สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่3(กรกฎาคม-กันยายน)พ.ศ.2551(อุตสาหกรรมอาหาร)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 27, 2008 14:48 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 0.7 จากไตรมาส ที่ 2 ปี 2551 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม และน้ำมันพืช ลดลงร้อยละ 41.7 5.1 และ 3.8 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผล จากวัตถุดิบมีปริมาณลดลง และได้มีการประกาศปรับราคาผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของ ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 14.3 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) พบว่า ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย

การผลิตในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารสำคัญในช่วงไตรมาสที่ 3 สรุปได้ดังนี้

  • กลุ่มแปรรูปผักผลไม้ ปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 41.7 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบ เช่น สับปะรด ข้าวโพดฝักอ่อน
ข้าวโพดหวาน ลดลง (นอกฤดูกาลผลิตหลัก) แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.5 เป็นผลจากผลผลิตออกสู่
ตลาดจำนวนมากกว่าปีก่อนที่เกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบจากปัญหาภัยแล้ง
  • กลุ่มแปรรูปประมง ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ
ปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด และความต้องการปลาทูน่ากระป๋อง และกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง รวมทั้งกุ้งแปรรูปในตลาดโลกเพิ่มขึ้น
  • กลุ่มแปรรูปปศุสัตว์ ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เนื่องจากสามารถส่งออกไก่ต้มสุกแปรรูปไปยังตลาด EU และตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ญี่ปุ่นตรวจพบสารตกค้างในสินค้าอาหารจาก
จีน ทำให้หันมานำเข้าสินค้าจากไทยทดแทนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น
  • กลุ่มแปรรูปธัญพืชและแป้ง ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากประเทศผู้ผลิตธัญพืชสำคัญ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตในตลาดโลกลดลง และส่งผลให้
ราคายังทรงตัวในระดับสูง ซึ่งทำให้เกษตรกรไทยขยายพื้นที่ปลูก และมีผลผลิตป้อนสู่ตลาดเพิ่มขึ้น

สำหรับการผลิตสินค้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน ได้แก่ น้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน ร้อยละ 3.8 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ปริมาณการผลิตน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 เป็นผลจากปาล์ม น้ำมันมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 5.1 และร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาน้ำนมดิบได้ ปรับตัวสูงขึ้น และกระทรวงพาณิชย์ประกาศปรับราคาผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ในส่วนของอาหารสัตว์ ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และ 6.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการในภาคปศุสัตว์และประมงเพิ่มขึ้น ตามปริมาณการผลิตในกลุ่มแปร รูปปศุสัตว์และประมงที่เพิ่มขึ้น

สรุปภาพรวมด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในช่วง 9 เดือนของปี 2551 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ญี่ปุ่นตรวจพบสารตกค้างในสินค้าอาหารจากจีน ทำให้หันมานำเข้าจากไทยทดแทนเพิ่มขึ้น ทำให้การ ผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกขยายตัวสูงขึ้น เช่น ผักผลไม้ ร้อยละ 23.1 และประมง ร้อยละ 6.5 สำหรับสินค้าที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศ ที่ ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักจะขยายตัว เช่น น้ำมันพืช ขยายตัวร้อยละ 18.0 และน้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 11.5 แต่หากเป็นการนำเข้าวัตถุดิบจาก ต่างประเทศ การผลิตจะปรับตัวลดลง เนื่องจากระดับราคาในตลาดโลกสูงขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 11.1 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 4.2 สำหรับสินค้าปศุสัตว์แม้ว่าจะสามารถส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการผลิตขณะนี้สูงกว่าความต้องการ ประกอบกับตลาดภายในประเทศที่มีสัดส่วนสูงกว่า ชะลอตัว และการแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้นในตลาด EU ส่งผลให้ภาพรวม 9 เดือนการผลิตไก่ต้มสุกแปรรูปชะลอตัวเล็กน้อย ร้อยละ 0.3

