รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 26, 2008 15:29 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนตุลาคม 2551
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 180.2 ลดลงจากเดือนกันยายน 2551 (184.8) ร้อยละ 2.5 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (181.8) ร้อยละ 0.9
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2551 ได้แก่ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 60.8 ลดลงจากเดือนกันยายน 2551 (61.1) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.0)
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนพฤศจิกายน 2551

อุตสาหกรรมอาหาร

  • เดือนพฤศจิกายน คาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมจะชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออกคาดว่า จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงคำสั่งซื้อสินค้าเพื่อรองรับเทศกาลสำคัญปลายปี แต่จากสถานการณ์วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ส่งผลกระทบไปสู่การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก เริ่มส่งสัญญาณต่อระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลง
  • อย่างไรก็ตามการส่งออกในผลิตภัณฑ์หลักๆ ที่อิงตลาดสหรัฐอเมริกา อาจเริ่มชะลอตัวลงจากการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดรองรับสินค้าหลักของไทย สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากประชาชนยังวิตกกังวลกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ จึงชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าปริมาณการผลิตจะทรงตัวหรือขยายตัวเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการบริโภคในประเทศชะลอตัว กำลังซื้อภาคประชาชนลดลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อการบริโภคลดลง
  • สำหรับการส่งออกสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านต้นทุนของสินค้าที่ปรับลดลง เช่น ราคาน้ำมัน ตลอดจนการเปิดตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปชะลอตัว และแม้ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่ก็ยังไม่มีการปลดแรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการจะปรับตัวและลดต้นทุนการผลิตลงโดยการปรับลดชั่วโมงการทำงาน.

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงในเดือนพ.ย.51 ร้อยละ 8.06 จากการปรับตัวลดลงของเครื่องปรับอากาศและเครื่องรับโทรทัศน์ ไม่รวม LCD และ Plasma TV โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 11.85 และร้อยละ 22.30 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะการส่งออกที่ชะลอลงของประเทศคู่ค้าส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 10.73 ทั้งนี้ยังคงมีการปรับลดลงของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภท IC และเซมิคอนดักเตอร์ โดยลดลงร้อยละ 8.69 และร้อยละ 10.43 ตามลำดับ ตามภาวะชะลอลงของสินค้าสำเร็จรูปและความต้องการของตลาดส่งออกจีน

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)

ก.ย. 51 = 184.8

ต.ค. 51 = 180.2

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่

  • การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
  • การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
  • การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ย. 51 = 61.1

ต.ค. 51 = 60.8

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน
  • การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
  • การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
1.อุตสาหกรรมอาหาร

เดือนพฤศจิกายน ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารชะลอตัวจากเดือนก่อน มูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย สำ หรับการจำ หน่ายในประเทศชะลอตัวลง จากความวิตกกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย

1. การผลิต

ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนร้อยละ 3.6 และ 6.4 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ทูน่ากระป๋อง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 27.2 และ78.6 จากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ส่วนกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 2.8 และ 69.0 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบออกสู่ตลาดน้อย

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการกลั่นลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 18.4 และ 11.1 เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับลดราคาจำหน่ายลงส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตลดลงเช่นกัน เมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 37.5 และ 34.5 เนื่องจากราคาจำหน่ายได้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนตุลาคม สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 เนื่องจากผู้บริโภคชะลอ การจับจ่ายใช้สอยจากความไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนตุลาคม มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 33.3 เนื่องจากราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกสินค้า เช่น ทูน่ากระป๋อง ไก่แปรรูป สับปะรดกระป๋องและกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทำให้มูลค่าในแต่ละสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 78.0 67.4 และ 18.5 ตามลำดับ แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.4

3. แนวโน้ม

เดือนพฤศจิกายน คาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมจะชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออก คาดว่า จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงคำสั่งซื้อสินค้าเพื่อรองรับเทศกาลสำคัญปลายปี แต่จากสถานการณ์วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ส่งผลกระทบไปสู่การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก เริ่มส่งสัญญาณต่อระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลง อย่างไรก็ตามการส่งออกในผลิตภัณฑ์หลักๆ ที่อิงตลาดสหรัฐอเมริกา อาจเริ่มชะลอตัวลงจากการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดรองรับสินค้าหลักของไทย สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากประชาชนยังวิตกกังวลกับภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ จึงชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

...แม้ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ก็ยังไม่มีการปลดแรงงาน...

