รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 5, 2008 13:28 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนสิงหาคม 2551
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 183.8 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 (184.4) ร้อยละ 0.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (175.9) ร้อยละ 4.5
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2551 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ (เครื่องปรับอากาศ) เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 61.3 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 (65.2) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (66.9)
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกันยายน 2551

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • คาดว่าปริมาณการผลิตจะทรงตัว การจำหน่ายในประเทศจะขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าเงินบาทเริ่มปรับตัวลง ส่งผลให้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น และยังมีการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นด้วย แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศจะชะลอตัว แต่ตลาดค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังไปได้ดี โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปแฟชั่นที่จำหน่ายในตลาดค้าส่ง เช่น เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อของที่ราคาถูกลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย
  • ในส่วนของตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าในปีนี้คงจะไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่จะชะลอตัวลง จากปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก จะทำให้ยอดการส่งออกสิ่งทอลดลง จึงจำเป็นต้องขยายตลาดส่งออกอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น อาเซียน และญี่ปุ่น ที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยการประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่า อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 3.57 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของเครื่องรับโทรทัศน์ประเภท CRT เครื่องปรับอากาศ และการปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราชะลอลงของตู้เย็น
  • ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่า HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.23 และชิ้นส่วน IC โดยเฉพาะ Other IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.22

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)

ก.ค. 51 = 184.4

ส.ค. 51 = 183.8

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่

  • การผลิตยานยนต์
  • การผลิตรถจักรยานยนต์
  • การผลิตน้ำตาล

-อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ค. 51 = 65.2

ส.ค. 51 = 61.3

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • การผลิตยานยนต์
  • การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
  • การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
1.อุตสาหกรรมอาหาร

เดือนกันยายน ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารจะชะลอตัวจากเดือนก่อน มูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นตามระดับราคาในตลาดโลก สำหรับการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นจากมาตรการของภาครัฐกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน

1. การผลิต

เดือนสิงหาคมภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 19.7 และ 6.7 ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ทูน่ากระป๋อง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 39.3 และ 84.2 จากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ส่วนกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.0 และ 70.9 เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดน้อยตันปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่สำคัญ กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการกลั่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 16.9 และ 11.2 เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดมาก ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 16.8 เนื่องจากราคาจำหน่ายได้ปรับตัวสูงขึ้น

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนสิงหาคม สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.3 เนื่องจากราคาน้ำมันชะลอตัวต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐบาลประกาศ 6 มาตรการเพื่อช่วยเหลือล้านบาท การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอาหารที่สำคัญประชาชน ส่งผลให้ผู้บริโภคเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนสิงหาคมมูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 41.8 เนื่องจากราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกสินค้า เช่น ทูน่ากระป๋อง ไก่แปรรูปสับปะรดกระป๋องและกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทำให้มูลค่าในแต่ละสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.3 79.3 13.0 และ 9.8 ตามลำดับ แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนมูลค่าการส่งออกลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.4 จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

3. แนวโน้ม

เดือนกันยายน การผลิตของอุตสาหกรรมอาหารจะชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออก คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มขยายตัวเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐ มีผลกระตุ้นให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

...เสื้อผ้าสำเร็จรูปยังไปได้ดี โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปแฟชั่นที่จำหน่ายในตลาดค้าส่ง เช่น เดอะ แพลทินัม แฟชั่นมอลล์ เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อของที่ราคาถูกลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย ...

1. การผลิต

ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในเดือนสิงหาคม ส่วนใหญ่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ (-8.2%) ผ้าทอ (-2.8%) ผ้าลูกไม้ (-12.1%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ(-0.4%) แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และเครื่องนอน มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ (+3.5%) และ (+8.7%) ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ(-3.9%) ผ้าทอ (-7.4%) ผ้าลูกไม้ (-8.7%) แต่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และที่ผลิตจากผ้าทอ ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ (+21.8%) และ (+10.7%) ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อล่วงหน้า

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ รวมถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ยกเว้นเพียงเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักมีการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายส่วนใหญ่ลดลง ยกเว้นเสื้อผ้าสำเร็จรูปประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นการส่งออก ผลิตภัณฑ์สิ่งทอหลักๆ เดือนสิงหาคมลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.5 และ 1.9 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายฝ้าย เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ แต่การส่งออกผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อฯ ยังคงส่งออกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตลาดอาเซียน (+1.9%) และญี่ปุ่น (+11.1%) เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้น (+11.1%) และ (+38.3%) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

3. แนวโน้ม

คาดว่าปริมาณการผลิตจะทรงตัว การจำหน่ายในประเทศจะขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าเงินบาทเริ่มปรับตัวลง ส่งผลให้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น และยังมีการขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นด้วย แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศ จะชะลอตัว แต่ตลาดค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังไปได้ดี โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปแฟชั่นที่จำหน่ายในตลาดค้าส่ง เช่น เดอะ แพลทินัมแฟชั่น มอลล์ เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อของที่ราคาถูกลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าในปีนี้คงจะไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่จะชะลอตัวลง จากปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก จะทำให้ยอดการส่งออกสิ่งทอลดลง จึงจำเป็นต้องขยายตลาดส่งออก อื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น อาเซียน และญี่ปุ่น ที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