2. การตลาด

2.1 ตลาดในประเทศ

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จาก ไตรมาสก่อน และร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการบรรเทา ความเดือดร้อนของประชาชน 6 มาตรการ ประกอบกับระดับราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าบางรายการได้ปรับตัว ลดลง ทำให้การบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน และส่งผลให้ภาพรวมการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาส ที่ 3 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อนในกลุ่มปศุสัตว์ ประมง และอาหารสัตว์

หากเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศช่วง 9 เดือนของปี 2550 และ 2551 พบว่า ภาพรวมการจำหน่ายใน ประเทศ (ไม่รวมน้ำตาล) เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 3.4 เป็นผลจากการขยายตัวของการจำหน่ายอาหารสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และน้ำมัน พืชร้อยละ 16.9 แต่หากพิจารณาหมวดสินค้าอื่นๆ ส่วนใหญ่ปริมาณการจำหน่ายลดลง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ ลดลงมากที่สุดร้อยละ 13.7 ประมง ร้อยละ 10.9 ปศุสัตว์ ร้อยละ 3.8 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 9.6 เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและการเมืองไม่ดี นัก ประกอบกับปัญหาด้านราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันและสินค้าประเภทเนื้อ สัตว์จะเริ่มชะลอตัวลงในช่วงปลายไตรมาส 3 ก็ตาม

2.2 ตลาดต่างประเทศ

1) การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 6,147.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 208,264.3 ล้านบาท โดยขยายตัวร้อยละ 1.9 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 6.8 ในรูปของเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 ในรูปของดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 49.2 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 จะพบ ว่า ภาวะการส่งออกในรูปของมูลค่ามีการขยายตัวในเกือบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปเงินบาทและดอลลาร์ฯ เนื่องจากระดับราคาสินค้าอาหารได้ปรับตัวสูง ขึ้นจากวิกฤตราคาน้ำมันที่ผลักดันให้ราคาสินค้าในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ทรงตัวในระดับเดียว กันกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดีคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อ เนื่อง และหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2550 และ 2551 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 ในรูป ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 36.2 ในรูปของเงินบาท สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,802.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 61,072.6 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
16.4 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 22.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง และอาหารทะเล
กระป๋องและแปรรูป และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ในรูปดอลลาร์ฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 ในรูปเงิน
บาท สำหรับมูลค่าการส่งออกโดยเปรียบเทียบช่วง 9 เดือนของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 4,613.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 156,291.8 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.3 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 11.7 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่
เย็นแช่แข็ง ปริมาณและมูลค่าส่งออกในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและปีก่อน เนื่องจากได้รับผลดีจากข่าวการที่ไทยชนะคดีฟ้องการคิดภาษีทุ่ม
ตลาดและการเรียกเก็บค่าพันธบัตรประกันการนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ทำให้อัตราภาษี AD ลดลง และจะต้องมีการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นย้อนหลัง
และปลาทูน่ากระป๋อง สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปดอลลาร์ฯ หรือเงินบาท โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆ ในอาฟริกา ขณะที่ตลาด
หลักเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราที่ลดลง
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 535.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 18,142.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.7 ในรูปดอลลาร์ฯ
หรือร้อยละ 15.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบโดยเฉพาะสับปะรดลดลง และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือ
ร้อยละ 8.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการที่ปีก่อนเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ปริมาณการผลิตและการส่งออกลดลง
อย่างไรก็ตามในส่วนของผักกระป๋องและแปรรูปที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อนบรรจุกระป๋อง สามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น
จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและราคาส่งออกที่สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกลดลง และหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2550 และ
2551 พบว่า มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ 12.7 ในรูปเงินบาท เนื่องจากการปรับตัวขึ้น
ของระดับราคาเป็นหลัก
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 483.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 16,389.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ในรูปดอลลาร์ฯ
หรือร้อยละ 37.1 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.3 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 70.4 ในรูปเงินบาท เมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้รับผลดีจากประเทศญี่ปุ่นนำเข้าไก่แปร
รูปจากไทยทดแทนจีนเพิ่มขึ้น จากปัญหาสิ่งปนเปื้อนในอาหารจากประเทศจีน ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพ
ยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนระบบการนำเข้าเป็นระบบโควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ
ตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเปรียบเทียบช่วง 9 เดือนของปี 2550 และ 2551 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.4 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 60.6 ในรูปเงินบาท
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 2,370.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 80,314.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
7.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 2.9 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากราคาส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเริ่มชะลอตัวลง จาก
ประเทศผู้ส่งออกเริ่มกลับมาส่งออกเพิ่มขึ้น หลังจากเกิดการขาดแคลนในช่วงไตรมาสก่อน ที่ผลักดันให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นประมาณกว่าร้อยละ 40 และ
หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 91.6 ใน
รูปเงินบาท โดยเป็นการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 100 นอกจากนี้หากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2550 และ 2551 มูลค่าการส่งออก
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.1 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 77.2 ในรูปเงินบาท
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 471.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 15,969.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ในรูป
ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 20.4 ในรูปเงินบาท จาก

