1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.7 จากไตรมาสที่ 1 ปี
2551 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มธัญพืชและแป้ง และผักผลไม้ ลดลงร้อยละ 41.2 และ 21.2 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุ
ดิบจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 55 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
มีการผลิตน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากปริมาณอ้อยเข้าโรงงานเพิ่มขึ้น
การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้พืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผัก
ผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เป็นผลจากผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก และ
กลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช การผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากระดับราคาที่
สูงขึ้นทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกและมีวัตถุดิบเพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตสินค้าแปรรูปปศุสัตว์ ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 0.4 แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี
ก่อน ร้อยละ 2.6 เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นหันมานำเข้าไก่แปรรูปจากไทยแทนจีนที่พบสารตกค้าง ส่งผลให้การผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.3 และ 6.4
ในส่วนสินค้าอาหารกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากวัตถุดิบปลาทูน่าในตลาด
โลกมีมากขึ้น แต่ราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนพลังงาน ทำให้ราคาวัตถุดิบแพงขึ้น สำหรับการผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการ
ผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ได้แก่ น้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 อัตราการผลิต
ของน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เป็นผลจากปาล์มน้ำมันมีผลผลิตเพิ่มขึ้น
ภาพรวมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารครึ่งปี 2551 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน โดยกลุ่ม
อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกสำคัญ เช่น ประมงขยายตัวร้อยละ 3.5 ผักผลไม้ขายตัวร้อยละ 21.7 ซึ่งถ้าไม่รวมการผลิตน้ำตาล ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.9 จะทำให้การผลิตภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 1.7 จาก
ไตรมาสก่อน และร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของ
ประเทศ ทำให้ความต้องการที่จะจับจ่ายใช้สอยลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช ร้อยละ 27.9 ประมง
ร้อยละ 17.3 ผักผลไม้ ร้อยละ 7.3 และปศุสัตว์ ร้อยละ 4.5
นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันพืช ร้อยละ
3.3 และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 7.1 ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาเปลี่ยนแปลงไม่มากจากการกำหนดราคาขั้นสูงของรัฐ
เมื่อเปรียบเทียบการจำหน่ายในประเทศระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2551 พบว่า ภาพรวมการจำหน่ายในประเทศ (ไม่รวมน้ำตาล) เพิ่ม
ขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อนร้อยละ 2.4 และเมื่อพิจารณาเป็นหมวดสินค้าส่วนใหญ่จะลดลง โดยเฉพาะธัญพืชและแป้งลดลง ร้อยละ
12.9 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปร้อยละ 12.2 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ร้อยละ 6.0 ปศุสัตว์ร้อยละ 5.9 และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 4.9 โดยประชาชนยังมีความ
เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัจจัยด้านราคาน้ำมันเป็นสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 6,034.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 194,913.8 ล้านบาท
โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 21.7 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.5 ในรูปของ
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 39.2 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี
2550 จะพบว่า ภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า จึงสรุปได้ว่าแม้
ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะทำให้ราคาเปรียบเทียบสูงขึ้น แต่คุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยัง
ขยายตัวต่อเนื่อง โดยผู้ส่งออกจะไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้นมากนัก และเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมี
มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 29.6 ในรูปของเงินบาท สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 1,548.2 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือ 50,008.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 10.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดย
เป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 15.6 ในรูปดอลลาร์ฯและร้อยละ 15.2 ในรูปเงินบาท ส่วนอาหารทะเลกระป๋อง เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 10.8 ในรูปเงินบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4
ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 12.1 ในรูปเงินบาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบครึ่งปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 2,948 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือ 95,219.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 14.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 7 ในรูปเงินบาท หากพิจารณาการส่งออกสินค้า
สำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่าสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯหรือเงินบาท โดย
เฉพาะตลาดใหม่ๆ ในอาฟริกา สำหรับตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราที่ลดลงโดยเฉพาะกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่ยังติดปัญหา AD ใน
บางบริษัท โดยคาดว่าสหรัฐจะแพ้คดีที่ไทยฟ้ององค์การการค้าโลกและต้องประกาศยกเลิก AD ในที่สุด
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 666.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 21,527.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 20.8 ในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 18.5 ในรูปเงินบาท จากไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น ประกอบกับราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผักผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่อง
