1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญปี 2551 มีประมาณ 8,285,296 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่น รีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.32 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณา ในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.43 เนื่องจากที่ผ่านมาราคาเหล็กในตลาด โลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้ผู้ผลิตมีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้นจากความต้องการใช้จริงและเก็บไว้เป็นสต๊อก ส่งผลให้ผู้ผลิตเร่งผลิตเพิ่มมากขึ้นในช่วง ครึ่งปีแรก แต่พอช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2551 ราคาเหล็กในตลาดโลกกลับลดลง ประกอบกับความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ชะลอตัว จึง ทำให้ทั้งผู้ผลิตและพ่อค้าคนกลางมีสต๊อกสะสมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปีผู้ผลิตจึงต้องลดการผลิตลง รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบ ดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.21 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลง มากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 9.04 โดยเป็นผลมาจากเมื่อปีที่แล้ว ผู้ผลิตขยายการผลิตเพิ่มขึ้นจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ขยายตัว เช่น ประเทศในกลุ่ม BRIC (ได้แก่ประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน) ตะวันออกกลาง จึงมีผลให้ผู้ผลิตเพิ่มการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงของเหล็ก แผ่นรีดเย็นในปีนี้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 6.95 เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ ทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนในเรื่องการเมือง จึงทำให้ผู้ซื้อชะลอการสั่งซื้อ ส่งผลให้ผู้ผลิตลดการผลิตลง รายละเอียดตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญปี 2551 เทียบกับปี 2550
หน่วย : เมตริกตัน
ผลิตภัณฑ์1 ปี 25512 ปี 2550 อัตราการ
เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 5,564,930 5,565,000 -0.001 (Semi-Finished Products) เหล็กทรงยาว(Long Products) 4,614,892 3,997,860 15.43 เหล็กทรงแบน(Flat Products) 6,457,739 6,930,430 -6.82 เหล็กแผ่นรีดร้อน(Hot-rolled Flat) 3,670,404 3,944,406 -6.95 เหล็กแผ่นรีดเย็น(Cold-rolled Flat) 1,804,786 1,984,250 -9.04 เหล็กแผ่นเคลือบ (Coated Steel) 982,549 1,001,774 -1.92 - เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี 287,525 305,845 -6 (Galvanized Sheet) - เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) 252,614 223,445 8.21 - เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) 155,777 155,337 0.28 - อื่นๆ (other coated steel) 286,633 307,117 -6.67 ท่อเหล็ก (Pipes & Tubes) N/A N/A N/A รวม (1) 8,285,296 7,942,266 4.32
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ (1) : ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ และท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ
(2) : ประมาณการณ์ตัวเลขของเดือน พ.ย.- ธ.ค.
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญใน ปี 2551 ประมาณ 12,953,052 เมตริกตัน ขยายตัวขึ้น ร้อยละ 13.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.46 อย่างไรก็ตาม ความ ต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวจะรวมถึงปริมาณสต๊อกของพ่อค้าคนกลางและผู้ผลิตไว้ด้วย จึงมีผลทำให้ตัวเลขความต้องการใช้ในเหล็กทรง ยาวเพิ่มขึ้นทั้งที่สถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ใช้ที่สำคัญของเหล็กทรงยาวยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบน มีความต้องการใช้ใน ประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.38 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ยังคงดีอยู่ อย่างไรก็ตามในส่วนของผู้ผลิตเหล็กทรง แบนยังคงมีสต๊อกอยู่ด้วยแต่ไม่มากเท่ากับสต๊อกของเหล็กทรงยาว
ข้อมูลการใช้ในประเทศจะเป็นปริมาณการใช้ปรากฎ (Apparent Steel Use) ซึ่งรวมสต๊อกไว้ด้วย
การนำเข้า-การส่งออก
