1. การผลิตในประเทศ
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีปริมาณ 5,676 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาส
ก่อน ร้อยละ 11.8 และ 13.9 ตามลำดับ และในครึ่งแรกของปี 2551 มีปริมาณการผลิต 12,268 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5
ปริมาณการผลิตที่ลดลงดังกล่าว มาจากปัจจัยสำคัญ คือ การผลิตยาน้ำ ยาครีม และยาผง ลดลง
โดยในส่วนของยาน้ำนั้น ผู้ผลิตบางรายได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อลดลง และลดปริมาณการผลิตลง สำหรับยาครีม ผู้ผลิตที่รับ
จ้างผลิตได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างลดลง โดยผู้ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตยาครีมบางชนิดที่ผู้รับจ้างเคยได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนมากไปยังประเทศ
อินโดนีเซีย และในส่วนของยาผง มีผู้ผลิตต้องการขายธุรกิจ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้ซื้อธุรกิจนี้ต่อ ส่งผลให้ลูกค้าไม่มั่นใจในสถานการณ์ จึง
ชะลอการสั่งซื้อ
2. การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีปริมาณ 5,642.6 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและ
ไตรมาสก่อน ร้อยละ 6.8 และ 8.5 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายในครึ่งแรกของปี 2551 มีปริมาณ 11,810 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 0.8 ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากปริมาณการจำหน่ายยาน้ำ ยาครีม และยาผง ที่ลดลง
โดยปริมาณการจำหน่ายยาน้ำลดลง เนื่องจากผู้ผลิตได้ปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่
การแข่งขันด้านราคาในตลาดมีสูงมาก แม้ขึ้นราคาเพียงเล็กน้อย แต่ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจากร้านขายยา สำหรับยาครีม ผู้
ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตยาครีมบางชนิดที่ผู้รับจ้างเคยได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนมากไปยังประเทศอินโดนีเซีย ทำให้จำหน่ายสินค้าได้ลดลง ในส่วนของยา
ผง ลูกค้าได้ชะลอการสั่งซื้อ เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานการณ์ที่มีผู้ผลิตที่จะขายธุรกิจต่อให้ผู้ผลิตรายอื่น
อย่างไรก็ตามแม้การผลิตและการจำหน่ายจะมีปริมาณลดลง แต่ผู้ผลิตได้พยายามพัฒนายาสามัญที่มีสูตรตำรับใหม่ ๆ ออกมา แทนการผลิตยา
เดิมที่มีอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาที่มีอยู่สูงในตลาด
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรค ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่า 8,165.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 19.5 และ 4.4 ตามลำดับ โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์
ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 4,023.9 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 49.3 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษา
หรือป้องกันโรคทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2551 มีการนำเข้ามูลค่า 15,989.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21
โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม
7,574.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 47.4 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด
การนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคจากประเทศผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยานำเข้าเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสิทธิ
บัตร ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และใช้สำหรับโรคที่ต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทผู้นำเข้ายังให้ความสำคัญกับแผนการตลาด ไม่
ว่าจะเป็นการรณรงค์เรื่องสุขภาพ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ แพทย์ในโรงพยาบาลและคลินิก รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้วยการจัด
กิจกรรมเพื่อสังคม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นตลาดให้มีการใช้จ่ายและจดจำตราสินค้า
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่า 1,444.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและ
ไตรมาสก่อนร้อยละ 19.6 และ 24.3 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมาร์ กัมพูชา และฮ่องกง โดย
การส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,035 ล้านบาท หรือร้อยละ 71.6 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรก
ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 2,607.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.8 ตลาดส่งออกสำคัญในครึ่งแรกของปี ได้แก่
เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,841.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.6 ของมูลค่า
การส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด
ยาเป็นสินค้าที่ต้องมีความเชื่อมั่นสูง ฉะนั้นผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะต้องสร้างความมั่นใจในสินค้าให้กับลูกค้า ผู้ผลิตในประเทศจึงพยายามยก
ระดับมาตรฐานในการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าที่ผลิตได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ ทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น
5. สรุป
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องมา
จากปัจจัยสำคัญ คือ ยาน้ำ ยาครีม และยาผง โดยมีผู้ผลิตปรับราคายาน้ำขึ้นเล็กน้อย ตามราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่การแข่งขันด้าน
ราคาในตลาดมีสูงมาก แม้ขึ้นราคาเพียงเล็กน้อย ก็ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อลดลง สำหรับยาครีม ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิต ได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างลดลง โดยผู้
ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตยาครีมไปยังประเทศอินโดนีเซีย ในส่วนของยาผง มีผู้ผลิตต้องการขายธุรกิจ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้ซื้อธุรกิจนี้ต่อ
ส่งผลให้ลูกค้าไม่มั่นใจในสถานการณ์ จึงชะลอการสั่งซื้อ ด้านการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการนำเข้ายาสิทธิบัตร ส่วนการส่งออกไปยัง
ตลาดหลักยังคงขยายตัวได้ดี
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 คาดว่า การผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจะสั่งสินค้าในปริมาณมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้
เหลือสูงมากในไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า ยังขยายตัวได้ดี หากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ส่วนมูลค่าการ
นำเข้าคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิบัตรเป็นหลัก
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (มค.-มิย.) (มค.-มิย.)
