1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551
มีปริมาณการผลิต 2.32 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.38 และ 46.30 ตามลำดับ
ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่ลดลง เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าแรง ประกอบกับ
สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ อีกทั้งค่าเงินบาทที่ยังไม่นิ่ง ทำให้ผู้ประกอบการลดการ
ลงทุนและกำลังการผลิตลง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณการจำหน่าย 0.94 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51 และ 100.00 ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะความต้องการเครื่องเรือนยังมีอยู่ โดย
เฉพาะผู้บริโภคที่เป็นตลาดบน ประกอบกับรัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ สถาบันทาง
การเงินหลายแห่งได้ออกมาตรการพิเศษทางด้านดอกเบี้ยแก่ผู้อยู่อาศัย ตลอดจนการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และการกระตุ้นการ
จำหน่ายเครื่องเรือนด้วยสิทธิประโยชน์ต่างๆ ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กระเตื้องขึ้น ในขณะเดียวกัน ส่งผลให้ความต้องการอุตสาหกรรมไม้และ
เครื่องเรือนเพิ่มขึ้นด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 620.21
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.05 และ 11.56 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าตลาดส่งออกหลัก
ของไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น ปํญหาซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา และปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่ง
ออกของไทยไปยังประเทศเหล่านั้น แต่การส่งออกไปยังตลาดหลักอื่น ได้แก่ สหราชอาณาจักร ตลอดจนตลาดใหม่ๆ เช่น ประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ
และโดยเฉพาะ ออสเตรเลีย อินเดีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และประเทศในกลุ่มอาเซียน ยังขยายตัวได้ดี
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า
ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มี
มูลค่าการส่งออก 275.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 45 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และ 1.69 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนใน
การส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ
ประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง
ออก 88.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 14 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 3.09 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้
คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้ วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 256.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 41 ของมูลค่าการส่งออกสินค้า
ประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ12.61 และ 32.26 ตาม
ลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้อัด รองลงมาคือ ไม้แปรรูปและไฟเบอร์บอร์ด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้
แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนามและไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีจำนวน 180.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.14 และ 18.44 ตามลำดับ การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้
เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูปและไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ
มาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์และมาเลเซีย และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้า
จากประเทศจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการ
ต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองภายใน
ประเทศที่ยังไม่มีความแน่นอน ทำให้ผู้ประกอบการปรับลดกำลังการผลิตลง
การจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
อุปสงค์ยังมีอยู่ โดยเฉพาะตลาดบน อีกทั้งมาตรการต่างๆที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล มาตรการดอกเบี้ยพิเศษของ
สถาบันการเงิน ตลอดจนการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัย และการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายทั้งโครงการที่อยู่อาศัยและเครื่องเรือน ส่ง
ผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กระเตื้องขึ้น
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะขยาย
ตัว เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง และการใช้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงกับอุตสาหกรรมไม้และ
เครื่องเรือน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงยังได้แก่ ความผันผวนของราคาน้ำมัน ความไม่นิ่งของอัตราแลกเปลี่ยน เงินเฟ้อ ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
และความไม่แน่นอนของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของผู้ประกอบการและการ
บริโภคของประชาชน
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปยัง
ตลาดหลัก ได้แก่ สหราชอาณาจักร และตลาดใหม่ เช่น ประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ และโดยเฉพาะออสเตรเลีย อินเดีย ประเทศแถบตะวันออก
กลาง และประเทศอาเซียน ขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงยังได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลักของไทย
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี ทั้งในตลาดหลัก โดย
เฉพาะสหราชอาณาจักร และตลาดใหม่อื่นๆ โดยเฉพาะออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง ที่มีกำลังซื้อสูง และมีการขยายตัวของ
ภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปตลาดหลักอื่น ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น คาดว่าจะยังคงชะลอตัวต่อไป นอกจากนี้
คู่แข่งของไทย เช่น เวียดนาม เริ่มประสบปัญหาเงินเฟ้อ จึงอาจเป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดโลก
ในสภาวะความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อต้น
ทุนการผลิต และส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง ผู้ประกอบการจึงควรเร่งปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิต แสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น
กับโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ ปรับปรุงคุณภาพสินค้า และหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับกับการที่ไทยต้องแข่งขันกับคู่แข่งหน้าใหม่ๆในตลาดโลก
เช่น มาเลเซีย ที่กำลังจะก้าวมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 4.32 2.56 2.32 9.09 4.88
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -9.38
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -46.3 -46.31
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 0.47 0.51 0.94 1.26 1.45
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 84.31
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 100 15.08
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 เทียบกับช่วง
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.) เดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 270.9 268.8 275.4 2.47 1.69 553.98 544.22 -1.76
1.1 เครื่องเรือนไม้ 142 135.8 136.6 0.58 -3.76 292.04 272.45 -6.71
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 70.52 60.61 60.86 0.41 -13.7 140.27 121.47 -13.4
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 58.37 72.35 77.95 7.74 33.54 121.67 150.3 23.53
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 91.34 88.46 88.52 0.07 -3.09 179.34 176.98 -1.32
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 22.48 21.69 23.51 8.39 4.58 42.2 45.2 7.11
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 34.04 31.97 29.14 -8.85 -14.39 70.61 61.11 -13.5
2.3 กรอบรูปไม้ 21.54 18.89 18.33 -2.96 -14.9 42.44 37.22 -12.3
2.4 รูปแกะสลักไม้ 13.28 15.91 17.54 10.25 32.08 24.09 33.45 38.85
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 193.8 227.6 256.3 12.61 32.26 385.31 483.82 25.57
3.1 ไม้แปรรูป 68.47 64.99 75.23 15.76 9.87 137.17 140.22 2.22
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 1.82 2.06 1.61 -21.8 -11.54 3.54 3.67 3.67
3.3 ไม้อัด 57.47 68.45 76.31 11.48 32.78 114.83 144.76 26.06
3.4 Fiber Board 51.37 64.75 72.24 11.57 40.63 100.5 136.99 36.31
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 14.62 27.31 30.87 13.04 111.2 29.27 58.18 98.77
รวม 555.9 584.8 620.2 6.05 11.56 1,118.63 1,205.02 7.72
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 เทียบกับช่วง
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.) เดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 21.47 22.07 33.3 50.9 55.1 46.47 55.37 19.2
ไม้แปรรูป 90.4 83.5 101 21.1 11.8 182.9 184.6 0.95
ไม้อัด วีเนียร์ 28.38 32.02 31.7 -0.97 11.7 49.2 63.73 29.5
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 12.49 14.25 14.8 3.79 18.4 24.95 29.04 16.4
รวม 152.7 151.8 181 19.1 18.4 303.5 332.7 9.64
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551
มีปริมาณการผลิต 2.32 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.38 และ 46.30 ตามลำดับ
ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่ลดลง เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าแรง ประกอบกับ
สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ อีกทั้งค่าเงินบาทที่ยังไม่นิ่ง ทำให้ผู้ประกอบการลดการ
ลงทุนและกำลังการผลิตลง
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีปริมาณการจำหน่าย 0.94 ล้านชิ้น เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.51 และ 100.00 ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะความต้องการเครื่องเรือนยังมีอยู่ โดย
เฉพาะผู้บริโภคที่เป็นตลาดบน ประกอบกับรัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ สถาบันทาง
การเงินหลายแห่งได้ออกมาตรการพิเศษทางด้านดอกเบี้ยแก่ผู้อยู่อาศัย ตลอดจนการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และการกระตุ้นการ
จำหน่ายเครื่องเรือนด้วยสิทธิประโยชน์ต่างๆ ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กระเตื้องขึ้น ในขณะเดียวกัน ส่งผลให้ความต้องการอุตสาหกรรมไม้และ
เครื่องเรือนเพิ่มขึ้นด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 620.21
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.05 และ 11.56 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าตลาดส่งออกหลัก
ของไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น ปํญหาซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา และปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่ง
ออกของไทยไปยังประเทศเหล่านั้น แต่การส่งออกไปยังตลาดหลักอื่น ได้แก่ สหราชอาณาจักร ตลอดจนตลาดใหม่ๆ เช่น ประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ
และโดยเฉพาะ ออสเตรเลีย อินเดีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และประเทศในกลุ่มอาเซียน ยังขยายตัวได้ดี
สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า
ดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มี
มูลค่าการส่งออก 275.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 45 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และ 1.69 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนใน
การส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ
ประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่ง
ออก 88.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 14 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 3.09 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้
คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้ วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 256.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 41 ของมูลค่าการส่งออกสินค้า
ประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ12.61 และ 32.26 ตาม
ลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้อัด รองลงมาคือ ไม้แปรรูปและไฟเบอร์บอร์ด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้
แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนามและไต้หวัน