จากผลผลิตในตลาดโลกลดลง และเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกผักผลไม้แปรรูปในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4
และ 4.9 ในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท ตามลำดับ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 370.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 11,956.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 6.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 56.7 ในรูปเงินบาท เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปที่มีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปรรูป
เพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพยุโรปเร่งทำประวัติสั่ง
ซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา นอกจากนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550
มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 54.3 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็ง และไก่
แปรรูปเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 2,559.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 82,674.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
27.8 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 27.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของสินค้าข้าว เนื่องจากประเทศผู้
ผลิตและส่งออก ได้แก่ อินเดียและเวียดนาม ประกาศห้ามส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีแรก ส่วนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากความต้องการในตลาดโลกเพิ่ม
ขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลังของไทย รวมทั้งมีตลาดรองรับอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน
และมาเลเซีย โดยมีอินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นประเทศคู่แข่งสำคัญ และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ใน
กลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.4 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 87.5 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าข้าว และผลิตภัณฑ์มัน
สำปะหลัง ซึ่งหากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.8 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 70.2 ใน
รูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 410.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 13,261.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 26.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ
11.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 17.5 ในรูปเงินบาท ขณะที่เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 12.6 ใน
รูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 18.6 ในรูปเงินบาท เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ และด้านราคาที่ลดลงของตลาดโลก เนื่อง
จากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 479.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ15,485.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 ในรูปดอลลาร์ฯ และ
ร้อยละ 48.8 ในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.8 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 63.7
ในรูปเงินบาท และเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อย
ละ 31.7 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและอาหารปรุงแต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 1,870 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 57,299.7 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 2.9 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง
ร้อยละ 7.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 11.5 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำ
เข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 32.9 ในรูปเงินบาท จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันในอัตรา
ร้อยละ 114.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 94.5 ในรูปเงินบาท เนื่องจากระดับราคาที่สูงขึ้นจากผู้ผลิตหลัก เช่น บราซิลและอาร์เจนติน่า เก็บค่า
ธรรมเนียมการส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2551 จะพบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อย
ละ 37.9 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการนำเข้ากากพืชน้ำมันมากที่สุดร้อยละ 68.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 38.3 ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ
เมล็ดพืชน้ำมัน ร้อยละ 23.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 72.5 ในรูปเงินบาท และนมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 50 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
38.3 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง ส่วนการนำเข้าปลาทูน่า
แช่เย็นแช่แข็งนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งในรูปดอลลาร์ฯ ร้อยละ 58 และรูปเงินบาทร้อยละ 44.9 เนื่องจากมีการจับทูน่าในปริมาณมากขึ้น
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วย
เหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 เห็นชอบในหลักการให้เรื่องวิกฤตอาหารและพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ และแต่งตั้ง
คณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยมอบให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและนำที่ราชพัสดุมาใช้ประโยชน์ และให้กระทรวงมหาดไทยกวดขันการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 อย่างจริงจังเพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์แก่เกษตรกร
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาว
ไร่อ้อย โดย อนุมัติเงินกู้จาก ธ.ก.ส. เพื่อปรับราคาอ้อยขั้นสุดท้าย และให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจ่ายตรงให้เกษตรกร ประกอบกับเห็นชอบใน
หลักการแผนการพัฒนาด้านอ้อยในระยะ 3 ปี (ฤดูการผลิตปี 2551/52 — 2553/54) และให้กระทรวงพลังงานร่วมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ
ตามแผนในส่วนของเอทานอลด้วย
3.3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาล
