สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่3(กรกฎาคม-กันยายน)พ.ศ.2551(อุตสาหกรรมยา)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 26, 2008 15:32 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิตในประเทศ

การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 มีปริมาณ 6,444.4 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย เพียง ร้อยละ 0.6 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.5 และใน 9 เดือนแรกของปี 2551 มีปริมาณการผลิต 18,712.3 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.5

2. การจำหน่ายในประเทศ

การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 มีปริมาณ 6,340.3 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.2 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.4 สำหรับการจำหน่ายใน 9 เดือนแรกของปี 2551 มี ปริมาณ 18,150.4 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากยาบางรายการปรับราคาสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบและค่าขนส่ง ประกอบกับมีการย้ายฐานการผลิตของผู้ว่าจ้างไปยังประเทศอื่น นอกจากนี้การที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีสัญญาณชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน จากความวิตก เรื่องวิกฤติการเงินโลกและปัญหาการเมืองในประเทศ ซึ่งมีผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้การผลิตและการจำหน่ายลดลง แต่เนื่องจากยาถือว่า เป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต จึงได้รับผลกระทบไม่มากนัก

อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นทั้งจากตลาดภายใน และต่างประเทศ ซึ่งคำสั่งซื้อนี้มักจะเข้ามามากในไตรมาสที่ 3 ของปี เพราะผู้ซื้อต้องการ stock สินค้าไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี ประกอบกับในไตร มาสที่ 3 อยู่ในช่วงปลายปีงบประมาณ ซึ่งสถานพยาบาลของภาครัฐจะมีการจัดซื้อยาจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาขยายตัวเพิ่มขึ้น

3. การนำเข้า

การนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรค ไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 มีมูลค่า 8,830.2 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 22.2 และ 8.1 ตามลำดับ โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์ แลนด์ และไอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,858.5 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 43.7 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาหรือป้องกัน โรคทั้งหมด สำหรับใน 9 เดือนแรกของปี 2551 มีการนำเข้ามูลค่า 24,819.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.4 โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 11,431.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.1 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด

การนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคจากประเทศผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยานำเข้าเหล่านี้ส่วนใหญ่มี สิทธิบัตร ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยการนำเข้ายามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุจากบริษัทผู้นำเข้ายังให้ความสำคัญกับแผนการตลาด ไม่ ว่าจะเป็นการรณรงค์เรื่องสุขภาพ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ แพทย์ในโรงพยาบาลและคลินิก รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้วยการจัด กิจกรรมเพื่อสังคม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นตลาดให้มีการใช้จ่ายและจดจำตราสินค้า นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็น ตลาดหลักของยานำเข้า รวมถึงการที่ยานำเข้า ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักมากขึ้น

4. การส่งออก

การส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 มีมูลค่า 1,428.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อย ละ 11.9 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.1 ตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 954.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 66.8 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาหรือป้องกัน โรคทั้งหมด สำหรับใน 9 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 4,035.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.2 ตลาดส่งออก สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,776.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 68.8 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด

ตลาดที่มูลค่าการส่งออกมีการเติบโตสูงมาก คือ ฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีผู้ประกอบการไทยสามารถขอขึ้นทะเบียนยาในประเทศดังกล่าวได้ นอกจากนี้การที่ประเทศเมียนมาร์ ยังไม่มีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ตลาดนี้กลับมาสั่งซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้น รวมถึงตลาดใหม่ ๆ เช่น รัส เซีย และบางประเทศในแอฟริกา มีแนวโน้มการส่งออกดี อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการไทย ต้องประสบกับการแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมาเลเซีย และ สิงคโปร์ ในตลาดหลัก เช่น ลาว และกัมพูชา ฉะนั้นผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะต้องสร้างความมั่นใจในสินค้าให้กับลูกค้า โดยต้องยกระดับมาตรฐานในการ ผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าที่ผลิตได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ และสามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น

5. นโยบายภาครัฐ

คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฯ ดังกล่าวมีดังนี้

1. กำหนดให้ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. กำหนดให้มีคำนิยามคำว่า "ยา" "คณะกรรมการ" และ "กรรมการ"

3. กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายแห่งชาติด้านยาและแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ จัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติและกำหนดราคากลางยาในการจัดซื้อของหน่วยงานของรัฐ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

4. กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และองค์ประชุม

5. กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ

6. กำหนดให้ระเบียบฉบับนี้ยกเลิก เมื่อมีการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการยาแห่งชาติไว้ใน กฎหมายว่าด้วยยา