ยาเม็ด 1,302.80 1,477.30 1,403.70 2,724.70 2,881.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.7 5.7
ยาน้ำ 3,240.10 3,237.00 2,819.30 6,288.50 6,056.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -12.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -13 -3.7
ยาแคปซูล 140.7 198.8 141.7 278.5 340.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -28.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.7 22.3
ยาฉีด 95.1 111.1 116 219.7 227.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22 3.4
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 26.6 30 22.5 53.1 52.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -25
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -15.4 -1.1
ยาครีม 611.8 533.6 500.6 1,235.30 1,034.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -18.2 -16.3
ยาผง 1,021.50 1,004.20 672.2 2,114.20 1,676.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -33.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -34.2 -20.7
รวม 6,438.60 6,592.00 5,676.00 12914 12268
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -11.8 -5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน
ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (มค.-มิย.) (มค.-มิย.)
ยาเม็ด 1,316.90 1,445.00 1,393.90 2,629.40 2,838.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.8 8
ยาน้ำ 3,727.10 3,919.30 3,387.00 7,344.20 7,306.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.1 -0.5
ยาแคปซูล 174 174.1 229.6 363.2 403.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 31.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32 11.2
ยาฉีด 72.4 83.6 85.9 156.4 169.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.6 8.4
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 28.2 27.7 25 53 52.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -9.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -11.3 -0.6
ยาครีม 570.4 387.4 394.3 1,034.90 781.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -30.9 -24.5
ยาผง 168.3 130.3 126.9 320.6 257.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -24.6 -19.8
รวม 6,057.30 6,167.40 5,642.60 11901.7 11810
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.8 -0.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน
ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรค*
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (มค.-มิย.) (มค.-มิย.)
มูลค่าการนำเข้า 6,834.80 7,824.00 8,165.70 13210.6 15989.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.5 21
มูลค่าการส่งออก 1,208.60 1,162.50 1,444.90 2,418.80 2,607.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 24.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.6 7.8
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ : รวบรวมจาก HS 3003 และ 3004
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีปริมาณ 5,676 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาส
ก่อน ร้อยละ 11.8 และ 13.9 ตามลำดับ และในครึ่งแรกของปี 2551 มีปริมาณการผลิต 12,268 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5
ปริมาณการผลิตที่ลดลงดังกล่าว มาจากปัจจัยสำคัญ คือ การผลิตยาน้ำ ยาครีม และยาผง ลดลง
โดยในส่วนของยาน้ำนั้น ผู้ผลิตบางรายได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อลดลง และลดปริมาณการผลิตลง สำหรับยาครีม ผู้ผลิตที่รับ
จ้างผลิตได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างลดลง โดยผู้ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตยาครีมบางชนิดที่ผู้รับจ้างเคยได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนมากไปยังประเทศ
อินโดนีเซีย และในส่วนของยาผง มีผู้ผลิตต้องการขายธุรกิจ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้ซื้อธุรกิจนี้ต่อ ส่งผลให้ลูกค้าไม่มั่นใจในสถานการณ์ จึง
ชะลอการสั่งซื้อ
2. การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีปริมาณ 5,642.6 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและ
ไตรมาสก่อน ร้อยละ 6.8 และ 8.5 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายในครึ่งแรกของปี 2551 มีปริมาณ 11,810 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 0.8 ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากปริมาณการจำหน่ายยาน้ำ ยาครีม และยาผง ที่ลดลง
โดยปริมาณการจำหน่ายยาน้ำลดลง เนื่องจากผู้ผลิตได้ปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่
การแข่งขันด้านราคาในตลาดมีสูงมาก แม้ขึ้นราคาเพียงเล็กน้อย แต่ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจากร้านขายยา สำหรับยาครีม ผู้
ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตยาครีมบางชนิดที่ผู้รับจ้างเคยได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนมากไปยังประเทศอินโดนีเซีย ทำให้จำหน่ายสินค้าได้ลดลง ในส่วนของยา
ผง ลูกค้าได้ชะลอการสั่งซื้อ เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานการณ์ที่มีผู้ผลิตที่จะขายธุรกิจต่อให้ผู้ผลิตรายอื่น
อย่างไรก็ตามแม้การผลิตและการจำหน่ายจะมีปริมาณลดลง แต่ผู้ผลิตได้พยายามพัฒนายาสามัญที่มีสูตรตำรับใหม่ ๆ ออกมา แทนการผลิตยา
เดิมที่มีอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาที่มีอยู่สูงในตลาด
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรค ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่า 8,165.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 19.5 และ 4.4 ตามลำดับ โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์
ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 4,023.9 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 49.3 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษา
หรือป้องกันโรคทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2551 มีการนำเข้ามูลค่า 15,989.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21
โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม
7,574.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 47.4 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด
การนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคจากประเทศผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยานำเข้าเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสิทธิ
