สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่3(กรกฎาคม-กันยายน)พ.ศ.2551(อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 26, 2008 15:57 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตยางแท่งและยางแผ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.68 และ 83.30 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะอากาศในภาคใต้เอื้อต่อการกรีดยาง ส่งผลให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดมากขึ้นซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล และเมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตยางแท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.65 แต่การผลิตยางแผ่นลดลงร้อยละ 16.36 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ราคา ยางพาราปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 97.88 บาท สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 2.93 และ 43.46 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดต่างประเทศยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน ส่ง ผลให้ราคายางพาราสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ยางแผ่นรมควันชั้น 3 มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 106.83 บาท ซึ่งสูงกว่าที่เคยสูงสุดเมื่อสองปีก่อน แต่ในช่วงปลาย ไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ราคายางพาราเริ่มปรับลดลงรุนแรงและต่อเนื่องไปถึงไตรมาส ที่ 4 ของปี 2551 เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐอเมริกาส่งผลกระทบต่อความต้องการยางพาราจากไทยลดลง ทั้งนี้เนื่องจาก อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาซบเซา ยอดการจำหน่ายลดลงร้อยละ 20 -30 ส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ซึ่งใช้ ยางพาราในการผลิต โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ และมีผลให้สหรัฐอเมริกาชะลอการซื้อยางรถยนต์จากจีน จึงทำให้จีนต้องชะลอ การสั่งซื้อวัตถุดิบยางพาราจากไทย

การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 8.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลดลงทั้งยางแท่ง และยางแผ่น

การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ของกลุ่มยางยานพาหนะโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มยางนอกรถยนต์มีปริมาณการผลิต ประมาณ 6.46 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 2.63 โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 7.06 โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์นั่ง และยางนอกรถแทรกเตอร์ ส่วนกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานมีปริมาณการผลิต ประมาณ 11.93 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.64 และ 6.72 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นทั้งยางนอกรถ จักรยานยนต์และยางนอกรถจักรยาน สำหรับกลุ่มยางในมีปริมาณการผลิต 14.65 ล้านเส้น เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.66 โดย เพิ่มขึ้นในยางในรถจักรยานยนต์ แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 7.96 โดยลดลงในยางในทุกประเภท เนื่องจากจีนซึ่งเป็น ประเทศผู้ผลิตยางในรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยมีการจำหน่ายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าของไทย แม้คุณภาพสินค้าของจีนจะไม่ดีนัก สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.17 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อนการผลิตถุงมือยางลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.7

สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ยางใน 9 เดือนแรกของปี 2551 กลุ่มยางนอกรถยนต์มีปริมาณการผลิต 19.13 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถ จักรยานยนต์/จักรยาน 34.60 ล้านเส้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 10.11 และ 6.86 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกทุก ประเภทยกเว้นยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ส่วนกลุ่มยางในมีปริมาณการผลิต 44.20 ล้านเส้น ลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.13 ในภาพรวมผล ผลิตยางยานพาหนะยังคงขยายตัว ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศและเพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกยางยานพาหนะ สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.97 ตามความต้องการใช้ถุงมือยางในตลาด โลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศต่างๆตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันเชื้อโรคและการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชนในประเทศมากขึ้น รวมทั้งความต้องการนำถุงมือยางไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆแพร่หลายทั่วโลกเพิ่มขึ้น

2. การตลาด

2.1 ตลาดในประเทศ

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นในประเทศโดยรวมลดลง โดยปริมาณการจำหน่ายยางแท่งและยางแผ่น ในประเทศลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 11.43 และ 22.04และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการจำหน่ายยางแท่งและยางแผ่นใน ประเทศลดลง ร้อยละ 29.25 และ 21.38 ตามลำดับ