ไตรมาสก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านปริมาณที่ผลิตได้มากเป็นประวัติการณ์ ทำให้ไทยสามารถส่งออกน้ำตาลได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับประเทศ ออสเตรเลียที่เป็นประเทศผู้ผลิตสำคัญประสบปัญหาภัยแล้งและไฟไหม้ป่าในพื้นที่ปลูกอ้อย ส่งผลให้ปริมาณส่งออกลดลง และหากเปรียบเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.4 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 66.6 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกัน หากเปรียบเทียบ ระหว่าง 9 เดือนของปี 2550 และ 2551 พบว่า มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 2.4 ในรูปเงินบาท

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 483.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ16,376.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และ 5.8 ในรูป
ดอลลาร์ฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.1 ในรูปดอลลาร์ฯ และร้อยละ
53.3 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2550 และ 2551 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ
40.0 ในรูปดอลลาร์และร้อยละ 39.3 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ และสิ่งปรุงรส
อาหาร

2) การนำเข้า

การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 2,181.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 73,896.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 29.0 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.6 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 60.1 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการนำเข้า สินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.8 ในรูปดอลลาร์ หรือร้อยละ 49.0 ในรูปเงินบาท จากการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง และเมล็ดและ กากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นทั้งในรูปดอลลาร์ฯ และเงินบาท ตามปริมาณความต้องการอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น

หากเปรียบเทียบในช่วง 9 เดือนของปี 2550 และ 2551 พบว่า มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 ในรูป ดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 42.0 ในรูปเงินบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งมากที่สุด ร้อยละ 58.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 57.8 ในรูปเงินบาท รองลงมา คือ กากพืชน้ำมัน ร้อยละ 38.0 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 37.3 ในรูปเงินบาท และนมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 25.7 ในรูปดอลลาร์ฯ หรือร้อยละ 25.0 ในรูปเงินบาท เนื่องจากค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพ ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงนัก

3. นโยบายของภาครัฐ

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร โดยเน้นการให้ความช่วย เหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เนื่องจากประสบปัญหาต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและปัญหาภัยธรรมชาติ รวมทั้งช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาเงิน เฟ้อ ได้แก่

3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ประกาศมาตรการลดภาระประชาชน 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน (เริ่ม สิงหาคม 2551- มกราคม 2552) อาทิ ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา ไฟฟ้า การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง และรถไฟชั้น 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตราคาน้ำมันและเงินเฟ้อให้กับประชาชนในกลุ่มที่มีรายได้ น้อย และเป็นการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ประกอบกับเป็นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศด้วย