ไทยกับพม่า เรื่องการทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) โดยให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมระดับทวิภาคี เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตาม
แผนลงทุนให้ทันฤดูกาลเพาะปลูกพืชเป้าหมายของโครงการ และประสานการอำนวยความสะดวกการส่งออก นำเข้าผลผลิตทางการเกษตรของโครงการ
ตามบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมด้วย
3.4 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล
ทราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินจากการจำหน่ายน้ำตาลภายในประเทศเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. .... โดย
สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ คือ กำหนดราคาน้ำตาลทราย หน้าโรงงานไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ น้ำตาลทรายขาวราคากิโลกรัมละ 19 บาท และ
น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 20 บาท ทั้งนี้ ให้พิจารณาด้วยว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับราคาที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค เนื่องจากราคาที่รวม
ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเพิ่มขึ้น 5 บาทต่อกิโลกรัม จะมีการนำรายได้จากการส่งออกบางส่วนมาส่งเข้ากองทุนฯ ด้วย เพื่อความเท่าเทียมกันจะสามารถกระทำ
ได้หรือไม่อย่างไร
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จัดอยู่ในระดับดี โดยภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาด
แคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัยอยู่บ้าง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท แต่ในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศนำเข้าอย่างต่อเนื่อง จากอุปทานในตลาด
โลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่า
การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต และส่งออกที่ขยาย
ตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่แม้ว่าจะชะลอตัวลงบ้างตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ราคาน้ำมันยังคงผันผวน
จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและภาวะสงครามในตะวันออกกลาง นอกจากนี้สินค้าอาหารมักถูกกระทบจาก
มาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของ
ยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นใน
หลายสินค้าของญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ สำหรับแนวโน้มการจำหน่ายในประเทศจะยังคงชะลอตัว เนื่องจากยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและการ
เมืองของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย ภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส2/50 ไตรมาส1/51 ไตรมาส2/51 ครึ่งปี 2550 ครึ่งปี 2551 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
ปศุสัตว์ 158,125.80 162,854.00 162,201.30 331,916.10 325,055.40 -0.4 2.6 -2.1
ประมง 152,847.50 159,231.10 161,167.90 309,684.20 320,399.00 1.2 5.4 3.5
ผักผลไม้ 103,965.00 158,286.90 124,719.60 232,471.10 283,006.40 -21.2 20 21.7
น้ำมันพืช 304,782.70 332,679.10 382,964.90 598,940.70 715,644.00 15.1 25.7 19.5
ผลิตภัณฑ์นม 105,518.10 88,455.60 92,839.70 209,340.70 181,295.40 5 -12 -13.4
ธัญพืชและแป้ง 154,656.30 264,670.90 155,571.40 445,762.80 420,242.30 -41.2 0.6 -5.7
อาหารสัตว์ 699,994.70 707,339.60 744,722.60 1,406,445.20 1,452,062.20 5.3 6.4 3.2
น้ำตาล 393,231.20 3,064,593.60 384,002.50 3,081,679.30 3,448,596.10 -87.5 -2.3 11.9
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 36,068.30 34,745.00 31,600.60 70,727.20 66,345.70 -9 -12.4 -6.2
รวม 2,109,189.60 4,972,855.80 2,239,790.60 6,686,967.20 7,212,646.30 -55 6.2 7.9
รวม 1,715,958.40 1,908,262.20 1,855,788.00 3,605,287.90 3,764,050.30 -2.7 8.1 4.4
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส2/50 ไตรมาส1/51 ไตรมาส2/51 ครึ่งปี 2550 ครึ่งปี 2551 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
ปศุสัตว์ 128,498.70 129,158.90 123,306.50 268,200.70 252,465.50 -4.5 -4 -5.9
ประมง 13,362.10 15,077.40 12,467.40 28,890.90 27,544.80 -17.3 -6.7 -4.7
ผักผลไม้ 5,720.10 5,393.90 4,999.30 11,052.00 10,393.20 -7.3 -12.6 -6
น้ำมันพืช 214,496.50 241,964.50 249,956.70 406,933.30 491,921.20 3.3 16.5 20.9
ผลิตภัณฑ์นม 79,782.70 67,175.20 71,937.90 146,331.90 139,113.10 7.1 -9.8 -4.9
ธัญพืชและแป้ง 134,587.90 150,934.50 108,883.00 298,130.60 259,817.50 -27.9 -19.1 -12.9
อาหารสัตว์ 696,406.20 708,996.80 741,031.80 1,401,086.90 1,450,028.60 4.5 6.4 3.5
น้ำตาล 344,771.60 284,511.20 263,426.40 591,351.10 547,937.60 -7.4 -23.6 -7.3
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 30,863.00 26,399.80 25,636.40 59,289.10 52,036.20 -2.9 -16.9 -12.2
รวม 1,648,488.80 1,629,612.20 1,601,645.40 3,211,266.60 3,231,257.60 -1.7 -2.8 0.6
รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 1,303,717.30 1,345,101.00 1,338,219.00 2,619,915.40 2,683,320.00 -0.5 2.6 2.4
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
----------------------- มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) ---------------------- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี 2549 ครึ่งปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ครึ่งปี51และ50
1. กลุ่มอาหารทะเล 44,615.40 45,210.90 50,008.30 88,970.00 95,219.20 10.6 12.1 7
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 20,363.80 17,767.50 20,471.60 40,022.80 38,239.10 15.2 0.5 -4.5
- อาหารทะเลกระป๋อง 13,258.50 15,915.30 17,631.10 25,749.20 33,546.40 10.8 33 30.3
- อาหารทะเลแปรรูป 10,993.10 11,528.20 11,905.60 23,198.00 23,433.70 3.3 8.3 1
2. ปศุสัตว์ 7,631.90 11,270.60 11,956.60 15,055.00 23,227.10 6.1 56.7 54.3
- ไก่ 7,097.40 10,495.70 10,921.90 13,936.90 21,417.60 4.1 53.9 53.7
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 217.5 293.5 233.6 388.2 527.1 -20.4 7.4 35.8
(2) ไก่แปรรูป 6,879.90 10,202.30 10,688.20 13,548.70 20,890.50 4.8 55.4 54.2
3. กลุ่มผักผลไม้ 18,163.60 17,816.10 21,527.50 34,231.40 39,343.60 20.8 18.5 4.9
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 3,796.40 2,474.80 4,595.20 6,168.30 7,070.00 85.7 21 14.6
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,894.10 2,112.60 1,764.10 3,972.50 3,876.70 -16.5 -6.9 -2.4