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ของกลุ่มยางยานพาหนะโดยรวมเพิ่มขึ้น จำแนกเป็นการจำหน่ายของกลุ่มยาง นอกรถยนต์ 4.83 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยาน 5.80 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 9.38 ล้านเส้น การจำหน่ายในประเทศของ กลุ่มยางนอกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.41 และ 3.86 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกรถยนต์รถยนต์ นั่ง ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์นั่งในประเทศ การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานขยายตัวจากไตรมาส ก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.06 และ18.54 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มยางในเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.20 โดยเพิ่มขึ้นใน ยางในทุกประเภท และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.25 โดยเพิ่มขึ้นในยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร และยางในรถจักรยาน สำหรับถุงมือยางมีการจำหน่ายในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.70 และ 26.64 ตามลำดับ

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศใน 9 เดือนแรกของปี 2551 มีการขยายตัวในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มยางนอกรถยนต์ กลุ่มยาง นอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน และกลุ่มยางในที่มีปริมาณการจำหน่าย 14.42 16.43 และ 27.34 ล้านเส้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรก ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.29 16.41 และ 10.75 ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายถุงมือยางในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 เทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 20.08

2.2 ตลาดส่งออก

ยางแปรรูปขั้นต้นที่ไทยส่งออก ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 จำนวน 2,178.86 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 37.15 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.86 โดยส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้นในรูปของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และน้ำยางข้นไปยังประเทศมาเลเซีย และจีน

สำหรับการส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 5,496.87 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ก่อนร้อยละ 37.58 โดยเพิ่มขึ้นในยางแผ่นและน้ำยางข้น ตามความต้องการใช้ยางธรรมชาติในตลาดโลก โดยเฉพาะ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ มาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ปี 2551 และต่อเนื่องไปถึงปลายปีนี้ วิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐ อเมริกามีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางพาราของไทย ทั้งนี้เนื่องจาก อุตสาหกรรมรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหายอด การจำหน่ายลดลงอย่างมาก จึงมีสต๊อกยางล้อเหลือมาก ส่งผลกระทบให้สหรัฐอเมริกาชะลอการสั่งซื้อยางล้อจากจีน จึงทำให้จีนชะลอการสั่งซื้อ ยางพาราจากไทยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางล้อ

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกให้ประเทศได้ประมาณ ร้อยละ 38 ของการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้ง หมด ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่งกำลัง ผลิตภัณฑ์ยางที่ ใช้ทางเภสัชกรรม ยางวัลแคไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 จำนวน 1,322.94 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น จากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.87 และ 41.81 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ยางเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะยาง ยานพาหนะ และ ถุงมือยาง ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ มาเลเซีย

สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง 3,494.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 30.90 โดยเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท โดยเฉพาะยางยานพาหนะสินค้าส่งออกสำคัญซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 1,592.85 ล้าน เหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 45.59 ของมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงถึงร้อยละ 36.32 ทั้งนี้เนื่อง จากประเทศผู้นำเข้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย เบลเยี่ยม และ ออสเตรเลีย มีการนำเข้ายางยานพาหนะจากไทยเพิ่มขึ้น

2.3 ตลาดนำเข้า

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 397.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.78 และ 22.99 ตามลำดับ ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถ ยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง โดยยางสังเคราะห์มีมูลค่าการนำเข้า 195.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 18.48 และ 59.05 ตามลำดับ ยางวัลแคไนซ์มีมูลค่าการนำเข้า 87.24 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาส เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.35 และ10.61 ตามลำดับ ยางรถยนต์มีมูลค่าการนำเข้า 62.06 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาส เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.56 และ 5.90 ตามลำดับ ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีมูลค่าการนำเข้า 41.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง จากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.35 และ 9.65 ตามลำดับ

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 1,107.54 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัวจากช่วง เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.30 สินค้าที่มีการนำเข้าขยายตัวสูง ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา