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน ปี 2551 มีจำนวนประมาณ 342,296 ล้านบาท และ 10,618,019 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.86 และ 21.18 ประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแท่งแบน(Slab) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 173.96 เนื่องจากผู้ ผลิตในกลุ่มเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าราคาเหล็กจะสูงมากขึ้น จึงสั่งวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 100.34 และเหล็กแท่งเล็ก(Billet) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 99.16 ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็ก กึ่งสำเร็จรูป เป็นผลมาจากการที่ราคาเหล็กเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีทำให้ผู้ผลิตไทยเกรงว่าราคาอาจปรับเพิ่มสูง จึงนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) มีมูลค่า 59,080 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่น บางรีดร้อน มีมูลค่า 45,413 ล้านบาท และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 35,535 ล้านบาท รายละเอียดตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญปี 2551 เทียบกับปี 2550
หน่วย : ปริมาณ: เมตริกตัน
มูลค่า : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2551(1) ปี 2550 อัตราการ ตลาดนำเข้า เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ
(ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 3,751,481 97,719 2,443,285 40,934 53.54 138.7 รัสเซีย (Semi-Finished Products) - เหล็กแท่งเล็ก (Billet) 1,109,212 27,773 817,677 13,945 35.65 99.16 ยูเครน รัสเซีย - เหล็กแท่งแบน (Slab) 2,196,844 59,080 1,294,888 21,565 69.66 174 รัสเซีย บราซิล - อื่นๆ (Others) 445,425 10,866 330,720 5,424 34.68 100.3 จีน ยูเครน เหล็กทรงยาว 864,818 27,572 814,374 18,132 6.19 52.06 จีน ญี่ปุ่น (Long Products ) - เหล็กเส้น (Bar) 297,218 9,394 245,540 6,041 21.05 55.49 ญี่ปุ่น จีน - เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 36,524 1,582 24,012 930 52.11 70.11 ญี่ปุ่น สิงคโปร์ รีดร้อน (HR sections ) - เหล็กลวด (Wire rods) 531,076 16,597 544,822 11,161 -2.52 48.7 จีน ญี่ปุ่น เหล็กทรงแบน 5,599,910 181,088 4,840,818 128,715 15.68 40.69 ญี่ปุ่น (Flat Products ) เหล็กแผ่นรีดร้อน 2,828,311 76,805 2,521,858 51,507 12.15 49.12 ญี่ปุ่น (Hot-Rolled Flat Products) - เหล็กแผ่นหนารีดร้อน 156,116 6,308 165,508 4,172 -5.68 51.21 ญี่ปุ่น จีน (HR plate) - เหล็กแผ่นบางรีดร้อน 1,706,926 45,413 1,596,961 30,265 6.89 50.05 ญี่ปุ่นออสเตรเลีย (HR sheet) - เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิด 965,269 25,084 759,388 17,070 27.11 46.95 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน (HR sheet P&O ) เหล็กแผ่นรีดเย็น 873,903 37,725 724,854 28,306 20.56 33.28 ญี่ปุ่น (Cold-Rolled Flat Products) - เหล็กแผ่นรีดเย็น 731,932 23,663 603,634 16,213 21.25 45.95 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (CR carbon steel) - เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม 141,971 14,062 121,220 12,092 17.12 16.29 ญี่ปุ่น จีน (CR stainless steel) เหล็กแผ่นเคลือบ 1,897,696 66,557 1,594,107 48,902 19.04 36.1 ญี่ปุ่น (Coated Steel Products) - เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 1,118,034 35,535 940,489 26,918 18.88 32.01 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (Galv. Sheet (HDG)) - เคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า 200,559 6,899 162,476 4,908 23.44 40.57 ญี่ปุ่น จีน (Galv. Sheet (EG)) - เคลือบดีบุก (Tin plate) 129,849 5,179 132,561 4,414 -2.05 17.33 เกาหลีใต้ - เคลือบโครเมียม 63,635 2,920 59,194 2,073 7.50 40.86 เกาหลีใต้ ไต้หวัน (Tin free) - อื่นๆ (Others) 385,620 16,024 299,386 10,589 28.80 51.33 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ท่อเหล็ก (Pipe) 401,810 35,917 663,880 26,337 -39.48 36.37 จีน ญี่ปุ่น - ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ 250,411 23,516 427,427 14,637 -41.41 60.67 จีน สหราชอาณาจักร (Pipe-Seamless) - ท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe- 151,399 12,401 236,453 11,701 -35.97 5.98 ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ Welded) รวม 10,618,019 342,296 8,762,358 214,119 21.18 59.86 ญี่ปุ่น รัสเซีย
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ (1) : ประมาณการณ์ตัวเลขของเดือน พ.ย.- ธ.ค.
