เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 คณะรัฐมนตรีอนุมัติและเห็นชอบ “6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
- ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 และ E85 โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บ
- ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันดีเซลลง 2.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.005 บาท
- ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เพื่อลดแรงกดดันค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคา
สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 มีโครงการลงทุนที่ได้รับ อนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 17 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 3,804.70 ล้านบาท ชะลอตัวจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2550 ร้อยละ 39.34 อย่างไรก็ดีได้ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้น 1,297 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุน มากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการของ บริษัท ไทย เอ็นโอเค จำกัด ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วน ยานพาหนะ เช่น Torsional Vibration Damper มีเงินลงทุน 2,500 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยกว่า 500 คน (รายละเอียดเพิ่ม เติมที่ www.boi.go.th)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,068,757 คัน เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.50 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.42 และ 9.23 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 18.48 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 603,063 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.43 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพื่อการส่งออกร้อยละ 77.47 และ การผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 22.53 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501- 1,800 ซีซี รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซีซี และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซีซี เมื่อพิจารณาใน ไตรมาสที่สามของปี 2551 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 349,243 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.60 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.64 แต่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 32.11, 0.01 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 1.31 โดยมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 21.70 และ 2.99 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.82
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 460,047 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.07 และ 4.78 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 10.87 และ 0.20 ตามลำดับ สำหรับ การจำหน่ายรถยนต์นั่งที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตของรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันเชื้องเพลิงประเภทเอทานอลไม่ น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง(E20) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 นอกจากนี้ รถยนต์นั่งในประเทศส่วนใหญ่ใช้ เครื่องยนต์ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน ได้แก่ LPG หรือ CNG ได้สะดวก ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ ในขณะที่ ความต้องการรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องยนต์เพื่อดัดแปลงไปใช้ LPG หรือ CNG ประกอบกับ LPG มีสถานีจำนวนมากเติมได้สะดวก และภาครัฐชะลอการปรับราคาขึ้นตามแผนเดิมทำให้ผู้ใช้เปลี่ยนไปใช้ LPG ส่งผลให้สัดส่วนการจำหน่ายรถยนต์ กระบะ 1 ตัน ลดลง เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2551 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 139,783 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 11.98 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 29.00 และ 24.74 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการปรับราคาสูงขึ้นของน้ำมันดีเซลในช่วงต้นของไตรมาสที่ 3 ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นตระหนก และชะลอการ ตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลัก แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.27 และ 1.55 ตาม ลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 12.36 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 24.64, 20.36 และ 1.84 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.27
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถ ยนต์ (CBU) จำนวน 599,443 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.46 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 274,467.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ร้อยละ 26.48 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2551 มีปริมาณการส่งออก จำนวน 213,573 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 99,670.75 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 14.68 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.00 ซึ่งปริมาณและมูลค่าการส่งออกรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่ สองของปี 2551 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.41 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.03
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 119,477.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 36.66 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถ ยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.23, 13.09 และ 7.72 ตามลำดับ โดยการส่งออก รถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35, 48.02 และ 82.29 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพ ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 88,552.81 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 6.60 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออก สำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.87, 6.97 และ 5.03 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร มีมูลค่าลดลงร้อยละ 3.68 และ 17.13 ตามลำดับ แต่การส่งออก รถแวนและปิกอัพไป ซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วง 9 เดือนของแรกปี 2551 มี มูลค่า 21,081.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 13.26 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 33.79, 18.26 และ 6.93 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและ บรรทุกไป ซาอุดิอาระเบีย และลิเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.45 และ 213.18 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่า ลดลงร้อยละ 9.43
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 10,388.56 และ 12,731.12 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.11 และ 32.07 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามปี 2551 มีมูลค่าการ นำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,734.29 และ 5,060.10 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.15 และ 40.33 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับ ไตรมาสที่สองปี 2551 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 และ 35.11 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์ นั่งที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 35.61, 19.15 และ 12.09 ตาม ลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.72 และ 89.53 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี ลดลง ร้อยละ 4.97 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 52.74, 9.83 และ 8.58 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 7.61 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก จากอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 406.10 ในขณะที่ไม่สามารถเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของการนำเข้ารถยนต์โดยสารและบรรทุกจากสิงคโปร์ได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลการนำเข้าในปี 2550
อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ซึ่งได้รับผลดีจากภาคการส่ง ออกที่สามารถขยายตัวได้ในตลาดหลัก เช่น ออสเตรเลีย และอาเซียน ในขณะที่ตลาดภายในประเทศขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคนิยมเลือกซื้อ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเล็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับผลดีจากการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E20 สำหรับสถานการณ์ ราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ส่งผลด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ โดย เฉพาะรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นหลัก อาทิ รถยนต์กระบะ 1 ตัน ซึ่งเป็น Product Champion ของประเทศไทย สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรรมรถ ยนต์ในไตรมาสที่สี่ ปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สาม ปี 2551 เนื่องจากเป็นฤดูกาลจำหน่าย บริษัทรถยนต์ค่ายต่างๆ มีการ จัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย และมีการจัดงาน Motor Expo 2008 ที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ ในขณะที่การส่ง ออกคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบรุนแรงไปทั่วโลก และการ ถอดถอยของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในหลายๆ ประเทศ สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สี่ ปี 2551 ประมาณ 3.7 แสนคัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 49 และผลิตเพื่อการ ส่งออกประมาณร้อยละ 51
