แท็ก
อุตสาหกรรม
สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมิถุนายน 2551
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 182.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 (181.8) ร้อยละ 0.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน (167.8) ร้อยละ 8.7
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่อง
คำนวณ (Hard Disk Drive) การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 64.1 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 (66.0) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (66.6)
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกรกฎาคม 2551
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- เดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศ
และตลาดต่างประเทศ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากระทบ เช่น ราคาสินค้าที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ล้วนกระทบต่อ
การบริโภคของประชาชน แต่อาจจะไม่กระทบต่อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย เนื่องจากภาคการส่งออกและนำเข้ายังมีอัตราเพิ่มขึ้น เพื่อสนองความต้อง
การในกลุ่มที่มีกำลังซื้อจำกัด(สินค้าราคาถูก) ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน หรือแหล่งที่มีการผลิตสินค้าแฟชั่น(สินค้าราคาแพง) นำเข้าจากสหรัฐ
อเมริกา และประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี และฝรั่งเศส สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายจะเน้นสินค้าที่มีคุณภาพและการออกแบบที่มีต้นทุนลดลง
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2551 คาดว่าชะลอตัวลง เนื่อง
จากอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ประกอบกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตาม
ต้นทุนพลังงาน รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับเสถียรภาพทางการเมืองทำให้การลงทุนของภาคเอกชนยัง
คงชะลอตัว และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีความชัดเจน
- สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศประเทศในแถบตะวัน
ออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องสูงขึ้น
ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2551
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 177.5 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่าน
มา (187.4) ร้อยละ 5.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (162.3) ร้อยละ 9.3
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิต
เครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่
เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร
สำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วน
ประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ(Hard Disk Drive) อุตสาหกรรม
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้
กำลังการผลิตเต็มที่ โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 63.7 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (67.5) และลดลงจาก
ไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (64.8)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
- สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรม
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิต
เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 65.6 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปี 2550 (65.1) โดย
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำ
บัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
ประมาณการภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2551
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคอุตสาหกรรมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.6 — 7.1 จากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ส่วน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.0 — 10.0 จากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.1
โดยมีการขยายตัวที่ดีในครึ่งปีแรกรวมถึงภาคการส่งออกเป็นตัวสนับสนุน แม้ในครึ่งปีหลังจะต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆ ทั้งปัจจัยด้านราคา
พลังงาน และอัตราเงินเฟ้อ แต่ทั้งนี้มาตรการ 6 มาตรการของภาครัฐที่ออกมาจะช่วยลดผลกระทบต่อรายได้โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้
น้อยและบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นในภาคการบริโภค และทำให้การบริโภคภาคครัวเรือนยังคงสามารถขยายตัวต่อไปได้
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)
พ.ค. 51 = 181.8
มิ.ย. 51 = 182.4
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
อัตราการใช้กำลังการผลิต
พ.ค. 51 = 66.0
มิ.ย. 51 = 64.1
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- การผลิตยานยนต์
- การแปรรูปผลไม้และผัก
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนกรกฎาคมจะชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกจะทรงตัว แม้ว่าระดับราคาจะ
เพิ่มขึ้นในตลาดโลก สำหรับการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มทรงตัวจากระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.5 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อย
ละ 6.7 ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 15.5 จาก
วัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น แต่ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นทำให้การผลิตชะลอตัวลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.1 สำหรับสับปะรดกระป๋องและกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง มีการผลิตลดลง
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.9 และ 15.5
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์มมีปริมาณการกลั่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 28 และ 6.5
ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดมาก ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 0.6 และ 6.8 ตามลำดับ
เนื่องจากราคาถั่วเหลืองปรับตัวสูงขึ้น
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนมิถุนายนสินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.6 เนื่องจากระดับราคาสินค้า
ปรับตัวสูงขึ้นและราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง
2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่อง
จากราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกสินค้า เช่น ทูน่ากระป๋อง ไก่แปรรูป สับปะรดกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 53 31.4 และ 16.4 ตาม
ลำดับ สำหรับกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 16.5 แต่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.6 จากตลาดสหรัฐที่ชะลอตัวลง
3. แนวโน้ม
เดือนกรกฎาคมคาดว่าการผลิตจะชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนสำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากระดับ
ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออก คาดว่าจะทรงตัวจากเดือนก่อน แม้ว่าระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
...ความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศแม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากระทบ เช่น ราคาสินค้าที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น
ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ล้วนกระทบต่อการบริโภคของประชาชน แต่อาจจะไม่กระทบต่อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย...
