1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 35.40 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และระยะ เดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 9.64 และ 0.68 ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.24 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และระยะเดียวกันของ ปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.86 และ 8.64 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอสังหาริม ทรัพย์ในประเทศ แต่การผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออก (ดังตารางที่ 1 และ 2)
ในระยะ 9 เดือนของปี 2551 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 111.41 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 6.57 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.86 และ 7.01 ตามลำดับ โดยเป็นการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดส่งออก ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 34.91 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์มีปริมาณ 1.16 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง ร้อยละ 13.73 และ 5.76 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 ของทุกปีเป็นช่วงที่ภาวะตลาดซบ เซา แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายเซรามิกทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.69 และ 11.20 ตาม ลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกสามารถขยายตัวได้ดีจากตลาดซ่อมแซมบ้านเก่า แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลงก็ตาม
ในระยะ 9 เดือนของปี 2551 การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากปีก่อน โดยการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มี ปริมาณ 118.01 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 3.55 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.40 และ 7.67 ตามลำดับ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งสินค้าเกษตร ที่มีราคาตกต่ำลง เป็นผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคมีจำกัด การจำหน่ายเซรามิกในประเทศจึงเกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศ ด้วยกันเองและสินค้านำเข้าโดยเฉพาะจากประเทศจีน ทำให้ผู้ประกอบการต่างเร่งสร้างกิจกรรมกระตุ้นการตลาดด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรนำเสนอ สินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลาย รูปแบบ ภายใต้ช่องทางการจำหน่ายที่ทันสมัย รวดเร็ว ครบวงจร ตลอดจนจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมความต้อง การของลูกค้ามากที่สุด
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 255.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ดังตารางที่ 3) เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.62 โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ยกเว้น ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ที่การส่งออกลดลงในตลาดญี่ปุ่นเป็นสำคัญ แต่เมื่อเทียบกับ ระยะเดียวกันของปีก่อนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกลดลง ร้อยละ 1.73 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และ ของชำร่วยเครื่องประดับ ลดลงในตลาดญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราช อาณาจักร จีน เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอา เซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2551 มีมูลค่ารวม 750.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี ก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.91 โดยผลิตภัณฑ์เซรามิกทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในตลาดอา เซียนเป็นสำคัญ ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารลดลงในตลาดญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา และการส่งออกของชำร่วยเครื่องประดับ ลดลงใน ตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เยอรมนี และสเปน โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์ เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่า 74.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.87 และ 31.21 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในระยะ 9 เดือนของปี 2551 มีมูลค่ารวม 206.87 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 87.70 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่นำเข้าจาก ญี่ปุ่น และมาเลเซีย สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นจะนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน เป็นส่วนใหญ่
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงได้รับผลกระทบจากการ ชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ประกอบกับไตรมาสนี้เป็นช่วงที่ภาวะตลาดซบเซา ทำให้ความต้องการใช้ในประเทศลดลง แต่การผลิตและ จำหน่ายเซรามิกเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แม้ว่าการจำหน่ายในประเทศจะมีการแข่งขันที่รุนแรง และต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้า แต่ผู้ ประกอบการเน้นให้ความสำคัญกับตลาดซ่อมแซมบ้านเก่า และใช้ กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อครอบคลุมความต้องการของลูกค้า จนทำให้มีการจำหน่าย เซรามิกเพิ่มมากขึ้น สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 แม้ว่าไตรมาสนี้จะเริ่มเข้าสู่ฤดูการขายก็ตาม แต่การผลิตและจำหน่ายเซรามิก จะไม่สามารถ ขยายตัวได้มากนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี ก่อนลดลง เนื่องจากการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ ของชำร่วยเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ลดลงในตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีแนวโน้มลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ ชะลอตัวจากผลกระทบวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และลุกลามไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลักของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไทย
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 3/1/2550 2/1/2551 3/1/2551 (ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) การผลิต 35,639,397 39,171,469 35,396,718 104,256,348 111,410,130 % เทียบกับไตรมาสก่อน -9.64 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.68 6.86 การจำหน่ายในประเทศ 34,671,717 40,468,415 34,911,316 111,957,025 118,006,560 % เทียบกับไตรมาสก่อน -13.73 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.69 5.4
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 10 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 3/1/2550 2/1/2551 3/1/2551 (ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) การผลิต 2,064,379 2,118,486 2,242,662 6,140,290 6,570,483 % เทียบกับไตรมาสก่อน 5.86 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.64 7.01 การจำหน่ายในประเทศ 1,132,676 1,159,346 1,157,939 3,294,927 3,547,486 % เทียบกับไตรมาสก่อน -5.76 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.2 7.67
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 ผลิตภัณฑ์ 3/1/2550 2/1/2551 3/1/2551 (ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 32.78 33.29 35.98 78.81 99.15 % เทียบกับไตรมาสก่อน 8.08 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.76 25.81 เครื่องสุขภัณฑ์ 39.31 36 37.26 100.3 108.44 % เทียบกับไตรมาสก่อน 3.5 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.21 8.12 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 59.54 42.5 48.42 142.65 130.08 % เทียบกับไตรมาสก่อน 13.93 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -18.68 -8.81 ของชำร่วยเครื่องประดับ 9.23 7.87 8.09 25.88 24.11 % เทียบกับไตรมาสก่อน 2.8 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.35 -6.84 ลูกถ้วยไฟฟ้า 6.26 7.78 7.95 16.4 22.01 % เทียบกับไตรมาสก่อน 2.19 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 27 34.21 ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 112.45 126.06 117.37 278.02 366.84 % เทียบกับไตรมาสก่อน -6.89 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.38 31.95 รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 259.57 253.5 255.07 642.06 750.63 % เทียบกับไตรมาสก่อน 0.62 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.73 16.91 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 ผลิตภัณฑ์ 3/1/2550 2/1/2551 3/1/2551 (ม.ค-ก.ย.) (ม.ค-ก.ย.) ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 18.25 22.72 32.09 48.27 78.72 % เทียบกับไตรมาสก่อน 41.24 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 75.84 63.08 ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 38.66 45.24 42.58 95.55 128.15 % เทียบกับไตรมาสก่อน -5.88 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.14 34.12 รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 56.91 67.96 74.67 143.82 206.87 % เทียบกับไตรมาสก่อน 9.87 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 31.21 87.7 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร หมายเหตุ : 1. โครงสร้างสินค้านำเข้า แบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็น 1. ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ
และ 2) ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ได้แก่ อิฐทนไฟ อิฐก่อสร้าง กระเบื้องมุงหลังคา หลอดท่อเซรามิก
และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--