1. การผลิต
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตยางแท่งและยางแผ่นลดลงร้อยละ 35.50 และ 59.93 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนักในภาคใต้ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่งผลกระทบให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดลดลง และเมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตยางแท่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.78 แต่การผลิตยางแผ่นลดลงร้อยละ 34.28 ในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2551 ปริมาณผลผลิตยางพาราน้อยลง ส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.04 บาท สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.59 และ 23.35 ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการ ยางพาราในประเทศและต่างประเทศยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมยางรถยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่ สุดในโลก ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันสูงขึ้นเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ความต้องการยางพารามีอยู่อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 18.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย เพิ่มขึ้นในยางแท่ง
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ของกลุ่มยางยานพาหนะโดยรวมลดลง เนื่องจากยางพาราที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตมี ราคาแพงขึ้น และอาจจะแพงกว่าราคาในจีน สาเหตุหนึ่งมาจากปี 2550 ที่ผ่านมาจีนมีการซื้อยางไปกักตุนในประเทศไว้จำนวนมาก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 กลุ่มยางนอกรถยนต์มีปริมาณการผลิตประมาณ 6.30 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.21 โดยลดลงในยางนอกเกือบทุก ประเภท อาทิ ยางนอกรถยนต์นั่ง ยางนอกรถกระบะ และยางนอกรถบรรทุก/รถโดยสาร ส่วนกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานมีปริมาณการ ผลิต 11.09 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.36 เท่านั้น โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถจักรยาน สำหรับกลุ่มยางในมีปริมาณการ ผลิต 14.54 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.81 โดยลดลงในยางในรถบรรทุก/รถโดยสาร และยางในรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะยางใน รถจักรยานยนต์ซึ่งประสบปัญหาการทุ่มตลาดจากประเทศจีน ซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าของไทย แม้คุณภาพสินค้าของจีนจะไม่ดีนัก แต่เมื่อ เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่ากลุ่มยางนอกทั้งสองประเภทขยายตัวร้อยละ 12.83 และ 9.58 ตามลำดับ โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นใน ยางนอกทุกประเภท ส่วนกลุ่มยางในลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.24 โดยลดลงในยางในรถบรรทุก/รถโดยสาร และยางในรถจักรยาน สำหรับถุงมือ ยางมีการผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.80 เนื่องจากเป็นช่วงที่วัตถุดิบน้ำยางข้นมีราคาแพงขึ้น ทำให้ต้นทุนการ ผลิตสูงขึ้น ผู้ผลิตบางรายจึงลดการผลิตลง อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตถุงมือยางเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.50 ตามการ ขยายตัวของความต้องการในตลาดโลกที่สูงขึ้นร้อยละ 10 -12 ต่อปี
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในครึ่งแรกของปี 2551 ของกลุ่มยางนอกรถยนต์ 12.68 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน 22.14 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 29.35 ล้านเส้น เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 12.10 6.57 และ 0.70 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นใน
ยางทุกประเภทยกเว้นยางในรถจักรยาน ในภาพรวมผลผลิตยางยานพาหนะขยายตัว ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม ยานยนต์ใน ประเทศ ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำของโลกหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาประเทศไทย จากเดิมที่มีเพียงค่ายมิชลิน บริดสโตน และกูด เยียร์ ขณะนี้ได้มีผู้ผลิตรายใหม่ๆเข้ามาลงทุน ได้แก่ โยโกฮามา ซูมิโตโม จากญี่ปุ่น และ แม๊คซีส จากไต้หวัน สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในครึ่งแรก ของปี 2551 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.04 ตามความต้องการใช้ถุงมือยางในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศต่างๆตระหนัก ถึงความสำคัญของการป้องกันเชื้อโรคมากขึ้น และการมีมาตรฐานเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะจีน และอินเดียได้พัฒนาสูงขึ้น รวมทั้งความต้องการนำถุงมือยางไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆแพร่หลายทั่วโลกเพิ่มขึ้น
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นในประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของอุตสาหกรรมยางรถ ยนต์ในประเทศ โดยปริมาณการจำหน่ายยางแท่งในประเทศเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 32.52 แต่ลดลงจากและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.27 ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายยางแผ่นในประเทศลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.56 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.99