บัตร ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และใช้สำหรับโรคที่ต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทผู้นำเข้ายังให้ความสำคัญกับแผนการตลาด ไม่
ว่าจะเป็นการรณรงค์เรื่องสุขภาพ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ แพทย์ในโรงพยาบาลและคลินิก รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้วยการจัด
กิจกรรมเพื่อสังคม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นตลาดให้มีการใช้จ่ายและจดจำตราสินค้า
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่า 1,444.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและ
ไตรมาสก่อนร้อยละ 19.6 และ 24.3 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมาร์ กัมพูชา และฮ่องกง โดย
การส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,035 ล้านบาท หรือร้อยละ 71.6 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรก
ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 2,607.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.8 ตลาดส่งออกสำคัญในครึ่งแรกของปี ได้แก่
เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,841.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.6 ของมูลค่า
การส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด
ยาเป็นสินค้าที่ต้องมีความเชื่อมั่นสูง ฉะนั้นผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะต้องสร้างความมั่นใจในสินค้าให้กับลูกค้า ผู้ผลิตในประเทศจึงพยายามยก
ระดับมาตรฐานในการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าที่ผลิตได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ ทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น
5. สรุป
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องมา
จากปัจจัยสำคัญ คือ ยาน้ำ ยาครีม และยาผง โดยมีผู้ผลิตปรับราคายาน้ำขึ้นเล็กน้อย ตามราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่การแข่งขันด้าน
ราคาในตลาดมีสูงมาก แม้ขึ้นราคาเพียงเล็กน้อย ก็ส่งผลให้ยอดสั่งซื้อลดลง สำหรับยาครีม ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิต ได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างลดลง โดยผู้
ว่าจ้างได้ย้ายฐานการผลิตยาครีมไปยังประเทศอินโดนีเซีย ในส่วนของยาผง มีผู้ผลิตต้องการขายธุรกิจ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้ซื้อธุรกิจนี้ต่อ
ส่งผลให้ลูกค้าไม่มั่นใจในสถานการณ์ จึงชะลอการสั่งซื้อ ด้านการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการนำเข้ายาสิทธิบัตร ส่วนการส่งออกไปยัง
ตลาดหลักยังคงขยายตัวได้ดี
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 คาดว่า การผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจะสั่งสินค้าในปริมาณมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้
เหลือสูงมากในไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า ยังขยายตัวได้ดี หากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ส่วนมูลค่าการ
นำเข้าคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิบัตรเป็นหลัก
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (มค.-มิย.) (มค.-มิย.)
ยาเม็ด 1,302.80 1,477.30 1,403.70 2,724.70 2,881.00
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.7 5.7
ยาน้ำ 3,240.10 3,237.00 2,819.30 6,288.50 6,056.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -12.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -13 -3.7
ยาแคปซูล 140.7 198.8 141.7 278.5 340.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -28.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.7 22.3
ยาฉีด 95.1 111.1 116 219.7 227.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22 3.4
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 26.6 30 22.5 53.1 52.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -25
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -15.4 -1.1
ยาครีม 611.8 533.6 500.6 1,235.30 1,034.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -6.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -18.2 -16.3
ยาผง 1,021.50 1,004.20 672.2 2,114.20 1,676.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -33.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -34.2 -20.7
รวม 6,438.60 6,592.00 5,676.00 12914 12268
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -11.8 -5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน
ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (มค.-มิย.) (มค.-มิย.)
ยาเม็ด 1,316.90 1,445.00 1,393.90 2,629.40 2,838.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.8 8
ยาน้ำ 3,727.10 3,919.30 3,387.00 7,344.20 7,306.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -13.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.1 -0.5
ยาแคปซูล 174 174.1 229.6 363.2 403.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 31.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 32 11.2
ยาฉีด 72.4 83.6 85.9 156.4 169.5
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.6 8.4
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 28.2 27.7 25 53 52.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -9.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -11.3 -0.6
ยาครีม 570.4 387.4 394.3 1,034.90 781.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -30.9 -24.5
ยาผง 168.3 130.3 126.9 320.6 257.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -24.6 -19.8
รวม 6,057.30 6,167.40 5,642.60 11901.7 11810
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.8 -0.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน
ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรค*
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2550 2551
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 (มค.-มิย.) (มค.-มิย.)
มูลค่าการนำเข้า 6,834.80 7,824.00 8,165.70 13210.6 15989.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 4.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.5 21
มูลค่าการส่งออก 1,208.60 1,162.50 1,444.90 2,418.80 2,607.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 24.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.6 7.8
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ : รวบรวมจาก HS 3003 และ 3004
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-