3. สรุปและแนวโน้ม

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 การผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางยานพาหนะและ ถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางยานพาหนะเพิ่มขึ้น แต่ถุงมือยางลดลงเล็กน้อย ส่วนการส่ง ออกและการนำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ยางโดยรวมขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นมากและสูง สุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ปี 2551 สูงถึงกิโลกรัมละกว่าร้อยบาท เนื่องจากความต้องการยางพาราในตลาดโลกโดยเฉพาะจากจีนและ ญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ และสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ทั่วโลกหันมาใช้ยางธรรมชาติแทนยางสังเคราะห์มากขึ้น จึงดันให้ราคายางธรรมชาติ สูงขึ้น

แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาส 4 ปี 2551 คาดว่าจะชะลอตัวลง ราคายางพารามีแนวโน้มปรับตัวลดลง รุนแรง ในขณะที่ความต้องการยางพาราจะชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐอเมริกา ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของ สหรัฐอเมริกาซบเซาและยอดจำหน่ายลดลงมาก ทำให้มีสต๊อกยางล้อเหลือเป็นจำนวนมาก สหรัฐอเมริกาจึงชะลอการสั่งซื้อยางรถยนต์จากจีน มีผลให้จีน ชะลอการสั่งซื้อวัตถุดิบยางพาราจากไทย ในขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็อาจจะชะลอการนำเข้ายางพาราและยางล้อจากไทยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ราคาน้ำมัน ในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคายางสังเคราะห์ถูกลง เมื่อยางสังเคราะห์ถูกลง ผู้บริโภคจะหันไปใช้ยาง สังเคราะห์แทนยางพารามากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนควรประสานร่วมมือกันเพื่อการหามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยเน้นการเพิ่ม ศักยภาพการผลิต การส่งเสริมการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราโดยการแปรรูปเป็นยางผสม(Compound Rubber)และผลิตภัณฑ์ยางให้มีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการขยายตลาดส่งออกแห่งใหม่ที่มีศักยภาพ

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

          รายการ                หน่วย                        ไตรมาส                   เทียบกับ  เทียบกับไตรมาส          ปี 2550         ปี 2551  เทียบกับช่วงเดียวกัน
                                             3/1/2550      2/1/2551      3/1/2551  ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน       (ม.ค.- ก.ย.) (ม.ค.- ก.ย.)    ของปีก่อน
ยางนอกรถยนต์                      เส้น        6,038,296     6,298,637     6,464,556     2.63      7.06              17,370,044    19,126,869     10.11
- ยางนอกรถยนต์นั่ง                  เส้น        3,576,221     3,916,513     4,029,825     2.89     12.68              10,546,339    11,887,627     12.72
- ยางนอกรถกระบะ                  เส้น        1,292,038     1,278,038     1,284,551     0.51     -0.58               3,451,971     3,854,154     11.65
- ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร       เส้น        1,126,402     1,052,319     1,092,865     3.85     -2.98               3,238,818     3,224,915     -0.43
- ยางนอกรถแทรกเตอร์               เส้น           43,635        51,767        57,315    10.72     31.35                 132,916       160,173     20.51
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน         เส้น       11,176,644    11,081,520    11,927,783     7.64      6.72              32,378,216    34,600,276      6.86
- ยางนอกรถจักรยานยนต์              เส้น        5,612,434     5,782,521     6,183,163     6.93     10.17              16,655,067    17,876,999      7.34
- ยางนอกรถจักรยาน                 เส้น        5,373,629     5,136,587     5,590,118     8.83      4.03              15,249,510    16,225,819      6.40
-ยางนอกอื่น ๆ                      เส้น          190,581       162,412       154,502    -4.87    -18.93                 473,639       497,458      5.03
ยางใน                            เส้น       15,922,214    14,558,445    14,654,617     0.66     -7.96              44,709,577    44,202,279     -1.13
- ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร        เส้น          495,475       478,173       475,667    -0.52     -4.00               1,462,912     1,511,122      3.30
- ยางในรถจักรยานยนต์               เส้น        9,527,373     8,912,446     9,255,050     3.84     -2.86              26,742,918    27,550,601      3.02
- ยางในรถจักรยาน                  เส้น        5,899,366     5,167,826     4,923,900    -4.72    -16.54              16,503,747    15,140,556     -8.26
ยางรอง                           เส้น        1,025,186       652,145       685,353     5.09    -33.15               2,729,989     2,027,775    -25.72
ยางหล่อดอก                        เส้น           20,189        22,308        20,857    -6.50      3.31                  62,065        64,619      4.12
ถุงมือยางถุงมือตรวจ                   ชิ้น    2,608,872,319  2,415,513,406  2,564,541,105   6.17     -1.70           7,078,214,604  7,571,722,671     6.97
ยางรัดของ                          ตัน         3,869.54      3,362.11      3,198.23    -4.87    -17.35               11,576.91     10,042.71    -13.25
ยางแปรรูปขั้นปฐม                     ตัน       216,512.73    160,742.44    211,885.92    31.82     -2.14              649,285.42    594,279.26     -8.47
- ยางแผ่น                          ตัน        62,645.76     28,585.39     52,398.30    83.30    -16.36              176,333.34    150,584.33    -14.60
- ยางแท่ง                          ตัน       153,866.97    132,157.05    159,487.62    20.68      3.65              472,952.08    443,694.93     -6.19
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ