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในปี 2551 มีจำนวนประมาณ 78,232 ล้านบาท และ 2,215,939 เมตริกตัน โดยมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.14 แต่ปริมาณการส่งออกกลับลดลง ร้อยละ 11.12 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากเมื่อปีที่แล้ว ความต้องการใช้ เหล็กของตลาดต่างประเทศ เช่น ตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง ขยายตัว ทำให้ผู้ผลิตไทยส่งออกเพิ่มมากขึ้นแต่ใน ช่วงปีนี้ ความต้องการใช้เหล็กของตลาดในประเทศกลุ่มนี้ลดลงเนื่องสถานการณ์เศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจึงมีผลทำให้การเปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกในช่วงนี้ลดลง
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10,685.76 เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 182.14 และเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 99.43 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่ สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 55.22 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วย ไฟฟ้า ลดลง ร้อยละ 47.10 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 46.52
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ มีมูลค่า 11,945ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่น หนารีดร้อน มีมูลค่า 8,966 ล้านบาท และเหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม มีมูลค่า 8,854 ล้านบาท ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 : ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญปี 2551 เทียบกับปี 2550 หน่วย : ปริมาณ: เมตริกตัน
มูลค่า : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 25511 ปี 2550 อัตราการ ตลาดส่งออก เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ
(ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 130,692 3,264 130,974 2,356 -0.22 38.56 เวียดนาม (Semi-Finished Products) - เหล็กแท่งเล็ก (Billet) 107,297 2,758 93,222 1,679 15.1 64.26 เวียดนาม - เหล็กแท่งแบน (Slab) 6,111 204 78 2 7,740.07 10,685.76 ไต้หวัน - อื่นๆ (Others) 17,284 302 37,675 675 -54.12 -55.22 กัมพูชา เหล็กทรงยาว 424,799 13,408 396,079 9,424 7.25 42.28 มาเลเซีย กัมพูชา (Long Products ) - เหล็กเส้น (Bar) 136,619 3,989 107,762 2,191 26.78 82.04 กัมพูชา ลาว - เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 242,229 8,014 263,102 6,735 -7.93 19 มาเลเซีย รีดร้อน (HR sections ) - เหล็กลวด (Wire rods) 45,951 1,405 25,215 498 82.24 182.14 เวียดนามสิงคโปร์ เหล็กทรงแบน 1,372,172 47,736 1,757,300 48,557 -21.92 -1.69 สหรัฐอเมริกา (Flat Products ) เหล็กแผ่นรีดร้อน 849,810 24,763 1,035,030 20,816 -4 129 สหรัฐอเมริกา (Hot-Rolled Flat Products) - เหล็กแผ่นหนารีดร้อน 284,581 8,966 212,519 4,496 33.91 99.43 สหรัฐอเมริกา (HR plate) - เหล็กแผ่นบางรีดร้อน 281,257 8,231 571,002 11,524 -50.74 -28.58 ซาอุดิอาระเบีย อินโดนีเซีย (HR sheet) - เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิด 283,972 7,565 251,509 4,795 12.91 57.77 เวียดนาม ผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน (HR sheet P&O ) เหล็กแผ่นรีดเย็น 310,715 14,873 482,578 20,220 -44 -54 ญี่ปุ่น (Cold-Rolled Flat Products) - เหล็กแผ่นรีดเย็น 216,173 6,019 388,522 8,969 -44.36 -32.89 ญี่ปุ่น จีน (CR carbon steel) - เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม 94,542 8,854 94,056 11,251 0.52 -21.31 