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 9,989.60 10,990.90 12,537.40 18,932.80 23,528.30 14.1 25.5 24.3
- ผักกระป๋องและแปรรูป 2,483.50 2,237.70 2,630.80 5,157.80 4,868.60 17.6 5.9 -5.6
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 44,090.20 64,888.00 82,674.40 86,714.40 147,562.40 27.4 87.5 70.2
- ข้าว 27,327.30 43,414.40 63,677.40 49,974.30 107,091.80 46.7 133 114.3
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,287.0 1,280.7 1,614.3 2,472.2 2,895.0 26.1 25.4 17.1
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,378.3 4,901.3 5,288.6 8,539.9 10,190.0 7.9 20.8 19.3
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 11,097.6 15,291.6 12,094.0 25,728.0 27,385.6 -20.9 9.0 6.4
5. น้ำตาลทราย 16,080.0 10,500.9 13,261.8 29,205.4 23,762.7 26.3 -17.5 -18.6
6. อาหารอื่นๆ 9,459.1 10,409.8 15,485.2 19,662.5 25,895.0 48.8 63.7 31.7
- สิ่งปรุงรสอาหาร 1,923.3 2,086.0 2,398.7 3,757.2 4,484.7 15.0 24.7 19.4
- นมและผลิตภัณฑ์นม 1,187.4 1,082.8 1,292.7 2,296.3 2,375.5 19.4 8.9 3.4
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 629.8 825.4 1,036.1 1,267.3 1,861.5 25.5 64.5 46.9
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 429.3 393.3 415.9 787.7 809.3 5.8 -3.1 2.7
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 2,459.7 3,722.7 7,570.6 5,554.3 11,293.2 103.4 207.8 103.3
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 2,226.9 1,640.2 2,031.3 4,832.5 3,671.4 23.8 -8.8 -24.0
- โกโก้และของปรุงแต่ง 354.9 433.9 480.9 714.0 914.8 10.8 35.5 28.1
- ไอศกรีม 247.8 225.5 259.0 453.3 484.5 14.9 4.5 6.9
รวม 140,040.2 160,096.3 194,913.8 273,838.6 355,010.1 21.7 39.2 29.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
-------------------------- มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)-------------------- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี 2549 ครึ่งปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ครึ่งปี51และ50
1. กลุ่มอาหารทะเล 1,286.10 1,395.00 1,548.20 2,564.70 2,948.00 11.00 20.40 14.90
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 587.00 548.20 633.80 1,153.70 1,183.90 15.60 8.00 2.60
- อาหารทะเลกระป๋อง 382.20 491.10 545.90 742.30 1,038.60 11.20 42.80 39.90
- อาหารทะเลแปรรูป 316.90 355.70 368.60 668.70 725.50 3.60 16.30 8.50
2. ปศุสัตว์ 220.00 347.70 370.20 434.00 719.10 6.40 68.30 65.70
- ไก่ 204.60 323.80 338.10 401.80 663.10 4.40 65.30 65.00
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 6.30 9.10 7.20 11.20 16.30 20.10 15.40 45.80
(2) ไก่แปรรูป 198.30 314.80 330.90 390.60 646.80 5.10 66.80 65.60
3. กลุ่มผักผลไม้ 523.60 549.70 666.50 986.80 1,218.10 21.20 27.30 23.40
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 109.40 76.40 142.30 177.80 218.90 86.30 30.00 23.10
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 54.60 65.20 54.60 114.50 120.00 16.20 0.00 4.80
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 288.00 339.10 388.20 545.80 728.40 14.50 34.80 33.50
- ผักกระป๋องและแปรรูป 71.60 69.00 81.50 148.70 150.70 18.00 13.80 1.40
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 1,271.00 2,002.10 2,559.60 2,499.70 4,568.50 27.80 101.40 82.80
- ข้าว 787.80 1,339.50 1,971.40 1,440.60 3,315.50 47.20 150.30 130.20
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 37.1 39.5 50.0 71.3 89.6 26.5 34.7 25.8
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 126.2 151.2 163.7 246.2 315.5 8.3 29.7 28.2
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 319.9 471.8 374.4 741.7 847.9 -20.6 17.0 14.3
5. น้ำตาลทราย 463.5 324.0 410.6 841.9 735.7 26.7 -11.4 -12.6
6. อาหารอื่นๆ 272.7 321.2 479.4 566.8 801.7 49.3 75.8 41.4
- สิ่งปรุงรสอาหาร 55.4 64.4 74.3 108.3 138.8 15.4 34.0 28.2
- นมและผลิตภัณฑ์นม 34.2 33.4 40.0 66.2 73.5 19.8 16.9 11.1
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 18.2 25.5 32.1 36.5 57.6 26.0 76.7 57.8
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 12.4 12.1 12.9 22.7 25.1 6.1 4.1 10.3
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 70.9 114.9 234.4 160.1 349.6 104.1 230.6 118.4
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 64.2 50.6 62.9 139.3 113.7 24.3 -2.0 -18.4
- โกโก้และของปรุงแต่ง 10.2 13.4 14.9 20.6 28.3 11.2 45.5 37.6
- ไอศกรีม 7.1 7.0 8.0 13.1 15.0 15.3 12.3 14.8
รวม 4,036.9 4,939.7 6,034.5 7,893.9 10,991.0 22.2 49.5 39.2
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี 2550 ครึ่งปี 2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ครึ่งปี 2550
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 6,857.00 11,067 9,792.80 14,393.60 20,859.70 -11.5 42.8 44.9
เมล็ดพืชน้ำมัน 4,765.80 6,968 9,269.70 9,411.40 16,237.80 33 94.5 72.5
กากพืชน้ำมัน 6,296.50 8,156 8,685.40 12,180.10 16,841.20 6.5 37.9 38.3
นมและผลิตภัณฑ์นม 4,080.90 5,223 4,304.90 6,887.70 9,528.40 -17.6 5.5 38.3
อาหารรวม 43,102.30 59,001.70 57,299.70 84,355 116,301 -2.9 32.9 37.9
มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี 2550 ครึ่งปี 2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ครึ่งปี 2550
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 196.7 333 308.8 406.1 641.8 -7.3 57 58
เมล็ดพืชน้ำมัน 136.7 209.5 292.8 265.7 502.4 39.8 114.2 23.7
กากพืชน้ำมัน 180.7 245.5 273.4 344.2 578.9 11.4 51.3 68.2
นมและผลิตภัณฑ์นม 117 156.9 135.8 195.1 292.7 -13.4 16.1 50
อาหารรวม 1,281.00 1,853.00 1,870.00 2,475.00 3,723.00 0.9 46 50.4
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 2.7 จากไตรมาสที่ 1 ปี
2551 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มธัญพืชและแป้ง และผักผลไม้ ลดลงร้อยละ 41.2 และ 21.2 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุ
ดิบจากภาวะภัยธรรมชาติ และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 55 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