สหวิริยาสติลอินดัสทรี (SSI) ได้อำนาจในการควบคุมกิจการของบริษัทเหล็กแผ่นรีดเย็นไทย (TCRSS)หลังได้ซื้อหุ้นจากบริษัท JFE Steel และ Marubini Corp ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจากประเทศญี่ปุ่น โดยในขณะนี้ SSI ได้ถือหุ้นของ TCRSS อยู่ 50.15% ในขณะที่ JFE ถือหุ้น 22.4% และ Marubeni Corp. ถือหุ้น 22.2%

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนสิงหาคม 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 13.51 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 130.70 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตชะลอตัวลง ร้อยละ 20.30 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 28.11 และเหล็กเส้นข้ออ้อยลดลง ร้อยละ 20.92 เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ซบเซา จึงทำให้พ่อค้าคนกลางมีปริมาณสินค้าคงคลังเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณคำสั่งซื้อลงลงมีผลให้ผู้ผลิตลดการผลิตลงสำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 10.76 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ที่ลดลง ร้อยละ 29.51 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ซื้อชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากกระแสข่าวการลดลงของราคาวัตถุดิบ(เศษเหล็ก)และแร่เหล็กในตลาดโลก จึงมีผลทำให้ผู้ซื้อในกลุ่มเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าราคาเหล็กทรงแบนอาจมีแนวโน้มลดลง จึงชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางของราคาที่ชัดเจน ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.15 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.05 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.53 และ ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.38 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 17.10 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 13.63

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกันยายน 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มเหล็กทรง ยาวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดย เหล็กเส้น ลดลง จาก 1,095 เป็น 806 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 26.37 เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต ลดลง จาก 925 เป็น 690 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 25.41 เนื่องจากความต้องการในธุรกิจก่อสร้างของตลาดหลักที่สำคัญ เช่น ตะวันออกกลาง และยุโรปใต้ ที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้เป็นผลมาจากความไม่มั่นใจของผู้ซื้อว่าแนวโน้มราคาอาจจะลดลงอีกในอนาคต จึงมีผลทำให้ลดการสั่งซื้อเหล็กเส้นลง ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนกลับมีราคาที่ทรงตัว คือเหล็กแผ่นรีดเย็น มีราคา 1,168 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กแผ่นรีดร้อน มีราคา 1,130 เหรียญสหรัฐต่อตัน และ เหล็กแท่งแบน มีราคา 1,085 เหรียญสหรัฐต่อตัน

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนกันยายน 2551 คาดว่าในส่วนของการผลิตเหล็กทรงยาวจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนทำให้การก่อสร้างซึ่งชะลอตัวอยู่ในช่วงนี้ลดลง นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากปริมาณสินค้าคงคลังที่ยังคงมีอยู่ในระดับที่สูง สำหรับสถานการณ์เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตยังคงทรงตัว

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 อันเนื่องมาจากตลาดภายในประเทศชะลอตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 103,737 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม2550 ซึ่งมีการผลิต 109,486 คัน ร้อยละ 5.25 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 ร้อยละ 14.74
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 47,130 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 54,163 คัน ร้อยละ 12.98 เนื่องจากมีการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน ลดลง อย่างไรก็ดีการจำหน่ายรถยนต์นั่งยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2551 ร้อยละ 5.27
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 67,591 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 65,636 คัน ร้อยละ 2.98 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2551 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 5.11 ซึ่งการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบเอเชีย อเมริกากลาง และอเมริกาใต้มีการขยายตัวสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบประเทศอื่น
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2551 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2551

สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายนประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 44 และส่งออกร้อยละ 56

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ซึ่งสอดคล้องกับการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกที่มีการขยายตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคมดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 154,093 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 132,027 คัน ร้อยละ 16.71 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 ร้อยละ 11.72
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 143,095 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 136,838 คัน ร้อยละ 4.57 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 ร้อยละ 10.76
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) จำนวน 10,770 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 7,209 คัน ร้อยละ 49.40 สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นรถจักรยานยนต์ และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2551 ร้อยละ 4.76
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2551

สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ในเดือนกันยายนประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 6

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงซบเซา เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัว รวมทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน สำหรับแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดใหม่ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลางยุโรป และ แอฟริกา ยังคงเติบโตขึ้น เนื่องจากภาคการก่อสร้างยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนสิงหาคม 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.06 และ 6.86 ตามลำดับแต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 7.40 และ 8.79 ตามลำดับ ในปัจจุบันภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซาอยู่ เนื่องจากต้นทุนการผลิตปูนซีเมนต์และราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เสถียรภาพทางการเมืองก็ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการลงทุนของภาคเอกชน และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐบาลด้วย