1. การผลิต
ภาวะการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เดือนมิถุนายน มีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่การผลิตเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถัก และ
ที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.2 และ 0.7 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 2.3
ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ 1.0 ตามลำดับ
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ
9.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดในประเทศของสิ่งทอต้นน้ำและปลายน้ำ ยังขยายตัวได้และคาดว่าจะขยายตัวจนถึงสิ้นปี
การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนมิถุนายน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ1.7 ได้แก่ ผ้าผืนและด้าย (-4.0%) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (-
11.3%) เคหะสิ่งทอ(-8.6%) และผ้าอื่นๆ (- 23.5%) แต่การส่งออกเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบ
กับเดือนก่อน โดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
3. แนวโน้ม
คาดว่าเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาด
ต่างประเทศ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากระทบ เช่น ราคาสินค้าที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ล้วนกระทบต่อการบริโภค
ของประชาชน แต่อาจจะไม่กระทบต่อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย เนื่องจากภาคการส่งออกและนำเข้ายังมีอัตราเพิ่มขึ้น เพื่อสนองความต้องการในกลุ่มที่มี
กำลังซื้อจำกัด(สินค้าราคาถูก) ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน หรือแหล่งที่มีการผลิตสินค้าแฟชั่น(สินค้าราคาแพง) นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา และ
ประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี และฝรั่งเศส สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายจะเน้นสินค้าที่มีคุณภาพและการออกแบบที่มีต้นทุนลดลง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
บริษัท Canadoil Plate Ltd. บริษัทลูกของบริษัท Canadoil Group วางแผนที่จะตั้งโรงรีดเหล็กแผ่นหนา (Plate) ที่มีความ
กว้าง 5 เมตรในนิคมอีสเทอร์นซีบอร์ดจังหวัดระยอง โดยจะมีกำลังการผลิตประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี โดยจะผลิตแผ่นหนาเกรดทั่วไปสำหรับใช้ผลิตท่อ
และภาชนะรับความดัน รวมไปถึงเหล็กโครงสร้างที่จะใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
1.การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมิถุนายน 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 4.98 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 152.36 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตขยายตัวขึ้น ร้อยละ 7.65 โดยเป็นผลมา
จากการเพิ่มขึ้นของเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.78 และเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.68 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
การที่พ่อค้าคนกลางสต๊อกสินค้าไว้เนื่องจากเกรงผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 11.29 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบ
สังกะสี ที่ลดลงร้อยละ 15.65 และ ร้อยละ 15.22 ตามลำดับ ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ
17.70 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.14 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.92 และ ลวด
เหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.22 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.85 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่น
เคลือบดีบุก มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60.23 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.26
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 945
เป็น 1,012 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.04 เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้น จาก 1,169 เป็น 1,188 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อย
ละ 1.65 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 1,053 เป็น 1,068 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.44 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 1,110 เป็น
1,122 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.04 แต่เหล็กเส้นกลับมีราคาที่ลดลงจาก 1,248 เป็น 1,209 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 3.09
เนื่องจากความต้องการในธุรกิจก่อสร้างของตลาดหลักที่สำคัญ เช่น ตะวันออกกลาง และ ยุโรปใต้ ที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้เป็นผลมาจากความไม่มั่นใจ
ของผู้ซื้อว่าแนวโน้มราคาอาจจะลดลงอีกในอนาคต จึงมีผลทำให้ลดการสั่งซื้อเหล็กเส้นลง
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน ก.ค. 2551 คาดว่าในส่วนของการผลิตเหล็กทรงยาวจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน
ทำให้การก่อสร้างลดลง ส่งผลให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะทรงตัว
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 เนื่องจากการส่งออกมีการขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การจำหน่ายในประเทศชะลอตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 130,549 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 111,336 คัน ร้อยละ 17.26 และมีปริมาณ
การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 ร้อยละ 3.72
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 50,108 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 53,222 คัน ร้อยละ 5.85 และมีปริมาณ
การจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ร้อยละ 8.75 สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลและเบนซิน ซึ่งทำให้มี
ราคาแตกต่างจากพลังงานทดแทนประเภทอื่น เช่น LPG และ NGV มากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์
กระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ของรถกระบะ
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 64,990 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 55,603 คัน ร้อยละ 16.88 ซึ่งการส่ง
ออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบเอเชีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้มีการขยายตัวสูงกว่าประเทศอื่น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 มี
ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 7.06
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2551 สำหรับการผลิต