1. การผลิต

ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในเดือนตุลาคม ส่วนใหญ่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ (-1.2%) เครื่องนอน(-6.6%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-1.9%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-1.5%) และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ (-7.8%) ในขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถัก และผลิตจากผ้าทอ ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ(+11.5%) และ (+7.7%) ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อล่วงหน้า

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนตุลาคม ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ (- 2.8%,-17.2%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-5.8%, -5.5%) ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดหดตัวลง แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักยังมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนการส่งออก ผลิตภัณฑ์สิ่งทอหลักๆ เดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป(+1.4%) ผ้าผืน (+6.4%) ผ้าปักและผ้าลูกไม้ (+8.4%) และผ้าอื่นๆ(+12.1%) โดยเฉพาะตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปที่การส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8, 22.5 และ 4.2 9 ตามลำดับ แต่ลดลงในตลาด สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 8.8

3. แนวโน้ม

คาดว่าปริมาณการผลิตจะทรงตัวหรือขยายตัวเพียงเล็กน้อยเนื่องจากการบริโภคในประเทศชะลอตัว กำลังซื้อภาคประชาชนลดลงส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อการบริโภคลดลงสำหรับการส่งออกสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านต้นทุนของสินค้าที่ปรับลดลงเช่น ราคาน้ำมัน ตลอดจนการเปิดตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปชะลอตัว และแม้ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่ก็ยังไม่มีการปลดแรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการจะปรับตัวและลดต้นทุนการผลิตลงโดยการปรับลดชั่วโมงการทำงาน.

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กโลกลดลงด้วย ทำให้หลายประเทศที่เคยประกาศใช้มาตรการภาษีส่งออกได้ประกาศยกเลิกภาษีดังกล่าว โดยประเทศเวียดนามได้ยกเลิกภาษีส่งออกสินค้าเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ในขณะที่ประเทศจีนได้ยกเลิกภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กหลายรายการ ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นหนา ลวดเหล็ก เหล็กเจือ เหล็กรูปพรรณขนาดใหญ่และท่อเหล็กชนิดเชื่อม เป็นต้น

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนตุลาคม 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 14.66 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตชะลอตัวถึง ร้อยละ 10.41 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กเส้นกลมที่ลดลง ร้อยละ 36.30 รองลงมาคือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 28.72 และ ลวดเหล็กแรงดึงสูง ลดลง ร้อยละ 17.77 เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กทรงยาวลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากพ่อค้าคนกลางยังคงมีสต๊อกสินค้าอยู่ จึงทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อลดลงมีผลให้ผู้ผลิตต้องลดการผลิตลง

สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 18.28 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ร้อยละ 40.45 โดยเป็นผลมาจากผู้ผลิตรายหนึ่งที่หยุดการผลิตเนื่องจากยังมีสินค้าคงคลังเหลืออยู่เป็นจำนวนมากจึงต้องการระบายสินค้าที่มีอยู่ไปก่อน รวมทั้งในช่วงที่ผ่านมาคำสั่งซื้อปรับลดลงมาก ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ผู้ผลิตจึงผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อเท่านั้น รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีที่ลดลงร้อยละ 31.81 ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 36.03 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 49.88 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 78.06 และเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 57.61 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 33.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 58.80

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนยกเว้นเหล็กแผ่นรีดเย็นที่มีราคาเพิ่มขึ้น จาก 1,168 เป็น 1,173 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.50 สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นมีราคาที่ลดลง คือ เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต ลดลง จาก 433 เป็น 310 เหรียญสหรัฐต่อตันลดลง ร้อยละ 28.41 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง จาก 878 เป็น 632 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 28.06 เหล็กแท่งแบน ลดลง จาก 923 เป็น 693 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 24.88 เหล็กเส้น ลดลง จาก 537 เป็น 418 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 22.10 เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของประเทศต่างๆ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียนลดลง

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2551 คาดว่าในส่วนของการผลิตเหล็กทรงยาวจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ใช้ที่สำคัญ ส่งผลให้ผู้ผลิตต้องปรับลดการผลิตลงสำหรับสถานการณ์เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะลดลงด้วย เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการใช้ในประเทศของอุตสาหกรรมต่อเนื่องลดลง ขณะเดียวกันพ่อค้าคนกลางก็ไม่สั่งซื้อเนื่องจากผลกระทบจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ลดลงจึงทำให้พ่อค้าคนกลางชะลอการซื้อเพื่อดูทิศทางของราคา

