัตราการใช้กำลังการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษ 80.1 75.8 76.8 457.8 457.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.1 0.02
กระดาษพิมพ์เขียน 78.5 84.3 81.3 471.5 496.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -3.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.5 5.4
กระดาษแข็ง 73.9 70.7 67.2 420.5 413.6
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -4.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.1 -1.6
กระดาษคราฟท์ 85.3 88.9 86.1 517.4 525.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -3.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1 1.5
กระดาษลูกฟูก 59.1 63.5 63.3 358.9 380.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -0.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.2 6
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 134.6 156.4 192.8 257.3 349.2
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 23.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 43.2 35.7
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 273.5 313.7 343.3 528.4 657
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 9.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 25.5 24.3
สิ่งพิมพ์ 42.4 45.6 89.5 77.6 135.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 96.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 111.1 74.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 ปริมาณการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : พันตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 367.7 407.1 506.9 739.2 914
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 24.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 37.8 23.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 201.9 213.4 230.6 425.1 444
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.2 4.4
สิ่งพิมพ์ 8 4.9 3.8 11.6 8.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -22.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -52.5 -25
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 5 มูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษ 47.5 38.6 35.3 86.4 73.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -8.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -25.7 -14.5
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 295.4 343.8 350.5 569.8 694.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.9
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.6 21.8
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 159.3 407.4 350 181.7 757.4
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -14.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 119.7 316.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
ตารางที่ 6 ปริมาณการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : พันตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
เยื่อกระดาษ 87.9 62.2 53.8 157.6 116
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -13.5
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -38.8 -26.4
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 330.6 329.6 310.7 635.4 640.3
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน -5.7
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.1 0.8
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 5.3 5.5 5.6 11.4 11.1
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อน 1.8
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.7 -2.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-