3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบที่รับซื้อจากเกษตรกร กิโลกรัมละ 3.50 บาท จาก 14.50 บาท เป็น 18.00 บาท เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงโคนมสูงขึ้นจากราคาน้ำมันและอาหารสัตว์ เพื่อเป็นการช่วย เหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ส่งผลให้กระทรวงพาณิชย์ประกาศปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นมที่จำหน่ายในประเทศ เช่น นมกล่องและขวดขนาดต่างๆ ปรับขึ้น ราคาระหว่าง 1.00 — 3.75 บาทต่อขนาดบรรจุ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจริงตามราคาวัตถุดิบในตลาดโลก โดยมีผลเมื่อ วันที่ 2 กันยายน 2551

4. สรุปและแนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2551 จัดอยู่ในช่วงชะลอตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 จากปริมาณวัตถุดิบที่ป้อน สู่อุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้มีปริมาณลดลง แต่หากพิจารณาในช่วง 9 เดือนของปี 2551 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี โดยหากพิจารณาภาพรวมของการผลิตเพื่อ การส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศผู้นำเข้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากวิกฤตการณ์ด้านอาหารและพลังงาน ส่งผลให้อุปทานในตลาดโลกลดลง จากประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ โรคระบาด และปัญหาความปลอดภัยในอาหารที่ประเทศนำเข้าวิตกกังวลในอาหารนำเข้าจาก ประเทศผู้ผลิตโดยเฉพาะจีน ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากค่าแรงงานที่ต้องปรับขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ เช่น จีน และเวียดนาม รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการตลาดในการเจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 คาดว่า จะมีทิศทางการผลิต การจำหน่าย ในประเทศ และการส่งออกที่ชะลอตัวตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก จากความไม่แน่นอนทางการเมืองและการก่อการร้ายในหลายประเทศ การถด ถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหาร ของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของ จีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกอยู่บ้าง เช่น ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตโดย เฉพาะค่าขนส่งจะปรับตัวลดลง การเฉลิมฉลองในเทศกาลต่างๆ และการที่ประเทศผู้ผลิตอย่างจีน ยังถูกจับตามองและตรวจสอบในความปลอดภัยของ สินค้าอาหารที่นำเข้าจากประเทศจีนอย่างเข้มงวด ทั้งจากประเทศญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

  ประเภท                                     ปริมาณการผลิต (ตัน)                                         การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
                ไตรมาส3/50      ไตรมาส2/51     ไตรมาส3/51    9 เดือนปี 2550     9 เดือนปี 2551    ไตรมาสก่อน   ช่วงเดียวกันของปีก่อน   ช่วงเดียวกันของ

9 เดือนปีก่อน

ปศุสัตว์           168,563.70      162,201.30      173,690.40      500,479.80      498,745.70      7.1                  3               -0.3
ประมง           148,711.40      161,167.90      168,008.00      458,395.60      488,407.00      4.2                 13                6.5
ผักผลไม้           56,577.30      124,719.60       72,701.60      289,048.40      355,708.00    -41.7               28.5               23.1
น้ำมันพืช          319,620.90      382,964.90      368,266.20      918,561.70    1,083,910.20     -3.8               15.2                 18
ผลิตภัณฑ์นม        105,518.10       92,839.70       88,125.50      302,996.40      269,420.80     -5.1              -16.5              -11.1
ธัญพืชและแป้ง      154,818.10      166,340.00      177,269.90      626,252.20      616,853.70      6.6               14.5               -1.5
อาหารสัตว์        725,131.60      744,722.60      774,143.80    2,131,576.80    2,226,206.00        4                6.8                4.4
น้ำตาล            77,913.10      384,002.50       75,285.40    3,159,592.50    3,523,881.50    -80.4               -3.4               11.5
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป    36,225.90       31,600.60       30,788.60      106,953.20      102,479.60     -2.6                -15               -4.2
รวม           1,793,080.30    2,250,559.20    1,928,279.30    8,493,856.40    9,165,612.50    -14.3                7.5                7.9
รวม           1,715,167.20    1,866,556.70    1,852,993.80    5,334,263.90    5,641,731.00     -0.7                  8                5.8
(ไม่รวมน้ำตาล)

ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

  ประเภท                                       ปริมาณการผลิต (ตัน)                                         การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
                  ไตรมาส3/50      ไตรมาส2/51      ไตรมาส3/51    9 เดือนปี 2550     9 เดือนปี 2551  ไตรมาสก่อน   ช่วงเดียวกันของปีก่อน    ช่วงเดียวกันของ

9 เดือนปีก่อน

ปศุสัตว์             129,517.10      123,306.50      130,042.30      397,717.90      382,507.70      5.5                0.4               -3.8
ประมง              15,736.40       12,467.40       12,210.30       44,627.30       39,755.10     -2.1              -22.4              -10.9
ผักผลไม้              6,160.10        4,999.30        4,456.10       17,212.10       14,849.30    -10.9              -27.7              -13.7
น้ำมันพืช            207,508.50      249,956.70      226,455.00      614,441.80      718,376.20     -9.4                9.1               16.9
ผลิตภัณฑ์นม           72,981.70       71,937.90       73,526.00      219,313.60      212,639.10      2.2                0.7                 -3
ธัญพืชและแป้ง        117,740.90      119,176.20      129,751.60      440,251.50      407,698.80      8.9               10.2               -7.4
อาหารสัตว์          724,541.80      741,031.80      775,336.60    2,125,628.80    2,225,365.20      4.6                  7                4.7
น้ำตาล             321,152.90      263,426.40      334,608.90      912,504.10      882,546.50       27                4.2               -3.3
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป      36,134.00       25,636.40       29,362.30       90,077.60       81,398.40     14.5              -18.7               -9.6
รวม             1,631,473.40    1,611,938.50    1,715,749.00    4,861,774.60    4,965,136.20      6.4                5.2                2.1
รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 1,310,320.50    1,348,512.20    1,381,140.10    3,949,270.60    4,082,589.80      2.4                5.4                3.4
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม

ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

  ประเภท                                                  มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)                                 การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                       2550       -------- 2551 --------                                  เทียบ    เทียบไตรมาส  เทียบระหว่าง9 เดือน
                                    ไตรมาสที่ 3     ไตรมาสที่ 2     ไตรมาสที่ 3   9 เดือนปี2550   9 เดือนปี2551  ไตรมาสก่อน  เดียวกันปีก่อน     ปี 51 และ50
  1. กลุ่มอาหารทะเล                   50,999.80     50,008.30     61,072.60    139,969.80    156,291.80     22.1       19.8            11.7
   - อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง            22,993.50     20,471.60     25,768.90     63,016.30     64,008.00     25.9       12.1             1.6
   - อาหารทะเลกระป๋อง                13,646.30     17,631.10     20,273.60     39,395.50     53,820.00       15       48.6            36.6
   - อาหารทะเลแปรรูป                 14,360.10     11,905.60     15,030.10     37,558.00     38,463.80     26.2        4.7             2.4
 2. ปศุสัตว์                            9,616.70     11,956.60     16,389.20     24,671.70     39,616.30     37.1       70.4            60.6
   - ไก่                              8,812.10     10,921.90     14,726.20     22,748.90     36,143.80     34.8       67.1            58.9
   (1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง                   293.9         233.6         412.2         682.1         939.3     76.4       40.3            37.7
   (2) ไก่แปรรูป                       8,518.20     10,688.20     14,314.00     22,066.90     35,204.50     33.9         68            59.5
 3. กลุ่มผักผลไม้                       16,769.30     21,527.50     18,142.30     51,000.70     57,485.80    -15.7        8.2            12.7
  - ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง          4,379.80      4,595.20      4,074.00     10,548.10     11,143.90    -11.3         -7             5.6
  - ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง            1,456.00      1,764.10      1,588.10      5,428.50      5,464.80      -10        9.1             0.7
  - ผลไม้กระป๋องและแปรรูป               8,413.70     12,537.40      9,715.40     27,346.50     33,243.70    -22.5       15.5            21.6
  - ผักกระป๋องและแปรรูป                 2,519.80      2,630.80      2,764.90      7,677.60      7,633.40      5.1        9.7            -0.6
  4. กลุ่มข้าวและธัญพืช                  41,917.90     82,674.40     80,314.00    128,632.20    227,876.40     -2.9       91.6            77.2
  - ข้าว                             26,468.50     63,677.40     60,704.60     76,442.70    167,796.50     -4.7      129.3           119.5
 - ผลิตภัณฑ์ข้าว                         1,461.60      1,614.30      1,719.80      3,933.80      4,614.80      6.5       17.7            17.3
 - ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ    4,173.20      5,288.60      6,031.50     12,713.10     16,221.50       14       44.5            27.6
 - ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                   9,814.60     12,094.00     11,858.00     35,542.60     39,243.60       -2       20.8            10.4
  5. น้ำตาลทราย                       9,588.20     13,261.80     15,969.80     38,793.60     39,732.50     20.4       66.6             2.4
  6. อาหารอื่นๆ                       10,685.90     15,485.20     16,376.50     30,348.40     42,271.50      5.8       53.3            39.3
 - สิ่งปรุงรสอาหาร                      2,102.60      2,398.70      2,628.50      5,859.80      7,113.20      9.6         25            21.4
 - นมและผลิตภัณฑ์นม                     1,043.70      1,292.70      1,133.50      3,340.00      3,508.90    -12.3        8.6             5.1
 - หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม            694.5      1,036.10      1,201.30      1,961.80      3,062.80     15.9          73            56.1
 - ซุปและอาหารปรุงแต่ง                    431.3         415.9         459.8      1,219.00      1,269.00     10.5         6.6             4.1
 - ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์           3,459.00      7,570.60      6,937.40      9,013.20     18,230.60     -8.4       100.6           102.3
 - เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์   2,208.50      2,031.30      3,171.70      7,041.00      6,843.20     56.1        43.6            -2.8
 - โกโก้และของปรุงแต่ง                    550.7         480.9         584.8      1,264.70      1,499.60     21.6         6.2            18.6
 - ไอศกรีม                              195.6           259         259.6         648.9         744.1      0.2        32.7            14.7
 รวม                              139,577.80    194,913.80    208,264.30    413,416.40    563,274.30      6.8        49.2            36.2
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