รถยนต์ในเดือนกรกฎาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 43 และส่งออกร้อยละ 57
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 เนื่องจากการจำหน่ายใน
ประเทศ และการส่งออกมีการขยายตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 169,829 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 148,110 คัน ร้อยละ 14.66 แต่มี
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551ร้อยละ 6.76
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 163,501 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 152,591 คัน ร้อยละ 7.15
และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 ร้อยละ 8.91 ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รถ
จักรยานยนต์เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีผู้ประกอบการรายใหญ่รายหนึ่งได้พัฒนารถจักรยานยนต์แบบเครื่องยนต์หัวฉีดออกสู่ตลาด
ซึ่งมีความประหยัดน้ำมันสูง
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) จำนวน 12,757 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 8,600 คัน ร้อยละ
48.34 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 ร้อยละ 10.64
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551
สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ในเดือนกรกฎาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 92 และส่งออก
ร้อยละ 8
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ในภาพรวมการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงซบเซา เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงชะลอตัวรวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล
ยังไม่ชัดเจนสำหรับแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดใหม่โดยเฉพาะบังคลาเทศยังคงเติบโตขึ้นเนื่องจากภาคการก่อสร้างยังขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เดือนมิถุนายน 2551 ลดลง ร้อย
ละ 2.06 และ 18.47 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 2.52
และ 13.62 ตามลำดับ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อ
เนื่อง เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
ในขณะเดียวกันราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้
เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนและความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ของรัฐบาลด้วย
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 และ 1.30
ตามลำดับ ส่วนการส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วง 6 เดือนแรก แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาจะปรับลดลง ถึงร้อยละ
91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ยุโรป และ แอฟริกา ยังคง
ขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาคการก่อสร้างของหลายประเทศในแถบภูมิภาคนี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3.แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2551 คาดว่าชะลอตัวลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน
ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ประกอบกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามต้นทุนพลังงาน รวม
ทั้งปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับเสถียรภาพทางการเมืองทำให้การลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และ
การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีความชัดเจน
สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง
และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 28.27 เป็นผลเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ HDD/IC
- มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมิถุนายน 2551ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน มีมูลค่า 266.24 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมูลค่าการส่ง
ออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดคือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่า 1,433.83 ล้านเหรียญสหรัฐ
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน มิ.ย. 2551
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,433.83 -3.24 18.22
IC 645.60 7.00 -18.15
เครื่องปรับอากาศ 266.24 -12.50 0.98
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 185.69 18.40 51.22
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4,043.22 -1.15 5.83
ที่มา กรมศุลกากร
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 340.83 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.27 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.06 เป็นผลเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ HDD Other IC Monolithic IC และ Semiconductor
devices Transistors ตามลำดับ
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 15.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่
โทรทัศน์สีขนาด = 21 นิ้ว และเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลด
ลง ร้อยละ 6.74 สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์แบบ CRT ที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ส่วนสายไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลงนั้นจากปัจจัยที่
เป็นผลกระทบของอุตสาหกรรมอื่นเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อสังหริมทรัพย์เป็นต้น เนื่องจากงานโครงการบ้านและที่ดินชะลอลงเล็กน้อย
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมิถุนายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 1.15 ขณะที่เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.83 มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรง
งานส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดคือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือน
มิถุนายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.94 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.18 ผลิตภัณฑ์ที่มี
มูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เดือน มิถุนายน
2551 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.28 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.02 โดยผลิตภัณฑ์
อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
3. แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนกรกฎาคม 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 2.39 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการ
