สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่3(กรกฎาคม-กันยายน)พ.ศ.2551(ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี(Petrochemical Industry)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 25, 2008 15:56 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ไตรมาส 3 ปี 2551 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียปรับตัวลดลงต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาส ตามราคาน้ำมันดิบ เนื่องจาก ความต้องการใช้ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในตลาดเอเชียชะลอตัวลง ส่วนราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ยของตลาดเอเชียมีการปรับตัวลดลงตามราคาแนฟธา ปริมาณการซื้อขาย ค่อนข้างเบาบาง เนื่องมาจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังมีสต็อกเอทิลีนเพียงพอและคาดว่าราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลงได้อีก มีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของอุปทาน เอทิลีนจากตะวันออกกลางไหลเข้าสู่ตลาดเอเซียเพิ่มขึ้น จึงชะลอการซื้อลง

สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ปรับตัวลดลง ราคามีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดไตรมาส สาเหตุจากความต้อง การมีน้อย เพราะผู้ซื้อยังคงชะลอการซื้อลง เนื่องจากคาดว่าราคามีแนวโน้มจะปรับลดลงได้อีก

การผลิต

ไตรมาส 3 ปี 2551 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีแผนปรับลดอัตรากำลังการผลิตของหน่วยผลิตเอทิลีนลง 25% เนื่องจาก ความต้องการในตลาดผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องมีน้อย รวมถึงมีแผนการปิดซ่อมบำรุงหน่วยผลิต MEG และ HDPE ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551 อย่างไรก็ตาม ยัง มีแผนขยายกำลังการผลิต PVC ให้เพิ่มเป็น 400,000 ตัน/ปี รวมถึงแผนลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต PP และ ABSโดยมีเป้าหมายเพิ่มปริมาณการ ผลิต ABS และ PP เป็น 200,000 และ 432,000 ตัน/ปี ตามลำดับ

สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีการขยายกำลังการผลิต ดังนี้

  • ประเทศอินเดีย อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ที่สามารถผลิตเอทิลีน, โพรพีลีน, pyrolysis gasoline
และ น้ำมันเตา ได้ 220,000 , 60,000 , 56,750 และ 12,500 ตัน/ปี ตามลำดับ รวมถึงมีแผนลงทุนสร้างโรงงานผลิต SBR เพื่อนำไปใช้ใน
อุตสาหกรรมรถยนต์ของอินเดีย โดยโรงงานดังกล่าวสามารถผลิต emulsion SBR ได้ประมาณ 120 กิโลตัน/ปี และมีแผนลงทุนเพิ่มเพื่อสร้างหน่วย
ผลิต ทีสามารถผลิต butadiene ได้ประมาณ 138 กิโลตัน/ปี
  • ประเทศจีน วางแผนลงทุนโครงการสร้างโรงกลั่นขนาด 5 ล้านตัน/ปี หน่วยผลิตโพรพิลีน ขนาด 100,000 ตัน/ปี โดยโรงกลั่นดัง
กล่าวสามารถผลิต gasoline, disel, LPG และ PP ได้ 1,730,000 , 2,380,000 , 210,000 และ 100,000 ตัน/ปี ตามลำดับ โดยคาด
ว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2553 และจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเดือนกรกฏาคม 2551 ทำให้การก่อสร้างโรงกลั่น แครกเกอร์ และ
อะโรมาติกส์คอมเพล็กซ์ ต้องหยุดชะงักลง จากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 โดยคอมเพล็กซ์นี้จะประกอบด้วยแนฟธาแครกเกอร์ขนาด
800,000 ตัน/ปี ที่สามารถผลิต paraxylene และ benzene ได้ 600,000 และ 350,000 ตัน/ปี ตามลำดับ
  • ประเทศสิงคโปร์ เริ่มเปิดดำเนินการหน่วยผลิต MMA ขนาด 120,000 ตัน/ปี ได้ภายในต้นไตรมาส 4 ปี 2551 โดยใช้เอทิลีน
คาร์บอนมอนออกไซด์ และเมทานอล เป็นวัตถุดิบในการผลิต
  • ประเทศเกาหลีใต้ จะเริ่มเปิดดำเนินการหน่วยผลิต PO ขนาด 400,000 ตัน/ปี ซึ่งปัจจุบันความต้องการใช้ในประเทศอยู่ที่
300,000 ตัน/ปี คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554

การตลาด

ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2551 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือน กันยายน 2551 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 57.75, 55.21 และ 53.06 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE และ HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ที่ระดับราคา 61.40, 58.87 และ 66.15 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ

การนำเข้า

ไตรมาส 3 ปี 2551 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 6,658.85 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 7.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 9,449.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.60 เมื่อเทียบกับไตร มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 27,833.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย ละ 22.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  ปิโตรเคมี                 มูลค่านำเข้า (ล้านบาท)                     เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                  Q3/2550      Q2/2551      Q3/2551   เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา   เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ขั้นต้น             6,170.11     7,361.04     6,658.85         -9.54                    7.92
ขั้นกลาง           7,351.40     7,463.71     9,449.18         26.6                     28.5
ขั้นปลาย          18,553.77    22,689.32    27,833.77         22.7                       50
ที่มา   :   ข้อมูลจากกรมศุลกากร

การส่งออก

ไตรมาส 3 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 7,681.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 11,877.79 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงถึงร้อยละ 21.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 49,722.23ล้าน บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

          ปิโตรเคมี              มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)                          เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                       Q3/2550      Q2/2551      Q3/2551      เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา    เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
          ขั้นต้น        4,539.69     5,134.80     7,681.10               49.6                         69.2
          ขั้นกลาง     15,188.93    12,977.82    11,877.79              -8.48                        -21.8
          ขั้นปลาย     43,452.14    46,749.64    49,722.23               6.36                        14.43

ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร

แนวโน้ม

การขยายกำลังการผลิตของประเทศในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ ทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ออกสู่ตลาดมีราคาที่ ต่ำ ในขณะที่ตลาดเอเซียมีการเติบโตด้านความต้องการผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการ แข่งขัน คาดว่า ราคาปิโตรเคมีจะปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวในทิศทางขาลง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ ปัญหาการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และปัญหาวิกฤตของสถาบันการเงินในยุโรป

สำหรับประเทศไทย ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงเพิ่ม มากขึ้น การลงทุนดำเนินธุรกิจที่ครบวงจรและการหาตลาดใหม่ๆ จะช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงลงได้

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