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 124,656 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 123,845 คัน ร้อยละ 0.65 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2551 ร้อยละ 0.66
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 48,942 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 57,860 คัน ร้อยละ 15.41 โดยปริมาณการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2551 ร้อยละ 2.22
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 67,531 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 58,490 คัน ร้อยละ 15.46 ซึ่งการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศแถบตะวันออกกลาง เอเชีย มีการขยายตัวสูงและยุโรปยังคงสามารถขยายตัวได้เมื่อเปรียบเทียบประเทศอื่น แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2551 ร้อย ละ 9.64
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2551 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 51 และส่งออกร้อยละ 49

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 176,726 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 136,569 คัน ร้อยละ 29.40 เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหญ่ได้มีการผลิตรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถใช้เทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด ซึ่งคาดว่าจะได้รับความนิยมสูง เพราะคุณสมบัติด้านการประหยัดน้ำมัน และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2551 ร้อยละ 2.83
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 138,437 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 125,975 คัน ร้อยละ 9.89 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2551 ร้อยละ 6.15
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์ จำนวน 8,961 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 8,673 คัน ร้อยละ 3.32 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2551 ร้อยละ 21.22 สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทยสามารถประกอบรถจักรยานยนต์รุ่นที่เคยนำเข้าจากประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2551 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2551 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์(CBU) ในเดือนพฤศจิกายนประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 90 และส่งออกร้อยละ 10
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงชะลอตัวตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา เนื่องจากปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่มีข้อยุติ สำหรับแนวโน้มการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดใหม่ เช่น ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงเติบโตขึ้นเนื่องจากภาคการก่อสร้างยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนตุลาคม 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.23 และ 1.49 ตามลำดับแต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 10.99 และ 5.28 ตามลำดับ

ในภาพรวมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงชะลอตัว ตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มั่นคงได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการลงทุนของภาคเอกชน

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนตุลาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 3.99 ซึ่งถือว่าหดตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา และกำลังลุกลามไปทั่วโลกแต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.48 เนื่องจากมีการขยายการส่งออกเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง ประกอบกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ได้มีการปรับตัวเนื่องจากมองเห็นสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามาระยะหนึ่งแล้วจึงมีการขยายตลาดส่งออกใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ส่วนตลาดหลักในแถบอาเซียนและเอเชียใต้ยังถือว่าเติบโตได้ดี

สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ บังคลาเทศซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย รองลงมาคือเวียดนามและกัมพูชา

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2551 คาดว่าจะทรงตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มั่นคง ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนยังคงชะลอตัว และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีความชัดเจน

สำหรับการส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศในแถบอาเซียนและเอเชียใต้ยังขยายตัวได้ดีอีกทั้งความต้องการของตลาดใหม่ๆ เช่น ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงในเดือน พ.ย.51 ร้อยละ 8.06 จากการปรับตัวลดลงของเครื่องปรับอากาศและเครื่องรับโทรทัศน์ ไม่รวม LCD และ Plasma TV โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 11.85 และร้อยละ 22.30 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะการส่งออกที่ชะลอลงของประเทศคู่ค้า
  • แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 10.73 ทั้งนี้ยังคงมีการปรับลดลงของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภท IC และเซมิคอนดักเตอร์ โดยลดลงร้อยละ 8.69 และ 10.43 ตามลำดับ ตามภาวะชะลอลงของสินค้าสำเร็จรูปและความต้องการของตลาดส่งออกจีนที่ปรับตัวลดลง

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ต.ค. 2551

เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์            มูลค่า             %MoM            %YoY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                1,543.45            -3.87            -3.34
IC                              542.79           -15.54           -26.63
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                  171.53            12.95            32.74
เครื่องปรับอากาศ                   162.57           -17.50           -19.30
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์   4,179.57            -4.21            -0.84
ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.19 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 7.01เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 13.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ยกเว้นตู้เย็นคอมเพรสเซอร์ กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.44 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวลดลง ร้อยละ 6.77 เป็นผลจากการปรับตัวลดลงจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภท IC ขณะที่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราลดลงมาก เหลือเพียง 13.86% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากตลาดหลักส่งออกสหรัฐอเมริกามีคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา และคำสั่งซื้อล่วงหน้าเริ่มลดลงประมาณ 20-30% ทำให้ต้องเร่งหาตลาดใหม่ และมีการเจรจาต่อรองการซื้อขายมิให้คำสั่งซื้อลดลงมากนัก