มีการผลิตน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากปริมาณอ้อยเข้าโรงงานเพิ่มขึ้น
การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้พืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผัก
ผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เป็นผลจากผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก และ
กลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช การผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากระดับราคาที่
สูงขึ้นทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกและมีวัตถุดิบเพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตสินค้าแปรรูปปศุสัตว์ ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 0.4 แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี
ก่อน ร้อยละ 2.6 เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นหันมานำเข้าไก่แปรรูปจากไทยแทนจีนที่พบสารตกค้าง ส่งผลให้การผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.3 และ 6.4
ในส่วนสินค้าอาหารกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากวัตถุดิบปลาทูน่าในตลาด
โลกมีมากขึ้น แต่ราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนพลังงาน ทำให้ราคาวัตถุดิบแพงขึ้น สำหรับการผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการ
ผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ได้แก่ น้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 อัตราการผลิต
ของน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เป็นผลจากปาล์มน้ำมันมีผลผลิตเพิ่มขึ้น
ภาพรวมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารครึ่งปี 2551 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน โดยกลุ่ม
อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกสำคัญ เช่น ประมงขยายตัวร้อยละ 3.5 ผักผลไม้ขายตัวร้อยละ 21.7 ซึ่งถ้าไม่รวมการผลิตน้ำตาล ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.9 จะทำให้การผลิตภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 1.7 จาก
ไตรมาสก่อน และร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของ
ประเทศ ทำให้ความต้องการที่จะจับจ่ายใช้สอยลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช ร้อยละ 27.9 ประมง
ร้อยละ 17.3 ผักผลไม้ ร้อยละ 7.3 และปศุสัตว์ ร้อยละ 4.5
นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันพืช ร้อยละ
3.3 และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 7.1 ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และราคาเปลี่ยนแปลงไม่มากจากการกำหนดราคาขั้นสูงของรัฐ
เมื่อเปรียบเทียบการจำหน่ายในประเทศระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2551 พบว่า ภาพรวมการจำหน่ายในประเทศ (ไม่รวมน้ำตาล) เพิ่ม
ขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อนร้อยละ 2.4 และเมื่อพิจารณาเป็นหมวดสินค้าส่วนใหญ่จะลดลง โดยเฉพาะธัญพืชและแป้งลดลง ร้อยละ
12.9 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปร้อยละ 12.2 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ร้อยละ 6.0 ปศุสัตว์ร้อยละ 5.9 และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 4.9 โดยประชาชนยังมีความ
เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัจจัยด้านราคาน้ำมันเป็นสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 6,034.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 194,913.8 ล้านบาท
โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 21.7 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.5 ในรูปของ
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 39.2 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี
2550 จะพบว่า ภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า จึงสรุปได้ว่าแม้
ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะทำให้ราคาเปรียบเทียบสูงขึ้น แต่คุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยัง
ขยายตัวต่อเนื่อง โดยผู้ส่งออกจะไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้นมากนัก และเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมี
มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 29.6 ในรูปของเงินบาท สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 1,548.2 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือ 50,008.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 10.6 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดย
เป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 15.6 ในรูปดอลลาร์ฯและร้อยละ 15.2 ในรูปเงินบาท ส่วนอาหารทะเลกระป๋อง เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.2 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 10.8 ในรูปเงินบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4
ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 12.1 ในรูปเงินบาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบครึ่งปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 2,948 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ หรือ 95,219.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 14.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 7 ในรูปเงินบาท หากพิจารณาการส่งออกสินค้า
สำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่าสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯหรือเงินบาท โดย
เฉพาะตลาดใหม่ๆ ในอาฟริกา สำหรับตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราที่ลดลงโดยเฉพาะกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งที่ยังติดปัญหา AD ใน
บางบริษัท โดยคาดว่าสหรัฐจะแพ้คดีที่ไทยฟ้ององค์การการค้าโลกและต้องประกาศยกเลิก AD ในที่สุด
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 666.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 21,527.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 20.8 ในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 18.5 ในรูปเงินบาท จากไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น ประกอบกับราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผักผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่อง
จากผลผลิตในตลาดโลกลดลง และเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกผักผลไม้แปรรูปในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4