          รายการ                หน่วย                        ไตรมาส                     เทียบกับ   เทียบกับไตรมาส      ปี 2550          ปี 2551  เทียบกับช่วงเดียวกันของ
                                              3/1/2550      2/1/2551       3/1/2551   ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน  (ม.ค.- ก.ย.)    (ม.ค.- ก.ย.)     ปีก่อน
ยางนอกรถยนต์                      เส้น         4,649,768     4,762,031      4,829,093      1.41      3.86          13,693,433     14,417,182      5.29
- ยางนอกรถยนต์นั่ง                  เส้น         2,594,645     2,777,022      2,856,500      2.86     10.09           7,781,577      8,404,950      8.01
- ยางนอกรถกระบะ                  เส้น         1,186,207     1,139,101      1,096,720     -3.72     -7.54           3,333,509      3,440,292      3.20
- ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร       เส้น           849,072       817,562        848,752      3.82     -0.04           2,509,285      2,487,231     -0.88
- ยางนอกรถแทรกเตอร์               เส้น            19,844        28,346         27,121     -4.32     36.67              69,062         84,709     22.66
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน         เส้น         4,894,264     5,271,277      5,801,457     10.06     18.54          14,113,421     16,429,264     16.41
- ยางนอกรถจักรยานยนต์              เส้น         3,628,932     4,036,477      4,149,354      2.80     14.34          11,041,829     12,322,504     11.60
- ยางนอกรถจักรยาน                 เส้น         1,248,445     1,217,208      1,636,069     34.41     31.05           3,011,580      4,058,614     34.77
-ยางนอกอื่น ๆ                      เส้น            16,887     17,592.00         16,034     -8.86     -5.05              60,012         48,146    -19.77
ยางใน                            เส้น         8,743,037     8,665,799      9,376,682      8.20      7.25          24,689,665     27,342,774     10.75
- ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร        เส้น           409,959       418,174        426,730      2.05      4.09           1,242,843      1,307,334      5.19
- ยางในรถจักรยานยนต์               เส้น         6,750,494     6,186,543      6,494,473      4.98     -3.79          19,221,620     19,458,943      1.23
- ยางในรถจักรยาน                  เส้น         1,582,584     2,061,082      2,455,479     19.14     55.16           4,225,202      6,576,497     55.65
ยางรอง                           เส้น           370,085       321,032        331,235      3.18    -10.50           1,093,977      1,033,663     -5.51
ยางหล่อดอก                        เส้น            20,933        22,202         21,173     -4.63      1.15              63,378         65,074      2.68
ถุงมือยางถุงมือตรวจ                   ชิ้น       115,160,758    130,566992    145,837,568     11.70     26.64         345,347,892    414,687,704     20.08
ยางรัดของ                          ตัน            250.18        323.15         359.76     11.33     43.80              721.99         889.94     23.26
ยางแปรรูปขั้นปฐม                     ตัน         36,364.12     32,910.66      27,177.84    -17.42    -25.26           98,647.55      90,010.86     -8.76
- ยางแผ่น                          ตัน         18,420.42     18,577.57      14,482.92    -22.04    -21.38           52,298.88      51,575.62     -1.38
- ยางแท่ง                          ตัน         17,943.70     14,333.09      12,694.92    -11.43    -29.25           46,348.67      38,435.24    -17.07
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

