รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม(นายสุวิทย์ คุณกิตติ) กำหนดให้ ปี 2551-2552 ดำเนินมาตรการ ตามนโยบาย “ปีแห่งการลงทุนไทย” (Thailand Invstment Year) เพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน อุตสาหกรรมเป้าหมาย กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเดิมปรับตัวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยซึ่งประกอบด้วย 8 แนวทาง หลัก ได้แก่ (ที่มา : www.boi.go.th)
-การพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมที่ประเทศมีศักยภาพ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมที่ Value Creation
-สร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และพลังงานทดแทน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลง ทุนจะปรับปรุงประเภทกิจการที่จะให้การส่งเสริม ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 140 ประเภท เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับตัวไปสู่การเพิ่มมูลค่า และใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น
-ส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาเทิร์น ซีบอดร์ด) และพื้นที่อื่นที่เหมาะสม รวมถึงผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นคุณภาพสูง เพื่อรองรับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
-ส่งเสริมการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรม โดยเสนอมาตรการจูงใจด้านภาษี อากร เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายในช่วงเวลาที่กำหนด
-ส่งเสริมการลงทุนของอุตสาหกรรมไทยในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะจัดตั้ง Investment Support Center ในประเทศเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์ประสานการเชื่อมโยงธุรกิจแก่นักลงทุนไทยที่ทำธุรกิจในประเทศเป้าหมาย
-ชักจูงการลงทุนเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดคณะชักจูงการลงทุนเดินทางไปพบปะกับนักลงทุนชั้นนำในประเทศเป้าหมาย เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา เป็นต้น และดำเนินการ จัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในเมืองหลักของประเทศเป้าหมายเพิ่มเติม อีก 6 แห่ง ได้แก่ โซล ไทเป ปักกิ่ง กวางโจว ซิดนีย์ และสต๊อก โฮอล์ม
-ปรับปรุงการให้บริการ และมาตรการต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน โดยเตรียมที่จะจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมการลง ทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหา เชิงนโยบาย ตลอดจนปรับปรุงการให้บริการในด้านต่างๆ ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้สะดวกรวดเร็วขึ้น
-จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุน” โดยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย การ เพิ่มประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงาน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และการฝึกอบรมบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
งานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ “The 29th Bangkok International Motor Show” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม -6 เมษายน 2551 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายในงานมีการแนะนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และมีการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจากหลากหลายยี่ห้อ ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 18,098 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มียอดจองรถยนต์ 13,500 คัน ร้อยละ 34.06 โดยภายในงานดังกล่าว มีการเปิดตลาดภายในประเทศอย่างเป็นทางการของ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ เปิดให้จองรถปิกอัพ 1 ตัน รุ่นแรกของบริษัท นอกจากนี้บริษัท ยนตรกิจ มอเตอร์เซลส์ จำกัด ยังมีการนำรถยนต์นั่งจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับสิทธิ พิเศษทางภาษีภายใต้ข้อตกลงตามกรอบการค้าเสรีอาเซียนเข้ามาจำหน่ายด้วย (ที่มา : www.manager.co.th)
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงานรายงานมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2551 ในเรื่อง แนวทางการแก้ไขผลกระทบราคาน้ำมันแพง, แนวทางการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(Natural Gas for Vehicle หรือ NGV), แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) และ แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (ราย ละเอียดเพิ่มเติมที่ www.thaigov.go.th)
วันที่ 3 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตาม มาตรฐาน พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
-ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
-ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547
-ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2350-2551 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3842 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิก และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6 ลงวันที่ 4 เมษายน 2551
วันที่ 3 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างกฎหมายดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
-ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
-ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2542
-ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2315-2551 ตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3841(พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิก และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดเฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจากเครื่อง ยนต์ ระดับที่ 4 ลงวันที่ 4 เมษายน 2551
วันที่ 3 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการมาตราการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมัน E85 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ (ที่ มา : www.thaigov.go.th) ดังนี้
-ยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับยานยนต์ E85 ที่มีลักษณะเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E85 และไม่มีผลิตในประเทศเป็น การชั่วคราว 3 ปี(นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้)
-ลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E85 ลงเหลือร้อยละ 25 30 และ 35 ตามขนาดเครื่องยนต์ เท่ากับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E20 ในปัจจุบัน
-ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน E85 เหลือ 2.5795 บาทต่อลิตร จาก 3.6850 บาทต่อลิตร ซึ่งคิดตามค่าประสิทธิภาพความร้อน หรือ ร้อยละ 70 ของอัตราภาษีสรรพสามิต น้ำมันเบนซิน 95 เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 คณะรัฐมนตรีอนุมัติและเห็นชอบ “6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
-ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 และ E85 โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บ จากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 3.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซ ฮอล์ 95 มีช่วงห่างของราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 มากขึ้น
-ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล โดยมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันดีเซลลง 2.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.005 บาท ต่อลิตร และลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel : B5) ลง 2.19 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0048 บาทต่อลิตร เพื่อบรรเทา ผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น และช่วยให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานทางเลือก (NGV)
-ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เพื่อลดแรงกดดันค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคา พลังงาน
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตาม มาตรฐาน พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไป ตามมาตรฐาน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ดำเนิน การต่อไปได้ ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... มีดังนี้
ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 (ร่างมาตรา 3)
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2350 -2551 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3842 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เฉพาะด้านความปลอดภัย :สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 6 ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 (ร่างมาตรา 4)
2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตาม มาตรฐาน พ.ศ. .... มีดังนี้
ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2552 (ร่างมาตรา 3)
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2351 -2551 ตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3841 (พ.ศ.2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2551 เรื่อง ยก เลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดภัย : สารมลพิษจาก เครื่องยนต์ระดับที่ 4 ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 (ร่างมาตรา 4)
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. .... ที่สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ดังนี้ (ที่ มา : www.thaigov.go.th)
กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2537) ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2542) ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2547) ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2547) ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 (ร่างข้อ 2)
กำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ต้องมีสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้าง รถยนต์ สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถยนต์บริการ รถ ยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์สาธารณะ รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน และรถแทรกเตอร์ และตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (ร่างข้อ 3 — ร่างข้อ 10)
กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจ ดังนี้
ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติ คุณลักษณะ สมรรถนะ ระบบการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน การติดตั้ง ประเภท ขนาด หรือจำนวนของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ (ร่างข้อ 11)
- กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการรับรอง และให้ความเห็นชอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ เพื่อให้เกิดความ
- กำหนดเกณฑ์ของมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ เพื่อควบคุมไม่ให้รถ
- กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบรถที่มีส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์แตกต่างจากที่กำหนดในกฎกระทรวง
- กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ไม่ใช้บังคับกับรถที่จดทะเบียนไว้ก่อนกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้
กำหนดให้รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้าง รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถยนต์บริการ รถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถ ยนต์สามล้อส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์สาธารณะ รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน และรถแทรกเตอร์ หากนำ ไปใช้สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ จะต้องมีสภาพส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ เว้นแต่อนุสัญญาหรือความตกลงระหว่าง ประเทศ จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ร่างข้อ 15)
กำหนดให้ประกาศและระเบียบที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2537)ฯ และกฎกระทรวงกำหนดให้กระจกฯ ต้องเป็นกระจก นิรภัย พ.ศ. 2545 ให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะมีประกาศหรือระเบียบตามกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ (ร่างข้อ 17)
สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วง10 เดือนของปี 2551 (มกราคม-ตุลาคม 2551) มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 65 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 36,620.82 ล้านบาท ก่อให้ เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 10,258 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 5 โครงการ คือ 1) โครงการผลิตยางรถโดยสาร ยางรถบรรทุก และยางรถยนต์ใช้นอกผิวถนน ของบริษัท โอตานิ เรเดียล จำกัด เงินลงทุน 2,444.52 ล้าน บาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 550 คน 2) โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศ ไทย) จำกัด เงินลงทุน 7,731 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,572 คน 3) โครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เงินลงทุน 6,642 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 2,400 คน 4) โครงการผลิตรถยนต์ ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ทาทา มอเตอร์ ประเทศอินเดีย เงินลงทุน 7,317 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,000 คน และ 5) โครงการของ บริษัท ไทย เอ็นโอเค จำกัด ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น Torsional Vibration Damper มีเงินลงทุน 2,500 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยกว่า 500 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2551
-ปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) 1,193,413 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 12.88 และในปี 2551 ประมาณว่า มีการผลิตรถยนต์ 1,428,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.93 จากปี 2550 ที่มีการผลิตรถยนต์ 1,287,346 คัน โดยเป็นการผลิตรถ ยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ประมาณร้อยละ 29, 70 และ 1 ตามลำดับ
-ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) 508,989 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 0.04 และ ในปี 2551 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถยนต์ 625,000 คัน ลดลงร้อยละ 0.99 จากปี 2550 ที่มีการจำหน่ายรถยนต์ 631,251 คัน โดยเป็นการ จำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ประมาณร้อยละ 36 ,51, 7 และ 6 ตามลำดับ
