สศอ. เร่งแจงผลศึกษาการใช้ประโยชน์ เอฟทีเอ ชี้หลัง JTEPA บังคับใช้ 5 เดือนแรก เซฟภาษีส่งออก 2,480 ล้านบาท นำเข้า 1,630 ล้านบาท มั่นใจผู้ประกอบการมีแนววาง กลยุทธ์ธุรกิจ เหนือคู่แข่ง เตรียมลุยแจงครบ 4 ภาค
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้เร่งดำเนินการเผยแพร่ผลการศึกษาโครงการ “การแสวงหาผลประโยชน์จากข้อตกลงการเปิดเสรี FTAs” ซึ่งในปีงบประมาณนี้ สศอ.ได้โฟกัสไปที่ข้อตกลง JTEPA ซึ่งจะมีแนวทางเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทางการค้าจากข้อตกลงดังกล่าว เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการทั่วประเทศ เนื่องจากประเทศไทยไม่อาจปฏิเสธระบบการค้าเสรีได้ เพราะหากไทยไม่ทำ ผู้ส่งออกไทยก็จะเสียเปรียบ และได้สิทธิประโยชน์น้อยกว่าประเทศคู่แข่ง ดังนั้น กรอบเอฟทีเอทุกกรอบที่ไทยได้ทำร่วมกับหลายประเทศ อาทิ ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย(บางส่วน) ไทย-จีน ย่อมมีช่องทางที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก หากแต่ผู้ประกอบการยังไม่รับทราบทั่วถึง ซึ่งการออกไปชี้แจงเผยแพร่ข้อมูลก็จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก
“หลังจากที่ สศอ.ได้ลงมือศึกษาการใช้ประโยชน์จาก JTEPA ในช่วง 5 เดือนแรกหลังข้อตกลงมีผลบังคับ (พฤศจิกายน 2550- มีนาคม 2551) พบว่าผู้ส่งออกไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นสามารถประหยัดภาษีศุลกากรลงได้ถึง 2,480 ล้านบาท โดยการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารประหยัดภาษีได้เป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอัญมณี ส่วนผู้นำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นสามารถประหยัดภาษีศุลกากรได้ 1,630 ล้านบาท อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสามารถประหยัดภาษีนำเข้าได้เป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ตามลำดับ
ซึ่งมีแนวโน้มการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากข้อตกลงดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สศอ.จึงได้เตรียมแผนงานรองรับการใช้ประโยชน์ รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ในการชี้แนะ
ภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม โดยจัดให้มีการจัดสัมมนาเผยแพร่ข้อมูลการใช้ประโยชน์ความตกลงการค้าเสรีแก่ผู้ประกอบการในภาคส่วนต่างๆ ขึ้น ซึ่งจากการจัดสัมมนาที่จังหวัดขอนแก่นและกรุงเทพฯที่ผ่านมา นับว่าได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี โดยบางรายเริ่มเห็นช่องทางการลงทุนใหม่พร้อมกับโอกาสการเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ก้าวทันคู่แข่งมากขึ้น รวมทั้งประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับโดยตรง อาทิ การซื้อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศในราคาที่ถูกลง เป็นต้น ส่วนผลกระทบหรืออุปสรรคเล็กน้อยที่เกิดขึ้นก็จะมีการชี้แจงให้เข้าใจ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับตัวและเตรียมความพร้อมต่อการแข่งขันมากยิ่งขึ้น”
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่างให้ความสนใจและมีความต้องการที่จะให้ สศอ. ได้รายงานความเคลื่อนไหวให้รับทราบเป็นประจำ พร้อมกับเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมากขึ้น โดยผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.oie.go.th ทั้งนี้ สศอ.มีแผนที่จะดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลให้ทั่วทุกภูมิภาค เพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยอาศัยผลจากการศึกษาเป็นแนวทางนำไปสู่การเตรียมความพร้อมได้ทุกมิติ และก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้เร่งดำเนินการเผยแพร่ผลการศึกษาโครงการ “การแสวงหาผลประโยชน์จากข้อตกลงการเปิดเสรี FTAs” ซึ่งในปีงบประมาณนี้ สศอ.ได้โฟกัสไปที่ข้อตกลง JTEPA ซึ่งจะมีแนวทางเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทางการค้าจากข้อตกลงดังกล่าว เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการทั่วประเทศ เนื่องจากประเทศไทยไม่อาจปฏิเสธระบบการค้าเสรีได้ เพราะหากไทยไม่ทำ ผู้ส่งออกไทยก็จะเสียเปรียบ และได้สิทธิประโยชน์น้อยกว่าประเทศคู่แข่ง ดังนั้น กรอบเอฟทีเอทุกกรอบที่ไทยได้ทำร่วมกับหลายประเทศ อาทิ ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย(บางส่วน) ไทย-จีน ย่อมมีช่องทางที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก หากแต่ผู้ประกอบการยังไม่รับทราบทั่วถึง ซึ่งการออกไปชี้แจงเผยแพร่ข้อมูลก็จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก
“หลังจากที่ สศอ.ได้ลงมือศึกษาการใช้ประโยชน์จาก JTEPA ในช่วง 5 เดือนแรกหลังข้อตกลงมีผลบังคับ (พฤศจิกายน 2550- มีนาคม 2551) พบว่าผู้ส่งออกไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นสามารถประหยัดภาษีศุลกากรลงได้ถึง 2,480 ล้านบาท โดยการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารประหยัดภาษีได้เป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอัญมณี ส่วนผู้นำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นสามารถประหยัดภาษีศุลกากรได้ 1,630 ล้านบาท อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสามารถประหยัดภาษีนำเข้าได้เป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ตามลำดับ
ซึ่งมีแนวโน้มการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากข้อตกลงดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สศอ.จึงได้เตรียมแผนงานรองรับการใช้ประโยชน์ รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ในการชี้แนะ
ภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม โดยจัดให้มีการจัดสัมมนาเผยแพร่ข้อมูลการใช้ประโยชน์ความตกลงการค้าเสรีแก่ผู้ประกอบการในภาคส่วนต่างๆ ขึ้น ซึ่งจากการจัดสัมมนาที่จังหวัดขอนแก่นและกรุงเทพฯที่ผ่านมา นับว่าได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี โดยบางรายเริ่มเห็นช่องทางการลงทุนใหม่พร้อมกับโอกาสการเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ก้าวทันคู่แข่งมากขึ้น รวมทั้งประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับโดยตรง อาทิ การซื้อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศในราคาที่ถูกลง เป็นต้น ส่วนผลกระทบหรืออุปสรรคเล็กน้อยที่เกิดขึ้นก็จะมีการชี้แจงให้เข้าใจ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับตัวและเตรียมความพร้อมต่อการแข่งขันมากยิ่งขึ้น”
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่างให้ความสนใจและมีความต้องการที่จะให้ สศอ. ได้รายงานความเคลื่อนไหวให้รับทราบเป็นประจำ พร้อมกับเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมากขึ้น โดยผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.oie.go.th ทั้งนี้ สศอ.มีแผนที่จะดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลให้ทั่วทุกภูมิภาค เพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยอาศัยผลจากการศึกษาเป็นแนวทางนำไปสู่การเตรียมความพร้อมได้ทุกมิติ และก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-