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,437,077 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.75 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต 1,328,873 และ 108,204 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.87 และ 68.51 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วน หนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบรถจักรยานยนต์รายหนึ่งได้รับคำสั่งซื้อจากหน่วยงานราชการเพิ่มเติม เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2551 มีปริมาณ การผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 500,498 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.69 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ ครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 7.95 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองปี 2551 มี ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์ แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 7.95
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,323,606 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.74 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 719,363 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 14,260 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 589,983 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.59, 26.50 และ 5.32 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 450,962 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 15.04 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และแบบสกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.37, 31.40 และ 11.78 ตาม ลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.47 โดยมีการจำหน่ายรถ จักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79 และ 8.31 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 2.70
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มี จำนวน 1,053,994 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 107,661 คัน และ CKD จำนวน 649,333 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2550 ลดลงร้อยละ 19.06 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 19,153.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 0.75 เมื่อ พิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2551 มีปริมาณการส่งออก 264,806 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 5,606.01 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 38.09 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 6.30 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตร มาสที่สองของปี 2551 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 31.01 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 18.92 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.55, 17.65 และ 10.27 ตามลำดับ โดยการ ส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 468.89 และ 1,657.64 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐ อเมริกา ลดลงร้อยละ 40.16
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถ จักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 327.41 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ลดลงร้อยละ 81.20 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สาม ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 123.90 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 75.83 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 94.38 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเยอรมนี มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 26.19, 23.68 และ 13.89 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถ จักรยานยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 94.67 แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากจีน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.03 และ88.08 ตามลำดับ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยการจำหน่ายใน ประเทศมีการขยายตัว สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นผู้บริโภคที่สำคัญของตลาดมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มี ความผันผวนส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปเลือกใช้รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ตลาดส่งออกชะลอตัว เนื่องจากการส่งออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้น ส่วนครบชุด (CKD) มีปริมาณการส่งออกลดลง สำหรับสถานการณ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่สี่ ปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบ เทียบกับไตรมาสที่สาม ปี 2551 เนื่องจากมีการจัดงาน Motor Expo 2008 ในช่วงปลายปี 2551 รวมทั้งผู้ประกอบการได้มีการแนะนำรถ จักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการ ผลิตรถจักรยานยนต์ CBU ในไตรมาสที่สาม ปี 2551 ประมาณ 4.6 แสนคัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายใน ประเทศประมาณร้อยละ 91 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 9
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ( ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มี มูลค่า 102,881.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ร้อยละ 30.06 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 14,568.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ร้อยละ 91.49 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 7,500.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ร้อยละ 38.14 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบ และอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 36,490.28 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 5,644.53 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถ ยนต์ มีมูลค่า 2,997.88 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.47, 87.58 และ 48.20 ตามลำดับ หากเปรียบ เทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 5.08, 30.42 และ 37.69 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 127,147.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีที่แล้วร้อยละ 18.65 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 18.32, 12.32 และ 10.32 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.99, 44.18 และ 29.39 ตามลำดับ
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของ ประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 15,516.00 และ 506.00 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.18 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถ จักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 30.79 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2551 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และ ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 5,606.01 และ 5,017.74 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกส่วน ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.40 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 21.97 หากเปรียบเทียบ ไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลงร้อยละ 14.61 แต่การส่งออกชิ้นส่วน อะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.53 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการ ส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 18,069.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อย ละ 14.71 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 25.98, 16.50 และ 13.67 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.52, 60.89 และ 42.03 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก. ย.) มีมูลค่า 100,493.52 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.54 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2551 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 35,146.47 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.75 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.96 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัด ส่วนการนำเข้าร้อยละ 60.53, 6.72 และ 5.93 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.65, 17.80 และ 21.90 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 10,510.85 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.89 เมื่อพิจารณาไตร มาสที่สามของปี 2551 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 4,059.06 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำ เข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.70 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าส่วน ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.38 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 32.43, 22.97 และ 8.78 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและ อุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.82, 49.89 และ 48.30 ตามลำดับ
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 2551 % เปลี่ยน แปลง
ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย.
