อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งการส่งออกเป็นสำคัญ ดังนั้นการ ผันผวนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจะส่งผลต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าว มูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องใช้สำหรับเดินทาง, หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก ในรายไตรมาส 2 ในปี 2551 เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1, 8.1 และ 9.6 ตามลำดับ ตลาด ส่งออกหลักของสินค้ารองเท้าปี 2551 คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และเดนมาร์ก ส่วนตลาดส่งออกสินค้าหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอก คือ ฮ่องกง จีน และเวียดนาม
1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำแนกได้ดังนี้
- การฟอกและการตกแต่งหนังฟอก ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 1 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 1.7
- การผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เทียบกับ
- การผลิตรองเท้า ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เทียบกับไตรมาสที่ 1 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 6.7 และเมื่อเทียบกับ
2. การตลาด
การส่งออก
- รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 269.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 1 มีมูลค่าการส่ง
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าส่งออก 251.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้า กีฬา รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบของรองเท้า ลดลงร้อยละ 6.7, 17.7 และ 13.8 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นคือ รองเท้าแตะ และ รองเท้าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 และ 42.8 ตามลำดับ
ตลาดสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เดนมาร์ก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.1 และ 22 ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเบลเยียม มีสัดส่วนร้อยละ 25, 12.5 และ 8.6 ตามลำดับ
- เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าส่งออก 60.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่ง
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าส่งออก 56.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าถือ และเครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 และ 55.8 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงคือ กระเป๋าเดินทาง และ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ ลดลงร้อยละ 30.4 และ 42.0 ตลาดสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ และเยอรมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 และ 31.8 ตามลำดับ โดยตลาด หลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น มีสัดส่วนร้อยละ 18.8, 13.8 และ 12.0 ตามลำดับ
- หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าส่งออก 156.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 1 มี
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีที่มูลค่าส่งออก 143.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ หนัง โคกระบือฟอก, ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง, ถุงมือหนัง และหนัง ผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6, 91.0, 19.1 และ 10.6 ตามลำดับ ส่วน ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ เครื่องแต่งกายและเข็มขัด ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม และ จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.8 และ 18.0 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนตลาด ร้อยละ 17.2 และ14.3 ตามลำดับ
การนำเข้า
- หนังดิบและหนังฟอก ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 139.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับ ไตรมาสที่ 1 มีมูลค่าการนำ
- รองเท้า ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 51.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 1 มีมูลค่าการนำเข้า 49.4
- กระเป๋า ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 29.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 1 มีมูลค่าการนำเข้า 35.0
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.7 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าการนำเข้า 25.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
18.0 แหล่งนำเข้า คือ จีน ฝรั่งเศส และอิตาลี โดยมีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 47.0, 19.0 และ 16.5 ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
มูลค่าการส่งออกรองเท้าและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยรองเท้าเกือบทุกประเภทมีอัตราการส่งออกที่ เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศคู่แข่งอย่างจีนเริ่มประสบปัญหาด้านต้นทุนการผลิต อีกทั้งเวียดนามมีปัญหาด้านอัตราเงินเฟ้อและมีด้านต้นทุนที่สูง ขึ้น ทำให้การส่งออกของไทยดีขึ้น