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ได้แก่ การจำหน่ายของกลุ่มยางนอกรถยนต์ 4.85 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ จักรยานยนต์/รถจักรยาน 4.95 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 8.80 ล้านเส้น การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อย ละ 0.17 โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์นั่ง และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.95 โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท ตามการ ขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.33 โดยลดลงในยางในทุกประเภท และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.15 โดยเพิ่มขึ้นในยางในรถจักรยานยนต์และยางในรถจักรยาน ส่วนในกลุ่มของยางในลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.58 โดยลดลงในยางในรถจักรยานยนต์ และยางในรถจักรยาน แต่เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียว กันของปีก่อนร้อยละ 1.74 โดยเพิ่มขึ้นในยางในทุกประเภท สำหรับถุงมือยางมีการจำหน่ายในประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ลดลงจาก ไตรมาสก่อนร้อยละ 5.88 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.90
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศในครึ่งแรกของปี 2551 มีการขยายตัวในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มยางนอกรถยนต์ กลุ่มยางนอก รถจักรยานยนต์/จักรยาน และกลุ่มยางในที่มีปริมาณการจำหน่าย 9.70 10.14 และ 17.93 ล้านเส้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 7.34 4.65 และ 4.79 ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายถุงมือยางในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยาย ตัวร้อยละ 16.87
2.2 ตลาดส่งออก
ยางแปรรูปขั้นต้นที่ไทยส่งออก ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จำนวน 1,588.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจาก
ไตรมาสก่อนร้อยละ 8.14 เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนักทำให้เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่งผลให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดลดลง แต่ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.46 โดยส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้นในรูปของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐ อเมริกา
สำหรับการส่งออกยางแปรรูปในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มีมูลค่า 3,318.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อย ละ 31.06 โดยเพิ่มขึ้นในยางแผ่นและน้ำยางข้น ตามความต้องการใช้ยางธรรมชาติในตลาดโลก และลดลงในยางแท่ง ซึ่งเป็นผลกระทบจากค่าเงิน บาทที่แข็งขึ้น ทำให้ยางธรรมชาติของไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกยางแท่งรายใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ประเทศคู่ค้ายางธรรมชาติของไทย เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พากันลดการนำเข้าจากไทย และหันไปซื้อยางแท่งจากอินโดนีเซียแทน อย่างไรก็ตาม ความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในสหรัฐ อเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกให้ประเทศได้ประมาณ ร้อยละ 40 ของการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้ง หมด ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่งกำลัง ผลิตภัณฑ์ยางที่ ใช้ทางเภสัชกรรม ยางวัลแคไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จำนวน 1,141.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.74 และ 23.97 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ยางเกือบทุกประเภท ยกเว้นยางรัดของตลาดส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ มาเลเซีย
สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง 2,211.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อย ละ 24.34 โดยมียางยานพาหนะเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 1,014.10 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 45.86 ของมูลค่าส่งออก ผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.08
2.3 ตลาดนำเข้า
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 359.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.28 และ 23.35 ตามลำดับ ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถยนต์ ท่อ หรือข้อต่อ
และสายพานลำเลียง โดยยางสังเคราะห์มีมูลค่าการนำเข้า 165.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 14.53 และ 41.11 ตามลำดับ ยางวัลแคไนซ์ มีมูลค่าการนำเข้า 83.60 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 20.99 แต่ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.09 ยางรถยนต์มีการนำเข้า 54.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.96 แต่ลด ลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.19 ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 43.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.33 และ 44.60 ตามลำดับ