รถยนต์ 1,188,044 1,287,346 933,406 1,068,757 14.5 รถยนต์นั่ง 298,819 315,444 232,787 308,255 32.42 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 866,769 948,388 683,289 746,375 9.23 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 22,456 23,514 17,330 14,127 -18.48 รถจักรยานยนต์ 2,084,001 1,653,139 1,241,533 1,437,077 15.75 ครอบครัว(2) 2,005,968 1,563,788 1,177,320 1,328,873 12.87 สปอร์ต 78,033 89,351 64,213 108,204 68.51
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
(2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง รถยนต์ 353,864 349,243 -1.31 333,870 349,243 4.6 รถยนต์นั่ง 101,236 105,107 3.82 87,851 105,107 19.64 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 247,583 240,186 -2.99 240,201 240,186 -0.01 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 5,045 3,950 -21.7 5,818 3,950 -32.11 รถจักรยานยนต์ 500,237 500,498 0.05 395,061 500,498 26.69 ครอบครัว(2) 464,744 467,825 0.66 375,631 467,825 0.66 สปอร์ต 35,493 32,673 -7.95 19,430 32,673 -7.95
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หมายเหตุ :(1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV (2) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 255 ม.ค.-ก.ย. 2551 ม.ค.-ก.ย. % เปลี่ยน แปลง รถยนต์ 682,161 631,251 451,326 460,047 1.93 รถยนต์นั่ง 191,763 170,118 129,155 165,413 28.07 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 423,395 382,636 266,038 237,121 -10.87 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 36,907 42,619 29,956 31,389 4.78 รถยนต์ PPV และ SUV 30,096 35,878 26,177 26,124 -0.2 รถจักรยานยนต์ 2,061,610 1,598,876 1,240,075 1,323,606 6.74 ครอบครัว 1,250,608 856,028 668,608 719,363 7.59 สปอร์ต 20,683 14,979 11,273 14,260 26.5 สกูตเตอร์ 790,319 727,869 560,194 589,983 5.32 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง รถยนต์ 159,497 139,783 -12.36 158,812 139,783 -11.98 รถยนต์นั่ง 57,007 55,958 -1.84 45,765 55,958 22.27 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1) 83,484 66,571 -20.36 93,757 66,571 -29 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2) 10,138 10,571 4.27 10,410 10,571 1.55 รถยนต์ PPV และ SUV 8,868 6,683 -24.64 8,880 6,683 -24.74 รถจักรยานยนต์ 444,422 450,962 1.47 391,858 450,962 15.04 ครอบครัว 240,456 251,985 4.79 214,641 251,985 17.37 สปอร์ต 4,667 5,055 8.31 3,847 5,055 31.4 สกูตเตอร์ 199,299 193,922 -2.7 173,479 193,922 11.78 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ :(1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
ตารางการส่งออกยานยนต์
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-ก.ย. 2551 ม.ค.-ก.ย. % เปลี่ยนแปลง รถยนต์นั่ง 9,462.01 8,578.32 6,338.30 10,388.56 64.11 รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 10,099.52 14,162.56 9,639.68 12,731.12 32.07 ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 117,916.77 116,100.67 84,064.80 100,493.52 19.54 รถจักรยานยนต์ 2,132.08 2,266.57 1,741.71 327.41 -81.20 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 8,864.61 10,039.47 7,408.91 10,510.85 41.87 ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง รถยนต์นั่ง 3,540.79 3,734.29 5.46 2,172.94 3,734.29 71.86 รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,745.23 5,060.10 35.11 3,605.73 5,060.10 40.33 ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 32,555.86 35,146.47 7.96 29,584.93 35,146.47 18.75 รถจักรยานยนต์ 63.74 123.9 94.38 512.53 123.9 -75.83 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 3,161.66 4,059.06 28.38 2,435.02 4,059.06 66.7 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2549 2550 2550 ม.ค.-ก.ย. 2551 ม.ค.-ก.ย. % เปลี่ยน แปลง รถยนต์นั่ง 245.1 246.95 181.22 316.28 74.53 รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 264.25 407.63 275.41 386.51 40.34 ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 3,070.80 3,336.78 2,400.69 3,056.68 27.33 รถจักรยานยนต์ 55.59 64.88 49.56 9.91 -80 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 232.07 288.15 211.25 319.19 51.13 ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ปี 2551 ปี 2551 แปลง ปี 2550 ปี 2551 แปลง รถยนต์นั่ง 111.45 110.87 -0.52 63.26 110.87 75.23 รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 118.01 150.44 27.48 105.05 150.44 43.21 ส่วนประกอบและอุปกรณ์ 1,026.07 1,043.60 1.71 861.55 1,043.60 21.09 รถจักรยานยนต์ 2.01 3.68 83.08 14.95 3.68 -75.38 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 99.68 120.49 20.88 70.93 120.49 69.87 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--