2.3 การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีจำนวน 180.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.14 และ 18.44 ตามลำดับ การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้
เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูปและไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ
มาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์และมาเลเซีย และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้า
จากประเทศจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการ
ต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองภายใน
ประเทศที่ยังไม่มีความแน่นอน ทำให้ผู้ประกอบการปรับลดกำลังการผลิตลง
การจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
อุปสงค์ยังมีอยู่ โดยเฉพาะตลาดบน อีกทั้งมาตรการต่างๆที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล มาตรการดอกเบี้ยพิเศษของ
สถาบันการเงิน ตลอดจนการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัย และการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายทั้งโครงการที่อยู่อาศัยและเครื่องเรือน ส่ง
ผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กระเตื้องขึ้น
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะขยาย
ตัว เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง และการใช้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงกับอุตสาหกรรมไม้และ
เครื่องเรือน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงยังได้แก่ ความผันผวนของราคาน้ำมัน ความไม่นิ่งของอัตราแลกเปลี่ยน เงินเฟ้อ ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น
และความไม่แน่นอนของสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของผู้ประกอบการและการ
บริโภคของประชาชน
การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการส่งออกไปยัง
ตลาดหลัก ได้แก่ สหราชอาณาจักร และตลาดใหม่ เช่น ประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ และโดยเฉพาะออสเตรเลีย อินเดีย ประเทศแถบตะวันออก
กลาง และประเทศอาเซียน ขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงยังได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลักของไทย
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี ทั้งในตลาดหลัก โดย
เฉพาะสหราชอาณาจักร และตลาดใหม่อื่นๆ โดยเฉพาะออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง ที่มีกำลังซื้อสูง และมีการขยายตัวของ
ภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปตลาดหลักอื่น ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น คาดว่าจะยังคงชะลอตัวต่อไป นอกจากนี้
คู่แข่งของไทย เช่น เวียดนาม เริ่มประสบปัญหาเงินเฟ้อ จึงอาจเป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดโลก
ในสภาวะความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อต้น
ทุนการผลิต และส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง ผู้ประกอบการจึงควรเร่งปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิต แสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น
กับโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ ปรับปรุงคุณภาพสินค้า และหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับกับการที่ไทยต้องแข่งขันกับคู่แข่งหน้าใหม่ๆในตลาดโลก
เช่น มาเลเซีย ที่กำลังจะก้าวมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 4.32 2.56 2.32 9.09 4.88
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -9.38
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -46.3 -46.31
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
หน่วย : ล้านชิ้น
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 0.47 0.51 0.94 1.26 1.45
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 84.31
% D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 100 15.08
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน
ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 เทียบกับช่วง
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.) เดียวกันของปีก่อน
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 270.9 268.8 275.4 2.47 1.69 553.98 544.22 -1.76
1.1 เครื่องเรือนไม้ 142 135.8 136.6 0.58 -3.76 292.04 272.45 -6.71
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ 70.52 60.61 60.86 0.41 -13.7 140.27 121.47 -13.4
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 58.37 72.35 77.95 7.74 33.54 121.67 150.3 23.53
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 91.34 88.46 88.52 0.07 -3.09 179.34 176.98 -1.32
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 22.48 21.69 23.51 8.39 4.58 42.2 45.2 7.11
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 34.04 31.97 29.14 -8.85 -14.39 70.61 61.11 -13.5
2.3 กรอบรูปไม้ 21.54 18.89 18.33 -2.96 -14.9 42.44 37.22 -12.3
2.4 รูปแกะสลักไม้ 13.28 15.91 17.54 10.25 32.08 24.09 33.45 38.85
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 193.8 227.6 256.3 12.61 32.26 385.31 483.82 25.57
3.1 ไม้แปรรูป 68.47 64.99 75.23 15.76 9.87 137.17 140.22 2.22
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 1.82 2.06 1.61 -21.8 -11.54 3.54 3.67 3.67
3.3 ไม้อัด 57.47 68.45 76.31 11.48 32.78 114.83 144.76 26.06
3.4 Fiber Board 51.37 64.75 72.24 11.57 40.63 100.5 136.99 36.31
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 14.62 27.31 30.87 13.04 111.2 29.27 58.18 98.77
รวม 555.9 584.8 620.2 6.05 11.56 1,118.63 1,205.02 7.72
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 เทียบกับช่วง
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-มิ.ย.)(ม.ค.-มิ.ย.) เดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง 21.47 22.07 33.3 50.9 55.1 46.47 55.37 19.2
ไม้แปรรูป 90.4 83.5 101 21.1 11.8 182.9 184.6 0.95
ไม้อัด วีเนียร์ 28.38 32.02 31.7 -0.97 11.7 49.2 63.73 29.5
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 12.49 14.25 14.8 3.79 18.4 24.95 29.04 16.4
รวม 152.7 151.8 181 19.1 18.4 303.5 332.7 9.64
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-