ปรับตัวลดลงของเครื่องรับโทรทัศน์ร้อยละ 15.12 และสายไฟฟ้าที่ยังคงชะลอลงจากความต้องการใช้ที่ลดลงของอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมก่อ
สร้างอสังหาริมทรัพย์ และต้นทุนวัตถดิบที่สูงขึ้นด้วย
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.66 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ประมาณการ
ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.72 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่า
จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.73ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนมิถุนายน 2551 มีค่า 182.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 (181.8) ร้อยละ
0.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (167.8) ร้อยละ 8.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
จักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอด
อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ใน
ที่อื่นเป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
จักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมิถุนายน 2551 มีค่า 64.1 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 (66.0) และลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน (66.6)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์
เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
รับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์อุตสาหกรรม
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2551
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551
มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 451 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 387 ราย
หรือมากกว่าร้อยละ 16.54 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 12,615.30 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 15,767.50 ล้าน
บาท หรือลดลงร้อยละ -19.99 ในส่วนของการจ้างงานรวมมีจำนวน 9,387 คน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 12,515
คน หรือลดลงร้อยละ -24.99
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปี
ก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 397 ราย หรือคิดเป็น
จำนวนมากกว่าร้อยละ 13.60 แต่มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการลงทุน 17,692.73 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -
28.70 ในส่วนการจ้างงานลดลงจากเดือนมิถุนายน 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,807 คน ร้อยละ -6.20
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2551 คืออุตสาหกรรมขุดตักดิน จำนวน 40
โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนจากไม้ จำนวน 31 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรมผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
3,214.0 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม สีข้าวแยกแกลบและรำ จำนวนเงินลงทุน 1,511.55 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำ
เร็จรูป จำนวนคนงาน 1,387 คนรองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวนคนงาน 597 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 มี
โรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 235 ราย มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 176 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.52
ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 3,994.48 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,490.59 ล้านบาท และการเลิก
จ้างงานมีจำนวน 6,067 คน มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 3,813 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มี
โรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 164 รายคิดเป็นร้อยละ 43.29 มีเงินทุนของการเลิก
กิจการมากกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,531.99 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ที่การ
เลิกจ้างงานมีจำนวน 3,922 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน
22 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต จำนวน 21 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งของอื่นๆ ที่
ทำจากกระดาษและกระดาษแข็ง เงินทุน 884 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินทุน 471 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จ
รูป คนงาน 802 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำอาหารหรือเครื่องดื่มจากผัก พืช ผลไม้ บรรจุในภาชนะผนึกอากาศเข้าไม่ได้ คนงาน 699 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม
2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 89 โครงการ น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ที่มีจำนวน 94
โครงการ ร้อยละ -5.32 และมีเงินลงทุน 22,200 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ที่มีเงินลงทุน 26,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ -
16.23
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ที่มีจำนวน 137 โครงการ ร้อยละ -35.04
และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ที่มีเงินลงทุน 137,200 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -83.32
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2551
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 160 27,900
2.โครงการต่างชาติ 100% 238 71,600
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 157 86,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2551 คือ หมวดบริการและ
สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 70,100 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 34,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมิถุนายน 2551
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 182.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 (181.8) ร้อยละ 0.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน (167.8) ร้อยละ 8.7
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่อง
คำนวณ (Hard Disk Drive) การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 64.1 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 (66.0) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (66.6)
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกรกฎาคม 2551
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- เดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศ
และตลาดต่างประเทศ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากระทบ เช่น ราคาสินค้าที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ล้วนกระทบต่อ