6. สรุปและแนวโน้ม

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก ยาบางรายการปรับราคาสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบและค่าขนส่ง ประกอบกับมีการย้ายฐานการผลิตของผู้ว่าจ้างไปยังประเทศอื่น รวมถึงการชะลอตัวทาง เศรษฐกิจ ด้านการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดของผู้นำเข้า รวมถึงการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชน และการที่ยานำเข้าถูกบรรจุในบัญชียาหลักมากขึ้น ส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลักหดตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากมีคู่แข่งสำคัญ คือ มาเลเซีย และ สิงคโปร์

สำหรับในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 คาดว่าการผลิต และการจำหน่ายยาในประเทศ รวมถึงการนำเข้า และการส่งออกยา จะชะลอตัว จากไตรมาสที่ 3 เล็กน้อยตามวัฏจักรของอุตสาหกรรม ซึ่งขยายตัวดีในช่วงไตรมาสที่ 2 และที่ 3 และชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากผู้ผลิต รวม ถึงผู้สั่งซื้อ จะบริหารสินค้าคงคลังไม่ให้เหลือสูงมากในปลายปี ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากความวิตกกับวิกฤติการเงินโลก และปัญหาการ เมืองในประเทศ ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค จึงคาดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมยาชะลอตัวลงในไตรมาสสุดท้ายแต่ไม่มากนัก เพราะยาเป็นปัจจัย สำคัญต่อการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตามหากเศรษฐกิจมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องอาจจะเป็นโอกาสในการเติบโตของตลาด Generic Drugs เนื่องจาก ความต้องการยาราคาถูกจะมีมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาในประเทศ

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์

หน่วย : ตัน

                 ประเภท                                  ไตรมาส                    2550         2551
                                             3/1/2550    2/1/2551    3/1/2551    (มค.-กย.)    (มค.-กย.)
ยาเม็ด                                        1,574.10    1,403.70    1,482.60     4,298.80     4,363.50
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   5.6
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -5.8                       1.5
ยาน้ำ                                         3,218.40    2,819.30    3,201.20     9,507.00     9,257.50
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  13.5
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -0.5                      -2.6
ยาแคปซูล                                         170.7       141.7       191.6        449.3        532.1
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  35.2
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           12.2                      18.4
ยาฉีด                                            103.7         116       135.9        323.4          363
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  17.2
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           31.1                      12.2
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน                                33.9        22.5        30.1           87         82.6
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  33.8
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                          -11.2                        -5
ยาครีม                                           502.7       500.6       505.7     1,738.00     1,539.90
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                     1
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                            0.6                     -11.4
ยาผง                                            881.9       672.2       897.3     2,996.10     2,573.70
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  33.5
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                            1.7                     -14.1
รวม                                          6,485.40    5,676.00    6,444.40      19399.6      18712.3
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  13.5
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -0.6                      -3.5

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน

ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)

ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์

หน่วย : ตัน

                 ประเภท                                  ไตรมาส                    2550         2551
                                             3/1/2550    2/1/2551    3/1/2551    (มค.-กย.)    (มค.-กย.)
ยาเม็ด                                        1,458.30    1,393.90    1,451.20     4,087.60     4,290.20
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   4.1
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -0.5                         5
ยาน้ำ                                         4,178.60    3,387.00    3,955.10    11,522.80    11,261.40
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  16.8
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -5.3                      -2.3
ยาแคปซูล                                           180       229.6       198.9        543.2        602.6
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                 -13.4
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           10.5                      10.9
ยาฉีด                                             76.9        85.9        90.1        233.3        259.6
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   4.9
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           17.2                      11.3
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน                                33.5          25        28.1         86.5         80.7
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  12.4
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                          -16.1                      -6.7
ยาครีม                                           524.2       394.3         474     1,559.10     1,255.70
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  20.2
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -9.6                     -19.5
ยาผง                                            166.1       126.9       142.9        486.7        400.2
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  12.6
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                            -14                     -17.8
รวม                                          6,617.60    5,642.60    6,340.30    18,519.20    18,150.40
    % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  12.4
    % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -4.2                        -2

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 32 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 28 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน

ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 16 โรงงาน)

: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ

ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรค*
               มูลค่า (ล้านบาท)                               ไตรมาส                    2550         2551
                                               3/1/2550    2/1/2551    3/1/2551    (มค.-กย.)    (มค.-กย.)
มูลค่าการนำเข้า                                   7,229.00    8,165.70    8,830.20    20,439.60    24,819.90
      % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   8.1
      % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           22.2                      21.4
มูลค่าการส่งออก                                   1,276.90    1,444.90    1,428.40     3,695.70     4,035.80
      % D เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  -1.1
      % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           11.9                       9.2

ที่มา : กรมศุลกากร

หมายเหตุ : รวบรวมจาก HS 3003 และ 3004

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม-- -พห-


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