1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณการผลิตปูนเม็ด 9.36 ล้านตันส่วนการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีจำนวน 8.70
ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตปูนเม็ดและการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 10.43 และ 12.83 ตามลำดับ เนื่องจากใน
ไตรมาสที่ 2 อยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตปูนเม็ด และการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่
รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 4.20 และ 6.45 ตามลำดับ และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการผลิตปูนเม็ด 19.81 ล้านตันส่วนการผลิต
ซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีจำนวน 18.68 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.65 และ 2.25 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัวจากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างของไทยยังคงชะลอตัว เนื่องจากปัญหาค่า
ครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ในขณะเดียวกันราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ
ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนและความคืบหน้าในการดำเนิน
โครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐด้วย
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 6.68 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.04 ล้านตัน
และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 6.64 ล้านตัน โดยปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลง
ร้อยละ 13.70 และ 1.18 ตามลำดับ สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 14.42 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.50 เนื่องจากการลงทุนในธุรกิจการก่อสร้างยังคงชะลอตัว ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง จากภาระ
ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณรวม 4.08 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,293.08 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกปูน
เม็ด จำนวน 2.90 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,413.97 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.18 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,879.11
ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.37 แต่มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 41.89เนื่องจากในไตรมาสก่อนผู้
ประกอบการสามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกรวมลดลง ร้อยละ 14.82 แต่มูลค่า
การส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.60
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการส่งออกรวม 7.86 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 14,402.46 ล้าน
บาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 8.92 แต่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.48 โดยเฉพาะในส่วน
ของปูนเม็ดมีปริมาณการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 12.16 แต่ผู้ประกอบการก็สามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น และแม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้า
หลัก คือ สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่ายังคงขยายตัว
ได้ดี เนื่องจากกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณรวม 1,875.83 ตัน คิดเป็นมูลค่า 34.13 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด
จำนวน 37.33 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.37 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1,838.50 ตัน คิดเป็นมูลค่า 31.76 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้ารวมลดลง ร้อยละ 5.60 แต่มูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.99 และ 62.06 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการนำเข้ารวม 3,862.91 ตัน คิดเป็นมูลค่า 63.99 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.87 และ 56.11 ตามลำดับ ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมิ
นัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติ
ของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2551 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังซบเซา เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลง ตามความต้องการของ
ตลาดที่ลดลง โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งความกังวลในเสถียรภาพทางการเมืองทำให้
กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชน และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้เป็น
อุปสรรคในการก่อสร้าง อีกทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา และยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญหลายประการ เช่น ความไม่แน่นอนของต้นทุนพลังงาน และ
ปัญหาค่าครองชีพที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนภาคเอกชน
และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐ สำหรับตลาดต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ลดลง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากในไตรมาสก่อนผู้ประกอบการสามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่
เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และภาพรวมของการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่ง
ออกลดลงในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยลดลงมากในส่วนของปูนเม็ด แต่ผู้ประกอบการก็สามารถขายปูนซีเมนต์ในราคาที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม
ความต้องการของตลาดในแถบอาเซียนขยายตัวได้ดีตามกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถชดเชยความ
ต้องการใช้ปูนซีเมนต์ที่ลดลงของสหรัฐอเมริกาได้ สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ บังคลาเทศ เวียดนาม กัมพูชา และโตโก ในขณะที่มูลค่า
การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาลดลง ถึงร้อยละ 91 เมื่อเทียบกับช่วง 6เดือนแรกของปีก่อน
สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดี เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อ
ทดแทนตลาดภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ และราคาการส่งออกปูนซีเมนต์ได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักในแถบอาเซียน
และตลาดใหม่ คือ ประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรปขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากภาคการก่อสร้างของหลายประเทศในแถบภูมิภาคนี้ยังคง
ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิต
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 9.77 10.5 9.36 19.94 19.81
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.43
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -4.2 -0.65
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 9.3 9.98 8.7 19.11 18.68
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -12.83
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -6.45 -2.25
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 0.02 0.03 0.04 0.1 0.07
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 33.33
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 100 -30
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 6.74 7.71 6.64 14.54 14.35
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.88
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -1.48 -1.31
รวม 6.76 7.74 6.68 14.64 14.42
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.7
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -1.18 -1.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 : ปริมาณการส่งออก
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 3.39 2.52 2.9 6.17 5.42
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.08
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -14.45 -12.16
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1.4 1.28 1.18 2.46 2.44
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.81
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -15.71 -0.81
รวม 4.79 3.8 4.08 8.63 7.86
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.37
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -14.82 -8.92
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 : มูลค่าการส่งออก
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 3,318.91 7,251.20 3,413.97 6,359.16 10,665.17
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -52.92
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2.86 67.71
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1,890.97 1,858.18 1,879.11 3,406.82 3,737.29
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.13
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.63 9.7
รวม 5,209.88 9,109.38 5,293.08 9,765.98 14,402.46
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -41.89
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1.6 47.48
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 : ปริมาณการนำเข้า
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 125.39 23.13 37.33 129.93 60.45
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 61.39
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -70.23 -53.47
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1,243.94 1,963.97 1,838.50 2,256.50 3,802.46
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.39
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 47.8 68.51
รวม 1,369.33 1,987.10 1,875.83 2,386.43 3,862.91
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.6
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 36.99 61.87
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6 : มูลค่าการนำเข้า
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 2.83 0.79 2.37 2.91 3.16
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 200
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -16.25 8.59
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 18.23 29.07 31.76 38.08 60.83
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.25
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 74.22 59.74
รวม 21.06 29.86 34.13 40.99 63.99
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.3
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 62.06 56.11
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณการผลิตปูนเม็ด 9.36 ล้านตันส่วนการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีจำนวน 8.70
ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตปูนเม็ดและการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 10.43 และ 12.83 ตามลำดับ เนื่องจากใน
ไตรมาสที่ 2 อยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตปูนเม็ด และการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่
รวมปูนเม็ด) ลดลงร้อยละ 4.20 และ 6.45 ตามลำดับ และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการผลิตปูนเม็ด 19.81 ล้านตันส่วนการผลิต
ซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีจำนวน 18.68 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.65 และ 2.25 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัวจากปีก่อน เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างของไทยยังคงชะลอตัว เนื่องจากปัญหาค่า
ครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ในขณะเดียวกันราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ
ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนและความคืบหน้าในการดำเนิน
โครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐด้วย
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 6.68 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.04 ล้านตัน
และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 6.64 ล้านตัน โดยปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลง
ร้อยละ 13.70 และ 1.18 ตามลำดับ สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 14.42 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.50 เนื่องจากการลงทุนในธุรกิจการก่อสร้างยังคงชะลอตัว ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง จากภาระ
ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณรวม 4.08 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,293.08 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออกปูน
เม็ด จำนวน 2.90 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,413.97 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.18 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,879.11
ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.37 แต่มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 41.89เนื่องจากในไตรมาสก่อนผู้
ประกอบการสามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกรวมลดลง ร้อยละ 14.82 แต่มูลค่า
การส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.60
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการส่งออกรวม 7.86 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 14,402.46 ล้าน
บาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 8.92 แต่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.48 โดยเฉพาะในส่วน
ของปูนเม็ดมีปริมาณการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 12.16 แต่ผู้ประกอบการก็สามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น และแม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้า
หลัก คือ สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่ายังคงขยายตัว
ได้ดี เนื่องจากกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณรวม 1,875.83 ตัน คิดเป็นมูลค่า 34.13 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด
จำนวน 37.33 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.37 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1,838.50 ตัน คิดเป็นมูลค่า 31.76 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้ารวมลดลง ร้อยละ 5.60 แต่มูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.99 และ 62.06 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการนำเข้ารวม 3,862.91 ตัน คิดเป็นมูลค่า 63.99 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.87 และ 56.11 ตามลำดับ ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมิ
นัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติ
ของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
ในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2551 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังซบเซา เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลง ตามความต้องการของ
ตลาดที่ลดลง โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งความกังวลในเสถียรภาพทางการเมืองทำให้
กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชน และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐ
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้เป็น
อุปสรรคในการก่อสร้าง อีกทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา และยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญหลายประการ เช่น ความไม่แน่นอนของต้นทุนพลังงาน และ
ปัญหาค่าครองชีพที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนภาคเอกชน
และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐ สำหรับตลาดต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ลดลง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากในไตรมาสก่อนผู้ประกอบการสามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่
เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และภาพรวมของการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่ง
ออกลดลงในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยลดลงมากในส่วนของปูนเม็ด แต่ผู้ประกอบการก็สามารถขายปูนซีเมนต์ในราคาที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม
ความต้องการของตลาดในแถบอาเซียนขยายตัวได้ดีตามกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถชดเชยความ
ต้องการใช้ปูนซีเมนต์ที่ลดลงของสหรัฐอเมริกาได้ สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ บังคลาเทศ เวียดนาม กัมพูชา และโตโก ในขณะที่มูลค่า
การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาลดลง ถึงร้อยละ 91 เมื่อเทียบกับช่วง 6เดือนแรกของปีก่อน
สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดี เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อ
ทดแทนตลาดภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ และราคาการส่งออกปูนซีเมนต์ได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักในแถบอาเซียน
และตลาดใหม่ คือ ประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรปขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากภาคการก่อสร้างของหลายประเทศในแถบภูมิภาคนี้ยังคง
ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิต
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 9.77 10.5 9.36 19.94 19.81
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.43
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -4.2 -0.65
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 9.3 9.98 8.7 19.11 18.68
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -12.83
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -6.45 -2.25
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 : ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 0.02 0.03 0.04 0.1 0.07
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 33.33
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 100 -30
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 6.74 7.71 6.64 14.54 14.35
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.88
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -1.48 -1.31
รวม 6.76 7.74 6.68 14.64 14.42
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.7
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -1.18 -1.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 : ปริมาณการส่งออก
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 3.39 2.52 2.9 6.17 5.42
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 15.08
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -14.45 -12.16
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1.4 1.28 1.18 2.46 2.44
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.81
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -15.71 -0.81
รวม 4.79 3.8 4.08 8.63 7.86
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.37
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -14.82 -8.92
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 : มูลค่าการส่งออก
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 3,318.91 7,251.20 3,413.97 6,359.16 10,665.17
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -52.92
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2.86 67.71
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1,890.97 1,858.18 1,879.11 3,406.82 3,737.29
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.13
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -0.63 9.7
รวม 5,209.88 9,109.38 5,293.08 9,765.98 14,402.46
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -41.89
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1.6 47.48
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 : ปริมาณการนำเข้า
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 125.39 23.13 37.33 129.93 60.45
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 61.39
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -70.23 -53.47
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 1,243.94 1,963.97 1,838.50 2,256.50 3,802.46
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.39
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 47.8 68.51
รวม 1,369.33 1,987.10 1,875.83 2,386.43 3,862.91
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5.6
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 36.99 61.87
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 6 : มูลค่าการนำเข้า
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ปูนเม็ด 2.83 0.79 2.37 2.91 3.16
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 200
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -16.25 8.59
ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 18.23 29.07 31.76 38.08 60.83
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.25
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 74.22 59.74
รวม 21.06 29.86 34.13 40.99 63.99
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 14.3
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 62.06 56.11
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-