การบริโภคของประชาชน แต่อาจจะไม่กระทบต่อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย เนื่องจากภาคการส่งออกและนำเข้ายังมีอัตราเพิ่มขึ้น เพื่อสนองความต้อง
การในกลุ่มที่มีกำลังซื้อจำกัด(สินค้าราคาถูก) ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน หรือแหล่งที่มีการผลิตสินค้าแฟชั่น(สินค้าราคาแพง) นำเข้าจากสหรัฐ
อเมริกา และประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี และฝรั่งเศส สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายจะเน้นสินค้าที่มีคุณภาพและการออกแบบที่มีต้นทุนลดลง
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2551 คาดว่าชะลอตัวลง เนื่อง
จากอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ประกอบกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตาม
ต้นทุนพลังงาน รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับเสถียรภาพทางการเมืองทำให้การลงทุนของภาคเอกชนยัง
คงชะลอตัว และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีความชัดเจน
- สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศประเทศในแถบตะวัน
ออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องสูงขึ้น
ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2551
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 177.5 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่าน
มา (187.4) ร้อยละ 5.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (162.3) ร้อยละ 9.3
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิต
เครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่
เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร
สำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วน
ประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ(Hard Disk Drive) อุตสาหกรรม
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้
กำลังการผลิตเต็มที่ โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 63.7 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (67.5) และลดลงจาก
ไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (64.8)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
- สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรม
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิต
เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 65.6 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปี 2550 (65.1) โดย
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำ
บัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น
ประมาณการภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2551
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคอุตสาหกรรมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.6 — 7.1 จากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ส่วน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.0 — 10.0 จากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.1
โดยมีการขยายตัวที่ดีในครึ่งปีแรกรวมถึงภาคการส่งออกเป็นตัวสนับสนุน แม้ในครึ่งปีหลังจะต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆ ทั้งปัจจัยด้านราคา
พลังงาน และอัตราเงินเฟ้อ แต่ทั้งนี้มาตรการ 6 มาตรการของภาครัฐที่ออกมาจะช่วยลดผลกระทบต่อรายได้โดยเฉพาะในกลุ่มของประชาชนที่มีรายได้
น้อยและบรรเทาผลกระทบที่อาจมีความรุนแรงขึ้นในภาคการบริโภค และทำให้การบริโภคภาคครัวเรือนยังคงสามารถขยายตัวต่อไปได้
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)
พ.ค. 51 = 181.8
มิ.ย. 51 = 182.4
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
อัตราการใช้กำลังการผลิต
พ.ค. 51 = 66.0
มิ.ย. 51 = 64.1
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- การผลิตยานยนต์
- การแปรรูปผลไม้และผัก
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนกรกฎาคมจะชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย มูลค่าการส่งออกจะทรงตัว แม้ว่าระดับราคาจะ
เพิ่มขึ้นในตลาดโลก สำหรับการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มทรงตัวจากระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.5 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อย
ละ 6.7 ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 15.5 จาก
วัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น แต่ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นทำให้การผลิตชะลอตัวลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.1 สำหรับสับปะรดกระป๋องและกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง มีการผลิตลดลง
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.9 และ 15.5
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์มมีปริมาณการกลั่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 28 และ 6.5
ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดมาก ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 0.6 และ 6.8 ตามลำดับ
เนื่องจากราคาถั่วเหลืองปรับตัวสูงขึ้น
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนมิถุนายนสินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.6 เนื่องจากระดับราคาสินค้า
ปรับตัวสูงขึ้นและราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง
2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่อง
จากราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกสินค้า เช่น ทูน่ากระป๋อง ไก่แปรรูป สับปะรดกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 53 31.4 และ 16.4 ตาม
ลำดับ สำหรับกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 16.5 แต่ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.6 จากตลาดสหรัฐที่ชะลอตัวลง
3. แนวโน้ม
เดือนกรกฎาคมคาดว่าการผลิตจะชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนสำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากระดับ
ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออก คาดว่าจะทรงตัวจากเดือนก่อน แม้ว่าระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
...ความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศแม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากระทบ เช่น ราคาสินค้าที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น
ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ล้วนกระทบต่อการบริโภคของประชาชน แต่อาจจะไม่กระทบต่อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย...