-ปริมาณการส่งออกรถยนต์ ในปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) 666,974 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 20.83 โดยมี ตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 27.74, 12.64 และ 7.44 ตามลำดับ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.00, 7.22 และ 4.84 ตามลำดับ ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีสัด ส่วนการส่งออกร้อยละ 31.72, 17.57 และ 7.33 ตามลำดับ ในปี 2551 ประมาณว่า มีการส่งออกรถยนต์ 785,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.75 จากปี 2550 ที่มีการส่งออกรถยนต์ 690,100 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนปริมาณการส่งออกต่อปริมาณการผลิตรถยนต์ คิดเป็นร้อยละ 55 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมด
-อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2551 การผลิตรถยนต์มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ทุกประเภท สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องทั้งในตลาดหลัก และตลาดใหม่ เช่น ออสเตรเลีย อาเซียน และตะวันออกกลาง ส่วนการจำหน่ายในประเทศชะลอ ตัวเล็กน้อย สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะการจำหน่ายรถปิกอัพ 1 ตัน ลดลง ซึ่งเป็นผลจากที่ผู้บริโภคเผชิญกับราคาน้ำมันดีเซลที่สูงอย่างรวดเร็วในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 ทำให้เกิดความตื่นตระหนกและชะลอการซื้อ ประกอบกับกระแสการใช้พลังงานทดแทนในรถยนต์ส่งผลให้ผู้ใช้บางส่วนตัดสินใจ เปลี่ยนเครื่องยนต์เพื่อดัดแปลงไปใช้ก๊าซ เช่น LPG หรือ NGV โดยเฉพาะ LPG ซึ่งมีสถานีจำนวนมาก เติมได้สะดวก และมีการชะลอการปรับราคาขึ้น ตามแผนเดิม นอกจากนี้พลวัตรทางด้านนโยบายที่มีการส่งเสริมหรือส่งสัญญาณการสนับสนุน E85 และก๊าซธรรมชาติมากเกินไป จนได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ ครบถ้วน เกิดความสับสน ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อโดยเฉพาะรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ของรถรถกระบะ อย่างไรก็ดี การ จำหน่ายรถยนต์นั่งในประเทศยังสามารถขยายตัวได้ เนื่องจากได้รับผลดีจากการที่ภาครัฐออกมาตรการสนับสนุนด้านภาษีเพื่อใช้พลังงานทดแทน โดยปรับ ลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง(E20) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2551 ส่งผลให้รถยนต์นั่ง(E20) เป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศ ประกอบกับรถยนต์นั่งสามารถดัดแปลงไปใช้พลังงานทด แทนได้ง่าย จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี 2551
-ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) 1,613,803 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 17.10 และในปี 2551 ประมาณว่า มีการผลิตรถจักรยานยนต์ 1,928,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.63 จากปี 2550 ที่มีการผลิตรถจักรยานยนต์ 1,653,139 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกู๊ตเตอร์) ประมาณ ร้อยละ 92 และรถ จักรยานยนต์แบบสปอร์ตประมาณ ร้อยละ 8
-ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) 1,462,043 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 7.03 และในปี 2551 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 1,745,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.14 จากปี 2550 ที่มีการจำหน่าย 1,598,876 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบแฟมิลี่สปอร์ต) รถจักรยานยนต์แบบ สกู๊ตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต (รวมแบบสปอร์ต และ แบบ off Road) ประมาณร้อยละ 54, 45 และ 1 ตามลำดับ
-ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU-Completely Built Up) ในปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) 116,622 คัน เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 37.62 และในปี 2551 ประมาณว่า มีการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 148,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.73 จากปี 2550 ที่มีการส่งออก 101,560 คัน โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์ที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ เวียดนาม ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.82, 17.85 และ 10.01 ตามลำดับ
-อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งการจำหน่ายในประเทศ และการส่งออก โดยการ จำหน่ายในประเทศมีการขยายตัว เนื่องมาจากผู้บริโภคหลักของตลาดมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลทางการเกษตร ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีความผันผวนส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปเลือกใช้รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีผู้ประกอบการรายใหญ่ได้มีการผลิต และจำหน่ายรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถใช้เทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด มีคุณสมบัติด้านการประหยัดน้ำมัน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้อง การของผู้บริโภคได้ ในด้านการส่งออกสามารถส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นรถจักรยานยนต์ ทำให้สามารถส่ง ออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปได้เพิ่มมากขึ้น แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุดสมบูรณ์ (CKD-Completely Knock Down) ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทยสามารถประกอบชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์รุ่นที่เคยนำเข้าจาก ประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2552
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในปี 2552 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งการผลิต การจำหน่ายใน ประเทศ และการส่งออก อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบรุนแรงไปทั่วโลก ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมือง ภายในประเทศที่มีความเปราะบาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในด้านการลงทุน และการบริโภค
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี พ.ศ. 2548 2549 2550 2551e การผลิต 1,125,316 1,188,044 1,287,346 1,428,000 การจำหน่าย 703,410 682,161 631,251 625,000 การส่งออก 440,715 538,966 690,100 785,000
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถจักรยานยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี พ.ศ. 2548 2549 2550 2551e การผลิต 2,358,511 2,084,001 1,653,139 1,928,000 การจำหน่าย 2,108,078 2,061,610 1,598,876 1,745,000 การส่งออก (CBU) 147,964 107,562 101,560 148,000
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี พ.ศ. 2548 2549 2550 2551e การผลิต 1,125,316 1,188,044 1,287,346 1,428,000 การจำหน่าย 703,410 682,161 631,251 625,000 การส่งออก 440,715 538,966 690,100 785,000 ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถจักรยานยนต์ หน่วย : คัน อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี พ.ศ. 2548 2549 2550 2551e การผลิต 2,358,511 2,084,001 1,653,139 1,928,000 การจำหน่าย 2,108,078 2,061,610 1,598,876 1,745,000 การส่งออก (CBU) 147,964 107,562 101,560 148,000
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--