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนตุลาคม 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 4.21 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทรงตัวปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.84 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,179.72 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าเดือนตุลาคม 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 7.61 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.17 สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เดือน ตุลาคม 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 5.85 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.13 ตลาดส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ ตลาดจีนซึ่งมีสัดส่วนการส่งออก ประมาณ 22% แต่การขยายตัวปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเหลือเพียง 2.42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกชิ้นส่วนเริ่มมีคำสั่งซื้อลดลงเนื่องจากความต้องการสินค้าสำเร็จรูปของตลาดหลักอียู และสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลง

3. แนวโน้ม

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงในเดือนพ.ย. 51 ร้อยละ 8.06 จากการปรับตัวลดลงของเครื่องปรับอากาศและเครื่องรับโทรทัศน์ ไม่รวม LCD และ Plasma TV โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 11.85 และร้อยละ 22.30 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะการส่งออกที่ชะลอลงของประเทศคู่ค้าส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงเหลือเพียง 10.73% ทั้งนี้ยังคงมีการปรับลดลงของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภท IC และเซมิคอนดักเตอร์ โดยลดลงร้อยละ 8.69 และร้อยละ 10.43 ตามลำดับ ตามภาวะชะลอลงของสินค้าสำเร็จรูปและความต้องการของตลาดส่งออกจีน

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนตุลาคม 2551 มีค่า 180.2 ลดลงจากเดือนกันยายน 2551 (184.8) ร้อยละ 2.5 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (181.8) ร้อยละ 0.9
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนกันยายน 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนตุลาคม 2551 มีค่า 60.8 ลดลงจากเดือนกันยายน 2551 (61.1) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.0)
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนกันยายน 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2551

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 336 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกันยายน 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 519 รายหรือน้อยกว่าร้อยละ -35.26 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 9,468 คน ลดลงจากเดือนกันยายน 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 13,551 คน หรือลดลงร้อยละ -30.13 แต่ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนมียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 19,518.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2551 ซึ่งมีการลงทุน 11,526.91 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.33
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 425 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -20.94 และการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนตุลาคม 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 11,131 คน ร้อยละ -14.94 แต่ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนมียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีการลงทุน 7,792.29 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 150.48
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2551 คืออุตสาหกรรม ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนจากไม้ จำนวน 26 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ขุด ตักดิน กรวด ทราย จำนวน 24 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมผลิตกระดาษอนามัย เงินทุน 12,187.88 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ซ่อมรถยนต์ ศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ เงินลงทุน 858.48 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 2,689 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ จำนวนคนงาน 1,300 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 153 ราย น้อยกว่าเดือนกันยายน 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 229 ราย คิดเป็นร้อยละ -33.19 และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,782 คน น้อยกว่าเดือนกันยายน 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 8,465 คน ในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมีจำนวน 3,597.95 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกันยายน 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 8,205.13 ล้านบาท
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 147 รายคิดเป็นร้อยละ 4.08 มีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนตุลาคม 2550 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,812 คน และมีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนตุลาคม 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,722.66 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดินจำ นวน 18 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 17 ราย
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมผลิตแผ่นซีดี เงินทุน 1,261 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์ซึ่งมิใช่ภาชนะบรรจุจากเยื่อ กระดาษหรือกระดาษแข็ง เงินทุน 725 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 1,501 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมถักผ้า ผ้าลูกไม้ เครื่องนุ่งห่มด้วยด้ายหรือเส้นใย คนงาน 620 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 176 โครงการ มากกว่าเดือนกันยายน 2551 ที่มีจำนวน 77 โครงการ ร้อยละ 128.57 และมีเงินลงทุน 63,000 ล้านบาท มากกว่าเดือนกันยายน 2551 ที่มีเงินลงทุน 3,700 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 1,602.70
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนตุลาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนตุลาคม 2550 ที่มีจำนวน 109 โครงการ ร้อยละ 61.46 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนตุลาคม 2550 ที่มีเงินลงทุน 46,500 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 35.48
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-ตุลาคม 2551
            การร่วมทุน                จำนวน(โครงการ)      มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%            303                      97,200
          2.โครงการต่างชาติ 100%           409                     118,200
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     263                     116,500
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม - ตุลาคม 2551 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 135,000 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 52,300 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