สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่3(กรกฎาคม-กันยายน)พ.ศ.2551(อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 25, 2008 14:10 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 109.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียว กันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 13.46 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) สาย ไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ปรับตัวลดลงร้อยละ 46.50 27.89 และ 25.99 ตามลำดับ

สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยน แปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่ กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น และไทยยังคงมีข้อจำกัดทางด้าน Rule of Origin ในการใช้วัตถุดิบใน ประเทศ/ภูมิภาคอาเซียน 40% ซึ่งขณะนี้ ส่วนของ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิ พิเศษและควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่า 4,776.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส ก่อนเล็กน้อยร้อยละ 5.10 และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 17.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่ สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 931.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 31.15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่ม ขึ้นถึงร้อยละ 36.97 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.24 และ 28.15 ตามลำดับ

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,786.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.77 เมื่อ เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.16 มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.28 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และ สหรัฐอเมริการ้อยละ 21.73 และ 6.23 ตามลำดับ แต่กำลังซื้อในตลาดอียูค่อนข้างทรงตัวในตลาดอียู

แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 4 ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2551 โดยดูจากดัชนีการส่ง สินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 1.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลงร้อยละ 3.78 ซึ่งโดยปกติแล้ว เครื่องปรับอากาศในช่วงไตรมาส 4 เป็นการชะลอลงตามฤดู กาลอยู่แล้วด้วย และการปรับตัวลดลงของดัชนีการส่งสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ (ไม่รวม LCD/Plasma) โดยประมาณการว่าจะชะลอตัวโดยปรับตัวลด ลง 19.63%YoY

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.54 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐส่งสัญญาณชะลอลงซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณ การไตรมาส 4/2551

2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.1 การผลิต

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 109.76 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส ก่อนร้อยละ 12.15 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน- แฟนคอยล์ซิ่ง ยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน- คอนเดนซิ่งยูนิต ปรับตัวลดลงร้อยละ 39.91 30.94 และ 29.67 ตามลำดับ

หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 13.46 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงได้แก่ เครื่องรับ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) สายไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ปรับตัวลดลงร้อยละ 46.50 27.89 และ 25.99 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2551
                   สินค้า                       ดัชนีผลผลิต            การเปลี่ยนแปลง               การเปลี่ยนแปลง
                                               ไตรมาสที่ 3    เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51     เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                                ปี 2551              (ร้อยละ)                     (ร้อยละ)
                เครื่องใช้ไฟฟ้า                     109.76             -12.15                       -13.46
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน - คอนเดนซิ่งยูนิต            226.05             -29.67                         0.54
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน - แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต           221.19             -30.94                        -9.22
คอมเพรสเซอร์                                     164.57              -1.43                        14.71
พัดลม                                             21.51             -39.91                       -11.25
ตู้เย็น                                            267.77               7.20                        12.28
กระติกน้ำร้อน                                      189.10              47.30                        13.09
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า                                    114.56               3.61                         1.37
สายไฟฟ้า                                         103.42             -12.87                       -27.89
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว)                     16.43              25.03                       -46.50
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า)                229.67             -15.65                       -25.99
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม, พฤศจิกายน 2551

สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยน แปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่ กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น และไทยยังคงมีข้อจำกัดทางด้าน Rule of Origin ในการใช้วัตถุดิบใน ประเทศ/ภูมิภาคอาเซียน 40% ซึ่งขณะนี้ ส่วนของ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิ พิเศษและควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก

สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ คอมเพรสเซอร์ กระติกน้ำร้อน และตู้เย็นปรับตัวสูงขึ้นร้อย ละ14.71 13.09 และ12.28 เป็นต้น

กระติกน้ำร้อนปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดโดยการปรับระบบจากแบบเดิมเป็นแบบดิจิตอลมากขึ้น หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด

เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร มาสที่ 3 ปี 2551 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลง ได้แก่ ตู้เย็น พัดลม หม้อหุงข้าว เป็น ต้น ยกเว้นกลุ่มสินค้าภาพและเสียง เช่น พลาสมาทีวี แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี และกล้องถ่ายรูปดิจิตอล จะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อการส่งออกในปัจจุบันมีฐานการผลิตในจีน และภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะไทยเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ญี่ปุ่นเองยังคงทำการวิจัย และพัฒนาเป็นต้นแบบสินค้าที่ผลิตในประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นในกลุ่มภาพและ เสียงปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความนิยมของตัวสินค้าเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด

ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 3 ปี 2551

                               ดัชนีผลผลิต           การเปลี่ยนแปลง               การเปลี่ยนแปลง
                              ไตรมาสที่ 3     เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51    เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                 ปี 2551             (ร้อยละ)                    (ร้อยละ)
Household  Electrical Machinary   113.2              -1.57                       4.24
เครื่องปรับอากาศ                     122.3              38.35                      18.28
หม้อหุงข้าว                           94.5              -1.66                      -6.06
ตู้เย็น                               71.7               8.31                     -11.26
พัดลม                               76.1              -3.18                      -9.51
เครื่องซักผ้า                          91.8               4.44                          2
พลาสมา ทีวี                         172.9              33.51                        0.7
แอลซีดี ทีวี                          194.5               7.88                      17.66
เครื่องเล่นดีวีดี                       139.8              42.65                     154.18
กล้องถ่ายวีดีโอ                        82.4               -1.9                     -14.43
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล                      176             -12.78                      16.25
ที่มา :  Ministry  of  Economic , Trade and Industry, Japan, พฤศจิกายน 2551

2.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2551ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.20 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลง เช่นกันร้อยละ 5.15

สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต พัดลม ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.24 29.91 และ 29.28 ตามลำดับ

ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) สายไฟฟ้า และ โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ปรับตัวลดลงร้อยละ 47.14 25.22 และ 23.90 ตามลำดับ

ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2551
                   สินค้า         ดัชนีการส่งสินค้า        การเปลี่ยนแปลง              การเปลี่ยนแปลง

ไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50

                                      ปี 2551           (ร้อยละ)                   (ร้อยละ)
          เครื่องใช้ไฟฟ้า                 132.39            -14.2                     -5.15
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต     240.1           -29.91                      3.53
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต   239.19           -32.24                     -6.75
คอมเพรสเซอร์                           165.92              -13                      4.44
พัดลม                                   26.43           -29.28                     -6.87
ตู้เย็น                                  273.99             7.65                     11.16
กระติกน้ำร้อน                            183.34            47.32                     13.84
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า                          114.88             1.12                      11.4
สายไฟฟ้า                                 96.8           -17.54                    -25.22
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว)           15.73             7.25                    -47.14
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า)      235.29            -8.59                     -23.9
ที่มา :  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม, พฤศจิกายน 2551

ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดในประเทศที่ชะลอลงจาก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงการจัดซื้อเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม และการทำตลาดจากงานโครงการ และมหกรรมสินค้าราคาประหยัดที่สามารถ กระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับขยายตัวสูงโดยตลาดที่มีมูลค่าส่งออกสูงและอัตราการขยายตัวสูงด้วยได้แก่ ตลาดอา เซียน สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากในตลาดนี้ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็น

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่า 4,776.64ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เล็กน้อยร้อยละ 15.39 และปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 17.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตารางที่ 4 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
                                                          มูลค่าส่งออก             การเปลี่ยนแปลง               การเปลี่ยนแปลง
                                                       ไตรมาสที่ 3 ปี 2551    เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51    เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                                        (ล้านเหรียญสหรัฐ)             (ร้อยละ)                    (ร้อยละ)
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า                                   4,776.64                  5.1                       17.22
เครื่องปรับอากาศ                                                624.25               -28.04                       -8.93
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม    478.37                -1.37                       22.97
เครื่องรับโทรทัศน์สี                                               360.34                47.28                       93.13
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน                                            298.92                17.18                       26.02
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ                   286.3                 19.75                       37.38
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์                                       241.88                23.07                       27.44
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น                            206.76                 1.09                       34.34
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W)                                  205.8                  17.6                       21.66
สายไฟ ชุดสายไฟ                                                190.47                 7.77                       -2.51
Power supply                                                 177.93                 21.3                       23.99

ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจร ไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม และเครื่องรับโทรทัศน์สี โดยมีมูลค่าส่งออก 624.25 478.37 และ 360.34 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยเครื่องปรับอากาศมีการอัตราการขยายตัวชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.93% ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของเครื่องปรับ อากาศที่ส่งไปยังตลาดอียูนั้นปรับตัวลดลงทั้งปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน และชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน ร้อยละ 51.38 เนื่องจาก กำลังซื้อที่คาดว่าจะปรับลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ส่งสัญญาณว่าจะถดถอยและจากการที่ตัวเลขส่งออกในปีที่ผ่านมามีฐานที่ค่อนข้างสูงสำหรับตลาด นี้หลังการบังคับใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีในปี 2549