1. การผลิต
ภาวะการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เดือนมิถุนายน มีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่การผลิตเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถัก และ
ที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.2 และ 0.7 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 2.3
ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ 1.0 ตามลำดับ
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ
9.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดในประเทศของสิ่งทอต้นน้ำและปลายน้ำ ยังขยายตัวได้และคาดว่าจะขยายตัวจนถึงสิ้นปี
การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนมิถุนายน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ1.7 ได้แก่ ผ้าผืนและด้าย (-4.0%) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (-
11.3%) เคหะสิ่งทอ(-8.6%) และผ้าอื่นๆ (- 23.5%) แต่การส่งออกเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบ
กับเดือนก่อน โดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
3. แนวโน้ม
คาดว่าเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาด
ต่างประเทศ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากระทบ เช่น ราคาสินค้าที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ล้วนกระทบต่อการบริโภค
ของประชาชน แต่อาจจะไม่กระทบต่อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย เนื่องจากภาคการส่งออกและนำเข้ายังมีอัตราเพิ่มขึ้น เพื่อสนองความต้องการในกลุ่มที่มี
กำลังซื้อจำกัด(สินค้าราคาถูก) ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน หรือแหล่งที่มีการผลิตสินค้าแฟชั่น(สินค้าราคาแพง) นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา และ
ประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี และฝรั่งเศส สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายจะเน้นสินค้าที่มีคุณภาพและการออกแบบที่มีต้นทุนลดลง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
บริษัท Canadoil Plate Ltd. บริษัทลูกของบริษัท Canadoil Group วางแผนที่จะตั้งโรงรีดเหล็กแผ่นหนา (Plate) ที่มีความ
กว้าง 5 เมตรในนิคมอีสเทอร์นซีบอร์ดจังหวัดระยอง โดยจะมีกำลังการผลิตประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี โดยจะผลิตแผ่นหนาเกรดทั่วไปสำหรับใช้ผลิตท่อ
และภาชนะรับความดัน รวมไปถึงเหล็กโครงสร้างที่จะใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
1.การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมิถุนายน 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 4.98 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 152.36 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตขยายตัวขึ้น ร้อยละ 7.65 โดยเป็นผลมา
จากการเพิ่มขึ้นของเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.78 และเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.68 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
การที่พ่อค้าคนกลางสต๊อกสินค้าไว้เนื่องจากเกรงผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 11.29 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบ
สังกะสี ที่ลดลงร้อยละ 15.65 และ ร้อยละ 15.22 ตามลำดับ ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ
17.70 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.14 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.92 และ ลวด
เหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.22 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.85 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่น
เคลือบดีบุก มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60.23 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.26
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 945
เป็น 1,012 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.04 เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้น จาก 1,169 เป็น 1,188 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อย
ละ 1.65 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 1,053 เป็น 1,068 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.44 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 1,110 เป็น
1,122 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.04 แต่เหล็กเส้นกลับมีราคาที่ลดลงจาก 1,248 เป็น 1,209 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 3.09
เนื่องจากความต้องการในธุรกิจก่อสร้างของตลาดหลักที่สำคัญ เช่น ตะวันออกกลาง และ ยุโรปใต้ ที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้เป็นผลมาจากความไม่มั่นใจ
ของผู้ซื้อว่าแนวโน้มราคาอาจจะลดลงอีกในอนาคต จึงมีผลทำให้ลดการสั่งซื้อเหล็กเส้นลง
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน ก.ค. 2551 คาดว่าในส่วนของการผลิตเหล็กทรงยาวจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน
ทำให้การก่อสร้างลดลง ส่งผลให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะทรงตัว
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 เนื่องจากการส่งออกมีการขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การจำหน่ายในประเทศชะลอตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 130,549 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 111,336 คัน ร้อยละ 17.26 และมีปริมาณ
การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 ร้อยละ 3.72
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 50,108 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 53,222 คัน ร้อยละ 5.85 และมีปริมาณ
การจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ร้อยละ 8.75 สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซลและเบนซิน ซึ่งทำให้มี
ราคาแตกต่างจากพลังงานทดแทนประเภทอื่น เช่น LPG และ NGV มากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์
กระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ของรถกระบะ
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 64,990 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 55,603 คัน ร้อยละ 16.88 ซึ่งการส่ง
ออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบเอเชีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้มีการขยายตัวสูงกว่าประเทศอื่น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 มี
ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 7.06
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2551 สำหรับการผลิต
รถยนต์ในเดือนกรกฎาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 43 และส่งออกร้อยละ 57
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 เนื่องจากการจำหน่ายใน
ประเทศ และการส่งออกมีการขยายตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 169,829 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการผลิต 148,110 คัน ร้อยละ 14.66 แต่มี
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551ร้อยละ 6.76
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 163,501 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 152,591 คัน ร้อยละ 7.15
และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 ร้อยละ 8.91 ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รถ
จักรยานยนต์เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีผู้ประกอบการรายใหญ่รายหนึ่งได้พัฒนารถจักรยานยนต์แบบเครื่องยนต์หัวฉีดออกสู่ตลาด
ซึ่งมีความประหยัดน้ำมันสูง
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) จำนวน 12,757 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการส่งออก 8,600 คัน ร้อยละ
48.34 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 ร้อยละ 10.64
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551
สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ในเดือนกรกฎาคมประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 92 และส่งออก
ร้อยละ 8
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ในภาพรวมการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงซบเซา เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงชะลอตัวรวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล
ยังไม่ชัดเจนสำหรับแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดใหม่โดยเฉพาะบังคลาเทศยังคงเติบโตขึ้นเนื่องจากภาคการก่อสร้างยังขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เดือนมิถุนายน 2551 ลดลง ร้อย
ละ 2.06 และ 18.47 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 2.52
และ 13.62 ตามลำดับ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อ
เนื่อง เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
ในขณะเดียวกันราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้
เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชนและความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ของรัฐบาลด้วย
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 และ 1.30
ตามลำดับ ส่วนการส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วง 6 เดือนแรก แม้ว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาจะปรับลดลง ถึงร้อยละ
91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ยุโรป และ แอฟริกา ยังคง
ขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาคการก่อสร้างของหลายประเทศในแถบภูมิภาคนี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3.แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2551 คาดว่าชะลอตัวลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน
ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ประกอบกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามต้นทุนพลังงาน รวม
ทั้งปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับเสถียรภาพทางการเมืองทำให้การลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และ
การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีความชัดเจน
สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง
และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 28.27 เป็นผลเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ HDD/IC
- มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมิถุนายน 2551ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน มีมูลค่า 266.24 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมูลค่าการส่ง
ออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดคือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่า 1,433.83 ล้านเหรียญสหรัฐ
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน มิ.ย. 2551
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,433.83 -3.24 18.22
IC 645.60 7.00 -18.15
เครื่องปรับอากาศ 266.24 -12.50 0.98
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 185.69 18.40 51.22
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4,043.22 -1.15 5.83
ที่มา กรมศุลกากร
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 340.83 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.27 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.06 เป็นผลเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ HDD Other IC Monolithic IC และ Semiconductor
devices Transistors ตามลำดับ
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 15.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่
โทรทัศน์สีขนาด = 21 นิ้ว และเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลด
ลง ร้อยละ 6.74 สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์แบบ CRT ที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ส่วนสายไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลงนั้นจากปัจจัยที่
เป็นผลกระทบของอุตสาหกรรมอื่นเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อสังหริมทรัพย์เป็นต้น เนื่องจากงานโครงการบ้านและที่ดินชะลอลงเล็กน้อย
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมิถุนายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 1.15 ขณะที่เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.83 มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรง
งานส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดคือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมูลค่าการส่งออกกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือน
มิถุนายน 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.94 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.18 ผลิตภัณฑ์ที่มี
มูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เดือน มิถุนายน
