สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่2(เมษายน - มิถุนายน) พ.ศ. 2551(อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 27, 2008 15:45 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตและการจำหน่าย

การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อพิจารณาจากดัชนี อุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีการผลิตและดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 31.03 และ 28.22 เนื่อง จากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 2.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดัชนีการผลิตและดัชนีการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 15.34 และ 13.71 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 7.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การตลาด

การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,754.77 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 104.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออก เครื่องประดับแท้ที่มีมูลค่า 647.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 613.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ สำคัญๆ ได้แก่

1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 399.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.02, 19.12 และ 17.15 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 274.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.49, 24.83และ 15.58 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 122.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.75, 29.71 และ 8.38 ตามลำดับ

2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 647.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.51 เมื่อเทียบกับไตร มาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนีคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 9.73, 9.27 และ 5.66 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญ มีดังนี้

2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 211.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.66 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 35.15, 10.71 และ 8.59 ตามลำดับ

2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 396.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.27 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฮ่องกง คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 35.15, 9.69 และ 7.82 ตามลำดับ

3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 46.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.42 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 49.89, 19.19 และ 7.42 ตามลำดับ

4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 17.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.07 เมื่อเทียบกับไตร มาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง ออสเตรีย และตุรกี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.75, 21.61 และ 12.78 ตามลำดับ

5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 613.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.04 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 667.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 34.27, 32.79 และ 18.81 ตามลำดับ

การนำเข้า

1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 1,916.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 378.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล และเบลเยี่ยม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.86, 21.33 และ 18.81 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 93.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 121.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.02, 11.01 และ 7.76 ตามลำดับ

1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 1,213.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.94 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 113.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 54.61, 20.02 และ 7.85 ตามลำดับ

1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 147.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.61, 19.00 และ 7.73 ตามลำดับ

1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 48.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.23 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 16.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี คิดเป็นสัด ส่วนร้อยละ 85.94, 5.31 และ 3.26 ตามลำดับ

โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.23 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด

2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าทั้งสิ้น 185.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.55 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 208.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 180.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.89 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 228.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อิตาลี ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัด ส่วนร้อยละ 5.75, 3.39 และ 2.23 ตามลำดับ

2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 5.78ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.48 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 28.90, 14.18 และ 8.75 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ด้านการผลิตลดลงร้อยละ 31.03 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 28.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการหดตัวลงเล็กน้อยคือ ลดลงร้อยละ 8.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จะเห็นว่าการผลิตและการ จำหน่ายหดตัวอย่างมาก แต่การส่งออกหดตัวไม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดี ทั้ง นี้เครื่องประดับแท้ยังคงสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 36.87 โดยเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองยังคงนำตลาดเพียงแต่ในไตรมาสนี้มีสัดส่วนลดลง ซึ่ง เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินและทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ มีสัดส่วนการส่งออกสูงขึ้น เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงและภาวะเศรษฐกิจ โลกที่ชะลอตัวจากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เป็นสาเหตุประกอบกันให้ผู้บริโภคในต่างประเทศหันมาบริโภคเครื่องประดับแท้ที่ไม่ได้ทำด้วยทอง ส่วน การนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.28 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 หากผู้ประกอบการยังสามารถทำราคาสินค้าต่อหน่วยให้ได้ในระดับสูงใกล้เคียงกับ ไตรมาสที่ผ่านมาได้ และจากแนวโน้มที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มลดลงซึ่งจะเป็นผลดีให้เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้บริโภค ในหลายๆ ประเทศหันกลับมาบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ แนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาทจะเป็นปัจจัย สนับสนุนให้การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 นี้มีแนวโน้มสดใส

ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน

           ดัชนี                     2550                2551                 อัตราการขยายตัว(%)
                            Q2      Q3      Q4      Q1      Q2           Q2(51)/          Q2(51)/
                                                                          Q1(51)          Q2(50)
ผลผลิต                      56.7    74.2    84.9    69.6     48           -31.03          -15.34
ส่งสินค้า                     59.7    78.7    86.9    71.7    51.5          -28.22          -13.71
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง           98.3    97.8     92     93.5    91.4           -2.24            -7.07
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ย ปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
  รายการ                                            มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ                    อัตราการขยายตัว (%)
                                                2550                        2551               Q2(51) เทียบ
                                     Q2          Q3         Q4          Q1          Q2       Q1(51)   Q2(50)
     อัญมณีและเครื่องประดับ             856.9     1,606.61    1,885.18    1,913.46    1,754.77     -8.29    104.8
1 อัญมณี                              293.5      383.61      349.29      459.27      399.49    -13.02    36.11
   (1) เพชร                         219.3       260.4      252.79       291.4       274.5      -5.8    25.18
   (2) พลอย                         73.06       116.6       92.53      163.81      122.85       -25    68.15
   (3) ไข่มุก                          1.15        6.61        3.97        4.06        2.14    -47.29    86.09
2 เครื่องประดับแท้                      395.6      555.17      790.03      707.24      647.02     -8.51    63.55
   (1) ทำด้วยเงิน                     175.1      191.54      267.28      189.23      211.29     11.66    20.68
   (2) ทำด้วยทอง                       193      343.06      492.81      484.77      396.21    -18.27    105.3
   (3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ             27.57       20.57       29.94       33.24       39.52     18.89    43.34
3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม                42.05        49.1       44.72       43.22       46.86      8.42    11.44
4 อัญมณีสังเคราะห์                       12.3       24.45       55.46       15.89       17.49     10.07     42.2
5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป                   80.02      560.37      598.35       653.3      613.85     -6.04    667.1
6 โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ    33.45       33.91       47.33       34.54       30.07    -12.94    -10.1
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ตารางที่ 3  มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
  รายการ                                              มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ                 อัตราการขยายตัว : (%)
                                                  2550                      2551               Q2 (51)เทียบ
                                       Q2           Q3        Q4         Q1         Q2        Q1(51)   Q2(50)
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ   1,145.59    1,123.52    944.9    1,568.73    1,916.41     22.16    67.28
   1 เพชร                             320.05      393.35      349       443.7      378.83    -14.62    18.37
   2 พลอย                              42.04       63.66    55.64       94.16       93.24     -0.98    121.8
   3 อัญมณีสังเคราะห์                      14.63       19.03    20.48       17.94        21.4     19.29    46.27
   4 ไข่มุก                               2.97           6     4.63        5.67         5.7      0.53    91.92
   5 ทองคำ                            568.34      446.43    295.9      820.39    1,213.67     47.94    113.6
   6 เงิน                              134.21      120.26      151      117.11      147.94     26.33    10.23
   7 แพลทินัม                             4.72        6.65     5.81         6.3        6.91      9.68     46.4
   8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ               58.63       68.14    62.49       63.46       48.72    -23.23    -16.9
เครื่องประดับอัญมณี                         60.22       60.03       82      205.54      185.91     -9.55    208.7
   1 เครื่องประดับอัญมณีแท้                  54.82       54.31    76.27       199.9      180.13     -9.89    228.6
   2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม                  5.4        5.72     5.73        5.64        5.78      2.48     7.04
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