แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
กระทรวงอุตสาหกรรม
อรรชกา สีบุญเรือง
ซับไพร์ม
จีดีพี
สศอ. เผยทบทวนเป้าหมาย GDP อุตฯ 51 คาดขยายตัว 7% หวั่นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ผสมโรงซับไพร์ม ทำเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอ หลายประเทศเริ่มหั่นเป้า GDP คาดสินค้าอุตฯ ส่งออกสหรัฐขยายตัวเพียง 4-5 %
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างใกล้ชิด ณ เวลานี้คือผลพวงจาก เลแมน บราเดอร์ส บริษัท วาณิชธนกิจขนาดยักษ์ใหญ่ อันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกาได้ยื่นเรื่องล้มละลายต่อศาล เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา แม้จะได้พยายามหาทางแก้วิกฤตกู้สถานการณ์อย่างไรก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน และมีหนี้เสียถึง 60,000 ล้านดอลล่าร์ รวมทั้งขาดทุนในไตรมาสที่ 3 ถึง 3,900 ล้านดอลล่าร์ รวมทั้งปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามไปทั่วโลก ซึ่งวิกฤตนี้ถูกขนานนามว่าเป็นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งเกิดขึ้นมาใกล้เคียงกัน และเป็นผลพวงต่อเนื่องกันกับวิกฤตซับไพร์ม เมื่อกลางปี 2550 ผลดังกล่าวอาจจะกระทบต่อการส่งออกของไทยและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในที่สุด ซึ่งสศอ. ประมาณการณ์ของการขยายตัวของ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2551 โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 7% จากที่เคยประเมินไว้เมื่อต้นปีว่าจะขยายตัวได้มากกว่านี้เล็กน้อย
“เมื่อกลางปี 2550 เป็นต้นมาประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญเกิดวิกฤตซับไพร์ม ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้เกิดผลกระทบไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นภาวะถดถอย ทำให้หลายประเทศปรับลดตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ซึ่งผลจากซับไพร์มครั้งนั้นประเทศไทยได้รับผลกระทบแม้ไม่มากนัก แต่ที่เห็นภาพชัดเจนคือภาวะเงินทุนไหลออกทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น การส่งออกลดลง ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบ ซึ่งทางภาครัฐได้ยื่นมือเข้าไปพยุงสถานการณ์จนสถานการณ์ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 การส่งออกยังเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ในช่วง 7 เดือนแรกการส่งออกของไทยขยายตัวได้ 26% โดยตลาดสหรัฐยังเป็นตลาดสำคัญมีอัตราการขยายตัวสำหรับตลาดนี้ 8.23% คิดเป็นมูลค่า 13,479.5 ล้านเหรียญ สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้ว่าตัวเลขส่งออกยังขยายตัวแต่ก็ขยายตัวในอัตราที่ต่ำ อีกทั้งสินค้าที่ส่งออก 3 ลำดับแรกนั้น หลังจากวิกฤตซับไพร์มเริ่มกระหน่ำ ทำให้สินค้าเหล่านี้กลายเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งอาจทำให้อัตราการขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ค่อยๆ ลดลงในที่สุด จากปัจจัยที่กล่าวมาจึงคาดได้ว่าการส่งออกของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ จะขยายตัวอยู่ที่ 4-5 % แต่การขยายตัวในประเทศ ยังคงเป็นไปได้ดี ดังนั้น การส่งออกโดยรวม สำหรับปี 2551 จะขยายตัวอยู่ที่ 15-20 % และการขยายตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลัง จะต่ำกว่าคาดการณ์ไว้บ้างเล็กน้อย
*********************************************************************************************************
ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ตลอดจนเสนอแนะมาตรการแนวทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงลึก และชี้นำเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเพื่อให้มีขีดความสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2551--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างใกล้ชิด ณ เวลานี้คือผลพวงจาก เลแมน บราเดอร์ส บริษัท วาณิชธนกิจขนาดยักษ์ใหญ่ อันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกาได้ยื่นเรื่องล้มละลายต่อศาล เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา แม้จะได้พยายามหาทางแก้วิกฤตกู้สถานการณ์อย่างไรก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน และมีหนี้เสียถึง 60,000 ล้านดอลล่าร์ รวมทั้งขาดทุนในไตรมาสที่ 3 ถึง 3,900 ล้านดอลล่าร์ รวมทั้งปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามไปทั่วโลก ซึ่งวิกฤตนี้ถูกขนานนามว่าเป็นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งเกิดขึ้นมาใกล้เคียงกัน และเป็นผลพวงต่อเนื่องกันกับวิกฤตซับไพร์ม เมื่อกลางปี 2550 ผลดังกล่าวอาจจะกระทบต่อการส่งออกของไทยและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในที่สุด ซึ่งสศอ. ประมาณการณ์ของการขยายตัวของ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2551 โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 7% จากที่เคยประเมินไว้เมื่อต้นปีว่าจะขยายตัวได้มากกว่านี้เล็กน้อย
“เมื่อกลางปี 2550 เป็นต้นมาประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญเกิดวิกฤตซับไพร์ม ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้เกิดผลกระทบไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลกจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นภาวะถดถอย ทำให้หลายประเทศปรับลดตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ซึ่งผลจากซับไพร์มครั้งนั้นประเทศไทยได้รับผลกระทบแม้ไม่มากนัก แต่ที่เห็นภาพชัดเจนคือภาวะเงินทุนไหลออกทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น การส่งออกลดลง ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบ ซึ่งทางภาครัฐได้ยื่นมือเข้าไปพยุงสถานการณ์จนสถานการณ์ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 การส่งออกยังเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ในช่วง 7 เดือนแรกการส่งออกของไทยขยายตัวได้ 26% โดยตลาดสหรัฐยังเป็นตลาดสำคัญมีอัตราการขยายตัวสำหรับตลาดนี้ 8.23% คิดเป็นมูลค่า 13,479.5 ล้านเหรียญ สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้ว่าตัวเลขส่งออกยังขยายตัวแต่ก็ขยายตัวในอัตราที่ต่ำ อีกทั้งสินค้าที่ส่งออก 3 ลำดับแรกนั้น หลังจากวิกฤตซับไพร์มเริ่มกระหน่ำ ทำให้สินค้าเหล่านี้กลายเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งอาจทำให้อัตราการขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ค่อยๆ ลดลงในที่สุด จากปัจจัยที่กล่าวมาจึงคาดได้ว่าการส่งออกของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ จะขยายตัวอยู่ที่ 4-5 % แต่การขยายตัวในประเทศ ยังคงเป็นไปได้ดี ดังนั้น การส่งออกโดยรวม สำหรับปี 2551 จะขยายตัวอยู่ที่ 15-20 % และการขยายตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลัง จะต่ำกว่าคาดการณ์ไว้บ้างเล็กน้อย
*********************************************************************************************************
ข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ตลอดจนเสนอแนะมาตรการแนวทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงลึก และชี้นำเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเพื่อให้มีขีดความสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2551--
-พห-