การนำเข้าหนังดิบและหนังฟอกลดลง ซึ่งสอดคล้องกับภาวะการผลิตหนังฟอกในไตรมาสที่ 2 ลดลงจากไตรมาสก่อน แต่มูลค่าการส่งออกก็ ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย เช่น ประเทศจีนและเวียดนามมีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความต้องการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจำนวนมากเพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป แนวโน้มของอุตสาหกรรมฟอกหนังคาดว่าจะ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2551
ส่วนแนวโน้มของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ในปี 2551 คาดว่าจะมีอัตราที่ลดลงสำหรับตลาดของสหรัฐอเมริกาเนื่องจากวิกฤต ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยลูกหนี้คุณภาพต่ำ แต่โดยรวมคาดว่าจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าประเภทรองเท้าหนัง รองเท้าแตะ รองเท้าอื่นๆ กระเป๋าถือ และหนัง ผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด เนื่องจากมีการขยายตลาดอื่นๆ โดยการเปิดตลาดกับประเทศใหม่ๆ มากขึ้น และประเทศไทยมีศักยภาพในด้าน การออกแบบ และเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพ อีกทั้งการที่ EU ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) รองเท้าจากประเทศจีน และ เตรียมการตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าของประเทศเวียดนาม โดยจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ ไทยจะแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้มากยิ่งขึ้น
รายการ ปี 2550 ปี 2551 % อัตราการเปลี่ยนแปลง Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q2(51) Q2(51) ISIC: 1911 การฟอกและการตกแต่งหนังฟอก /Q1(51) /Q2(50) การผลิต 66.8 72.1 81.4 78.4 80.2 78.9 -1.7 9.5 การส่งสินค้า 38.2 39.5 45 46.2 46.8 45.9 -1.8 16.3 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 133.5 150.8 172.8 168.8 156.8 157.3 0.3 4.3 ISIC: 1912 การผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก การผลิต 79.2 89.8 27.7 35.8 19.2 8.8 -54.5 -90.2 การส่งสินค้า 61.5 125.7 38 56.8 33.1 12.5 -62.2 -90.1 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 363 301.9 325.4 207.9 149.8 32.8 -78.1 -89.1 ISIC: 1920 การผลิตรองเท้า การผลิต 113.4 98.5 104.9 106.6 105 98 -6.7 -0.5 การส่งสินค้า 108.1 97.2 103.4 113.6 104.7 101 -3.5 3.9 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 93.4 73.8 88.6 94.8 86.1 78.8 -8.5 6.7 ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล ตารางที่ 2: โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ปี 2550 ปี 2551 อัตราการเปลี่ยนแปลง Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q2(51)/ Q1(51)
Q1(51)/ Q2(50)
รองเท้าและชิ้นส่วน 243.8 251.2 242 240.2 226.4 269.1 18.9 7.1 1. รองเท้ากีฬา 122.3 133.9 116 124 110.5 125 13.1 -6.7 2. รองเท้าแตะ 23.2 25.5 18.7 20.1 29 30.2 4.2 18.1 3. รองเท้าหนัง 70.1 63.2 82.5 75.8 63.7 90.3 41.8 42.8 4. รองเท้าอื่นๆ 23.4 23.6 20.4 15.5 19 19.4 2.1 -17.7 5. ส่วนประกอบของรองเท้า 4.8 4.9 4.4 4.9 4.3 4.2 -0.6 -13.8 เครื่องใช้สำหรับเดินทาง 54.6 56.3 61.3 57.5 57.5 60.9 5.8 8.1 1. กระเป๋าเดินทาง 17.2 23.5 16.6 15.5 13 16.4 26.4 -30.4 2. กระเป๋าถือ 10.7 8.9 13.6 14.4 15.7 12.9 -17.8 44.3 3. กระเป๋าใส่เศษสตางค์ 5.4 5.7 3.8 4 3.9 3.3 -16.4 -42 4. เครื่องเดินทางอื่น ๆ 21.3 18.1 27.2 23.6 24.9 28.3 13.6 55.8 หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด 132.5 142.9 124.8 138.3 143.6 156.6 9 9.6 1. หนังโคกระบือฟอก 52 54.5 34.8 46.9 52.1 55.9 7.2 2.6 2. ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง 3.3 2.8 4.6 4.8 4.4 5.4 24.1 91 3. ถุงมือหนัง 14.9 11.3 10.3 11.6 17.9 13.4 -25.1 19.1 4. เครื่องแต่งกายและเข็มขัด 1.2 1.1 1.2 1 1 0.9 -0.4 -12.1 5. หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ 61.1 73.2 73.8 74 68.3 80.9 18.6 10.6 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตารางที่ 3: โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทย
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ ปี 2550 ปี 2551 อัตราการเปลี่ยนแปลง Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q2(51)/ Q2(51)
Q1(51)/ Q2(50)
หนังดิบและหนังฟอก 129.9 135.3 155.5 150.7 148.8 139.4 -6.3 3 รองเท้า 33.2 39.9 41.8 41 49.4 51.3 4 28.7 1. รองเท้ากีฬา 4.7 5.1 4.2 3.6 3.4 2.9 -15.3 -43.1 2. รองเท้าหนัง 5.4 7.1 6 5 7.7 6.8 -11.4 -3.5 3. รองเท้าทำด้วยยางหรือพลาสติก 5.1 7.4 7.1 8.4 7.7 9.2 20 24.4 4. รองเท้าอื่น ๆ 17.9 20.3 24.5 24 30.6 32.4 6 59.5 กระเป๋า 24.6 25 28.1 28.7 35 29.5 -15.7 18 1. กระเป๋าเดินทาง 6 7.8 7.9 10.1 9.9 10 0.4 28.4 2. กระเป๋าถือและกระเป๋าอื่น ๆ 18.6 17.3 20.2 18.6 25.1 19.6 -22.1 13.3 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--