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 10.99 และ 4.17 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นและราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้น

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม 2551 คาดว่าชะลอตัวลง เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูฝน เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ประกอบกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามต้นทุนพลังงาน รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทำ ให้กำ ลังซื้อของผู้บริโภคลดลง อีกทั้งเสถียรภาพทางการเมืองที่ยังไม่มั่นคง ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีความชัดเจนสำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น บังคลาเทศ ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม 2551 ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.45 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,092.18 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตลาดส่งออกหลักที่ชะลอตัวลงได้แก่ ตลาดอียู ตลาดญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.18 และ 12.05 ตามลำดับ ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราชะลอลงมากเหลือเพียงร้อยละ 2.36 เท่านั้น จากการปรับตัวลดลงของสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมาก เป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ส.ค. 2551

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์          มูลค่า          %MoM          %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์              1,528.59          2.44         -0.27
          IC                            640.03          2.25        -18.20
          เครื่องปรับอากาศ                 233.51        -12.29         -3.96
          เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                165.67          3.00          4.55
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4,092.18         -0.37         -0.45

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 357.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.41 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.10 ป็นผลเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Hard Disk Drive ซึ่งมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ 931.99 โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งกลุ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.37 โดยมีดัชนีอยู่ที่ระดับ 521.40 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.71 อย่างไรก็ดีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ควรติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์พึ่งพาตลาดส่งออกมากโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ปัจจุบันชิ้นส่วนส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังจีน เพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูปอีกทอดหนึ่ง ซึ่งตัวเลขการส่งออกชิ้นส่วนไปยังจีนยังค่อนข้างดี ขณะที่ตลาดหลักอื่นๆปรับตัวลดลงในเดือนสิงหาคมนี้เป็นเดือนแรก

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม 2551 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 0.37 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทรงตัว ร้อยละ 0.45 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,092.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกหลักที่ชะลอตัวลงได้แก่ ตลาดอียู ตลาดญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.18 และ 12.05 ตามลำดับ ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราชะลอลงมาก เหลือเพียงร้อยละ 2.36 เท่านั้น จากการปรับตัวลดลงของสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

3. แนวโน้ม

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยการประมาณการจากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการว่า อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลง 3.57% เนื่องจากการปรับตัวลดลงของเครื่องรับโทรทัศน์ประเภท CRT เครื่องปรับอากาศ และการปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราชะลอลงของตู้เย็นขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่า HDD จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.23 และชิ้นส่วน IC โดยเฉพาะ Other IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.22

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนสิงหาคม 2551 มีค่า 183.8 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 (184.4) ร้อยละ 0.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (167.8) ร้อยละ 4.5
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตผ้าและสิ่งของที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนสิงหาคม 2551 มีค่า 61.3 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 (65.2) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (66.9)
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2551

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 349 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 350 รายหรือน้อยกว่าร้อยละ -0.29 และมียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 11,800.33 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 15,369.95 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -23.22 แต่ในส่วนของการจ้างงานรวมมีจำนวน 12,477 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,057 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.76
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 401 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -12.97 และมียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งมีการลงทุน 13,175.82 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -10.44 แต่ในส่วนการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,357 คน ร้อยละ 49.30
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 33 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้าน ไส หรือเชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 24 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตโปลีเอสเตอร์ชิพและเส้นใยสังเคราะห์ต่าง ๆ เงินทุน 1,231.94 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์โลหะ และอุปกรณ์ยึด และ ตรวจสอบชิ้นงานเงินลงทุน 949.14 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2551 คืออุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 3,483 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก ทำอิฐ จำนวนคนงาน 686 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 184 ราย มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 177 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.95 และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,508 คน มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 4,229 คน แต่ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,837.69 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,137.36 ล้านบาท
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนสิงหาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 153 รายคิดเป็นร้อยละ 20.26 และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนสิงหาคม 2550 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,869 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,908.48 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2551 คืออุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์จำนวน 18 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 15 ราย
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2551 คืออุตสาหกรรมโรงงานห้องเย็น เงินทุน 604 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตซ่อมอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด เงินทุน 311 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 1,529 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมถักผ้า ผ้าลูกไม้ เครื่องนุ่งห่มด้วยด้ายหรือเส้นใย คนงาน 855 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 57 โครงการ น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2551 ที่มีจำนวน 110 โครงการ ร้อยละ -48.18 และมีเงินลงทุน 2,900 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2551 ที่มีเงินลงทุน 76,500 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -96.21
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนสิงหาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2550 ที่มีจำนวน 149 โครงการ ร้อยละ -61.74 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2550 ที่มีเงินลงทุน 86,700 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -96.66
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-สิงหาคม 2551
          การร่วมทุน                    จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%              215                       75,900
          2.โครงการต่างชาติ 100%             305                       87,200
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ       202                      102,000
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม-สิงหาคม 2551 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 123,400 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 42,900 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