อินเดีย อินโดนีเซีย (CR stainless steel) เหล็กแผ่นเคลือบ 211,647 8,101 239,691 7,522 -11.7 7.7 พม่า (Coated Steel Products) - เคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน 47,601 1,912 63,998 2,151 -25.62 -11.11 พม่า ลาว (Galv. Sheet (HDG)) - เคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า 8,823 300 21,718 568 -59.37 -47.1 มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา (Galv. Sheet (EG)) - เคลือบดีบุก (Tin plate) 1,301 56 3,245 104 -59.9 -46.52 ลาว ปากีสถาน - เคลือบโครเมียม 10,214 366 4,029 191 153.53 91.44 พม่า ลาว (Tin free) - อื่นๆ (Others) 143,707 5,467 146,701 4,508 -2.04 21.26 อินเดีย ท่อเหล็ก (Pipe) 288,276 13,823 208,956 10,692 37.96 29.29 สหรัฐอเมริกา - ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ 18,001 1,878 19,256 2,250 -6.51 -16.54 ซาอุดิอาระเบีย พม่า (Pipe-Seamless) - ท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe- Welded) 270,275 11,945 189,700 8,442 42.47 41.50 สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รวม 2,215,939 78,232 2,493,309 71,029 -11.12 10.14 สหรัฐอเมริกา
ที่มา : กรมศุลกากร
หมายเหตุ 1 : ประมาณการณ์ตัวเลขของเดือน พ.ย.- ธ.ค.
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมใน ปี 2551 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน พบว่าการผลิตโดยรวมขยายตัวขึ้น ร้อยละ 4.32 ความ ต้องการใช้ในประเทศ ขยายตัวขึ้น ร้อยละ 13.16 แต่ความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการสต๊อกสินค้าของพ่อค้าคนกลาง สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 59.86 และ 21.18 ตามลำดับ โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าเหล็กแท่งแบน (Slab) และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 173.96 และ 100.34 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.14 แต่ปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 11.12 เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่ม สหภาพยุโรปลดลง ตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
สำหรับสถานการณ์ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB) ในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 เป็นดังนี้
- ราคาเศษเหล็ก ( EU Shredded) 240 เหรียญสหรัฐ ( ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551)
- ราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต 360 เหรียญสหรัฐต่อตัน
- ราคาเหล็กเส้น 435 เหรียญสหรัฐต่อตัน
- ราคาเหล็กลวด 435 เหรียญสหรัฐต่อตัน
- ราคาเหล็กแท่งแบน 450 เหรียญสหรัฐต่อตัน
- ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อน 475 เหรียญสหรัฐต่อตัน
- ราคาเหล็กแผ่นรีดเย็น 1,168 เหรียญสหรัฐต่อตัน
ซึ่งพบว่าราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม2551 ทั้งนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของประเทศที่เคยเป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญของโลก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศในกลุ่มอาเซียนลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความต้องการในธุรกิจก่อสร้างของประเทศในกลุ่ม ตะวันออกกลาง และ ยุโรปใต้ ที่ชะลอตัว ลงด้วย
