1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 39.49 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 และ 10.49 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.12 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง ร้อยละ 4.11 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.77 ซึ่งการผลิตเซรามิก ยังคงได้รับผล
กระทบจากการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่การผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็น การผลิตเพื่อส่งออก (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 การผลิตเซรามิกเพิ่มขึ้น โดยกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 76.58 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่อง
สุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.33 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.13 และ 6.18 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงต้นปีจะเป็น
ช่วงฤดูกาลขาย ประกอบกับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออก ทำให้มีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด เพิ่มมากขึ้น
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 40.65 ล้านตารางเมตร และ
เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.16 ล้านชิ้น เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 5.14 และ 5.76 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วง
เทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ตลอดจนภาวะอสังหาริมทรัพย์ในประเทศยังชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างใน
ประเทศลดลง แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายเซรามิกขยายตัวได้ดีขึ้น แม้ว่าการจำหน่ายในประเทศจะมีการแข่งขันที่รุนแรง แต่ผู้
ประกอบการเน้นตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าเพิ่มมากขึ้น และใช้กลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย รูปแบบ ภายใต้
ช่องทางการจำหน่ายที่ทันสมัย รวดเร็ว ครบวงจร และครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ทำให้การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง
สุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.09 และ 11.20 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 การจำหน่ายเซรามิกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 83.50 ล้าน
ตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.39 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.68 และ 10.51
ตามลำดับ
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 253.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.71 และ 26.46 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้บน
โต๊ะอาหารมีมูลค่า การส่งออกมากที่สุด ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น รองลงมา ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนเป็นสำคัญ
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียสหราชอาณาจักร เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มีมูลค่ารวม 495.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อย
ละ 29.57 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การ
ส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และการส่งออกของชำร่วยเครื่องประดับลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพ
ยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเยอรมนี โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 67.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อย
ละ 5.86 และ 72.43 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มีมูลค่า 132.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.07 (ตารางที่ 4) การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับ ใช้ตามห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น
และมาเลเซีย สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น จะนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน เป็นส่วนใหญ่
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้างยังคงได้
รับผลกระทบจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับไตรมาสนี้เป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความ
ต้องการใช้ ในประเทศลดลง แต่การผลิตและจำหน่ายเซรามิกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แม้ว่าการจำหน่ายในประเทศจะมีการแข่ง
ขันที่รุนแรง แต่ผู้ประกอบการเน้นตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าเพิ่มมากขึ้น และใช้กลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย รูป
แบบ ภายใต้ช่องทาง การจำหน่ายที่ทันสมัย รวดเร็ว ครบวงจร และครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากที่สุดทำให้การ จำหน่ายเพิ่มมากขึ้น
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง
สุขภัณฑ์ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในตลาดอาเซียน และการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นใน
ตลาดสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญ ดังนั้น ผู้ผลิตไทยจึงจำเป็นต้องรักษาตลาดเดิมไว้มิให้ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งไป และขยายตลาดใหม่
เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551*
2/1/2550 1/1/2551 2/2551* (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 35,738,165 37,096,411 39,488,578 68,917,024 76,584,989
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 6.45
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.49 11.13
การจำหน่ายในประเทศ 37,264,103 42,854,110 40,650,070 77,547,021 83,504,180
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.14
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.09 7.68
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 10 โรงงาน
2. ไตรมาส 2/2551 และ ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 2,041,530 2,209,335 2,118,486 4,075,911 4,327,821
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.11
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.77 6.18
การจำหน่ายในประเทศ 1,042,595 1,230,201 1,159,346 2,162,251 2,389,547
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.76
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.2 10.51
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
ผลิตภัณฑ์ 2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 24.74 29.89 33.29 46.02 63.18
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.38
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 34.56 37.29
เครื่องสุขภัณฑ์ 32.73 35.18 36 60.99 71.18
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.33
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.99 16.71
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 41.78 39.18 42.49 83.11 81.67
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 8.45
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.7 -1.73
ของชำร่วยเครื่องประดับ 8.69 8.14 7.88 16.66 16.02
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.19
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.32 -3.84
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.05 6.29 7.78 10.14 14.07
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 23.69
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 54.06 38.76
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 87.47 123.4 126.06 165.57 249.47
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.15
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 44.12 50.67
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 200.46 242.1 253.5 382.49 495.59
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.71
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.46 29.57
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
ผลิตภัณฑ์ 2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค-มิ.ย.) (ม.ค-มิ.ย.)
ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 14.81 23.9 22.72 30.03 46.62
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.94
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 53.41 55.24
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 24.61 40.31 45.25 56.89 85.56
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.26
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 83.87 50.4
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 39.42 64.21 67.97 86.92 132.18
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.86
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 72.43 52.07
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 1. โครงสร้างสินค้านำเข้า แบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็น 1. ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และ 2. ผลิตภัณฑ์
เซรามิกอื่น ได้แก่ อิฐทนไฟ อิฐก่อสร้าง กระเบื้องมุงหลังคา หลอดท่อเซรามิก และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ เครื่องสุขภัณฑ์
ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิก
อื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 39.49 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 และ 10.49 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.12 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง ร้อยละ 4.11 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.77 ซึ่งการผลิตเซรามิก ยังคงได้รับผล
กระทบจากการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่การผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็น การผลิตเพื่อส่งออก (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 การผลิตเซรามิกเพิ่มขึ้น โดยกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 76.58 ล้านตารางเมตร และการผลิตเครื่อง
สุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.33 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.13 และ 6.18 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงต้นปีจะเป็น
ช่วงฤดูกาลขาย ประกอบกับมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออก ทำให้มีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด เพิ่มมากขึ้น
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 40.65 ล้านตารางเมตร และ
เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.16 ล้านชิ้น เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 5.14 และ 5.76 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วง
เทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ตลอดจนภาวะอสังหาริมทรัพย์ในประเทศยังชะลอตัว ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างใน
ประเทศลดลง แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายเซรามิกขยายตัวได้ดีขึ้น แม้ว่าการจำหน่ายในประเทศจะมีการแข่งขันที่รุนแรง แต่ผู้
ประกอบการเน้นตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าเพิ่มมากขึ้น และใช้กลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย รูปแบบ ภายใต้
ช่องทางการจำหน่ายที่ทันสมัย รวดเร็ว ครบวงจร และครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ทำให้การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง
สุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.09 และ 11.20 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 การจำหน่ายเซรามิกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 83.50 ล้าน
ตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.39 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.68 และ 10.51
ตามลำดับ
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 253.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.71 และ 26.46 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้บน
โต๊ะอาหารมีมูลค่า การส่งออกมากที่สุด ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น รองลงมา ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนเป็นสำคัญ
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียสหราชอาณาจักร เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มีมูลค่ารวม 495.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อย
ละ 29.57 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์เพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การ
ส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และการส่งออกของชำร่วยเครื่องประดับลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพ
ยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเยอรมนี โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่า 67.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อย
ละ 5.86 และ 72.43 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มีมูลค่า 132.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.07 (ตารางที่ 4) การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับ ใช้ตามห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น
และมาเลเซีย สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น จะนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน เป็นส่วนใหญ่
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้างยังคงได้
รับผลกระทบจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับไตรมาสนี้เป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความ
ต้องการใช้ ในประเทศลดลง แต่การผลิตและจำหน่ายเซรามิกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แม้ว่าการจำหน่ายในประเทศจะมีการแข่ง
ขันที่รุนแรง แต่ผู้ประกอบการเน้นตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าเพิ่มมากขึ้น และใช้กลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย รูป
แบบ ภายใต้ช่องทาง การจำหน่ายที่ทันสมัย รวดเร็ว ครบวงจร และครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากที่สุดทำให้การ จำหน่ายเพิ่มมากขึ้น
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง
สุขภัณฑ์ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในตลาดอาเซียน และการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นใน
ตลาดสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญ ดังนั้น ผู้ผลิตไทยจึงจำเป็นต้องรักษาตลาดเดิมไว้มิให้ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งไป และขยายตลาดใหม่
เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551*
2/1/2550 1/1/2551 2/2551* (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 35,738,165 37,096,411 39,488,578 68,917,024 76,584,989
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 6.45
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.49 11.13
การจำหน่ายในประเทศ 37,264,103 42,854,110 40,650,070 77,547,021 83,504,180
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.14
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.09 7.68
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 10 โรงงาน
2. ไตรมาส 2/2551 และ ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 2,041,530 2,209,335 2,118,486 4,075,911 4,327,821
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.11
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.77 6.18
การจำหน่ายในประเทศ 1,042,595 1,230,201 1,159,346 2,162,251 2,389,547
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.76
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.2 10.51
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
ผลิตภัณฑ์ 2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 24.74 29.89 33.29 46.02 63.18
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.38
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 34.56 37.29
เครื่องสุขภัณฑ์ 32.73 35.18 36 60.99 71.18
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.33
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.99 16.71
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 41.78 39.18 42.49 83.11 81.67
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 8.45
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.7 -1.73
ของชำร่วยเครื่องประดับ 8.69 8.14 7.88 16.66 16.02
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.19
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.32 -3.84
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.05 6.29 7.78 10.14 14.07
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 23.69
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 54.06 38.76
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 87.47 123.4 126.06 165.57 249.47
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.15
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 44.12 50.67
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 200.46 242.1 253.5 382.49 495.59
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.71
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.46 29.57
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
ผลิตภัณฑ์ 2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค-มิ.ย.) (ม.ค-มิ.ย.)
ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 14.81 23.9 22.72 30.03 46.62
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.94
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 53.41 55.24
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 24.61 40.31 45.25 56.89 85.56
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12.26
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 83.87 50.4
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 39.42 64.21 67.97 86.92 132.18
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.86
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 72.43 52.07
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 1. โครงสร้างสินค้านำเข้า แบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็น 1. ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และ 2. ผลิตภัณฑ์
เซรามิกอื่น ได้แก่ อิฐทนไฟ อิฐก่อสร้าง กระเบื้องมุงหลังคา หลอดท่อเซรามิก และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ เครื่องสุขภัณฑ์
ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิก
อื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-