และ 4.9 ในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท ตามลำดับ
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 370.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 11,956.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 6.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 56.7 ในรูปเงินบาท เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปที่มีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปรรูป
เพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพยุโรปเร่งทำประวัติสั่ง
ซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา นอกจากนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550
มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 54.3 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็ง และไก่
แปรรูปเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 2,559.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 82,674.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
27.8 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 27.4 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกสูงขึ้นของสินค้าข้าว เนื่องจากประเทศผู้
ผลิตและส่งออก ได้แก่ อินเดียและเวียดนาม ประกาศห้ามส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีแรก ส่วนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จากความต้องการในตลาดโลกเพิ่ม
ขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลังของไทย รวมทั้งมีตลาดรองรับอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน
และมาเลเซีย โดยมีอินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นประเทศคู่แข่งสำคัญ และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ใน
กลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.4 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 87.5 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าข้าว และผลิตภัณฑ์มัน
สำปะหลัง ซึ่งหากเปรียบเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.8 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 70.2 ใน
รูปเงินบาท
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 410.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 13,261.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 26.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ
11.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 17.5 ในรูปเงินบาท ขณะที่เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 พบว่า มูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 12.6 ใน
รูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 18.6 ในรูปเงินบาท เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ และด้านราคาที่ลดลงของตลาดโลก เนื่อง
จากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 479.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ15,485.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 ในรูปดอลลาร์ฯ และ
ร้อยละ 48.8 ในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.8 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 63.7
ในรูปเงินบาท และเมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2551 และ 2550 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อย
ละ 31.7 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ซุปและอาหารปรุงแต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 1,870 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 57,299.7 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.9 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือลดลงร้อยละ 2.9 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง
ร้อยละ 7.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 11.5 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำ
เข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 32.9 ในรูปเงินบาท จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมันในอัตรา
ร้อยละ 114.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 94.5 ในรูปเงินบาท เนื่องจากระดับราคาที่สูงขึ้นจากผู้ผลิตหลัก เช่น บราซิลและอาร์เจนติน่า เก็บค่า
ธรรมเนียมการส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบระหว่างครึ่งปี 2550 และ 2551 จะพบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อย
ละ 37.9 ในรูปเงินบาท โดยเป็นการนำเข้ากากพืชน้ำมันมากที่สุดร้อยละ 68.2 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 38.3 ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ
เมล็ดพืชน้ำมัน ร้อยละ 23.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 72.5 ในรูปเงินบาท และนมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 50 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ
38.3 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง ส่วนการนำเข้าปลาทูน่า
แช่เย็นแช่แข็งนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งในรูปดอลลาร์ฯ ร้อยละ 58 และรูปเงินบาทร้อยละ 44.9 เนื่องจากมีการจับทูน่าในปริมาณมากขึ้น
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วย
เหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ได้แก่
3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 เห็นชอบในหลักการให้เรื่องวิกฤตอาหารและพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ และแต่งตั้ง
คณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยมอบให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและนำที่ราชพัสดุมาใช้ประโยชน์ และให้กระทรวงมหาดไทยกวดขันการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 อย่างจริงจังเพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์แก่เกษตรกร
3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาว
ไร่อ้อย โดย อนุมัติเงินกู้จาก ธ.ก.ส. เพื่อปรับราคาอ้อยขั้นสุดท้าย และให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจ่ายตรงให้เกษตรกร ประกอบกับเห็นชอบใน
หลักการแผนการพัฒนาด้านอ้อยในระยะ 3 ปี (ฤดูการผลิตปี 2551/52 — 2553/54) และให้กระทรวงพลังงานร่วมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ
ตามแผนในส่วนของเอทานอลด้วย
3.3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาล
ไทยกับพม่า เรื่องการทำการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract Farming) โดยให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมระดับทวิภาคี เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตาม
แผนลงทุนให้ทันฤดูกาลเพาะปลูกพืชเป้าหมายของโครงการ และประสานการอำนวยความสะดวกการส่งออก นำเข้าผลผลิตทางการเกษตรของโครงการ
ตามบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมด้วย
3.4 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 เห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล
ทราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดเก็บเงินจากการจำหน่ายน้ำตาลภายในประเทศเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. .... โดย
สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ คือ กำหนดราคาน้ำตาลทราย หน้าโรงงานไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ น้ำตาลทรายขาวราคากิโลกรัมละ 19 บาท และ
น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 20 บาท ทั้งนี้ ให้พิจารณาด้วยว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการปรับราคาที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค เนื่องจากราคาที่รวม
ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเพิ่มขึ้น 5 บาทต่อกิโลกรัม จะมีการนำรายได้จากการส่งออกบางส่วนมาส่งเข้ากองทุนฯ ด้วย เพื่อความเท่าเทียมกันจะสามารถกระทำ
ได้หรือไม่อย่างไร
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จัดอยู่ในระดับดี โดยภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาด
แคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัยอยู่บ้าง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท แต่ในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศนำเข้าอย่างต่อเนื่อง จากอุปทานในตลาด
โลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการขยายตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่า
การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต และส่งออกที่ขยาย
ตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่แม้ว่าจะชะลอตัวลงบ้างตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ราคาน้ำมันยังคงผันผวน
จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและภาวะสงครามในตะวันออกกลาง นอกจากนี้สินค้าอาหารมักถูกกระทบจาก
มาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของ
ยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นใน
หลายสินค้าของญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ สำหรับแนวโน้มการจำหน่ายในประเทศจะยังคงชะลอตัว เนื่องจากยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและการ
เมืองของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย ภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงและภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส2/50 ไตรมาส1/51 ไตรมาส2/51 ครึ่งปี 2550 ครึ่งปี 2551 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
ปศุสัตว์ 158,125.80 162,854.00 162,201.30 331,916.10 325,055.40 -0.4 2.6 -2.1
ประมง 152,847.50 159,231.10 161,167.90 309,684.20 320,399.00 1.2 5.4 3.5
ผักผลไม้ 103,965.00 158,286.90 124,719.60 232,471.10 283,006.40 -21.2 20 21.7
น้ำมันพืช 304,782.70 332,679.10 382,964.90 598,940.70 715,644.00 15.1 25.7 19.5
ผลิตภัณฑ์นม 105,518.10 88,455.60 92,839.70 209,340.70 181,295.40 5 -12 -13.4
ธัญพืชและแป้ง 154,656.30 264,670.90 155,571.40 445,762.80 420,242.30 -41.2 0.6 -5.7
อาหารสัตว์ 699,994.70 707,339.60 744,722.60 1,406,445.20 1,452,062.20 5.3 6.4 3.2
น้ำตาล 393,231.20 3,064,593.60 384,002.50 3,081,679.30 3,448,596.10 -87.5 -2.3 11.9
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 36,068.30 34,745.00 31,600.60 70,727.20 66,345.70 -9 -12.4 -6.2
รวม 2,109,189.60 4,972,855.80 2,239,790.60 6,686,967.20 7,212,646.30 -55 6.2 7.9
รวม 1,715,958.40 1,908,262.20 1,855,788.00 3,605,287.90 3,764,050.30 -2.7 8.1 4.4
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส2/50 ไตรมาส1/51 ไตรมาส2/51 ครึ่งปี 2550 ครึ่งปี 2551 ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วงเดียวกันของครึ่งปีก่อน
ปศุสัตว์ 128,498.70 129,158.90 123,306.50 268,200.70 252,465.50 -4.5 -4 -5.9
ประมง 13,362.10 15,077.40 12,467.40 28,890.90 27,544.80 -17.3 -6.7 -4.7
ผักผลไม้ 5,720.10 5,393.90 4,999.30 11,052.00 10,393.20 -7.3 -12.6 -6
น้ำมันพืช 214,496.50 241,964.50 249,956.70 406,933.30 491,921.20 3.3 16.5 20.9
ผลิตภัณฑ์นม 79,782.70 67,175.20 71,937.90 146,331.90 139,113.10 7.1 -9.8 -4.9
ธัญพืชและแป้ง 134,587.90 150,934.50 108,883.00 298,130.60 259,817.50 -27.9 -19.1 -12.9
อาหารสัตว์ 696,406.20 708,996.80 741,031.80 1,401,086.90 1,450,028.60 4.5 6.4 3.5
น้ำตาล 344,771.60 284,511.20 263,426.40 591,351.10 547,937.60 -7.4 -23.6 -7.3
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 30,863.00 26,399.80 25,636.40 59,289.10 52,036.20 -2.9 -16.9 -12.2
รวม 1,648,488.80 1,629,612.20 1,601,645.40 3,211,266.60 3,231,257.60 -1.7 -2.8 0.6
รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 1,303,717.30 1,345,101.00 1,338,219.00 2,619,915.40 2,683,320.00 -0.5 2.6 2.4
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
----------------------- มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) ---------------------- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี 2549 ครึ่งปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ครึ่งปี51และ50
1. กลุ่มอาหารทะเล 44,615.40 45,210.90 50,008.30 88,970.00 95,219.20 10.6 12.1 7
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 20,363.80 17,767.50 20,471.60 40,022.80 38,239.10 15.2 0.5 -4.5
- อาหารทะเลกระป๋อง 13,258.50 15,915.30 17,631.10 25,749.20 33,546.40 10.8 33 30.3
- อาหารทะเลแปรรูป 10,993.10 11,528.20 11,905.60 23,198.00 23,433.70 3.3 8.3 1
2. ปศุสัตว์ 7,631.90 11,270.60 11,956.60 15,055.00 23,227.10 6.1 56.7 54.3
- ไก่ 7,097.40 10,495.70 10,921.90 13,936.90 21,417.60 4.1 53.9 53.7
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 217.5 293.5 233.6 388.2 527.1 -20.4 7.4 35.8
(2) ไก่แปรรูป 6,879.90 10,202.30 10,688.20 13,548.70 20,890.50 4.8 55.4 54.2