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 710.08 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัวจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 33 สินค้าที่มีการนำเข้าขยายตัวสูง ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง ส่วนใหญ่นำ เข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา
3. สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การผลิตยางพาราลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางยานพาหนะและถุงมือยาง ลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกยางลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.14 แต่ผลิตภัณฑ์ขยายตัวสูงขึ้น จากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.74 หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางขยายตัวร้อยละ 30.46 และ 23.97 ตาม ลำดับ ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดลดลง เพราะเป็นช่วงฝนตกหนักในภาคใต้ และสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ทั่วโลกหันมาใช้ยางธรรมชาติแทนยางสังเคราะห์มากขึ้น จึงดันให้ราคายางธรรมชาติสูงขึ้น อีกทั้งเนื่องจากความต้องการยางพารา ในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน ซึ่งเป็นตลาดยานยนต์ที่ขยายตัวรวดเร็วที่สุดในโลกโดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1 ล้านคัน ทำให้จีนมี อัตราการขยายตัวการใช้ยางสูงขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 3 ปี 2551 คาดว่าราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท เป็น สถิติที่สูงที่สุด สาเหตุหนึ่งมาจากจำนวนสต๊อกยางพาราทั้งในประเทศและต่างประเทศเริ่มลดลง ราคาน้ำมันที่พุ่งสูง การเข้ามาเก็งกำไรราคายางใน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของกองทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้ราคายางพาราสูงขึ้น นอกจากนี้ความต้องการยางพาราในตลาดโลก และความต้อง การใช้ยางในการผลิตยางยานพาหนะภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น จากการที่ภาครัฐให้การส่งเสริมขยายฐานการผลิตรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางรถ ยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่มีบริษัทผู้ผลิตยางยานพาหนะชั้นนำของโลกหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ดังนั้น อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางจึงมีโอกาสเติบโตควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมรถยนต์
รายการ หน่วย ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกัน 2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.) ของปีก่อน ยางนอกรถยนต์ เส้น 5,587,106 6,381,206 6,304,047 -1.21 12.83 11,316,369 12,685,253 12.1 - ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 3,375,027 3,941,289 3,896,796 -1.13 15.46 6,968,479 7,838,085 12.48 - ยางนอกรถกระบะ เส้น 1,124,297 1,291,565 1,291,126 -0.03 14.84 2,159,933 2,582,691 19.57 - ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 1,039,533 1,097,261 1,063,254 -3.10 2.28 2,095,916 2,160,515 3.08 - ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 48,249 51,091 52,871 3.48 9.58 92,041 103,962 12.95 ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 10,121,140 11,051,295 11,090,908 0.36 9.58 20,776,209 22,141,822 6.57 - ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 5,489,692 5,818,286 5,782,821 -0.61 5.34 11,020,864 11,600,807 5.26 - ยางนอกรถจักรยาน เส้น 4,553,875 5,075,734 5,139,397 1.25 12.86 9,585,556 10,215,131 6.57 - ยางนอกอื่น ๆ เส้น 77,573 157,275 168,690 7.26 117.46 169,789 325,884 91.93 ยางใน เส้น 14,577,033 14,810,401 14,542,113 -1.81 -0.24 29,147,791 29,352,514 0.70 - ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 521,248 539,857 496,969 -7.94 -4.66 978,616 1,036,826 5.95 - ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 8,799,465 9,304,952 8,912,446 -4.22 1.28 17,355,199 18,217,398 4.97 - ยางในรถจักรยาน เส้น 5,256,320 4,965,592 5,132,698 3.37 -2.35 10,813,976 10,098,290 -6.62 ยางรอง เส้น 724,536 690,277 683,152 -1.03 -5.71 1,423,973 1,373,429 -3.55 ยางหล่อดอก เส้น 21,366 21,454 22,466 4.72 5.15 41,876 43,920 4.88 ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 2,091,337,398 2,591,758,400 2,415,513,406 -6.80 15.50 4,469,344,875 5,007,271,806 12.04 ยางรัดของ ตัน 3,854.78 3,574.99 3,369.33 -5.75 -12.59 7,772.65 6,944.31 -10.66 ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 228,691.43 363,554.18 217,214.22 -40.25 -5.02 488,142.82 580,768.40 18.98 - ยางแผ่น ตัน 43,141.54 70,753.64 28,352.39 -59.93 -34.28 115,367.71 99,106.03 -14.10 - ยางแท่ง ตัน 185,549.89 292,800.54 188,861.83 -35.50 1.78 372,775.11 481,662.37 29.21 ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ รายการ หน่วย ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกัน 2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.) ของปีก่อน ยางนอกรถยนต์ เส้น 4,539,246 4,846,261 4,854,523 0.17 6.95 9,037,263 9,700,784 7.34 - ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 2,610,412 2,771,428 2,789,056 0.64 6.84 5,186,932 5,560,484 7.20 - ยางนอกรถกระบะ เส้น 1,087,907 1,204,471 1,198,495 -0.50 10.17 2,147,302 2,402,966 11.91 - ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 816,712 841,120 838,688 -0.29 2.69 1,653,811 1,679,808 1.57 - ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 24,215 29,242 28,284 -3.28 16.80 49,218 57,526 16.88 ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน เส้น 4,761,270 5,183,218 4,958,930 -4.33 4.15 9,691,794 10,142,148 4.65 - ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 3,721,988 4,038,491 3,886,959 -3.75 4.43 7,679,868 7,925,450 3.20 - ยางนอกรถจักรยาน เส้น 1,022,807 1,130,207 1,057,567 -6.43 3.40 1,968,801 2,187,774 11.12 - ยางนอกอื่น ๆ เส้น 16,475 14,520 14,404 -0.80 -12.57 43,125 28,924 -32.93 ยางใน เส้น 8,653,873 9,131,257 8,804,333 -3.58 1.74 17,115,339 17,935,590 4.79 - ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร เส้น 402,973 445,205 459,974 3.32 14.15 838,741 905,179 7.92 - ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 6,372,750 6,701,914 6,432,548 -4.02 0.94 12,582,459 13,134,462 4.39 - ยางในรถจักรยาน เส้น 1,878,150 1,984,138 1,911,811 -3.65 1.79 3,694,139 3,895,949 5.46 ยางรอง เส้น 336,067 381,396 370,454 -2.87 10.23 725,572 751,850 3.62 ยางหล่อดอก เส้น 20,947 21,699 22,592 4.12 7.85 42,445 44,291 4.35 ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 103,811,328 138,853,732 130,694,412 -5.88 25.90 230,167,868 269,000,212 16.87 ยางรัดของ ตัน 212.78 220.94 222.80 0.84 4.71 493.43 443.74 -10.07 ยางแปรรูปขั้นปฐม ตัน 20,095.99 22,384.36 23,065.86 3.04 14.78 46,420.93 45,450.22 -2.09 - ยางแผ่น ตัน 13,809.09 17,795.13 16,984.31 -4.56 22.99 32,988.96 34,779.44 5.43 - ยางแท่ง ตัน 6,286.90 4,589.23 6,081.55 32.52 -3.27 13,431.97 10,670.78 -20.56 ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกัน 2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.) ของปีก่อน ยางพารา 1,217.75 1,729.36 1,588.65 -8.14 30.46 2,531.73 3,318.01 31.06 ยางแผ่น 395.1 629.09 506.38 -19.5 28.17 901.04 1,135.47 26.02 ยางแท่ง 36.47 24.74 29.45 19.04 -19.3 93.25 54.19 -41.9 น้ำยางข้น 273.45 339.2 327.07 -3.58 19.61 588.82 666.27 13.15 ยางพาราอื่น ๆ 512.73 736.33 725.75 -1.44 41.55 948.62 1,462.08 54.13 ผลิตภัณฑ์ยาง 921 1,069.62 1,141.73 6.74 23.97 1,778.45 2,211.35 24.34 ยางยานพาหนะ 382.49 495.55 518.55 4.64 35.57 739.81 1,014.10 37.08 ถุงมือยาง 147.44 107.74 159.41 47.96 8.12 290.11 267.15 -7.91 ยางรัดของ 53.86 53.89 15.14 -71.9 -71.9 63.58 69.03 8.57 หลอดและท่อ 31.87 39.18 53.04 35.38 66.43 62.51 92.22 47.53 สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 16.54 16.96 20.66 21.82 24.91 33.48 37.62 12.37 ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 59.3 57.68 62.71 8.72 5.75 109.77 120.39 9.67 ยางวัลแคไนซ์ 50.79 47.52 58.78 23.7 15.73 103.61 106.3 2.6 ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 178.71 251.1 253.44 0.93 41.82 375.58 504.54 34.34 รวม 2,138.75 2,798.98 2,730.38 -2.45 27.66 4,310.18 5,529.36 28.29 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ ไตรมาส เทียบกับ เทียบกับไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกัน
2/1/2550 1/1/2551 2/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- มิ.ย.) (ม.ค.- มิ.ย.) ของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง 95.06 94.22 103.5 9.85 8.88 170.8 197.7 15.8 ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 29.98 35.73 43.35 21.33 44.6 57.9 79.08 36.58 ยางรถยนต์ 60.18 52.57 54.65 3.96 -9.19 103.7 107.2 3.42 ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 4.9 5.92 5.5 -7.09 12.24 9.18 11.42 24.4 ยาง รวมเศษยาง 119.3 148.86 170 14.2 42.52 221.9 318.9 43.68 ยางธรรมชาติ 1.02 3.21 3.45 7.48 238.2 2.9 6.66 129.7 ยางสังเคราะห์ 117 144.09 165.03 14.53 41.11 216.8 309.1 42.6 ยางอื่นๆ 1.31 1.56 1.52 -2.56 16.03 2.24 3.08 37.5 วัสดุทำจากยาง 76.71 107.92 85.52 -20.8 11.48 141.2 193.4 36.41 กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง 2.13 2.11 1.92 -9 -9.86 5.36 4.03 -24.81 ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ 74.58 105.81 83.6 -21 12.09 136.5 189.4 38.81 รวม 291.1 351 359.02 2.28 23.35 533.9 710.1 33 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--