2551 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.28 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.02 โดยผลิตภัณฑ์
อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
3. แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าเดือนกรกฎาคม 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 2.39 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการ
ปรับตัวลดลงของเครื่องรับโทรทัศน์ร้อยละ 15.12 และสายไฟฟ้าที่ยังคงชะลอลงจากความต้องการใช้ที่ลดลงของอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมก่อ
สร้างอสังหาริมทรัพย์ และต้นทุนวัตถดิบที่สูงขึ้นด้วย
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.66 ทั้งนี้เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ HDD ประมาณการ
ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.72 จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้จะอยู่ในอัตราชะลอลงบ้างในตลาด US ขณะที่ IC โดยรวมประมาณการว่า
จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.73ทั้งนี้เกิดจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ IC ที่ใช้ในสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนมิถุนายน 2551 มีค่า 182.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 (181.8) ร้อยละ
0.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (167.8) ร้อยละ 8.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
จักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอด
อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ใน
ที่อื่นเป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
จักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมิถุนายน 2551 มีค่า 64.1 ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 (66.0) และลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน (66.6)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์
เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
รับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์อุตสาหกรรม
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2551
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551
มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 451 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 387 ราย
หรือมากกว่าร้อยละ 16.54 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 12,615.30 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 15,767.50 ล้าน
บาท หรือลดลงร้อยละ -19.99 ในส่วนของการจ้างงานรวมมีจำนวน 9,387 คน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 12,515
คน หรือลดลงร้อยละ -24.99
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปี
ก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 397 ราย หรือคิดเป็น
จำนวนมากกว่าร้อยละ 13.60 แต่มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีการลงทุน 17,692.73 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -
28.70 ในส่วนการจ้างงานลดลงจากเดือนมิถุนายน 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,807 คน ร้อยละ -6.20
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2551 คืออุตสาหกรรมขุดตักดิน จำนวน 40
โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนจากไม้ จำนวน 31 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรมผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
3,214.0 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม สีข้าวแยกแกลบและรำ จำนวนเงินลงทุน 1,511.55 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำ
เร็จรูป จำนวนคนงาน 1,387 คนรองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวนคนงาน 597 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2551 มี
โรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 235 ราย มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 176 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.52
ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 3,994.48 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,490.59 ล้านบาท และการเลิก
จ้างงานมีจำนวน 6,067 คน มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 3,813 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มี
โรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 164 รายคิดเป็นร้อยละ 43.29 มีเงินทุนของการเลิก
กิจการมากกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,531.99 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ที่การ
เลิกจ้างงานมีจำนวน 3,922 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน
22 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต จำนวน 21 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งของอื่นๆ ที่
ทำจากกระดาษและกระดาษแข็ง เงินทุน 884 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินทุน 471 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จ
รูป คนงาน 802 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำอาหารหรือเครื่องดื่มจากผัก พืช ผลไม้ บรรจุในภาชนะผนึกอากาศเข้าไม่ได้ คนงาน 699 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม
2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 89 โครงการ น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ที่มีจำนวน 94
โครงการ ร้อยละ -5.32 และมีเงินลงทุน 22,200 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2551 ที่มีเงินลงทุน 26,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ -
16.23
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ที่มีจำนวน 137 โครงการ ร้อยละ -35.04
และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2550 ที่มีเงินลงทุน 137,200 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -83.32
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2551
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 160 27,900
2.โครงการต่างชาติ 100% 238 71,600
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 157 86,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2551 คือ หมวดบริการและ
สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 70,100 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 34,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-