การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อพิจารณาจากดัชนี อุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51 เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ลดลง ดัชนีการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 9.9 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวอยู่ และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดัชนีการผลิตลดลงร้อยละ 29.73 ดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 40.47 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,289.96 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออก เครื่องประดับแท้ที่มีมูลค่า 813.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 897.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์ สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 475.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.25, 16.68 และ 15.29 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 316.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.42 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 24.73, 22.76 และ 22.26 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 153.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.90, 24.86 และ 9.16 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 813.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.80 เมื่อเทียบกับไตร มาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 29.68, 13.9 และ 9.21 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 238.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.73 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 37.94, 10.04 และ 9.54 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 534.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.02 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 26.21, 19.48 และ 9.48 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 52.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.23 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิด เป็นสัดส่วน ร้อยละ 48.86, 21.29 และ 6.40 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 19.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.06 เมื่อเทียบกับไตร มาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 19.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง ออสเตรีย และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.12, 13.90 และ 11.12 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 897.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.23 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.50, 21.22 และ 18.45 ตามลำดับ
การนำเข้า
1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 2,909.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 159.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 460.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.47, 20.42 และ 15.90 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 100.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.95, 19.57 และ 9.08 ตามลำดับ
1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 2,103.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.30 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเพิ่มขึ้นสูงมากร้อยละ 371.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 57.53, 16.03 และ 5.55 ตามลำดับ
1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 163.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.96, 15.59 และ 5.91 ตามลำดับ
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 51.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 24.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 87.52, 5.89 และ 3.21 ตามลำดับ
โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.92 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด
2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 174.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.31 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 190.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 166.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.50 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 206.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัด ส่วนร้อยละ 8.84, 6.13 และ 4.59 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 7.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.62 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 25.25, 15.38 และ 8.72 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ด้านการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51 แต่การจำหน่ายลดลงร้อยละ 9.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จะเห็นว่าด้านการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนด้านการจำหน่ายหดตัวพอสมควร ทำให้สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้น ด้านการส่ง ออกมีการขยายตัวร้อยละ 30.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากภาวะตลาดผู้บริโภคยังตอบรับดีอยู่ ทั้งนี้เครื่องประดับแท้ยังคงสัดส่วนการส่งออก สูงถึงร้อยละ 35.54 โดยเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองยังคงนำตลาดเนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกซึ่งได้ลดลงตั้งแต่ราวกลางเดือนกรกฎาคม โดยอยู่ต่ำกว่า 900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ส่วนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่าน มา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 159 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการนำเข้าทองคำ เมื่อราคาตลาดโลกลดลงเป็นจังหวะให้ผู้ประกอบการ ซื้อเพิ่มขึ้น
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ปัจจัยด้านลบ คือ วิกฤติการณ์สถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา เช่น การประกาศ ล้มละลายของ เลห์แมน บราเธอร์ส สถาบันการเงินใหญ่อันดับ 4 ซึ่งเป็นผลจากปัญหาซัพไพร์ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาหดตัว และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยมีตลาด สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลัก อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการบางส่วนได้หาตลาดอื่นบ้างแล้ว ปัจจัยด้านบวก คือ แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงจะ ส่งผลบวกให้เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาทจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 จาก ปัจจัยทั้งหลายดังกล่าว คาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2551
ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2550 2551 อัตราการขยายตัว(%) Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q3(51)/ Q3(51)/ Q2(51) Q3(50) ผลผลิต 69 56.7 74.2 69.1 48.1 52.14 8.51 -29.73 ส่งสินค้า 69.7 59.7 78.7 71.4 52 46.87 -9.9 -40.47 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 98.9 98.3 97.8 93.6 90.3 103.4 14.45 5.77
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ยรายเดือน ปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล, Q3 2551 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว (%) 2550 2551 Q3(51) เทียบ Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q2(51) Q3(50) อัญมณีและเครื่องประดับ 1033.8 856.9 1606.6 1913.5 1754.8 2290 30.5 42.53 1 อัญมณี 309.47 293.5 383.61 459.27 399.49 475.66 19.07 24 (1) เพชร 218.17 219.3 260.4 291.4 274.5 316.83 15.42 21.67 (2) พลอย 89.18 73.06 116.6 163.81 122.85 153.73 25.14 31.84 (3) ไข่มุก 2.12 1.15 6.61 4.06 2.14 5.1 138.3 -22.84 2 เครื่องประดับแท้ 366.84 395.6 555.17 707.24 647.02 813.93 25.8 46.61 (1) ทำด้วยเงิน 152.91 175.1 191.54 189.23 211.29 238.19 12.73 24.36 (2) ทำด้วยทอง 186 193 343.06 484.77 396.21 534.96 35.02 55.94 (3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 27.93 27.57 20.57 33.24 39.52 40.78 3.19 98.25 3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 43.47 42.05 49.1 43.22 46.86 52.59 12.23 7.11 4 อัญมณีสังเคราะห์ 12.35 12.3 24.45 15.89 17.49 19.6 12.06 -19.84 5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 274.57 80.02 560.37 653.3 613.85 897.62 46.23 60.18 6 โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 27.07 33.45 33.91 34.54 30.07 30.56 1.63 -9.88 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว (%) 2550 2551 Q3(51) เทียบ Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q2(51) Q3(50) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 903.7 1145.6 1123.5 1568.7 1916.4 2909.9 51.8 159 1 เพชร 339.1 320.05 393.35 443.7 378.83 460.46 21.6 17.06 2 พลอย 63.91 42.04 63.66 94.16 93.24 100.12 7.38 57.27 3 อัญมณีสังเคราะห์ 7.57 14.63 19.03 17.94 21.4 19.3 -9.81 1.42 4 ไข่มุก 6.24 2.97 6 5.67 5.7 6.03 5.79 0.5 5 ทองคำ 325.6 568.34 446.43 820.39 1213.7 2103.3 73.3 371.1 6 เงิน 104 134.21 120.26 117.11 147.94 163.29 10.4 35.78 7 แพลทินัม 5.87 4.72 6.65 6.3 6.91 6.06 -12.3 -8.87 8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ 51.4 58.63 68.14 63.46 48.72 51.38 5.46 -24.6 เครื่องประดับอัญมณี 52.9 60.22 60.03 205.54 185.91 174.17 -6.31 190.1 1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ 48.06 54.82 54.31 199.9 180.13 166.62 -7.5 206.8 2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 4.84 5.4 5.72 5.64 5.78 7.55 30.6 31.99 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--