เครื่องปรับอากาศ

     ตลาดส่งออก                     มูลค่าส่งออก                     การเปลี่ยนแปลง
                                ไตรมาสที่ 3 ปี 2551            เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                 (ล้านเหรียญสหรัฐ)                      (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา                            10.86                               -12
อียู                                   112.23                            -51.38
ญี่ปุ่น                                    35.2                             22.18
อาเซียน                               112.09                             14.91
จีน                                     4.38                              8.23
ตะวันออกกลาง                          134.44                             44.12
ตลาดอื่นๆ                              215.07                             -1.63
รวมมูลค่าส่งออก                         624.25                             -8.93
ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551

ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว กันของปีก่อน ถึงร้อยละ 93.13 โดยมีมูลค่าส่งออก 360.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการเร่งตัวขึ้นของตลาดส่งออกอื่นๆ เช่น อินเดีย และ ตลาดอาเซียน เป็นต้น ขณะที่ในตลาดสหรัฐที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้ของสินค้าประเภทนี้มากที่สุดประมาณ 51% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับ โทรทัศน์รวมในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ยังคงถูกตัดจีเอสพี แต่มีการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มีมูลค่าสูงกว่าเครื่องรับโทรทัศน์แบบเดิม

เครื่องรับโทรทัศน์สี

     ตลาดส่งออก                     มูลค่าส่งออก                      การเปลี่ยนแปลง
                               ไตรมาสที่ 3 ปี 2551              เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                (ล้านเหรียญสหรัฐ)                      (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา                          183.73                             64.99
อียู                                   11.66                            -38.98
ญี่ปุ่น                                   7.28                              -4.4
อาเซียน                               55.46                            258.23
จีน                                       0                            -99.99
ตะวันออกกลาง                           12.5                              8.86
ตลาดอื่นๆ                              89.71                            317.49
รวมมูลค่าส่งออก                        360.34                             93.13
ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551

สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 931.14 ล้านเหรียญ สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 31.15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น มีมูลค่าส่งออก 704.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง เล็กน้อย 9.99% และตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 679.62 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย 5.18% สามารถสรุปสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักดังกล่าวได้ดังนี้

ตารางที่ 5 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า 5 อันดับแรกใน 3 ตลาดหลัก
    ตลาดส่งออก     สินค้า                                                มูลค่าส่งออก     การเปลี่ยนแปลง        การเปลี่ยนแปลง
                                                                    (ล้านเหรียญสหรัฐ)    เมื่อเทียบกับ           เมื่อเทียบกับ

ไตรมาสที่ 2 ปี 51 ไตรมาสที่ 3 ปี 50

                                                                                      (ร้อยละ)              (ร้อยละ)
1    อาเซียน     เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน                          112.09      -47.98               14.91
                เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม  96.14      -29.11               26.07
                เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ            92.26       10.37              132.71
                ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน                                           80.2       30.77               21.77
                มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W)                                67.54      -20.68              117.61
                รวม 5 อันดับแรก                                             448.23
                สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้                       48%
2    ญี่ปุ่น        เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม  101.5        4.53               -1.45
                ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน                                          75.73      -10.41               11.16
                เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น                          44.32       18.86               28.72
                กล้องถ่าย TV,VDO                                             41.66        8.72               36.74
                สายไฟ ชุดสายไฟ                                              38.86       29.05              -29.15
                รวม 5 อันดับแรก                                             302.07
                สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้                       43%
3    อียู         เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน                          112.23      -64.37              -51.38
                ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์                                     86.41      -38.16               45.02
                กล้องถ่าย TV,VDO                                             82.88       19.08                39.4
                เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม  64.99        9.78               12.84
                เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่ (Power Supply)                      34.08      -16.25               20.06
                รวม 5 อันดับแรก                                             380.59
                สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้                       56%

ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551

3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

3.1 การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่ม ขึ้นถึงร้อยละ 36.97 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.24 และ 28.15 ตามลำดับ

ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2551
                                      ดัชนีผลผลิต         การเปลี่ยนแปลง                 การเปลี่ยนแปลง
                                     ไตรมาสที่ 3     เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51    เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                         ปี2551             (ร้อยละ)                     (ร้อยละ)
          ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์             570.2              16.2                           37
Semiconductor Devices Transisters        143.9              0.94                         1.48
Monolithic IC                            164.3              8.73                         4.39
Other IC                                 307.2                14                         33.2
Hard Disk Drive                          933.5              17.3                         28.2
Printer                                  23.62              1.37                        -2.44
ที่มา :   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม, พฤศจิกายน 2551

เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยเฉพาะ HDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ เพื่อรองรับ การขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิกโดยเฉพาะตลาดจีนที่ไทยส่งออกอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 อัตราการขยายตัวการส่งออกไปยังตลาดจีน ร้อยละ 21.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าส่งออกไปยังตลาดจีนนี้ 1,316.75 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีมูลค่าส่งออกสูงสุดของตลาดส่งออกอื่นๆทั้งหมด ซึ่งป็นอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงสอดคล้องกับปรับตัวเพิ่มขึ้นใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขาย ปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท

3.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตร มาสที่ 3 ปี2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.97 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.24 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ Other IC และ HDD ร้อยละ 29.27 และ 26.95 ตามลำดับ

ตารางที่ 7 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2551
                                       ดัชนีส่งสินค้า          การเปลี่ยนแปลง                  การเปลี่ยนแปลง
                                       ไตรมาสที่ 3     เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51       เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                           ปี2551             (ร้อยละ)                      (ร้อยละ)
          ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์       564.19              13.97                        36.24
Semiconductor devices Transisters          144.4               0.23                         0.97
Monolithic IC                             161.99               9.65                         5.54
Other IC                                  260.34              10.48                        29.27
Hard Disk Drive                           932.44              14.89                        26.95
Printer                                    23.49              -4.75                        -7.33
ที่มา :   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม, พฤศจิกายน 2551

จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) ให้ข้อคิดเห็นว่า อุตสาหกรรม กำลังเริ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญอยู่ ส่งผลต่อเนื่องถึงอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ ในเดือนกันยายน อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นของทั้งธุรกิจและผู้บริโภค

ขณะที่ ตลาด Emerging Market ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะสินค้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเนื่องจากระดับรายได้ที่ ปรับตัวสูงขึ้นและความหนาแน่นของประชากรในประเทศเกิดใหม่ต่างๆค่อนข้างมาก

กลุ่มสินค้า Consumer Electronics ยังเป็นกลุ่มที่ปรับตัวสูงเช่นกัน ซึ่งสินค้าในกลุ่มได้แก่ เครื่องเล่น MP3/MP4 และ LCD TV คาด ว่าจะเติบโตประมาณ 11% และ 33% ตามลำดับ(1)

หมายเหตุ (1)สรุปจาก “September Semiconductor Sales Up 1.6%YoY”, October 31, 2008, Nikkei Electronics Asia

ตารางที่ 8 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 3 ปี 2551
                                            ไตรมาสที่ 3          การเปลี่ยนแปลง                การเปลี่ยนแปลง
                                              ปี 2551      เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51     เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                         (พันล้านเหรียญสหรัฐ)        (ร้อยละ)                     (ร้อยละ)
          Worldwide  Semiconductor  Sales      67.86                6.2                         4.82
US                                              9.87              -2.16                        -9.14
EU                                             10.32               2.84                         1.25
Japan                                          12.58                1.2                         2.11
Asia Pacific                                   35.09              11.94                        11.89
ที่มา :  Semiconductor  Industry  Association (SIA), พฤศจิกายน 2551

การส่งออก

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 7,786.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.14 เมื่อ เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.16

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.28 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดจีน และสหรัฐอเมริการ้อยละ 21.73 และ 6.23 ตามลำดับ แต่กำลังซื้อในตลาด อียูค่อนข้างทรงตัวในตลาดอียู

ตารางที่ 9 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก
                                                มูลค่าส่งออก           การเปลี่ยนแปลง                 การเปลี่ยนแปลง
                                            ไตรมาสที่ 3 ปี 2551    เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 51     เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                             (ล้านเหรียญสหรัฐ)             (ร้อยละ)                     (ร้อยละ)
          รวมอิเล็กทรอนิกส์                           7,786.34                5.77                        1.16
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์                      4,626.24                7.25                        6.28
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit)      1,837.43                3.79                       -14.42
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit)                           262.37               10.27                       -17.09
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ                      260.27                1.75                        19.56
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์       225.98               -15.9                        -3.32
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ             188.8                5.39                       104.23
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (CAPACITOR),Resistor                  143.59               22.12                        27.46
เครื่องโทรศัพท์                                         100.33               20.81                        18.82
ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์                               56.25               -7.94                         -1.5
Mobile Telephone                                     36.81               24.64                         13.8
ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551

ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าสูงและการขยายตัวมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ได้แก่ ตลาดจีน มีมูลค่าส่งอออก 1,706.06 ล้านเหรียญ สหรัฐ มีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 18.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดถึง 21.91% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวม

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์มากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 1,248.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง เล็กน้อย 5.06% และตลาดสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าส่งออก 1,233.10 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นล็กน้อย 1.19% สามารถสรุปสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักดังกล่าวได้ดังนี้

ตารางที่ 10 มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรกใน 3 ตลาดหลัก
   สินค้า                                                    มูลค่าส่งออก                                   การเปลี่ยนแปลง
                                                        ไตรมาสที่ 3 ปี 2551                         เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 50
                                                         (ล้านเหรียญสหรัฐ)                                  (ร้อยละ)
                                                  จีน           อียู        สหรัฐอเมริกา          จีน            อียู        สหรัฐอเมริกา
ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์               1,316.75      869.41          836.11         21.73          0.74          6.23
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit)    251.69         172          189.23          2.05        -27.39        -21.97
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit)                        62.57       61.23            39.4          8.67        -21.71        -39.22
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ                   12.33       34.58            8.04           1.9        133.99        -21.22
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์     2.17       55.33           61.78        140.72        -32.28         53.72
รวม 5 อันดับแรก                                 1,645.50    1,192.55        1,134.55
สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนั้นๆ         96.45       95.49           92.01
ที่มา กรมศุลกากร, พฤศจิกายน 2551

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551

จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนพฤศจิกายน 2551 ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 4 ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2551 โดยดูจาก ดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 1.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลงร้อยละ 3.78 ซึ่งโดยปกติแล้ว เครื่องปรับอากาศในช่วงไตรมาส 4 เป็นการ ชะลอลงตามฤดูกาลอยู่แล้วด้วย และการปรับตัวลดลงของดัชนีการส่งสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ (ไม่รวม LCD/Plasma) โดยประมาณการว่าจะชะลอตัว โดยปรับตัวลดลง 19.63%YoY

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมตู้เย็นในช่วงไตรมาส 4/2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.52 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตัวแปรที่ชี้ นำภาวะการผลิตของตู้เย็นตัวหนึ่งได้แก่ มูลค่าการนำเข้าคอมเพรสเซอร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นการนำเข้าเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่อไป ซึ่งสอด คล้องกับการประมาณการภาวะอุตสาหกรรมเครื่องคอมเพรสเซอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.18 เช่นกัน เพื่อรองรับช่วงไตรมาส1/2552

ตารางที่ 15 ประมาณการอุตสาหกรรมไฟฟ้าไตรมาสที่4/2551
    ไตรมาสที่ 4/2551e                 อัตราการขยายตัว(%)
     เครื่องใช้ไฟฟ้า                          -1.37
เครื่องปรับอากาศ                             -3.78
เครื่องรับโทรทัศน์(ไม่รวม LCD/Plasma)          -19.63
ตู้เย็น                                      19.52
คอมเพรสเซอร์                                9.18
ที่มา แบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, พฤศจิกายน 2551
หมายเหตุ e ตัวเลขประมาณการ

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.54 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐส่งสัญญาณชะลอลงซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณ การไตรมาส 4/2551

หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD และ ICโดยเฉพาะ Other IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง ทั้งสิ้น เนื่องจากมีตัวแปรบางตัวเริ่มส่งสัญญาณชะลอลง ส่วนตัวแปรตัวหนึ่งที่เป็นตัวแปรชี้นำอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้ดี ได้แก่ Book to Bill Ratio ที่เริ่มน้อยกว่าหนึ่ง แสดงว่า ความต้องการหรือคำสั่งซื้อล่วงหน้าเริ่มชะลอลงบ้างแล้ว

ตารางที่ 16 ประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่4/2551
ไตรมาสที่ 4/2551e อัตราการขยายตัว(%)
   อิเล็กทรอนิกส์                  13.54
HDD                            11.66
IC                             14.82
Semiconductor                  -0.28
ที่มา แบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, พฤศจิกายน 2551
หมายเหตุ e ตัวเลขประมาณการ

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