3. กลุ่มผักผลไม้ 18,163.60 17,816.10 21,527.50 34,231.40 39,343.60 20.8 18.5 4.9
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 3,796.40 2,474.80 4,595.20 6,168.30 7,070.00 85.7 21 14.6
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,894.10 2,112.60 1,764.10 3,972.50 3,876.70 -16.5 -6.9 -2.4
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 9,989.60 10,990.90 12,537.40 18,932.80 23,528.30 14.1 25.5 24.3
- ผักกระป๋องและแปรรูป 2,483.50 2,237.70 2,630.80 5,157.80 4,868.60 17.6 5.9 -5.6
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 44,090.20 64,888.00 82,674.40 86,714.40 147,562.40 27.4 87.5 70.2
- ข้าว 27,327.30 43,414.40 63,677.40 49,974.30 107,091.80 46.7 133 114.3
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,287.0 1,280.7 1,614.3 2,472.2 2,895.0 26.1 25.4 17.1
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,378.3 4,901.3 5,288.6 8,539.9 10,190.0 7.9 20.8 19.3
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 11,097.6 15,291.6 12,094.0 25,728.0 27,385.6 -20.9 9.0 6.4
5. น้ำตาลทราย 16,080.0 10,500.9 13,261.8 29,205.4 23,762.7 26.3 -17.5 -18.6
6. อาหารอื่นๆ 9,459.1 10,409.8 15,485.2 19,662.5 25,895.0 48.8 63.7 31.7
- สิ่งปรุงรสอาหาร 1,923.3 2,086.0 2,398.7 3,757.2 4,484.7 15.0 24.7 19.4
- นมและผลิตภัณฑ์นม 1,187.4 1,082.8 1,292.7 2,296.3 2,375.5 19.4 8.9 3.4
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 629.8 825.4 1,036.1 1,267.3 1,861.5 25.5 64.5 46.9
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 429.3 393.3 415.9 787.7 809.3 5.8 -3.1 2.7
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 2,459.7 3,722.7 7,570.6 5,554.3 11,293.2 103.4 207.8 103.3
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 2,226.9 1,640.2 2,031.3 4,832.5 3,671.4 23.8 -8.8 -24.0
- โกโก้และของปรุงแต่ง 354.9 433.9 480.9 714.0 914.8 10.8 35.5 28.1
- ไอศกรีม 247.8 225.5 259.0 453.3 484.5 14.9 4.5 6.9
รวม 140,040.2 160,096.3 194,913.8 273,838.6 355,010.1 21.7 39.2 29.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
-------------------------- มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)-------------------- การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี 2549 ครึ่งปี 2550 ไตรมาสก่อน เดียวกันปีก่อน ครึ่งปี51และ50
1. กลุ่มอาหารทะเล 1,286.10 1,395.00 1,548.20 2,564.70 2,948.00 11.00 20.40 14.90
- อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง 587.00 548.20 633.80 1,153.70 1,183.90 15.60 8.00 2.60
- อาหารทะเลกระป๋อง 382.20 491.10 545.90 742.30 1,038.60 11.20 42.80 39.90
- อาหารทะเลแปรรูป 316.90 355.70 368.60 668.70 725.50 3.60 16.30 8.50
2. ปศุสัตว์ 220.00 347.70 370.20 434.00 719.10 6.40 68.30 65.70
- ไก่ 204.60 323.80 338.10 401.80 663.10 4.40 65.30 65.00
(1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 6.30 9.10 7.20 11.20 16.30 20.10 15.40 45.80
(2) ไก่แปรรูป 198.30 314.80 330.90 390.60 646.80 5.10 66.80 65.60
3. กลุ่มผักผลไม้ 523.60 549.70 666.50 986.80 1,218.10 21.20 27.30 23.40
- ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 109.40 76.40 142.30 177.80 218.90 86.30 30.00 23.10
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 54.60 65.20 54.60 114.50 120.00 16.20 0.00 4.80
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 288.00 339.10 388.20 545.80 728.40 14.50 34.80 33.50
- ผักกระป๋องและแปรรูป 71.60 69.00 81.50 148.70 150.70 18.00 13.80 1.40
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช 1,271.00 2,002.10 2,559.60 2,499.70 4,568.50 27.80 101.40 82.80
- ข้าว 787.80 1,339.50 1,971.40 1,440.60 3,315.50 47.20 150.30 130.20
- ผลิตภัณฑ์ข้าว 37.1 39.5 50.0 71.3 89.6 26.5 34.7 25.8
- ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 126.2 151.2 163.7 246.2 315.5 8.3 29.7 28.2
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 319.9 471.8 374.4 741.7 847.9 -20.6 17.0 14.3
5. น้ำตาลทราย 463.5 324.0 410.6 841.9 735.7 26.7 -11.4 -12.6
6. อาหารอื่นๆ 272.7 321.2 479.4 566.8 801.7 49.3 75.8 41.4
- สิ่งปรุงรสอาหาร 55.4 64.4 74.3 108.3 138.8 15.4 34.0 28.2
- นมและผลิตภัณฑ์นม 34.2 33.4 40.0 66.2 73.5 19.8 16.9 11.1
- หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 18.2 25.5 32.1 36.5 57.6 26.0 76.7 57.8
- ซุปและอาหารปรุงแต่ง 12.4 12.1 12.9 22.7 25.1 6.1 4.1 10.3
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 70.9 114.9 234.4 160.1 349.6 104.1 230.6 118.4
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 64.2 50.6 62.9 139.3 113.7 24.3 -2.0 -18.4
- โกโก้และของปรุงแต่ง 10.2 13.4 14.9 20.6 28.3 11.2 45.5 37.6
- ไอศกรีม 7.1 7.0 8.0 13.1 15.0 15.3 12.3 14.8
รวม 4,036.9 4,939.7 6,034.5 7,893.9 10,991.0 22.2 49.5 39.2
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย
มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี 2550 ครึ่งปี 2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ครึ่งปี 2550
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 6,857.00 11,067 9,792.80 14,393.60 20,859.70 -11.5 42.8 44.9
เมล็ดพืชน้ำมัน 4,765.80 6,968 9,269.70 9,411.40 16,237.80 33 94.5 72.5
กากพืชน้ำมัน 6,296.50 8,156 8,685.40 12,180.10 16,841.20 6.5 37.9 38.3
นมและผลิตภัณฑ์นม 4,080.90 5,223 4,304.90 6,887.70 9,528.40 -17.6 5.5 38.3
อาหารรวม 43,102.30 59,001.70 57,299.70 84,355 116,301 -2.9 32.9 37.9
มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2550 2551 เทียบ เทียบไตรมาส เทียบกับ
ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ครึ่งปี 2550 ครึ่งปี 2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน ครึ่งปี 2550
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง 196.7 333 308.8 406.1 641.8 -7.3 57 58
เมล็ดพืชน้ำมัน 136.7 209.5 292.8 265.7 502.4 39.8 114.2 23.7
กากพืชน้ำมัน 180.7 245.5 273.4 344.2 578.9 11.4 51.3 68.2
นมและผลิตภัณฑ์นม 117 156.9 135.8 195.1 292.7 -13.4 16.1 50
อาหารรวม 1,281.00 1,853.00 1,870.00 2,475.00 3,723.00 0.9 46 50.4
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-