          รายการ                         ไตรมาส               เทียบกับ  เทียบกับไตรมาส          ปี 2550       ปี 2551        เทียบกับช่วงเดียวกัน
                           3/1/2550    2/1/2551    3/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน      (ม.ค.- ก.ย.) (ม.ค.- ก.ย.)         ของปีก่อน
ยางพารา                    1,463.73    1,588.65    2,178.86    37.15    48.86              3,995.46    5,496.87              37.58
ยางแผ่น                       519.06      506.38      769.41    51.94    48.23              1,420.10    1,904.88              34.14
ยางแท่ง                         50.2       29.45       28.28    -3.97    -43.7                143.45       82.47              -42.5
น้ำยางข้น                      297.99      327.07      429.24    31.24    44.05                886.81    1,095.51              23.53
ยางพาราอื่น ๆ                  596.48      725.75      951.93    31.17    59.59              1,545.10    2,414.01              56.24
ผลิตภัณฑ์ยาง                    932.89    1,141.73    1,322.94    15.87    41.81              2,669.26    3,494.13               30.9
ยางยานพาหนะ                  428.65      518.55      578.75    11.61    35.02              1,168.46    1,592.85              36.32
ถุงมือยาง                      151.26      159.41      208.24    30.63    37.67                441.37      475.39               7.71
ยางรัดของ                      15.88       15.14       17.92    18.36    12.85                 37.46       46.79              24.91
หลอดและท่อ                     36.18       53.04       43.04    -18.9    18.96                 98.69      135.26              37.06
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง         21.32       20.66          21     1.65     -1.5                  54.8       58.62               6.97
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม        48.8       62.71       73.28    16.86    50.16                158.58      193.67              22.13
ยางวัลแคไนซ์                    52.89       58.78       63.98     8.85    20.97                 156.5      170.28               8.81
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ                 177.91      253.44      316.73    24.97    78.03                 553.4      821.27               48.4
               รวม         2,396.62    2,730.38    3,501.80    28.25    46.11              6,664.72    8,991.00               34.9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

          รายการ                             ไตรมาส             เทียบกับ    เทียบกับไตรมาส          ปี 2550     ปี 2551  เทียบกับช่วงเดียวกัน

3/1/2550 2/1/2551 3/1/2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.- ก.ย.) (ม.ค.- ก.ย.) ของปีก่อน

ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง                       109.3    103.5    108.8     5.09        -0.48              280.1      306.49      9.44
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง             45.41    43.35    41.03    -5.35        -9.65              103.3      120.11     16.26
ยางรถยนต์                              58.6    54.65    62.06    13.56          5.9              162.3      169.28      4.32
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ                          5.29      5.5     5.68     3.27         7.37              14.47        17.1     18.18
ยาง รวมเศษยาง                          125      170    199.3    17.25        59.51              346.9      518.18     49.38
ยางธรรมชาติ                            0.88     3.45     1.93    -44.1        119.3               3.78        8.59     127.3
ยางสังเคราะห์                          122.9      165    195.5    18.48        59.05              339.7      504.64     48.55
ยางอื่นๆ                                1.15     1.52     1.87    23.03        62.61               3.39        4.95     46.02
วัสดุทำจากยาง                          81.25    85.52    89.43     4.57        10.07              223.1      282.87     26.81
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง                       2.38     1.92     2.19    14.06        -7.98               7.74        6.22    -19.64
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์                     78.87     83.6    87.24     4.35        10.61              215.3      276.65     28.48
               รวม                   315.5      359    397.5    10.72        22.99                850    1,107.54      30.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