สำหรับราคาเหล็กในประเทศได้ปรับตัวลดลงด้วยโดยเป็นผลมาจากราคาเศษเหล็กในตลาดโลกที่ลดลง ประกอบกับความต้องการในธุรกิจ ก่อสร้างของประเทศที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ผู้ผลิตที่เพิ่มการผลิตและพ่อค้าคนกลางมีสต๊อกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการที่ภาวะความต้องการใช้เหล็กในประเทศ ชะลอตัวลงทำให้การแข่งขันของผู้ผลิตโดยเฉพาะผู้ผลิตในกลุ่มเหล็กเส้นมีมากขึ้น โดยผู้ผลิตในกลุ่มที่มีเตาหลอมซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าจะสามารถ ขายตัดราคาเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจากผู้ผลิตที่ไม่มีเตาหลอมได้
World Steel Association ได้รายงานว่า ผลผลิตเหล็กโลกในเดือนตุลาคม 2008 มีปริมาณ 100.5 ล้านตัน ลดลง ร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากโรงงานในกลุ่ม CIS ได้ลดการผลิตลงถึงร้อยละ 32.6 เนื่องจากความต้องการใช้ที่ลด ลงประเทศจีนได้ลดการผลิตลง ร้อยละ 17 ในขณะที่ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ อัฟริกา และเอเชีย ได้ลดการผลิตลงร้อยละ 13 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การผลิตเหล็กโลกในเดือนตุลาคมจะลดลงแต่การผลิตเหล็กโลก ในเดือนมกราคม-ตุลาคมยังคงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน
กระทรวงการคลังของประเทศเวียดนามได้ประกาศยกเลิกภาษีส่งออกสินค้าเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตจากที่เคยเก็บภาษีส่งออกในอัตรา ร้อย ละ 5 โดยประกาศนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 พ.ย. 2551 โดยสมาพันธ์เหล็กประเทศเวียดนาม (VSA) เป็นผู้ยื่นคำขอให้มีการยกเลิกภาษีส่งออกดัง กล่าวเพื่อเป็นการช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ
ในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 รัฐบาลจีนจะยกเลิกภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กหลายรายการ ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นหนา ลวด เหล็กและเหล็กเจือ จากเดิมที่เคยเก็บภาษีส่งออก ร้อยละ 5 เหล็กรูปพรรณขนาดใหญ่จากเดิมที่เคยเก็บร้อยละ 10 ท่อเหล็กชนิดเชื่อม ที่เก็บร้อยละ 15 อย่างไรก็ตาม ภาษีส่งออกสำหรับสินค้าเหล็กเส้น เหล็กลวดและเหล็กรูปพรรณขนาดเล็กจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ยังคงเก็บร้อยละ 15 เท่า เดิม ซึ่งจากการที่รัฐบาลจีนได้ประกาศยกเลิกภาษีส่งออกทำให้สถานการณ์ตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ชะลอลง โดยได้มีการ คาดการณ์จากผู้ค้าว่า ราคาส่งออกจากจีนอาจจะลดลงหลังภาษีได้ถูกยกเลิกในวันที่ 1 ธันวาคมนี้
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในปี 2552 เมื่อเทียบกับปี 2551 คาดการณ์ว่าการผลิตในกลุ่มเหล็กทรงยาว จะลดลง ประมาณ ร้อยละ 10-20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 หลายโรงงานได้หยุดการผลิตลงจึงทำให้สต๊อกที่มี อยู่ได้ลดลงไปมาก แต่จากปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในประเทศส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กทรงยาวยังคงชะลอตัวอยู่ และเมื่อ พิจารณาในเรื่องการส่งออก พบว่า จากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของหลายประเทศ เช่น ตะวันออกกลาง อาเซียน ทำให้คาดการณ์ว่าการส่งออก เหล็กทรงยาวในตลาดดังกล่าวจะลดลงด้วย สำหรับในกลุ่มเหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าการผลิตจะลดลง โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ของ อุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศที่ลดลง และเมื่อพิจารณาในด้านการส่งออก คาดการณ์ว่าการส่งออกเหล็กทรงแบนในปี 2552 มีแนวโน้มลดลง เนื่อง จากตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยปัจจุบัน ได้แก่ ตลาดในกลุ่มอาเซียน ตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น ประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้ความต้องการใช้ เหล็กประเภทนี้ลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--