  ประเภท                                                  มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)                การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                     2550   -------- 2551 -------                             เทียบ    เทียบไตรมาส     เทียบระหว่าง9 เดือน
                                ไตรมาสที่ 3   ไตรมาสที่ 2   ไตรมาสที่ 3  9 เดือนปี2550  9 เดือนปี2551 ไตรมาสก่อน  เดียวกันปีก่อน        ปี 51 และ50
 1. กลุ่มอาหารทะเล                 1,497.40    1,548.20    1,802.60    4,109.50    4,613.10     16.4       20.4              12.3
  - อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง             675.1       633.8       760.6    1,850.20    1,889.30       20       12.7               2.1
  - อาหารทะเลกระป๋อง                 400.7       545.9       598.4    1,156.70    1,588.50      9.6       49.4              37.3
  - อาหารทะเลแปรรูป                  421.6       368.6       443.6    1,102.70    1,135.30     20.4        5.2                 3
2. ปศุสัตว์                            282.3       370.2       483.7       724.4    1,169.30     30.7       71.3              61.4
  - ไก่                              258.7       338.1       434.7       667.9    1,066.80     28.5         68              59.7
  (1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง                  8.6         7.2        12.2          20        27.7     68.2         41              38.4
  (2) ไก่แปรรูป                       250.1       330.9       422.5       647.9    1,039.10     27.7       68.9              60.4
3. กลุ่มผักผลไม้                        492.3       666.5       535.5    1,497.40    1,696.70    -19.7        8.8              13.3
 - ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง          128.6       142.3       120.2       309.7       328.9    -15.5       -6.5               6.2
 - ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง             42.7        54.6        46.9       159.4       161.3    -14.2        9.6               1.2
 - ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                 247       388.2       286.8       802.9       981.2    -26.1       16.1              22.2
 - ผักกระป๋องและแปรรูป                    74        81.5        81.6       225.4       225.3      0.2       10.3                 0
 4. กลุ่มข้าวและธัญพืช                1,230.70    2,559.60    2,370.50    3,776.60    6,726.00     -7.4       92.6              78.1
 - ข้าว                              777.1    1,971.40    1,791.80    2,244.40    4,952.70     -9.1      130.6             120.7
 - ผลิตภัณฑ์ข้าว                         42.9        50.0        50.8       115.5       136.2      1.6       18.3              17.9
 - ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ   122.5       163.7       178.0       373.3       478.8      8.7       45.3              28.3
 - ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                  288.2       374.4       350.0     1,043.5     1,158.3     -6.5       21.5              11.0
 5. น้ำตาลทราย                       281.5       410.6       471.4     1,139.0     1,172.7     14.8       67.4               3.0
 6. อาหารอื่นๆ                        313.7       479.4       483.4       891.0     1,247.7      0.8       54.1              40.0
 - สิ่งปรุงรสอาหาร                      61.7        74.3        77.6       172.0       210.0      4.5       25.7              22.0
 - นมและผลิตภัณฑ์นม                     30.6        40.0        33.5        98.1       103.6    -16.4        9.2               5.6
 - หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม          20.4        32.1        35.5        57.6        90.4     10.5       73.9              57.0
 - ซุปและอาหารปรุงแต่ง                  12.7        12.9        13.6        35.8        37.5      5.4        7.2               4.7
 - ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์           101.6       234.4       204.8       264.6       538.1    -12.6      101.6             103.3
 - เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์    64.8        62.9        93.6       206.7       202.0     48.9       44.4              -2.3
 - โกโก้และของปรุงแต่ง                  16.2        14.9        17.3        37.1        44.3     15.9        6.8              19.2
 - ไอศกรีม                             5.7         8.0         7.7        19.1        22.0     -4.5       33.4              15.3
รวม                               4,098.0     6,034.5     6,147.1    12,137.9    16,625.6      1.9       50.0              37.0

ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย

           ประเภท                มูลค่านำเข้า (ล้านบาท)                                   -----การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)------

2550 --------2551---------

                       ไตรมาสที่ 3  ไตรมาสที่ 2    ไตรมาสที่ 3      9 เดือน       9 เดือน     เทียบ     เทียบไตรมาส      เทียบกับ 9

ปี 2550 ปี 2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน เดือนปี 2550

ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง    8,755.10      9,793    15,673.60    23,148.70    36,533.30     60.1       79              57.8
เมล็ดพืชน้ำมัน              4,924.60      9,270     8,970.20    14,336.10    25,208.00     -3.2     82.2              75.8
กากพืชน้ำมัน               6,197.40      8,685     8,387.10    18,377.50    25,228.20     -3.4     35.3              37.3
นมและผลิตภัณฑ์นม           3,479.70      4,305     3,435.90    10,367.40    12,964.30    -20.2     -1.3                25
อาหารรวม               49,589.80  57,299.70    73,896.40      133,945      190,198       29       49                42

           ประเภท                มูลค่านำเข้า (ล้านดอลลาร์)                                -----การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)------

2550 --------2551---------

                       ไตรมาสที่ 3  ไตรมาสที่ 2    ไตรมาสที่ 3      9 เดือน    9 เดือน     เทียบ     เทียบไตรมาส      เทียบกับ 9

ปี 2550 ปี 2551 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน เดือนปี 2550

ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง         257      303.2       462.6       679.6    1,078.30     52.6        80           58.7
เมล็ดพืชน้ำมัน                 144.6        287       264.8       420.9         744     -7.7      83.1            9.5
กากพืชน้ำมัน                    182      268.9       247.6       539.6       744.6     -7.9      36.1             38
นมและผลิตภัณฑ์นม              102.2      133.3       101.4       304.4       382.7    -23.9      -0.7           25.7
อาหารรวม                1,456.00   1,774.00    2,181.10    3,932.60    5,613.90       23      49.8           42.8
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