อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายของประเภทผลิตภัณฑ์ และมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเคมีภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย
ผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐานที่มีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือ ส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ โซดาไฟ คลอรีน ไฮโดร คลอริก(กรดเกลือ) และกรดซัลฟูริก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟ โดยในไตรมาสที่ 3 มีปริมาณการผลิตที่ลดลง แต่การจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การผลิต
โซดาไฟ
หน่วย: ตัน
โซดาไฟ Q1 ปี 2551 Q2 ปี 2551 Q3 ปี 2551 Q3/Q2 ปี 2551
(ร้อยละ)
การผลิต 221,325.70 239,833.60 227,467.50 -5.15 การจำหน่าย 193,136.10 198,740.20 212,688.90 7.01 ที่มา :สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 3 มีปริมาณ 227,467.5 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.15 และการจำหน่ายโซดาไฟในไตร มาสที่ 3 มีปริมาณ 212,688.9 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.01 การผลิตลดลงเนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรของโรงงานบาง แห่ง ทำให้ปริมาณการผลิตลดลง แต่การจำหน่ายเพิ่มขึ้นโดยนำผลิตภัณฑ์โซดาไฟที่ได้มีการสต๊อกไว้ออกจำหน่าย ทั้งนี้เนื่องจากคู่ค้ามีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อ นำมาสต๊อกไว้ใช้ในช่วงปีใหม่ซึ่งมีวันหยุดยาว
หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมาก มาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2551 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 25,254 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 31,012 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.31 เมื่อเทียบกับไตร มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 29,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.98 เมื่อ เทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 129 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 6,098 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย ละ 12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q2/2551 Q3/2551 Q3/51กับQ2/51 Q3/51กับQ3/50
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 12,592 12,586 14,734 19,413 25,254 30.08 100.55 1.2 อินทรีย์ * 29 22,029 23,312 24,927 25,149 31,012 23.31 40.77 1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 14,372 18,345 22,717 20,345 21,742 6.86 51.28
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 12,959 7,798 17,192 26,269 29,680 12.98 129.03 2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 8,743 8,662 9,172 9,748 10,953 12.36 25.27 2.3 เครื่องสำอาง 33 4,676 4,900 5,484 5,445 6,098 11.99 30.41 2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 4,295 3,600 4,228 4,425 5,128 15.88 19.39 ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 9,039 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 78.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 4,191 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.97 เมื่อเทียบกับไตร มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 9,465 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรม ปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออก 783 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q3/2550 Q4/2550 Q1/2551 Q2/2551 Q3/2551 Q3/51กับQ2/51 Q3/51กับQ3/50
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 3,158 3,283 2,867 3,436 4,191 21.97 32.71 1.2 อินทรีย์ * 29 5,077 5,898 6,742 6,994 9,039 29.23 78.03 1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 4,295 3,665 4,660 4,357 5,610 28.75 30.61
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 657 370 416 731 783 7.11 19.17 2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 2,387 2,231 2,412 2,608 2,982 14.34 24.92 2.3 เครื่องสำอาง 33 7,987 8,262 7,875 7,898 9,465 19.84 18.5 2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,279 3,361 3,425 21,589 4,223 -80.43 28.78 ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 4 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัวลง ทั้งนี้เนื่องจาก อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบใน การผลิตสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ ดังนั้นจากผลของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกา กับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังมีความไม่แน่ นอน น่าจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจหดตัว รวมทั้งอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ด้วย
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : การนำเข้าปุ๋ยเคมีในไตรมาสนี้ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการอยู่ในช่วงฤดูการทำไร่นา และราคาน้ำมัน ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ปุ๋ยเคมีมีราคาถูกลง แต่แนวโน้มในไตรมาสที่ 4 การนำเข้าปุ๋ยเคมีน่าจะลดลงทั้งนี้เนื่องจากราคาพืชผลทางการเกษตรของ โลก โดยเฉพาะราคายางพารา และข้าว ตกต่ำค่อนข้างมาก แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยส่วนใหญ่ ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : การนำเข้าและส่งออกของเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัทข้าม ชาติ (Multi — National Company) ได้ให้ความไว้วางใจและมั่นใจในศักยภาพการผลิตของไทย รวมทั้งผู้ประกอบการไทย ได้มีการพัฒนารูปแบบ ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ และได้พัฒนาเรื่องบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ทัด เทียมกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งแหล่งส่งออกที่สำคัญของไทยได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--