สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2551 และแนวโน้มปี 2552(อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 9, 2009 15:19 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2551 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์ภาวะการผลิต

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม 2551 โดยปรับเพิ่ม ขึ้น ร้อยละ 21.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในส่วนของส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ HDD และ Other IC ที่มีคำสั่งซื้อในช่วง 8 เดือนแรกค่อนข้างสูง ส่วนในเดือนกันยายนแลตุลาคม 2551 เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงแต่ยังคงมีอัตราขยาย ตัว เนื่องจากคำสั่งซื้อล่วงหน้าเริ่มทะยอยส่งมอบในระยะก่อนหน้านี้ และขณะนี้อยู่ในช่วงคำสั่งซื้อที่เข้ามาใหม่และเริ่มมีการต่อรองปริมาณและราคาเพิ่ม มากขึ้น

ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รายไตรมาสปี 2551 และม.ค.—ต.ค.51

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม                                                      2551
                                               ไตรมาสที่ 1      ไตรมาสที่ 2      ไตรมาสที่ 3     ม.ค.—ต.ค.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้า                             325.75         316.26         354.07       333.24
และอิเล็กทรอนิกส์
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                   -1.95          -2.91          11.96            -
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%)
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                   26.11          26.97          19.47        21.83
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน(%)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, ธันวาคม 2551

เครื่องใช้ไฟฟ้าชะลอลงตั้งแต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม 2551 ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้าหลักมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสแรกของปี 2551 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และสินค้าบางชนิดชะลอลงจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เช่น ตลาดญี่ปุ่น โดยมีคำสั่งซื้อที่ชะลออย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สายไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม สินค้าที่มีตลาดหลักในแถบเอเชีย หรือในอาเซียนด้วยกันเองนั้นยังคงขยายตัวได้ดี เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เป็นต้น

ภาวะการตลาด

มูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.13 มีมูลค่าส่งออก 40,736.59 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตลาดญี่ปุ่นมีการชะลอลง โดยมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 2.75 ขณะที่ตลาดเอชียอื่นๆ ได้แก่ จีน และตะวันออก กลางกลับขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 31.03% และ 30.48% ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่มชิ้นส่วนและส่วนประกอบที่มีความต้องการ จากตลาดจีนมากนั้นมาจากการผลิตสินค้าไอทีสำเร็จรูปของจีนเพื่อส่งขายทั่วโลก ขณะที่ ตลาดตะวันออกกลางมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเครื่อง ปรับอากาศเป็นหลัก ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงมากและสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย

ตารางที่ 2 มูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รายไตรมาสปี 2551และม.ค. — ต.ค.51
มูลค่าส่งออก                                                          2551
                                             ไตรมาสที่ 1    ไตรมาสที่ 2    ไตรมาสที่ 3  ม.ค. — ต.ค.
มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)                     12,087.76    11,906.14    12,562.98    40,736.59
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                 -3.17         -1.5         5.52            -
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน(%(
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                  11.9         9.39         6.72         8.13
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน(%)
ที่มา กรมศุลกากร, ธันวาคม 2551

เป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับตัวในแต่ช่วงไตรมาสมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงตั้งแต่ไตรมาส 1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12% ลดลง เหลือ 9% และ 7% ในไตรมาส 3 ทั้งนี้สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของส่วนอุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด ชะลอลงแต่ยังคงขยายตัวในอัตราไม่สูงมากนักในไตรมาสที่ 3 เหลือเพียง 6% เท่านั้น

ตารางที่ 3 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จำแนกตามตลาดส่งออกสำคัญ
ช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.ปี 2551
ตลาดส่งออก                   US        EU          JP      ASEAN         CN          ME        other        total
มูลค่าส่งออก              5,905.43  6,709.48   5,009.72   6,432.21    6,141.97    1,476.56    9,061.22    40,736.59
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
อัตราการเปลี่ยนแปลง           4.22      2.21      -2.75        7.7       31.03       30.48        6.61         8.13
(%)
สัดส่วน(%)                   14.5     16.47       12.3      15.79       15.08        3.62       22.24          100

ที่มา กรมศุลกากร, ธันวาคม 2551

จากสัดส่วนมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2551 พบว่า ตลาดการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มส่งออกในตลาดที่มิใช่ตลาดเดิมมากขึ้น เช่น ตลาดตะวันออกกลาง ถึงแม้สัดส่วนยังน้อยอยู่ประมาณ 4 % เท่านั้นแต่อัตราการ เจริญเติบโตค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 31% ซึ่งตลาดหลักเดิม เช่น สหรัฐอเมริกา อียู ถึงแม้สัดส่วนมีสูงแต่อัตราการขยายตัวไม่ถึง 5%

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ภาวะการผลิต

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าชะลอตัวลงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม 2551 โดยปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการปรับตัวลดลงในช่วงตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม 2551

สินค้าที่มีการปรับตัวลดลงจากการปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและการบริโภคสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ ได้แก่ เครื่องรับ โทรทัศน์สีประเภท CRT และ พัดลม เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในช่วง 10 เดือนแรก ปี 2551 ได้แก่เครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศแบบ แยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิตค่อนข้างผันผวนทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.49% เท่านั้น

ผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงจากการปรับตัวลดลงของตลาดส่งออกได้แก่ สายไฟฟ้า ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกที่ชะลอลงในตลาดญี่ปุ่น และอา เซียน

ตารางที่ 4 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.ปี 2551
                การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์    333.24    273.53     21.8
                             การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า    131.01    134.33    -2.47
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต                283.13    265.65     6.58
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิต                 279.39    278.02     0.49
คอมเพรสเซอร์                                       163.94    147.98     10.8
พัดลมตามบ้าน                                         28.37     29.55    -3.99
ตู้เย็น                                              252.28    223.78     12.7
กระติกน้ำร้อน                                        165.24    146.72     12.62
หม้อหุงข้าว                                          113.85    103.16     10.37
สายไฟฟ้า                                           118.37    140.48    -15.74
โทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่าหรือเท่ากับ 20 นิ้ว                  18.50     30.95    -40.22
โทรทัศน์สีขนาดจอเท่ากับ 21 นิ้วหรือมากกว่า 21 นิ้วขึ้นไป       251.65    292.22    -13.89

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, ธันวาคม 2551

หมายเหตุ %YoY การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน เช่น สายไฟฟ้า อัน เนื่องมาจากตลาดส่งออกหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นชะลอลงเช่นกัน ตลาดหลักส่งออกกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้การส่งออกปรับ ตัวลดลง และการสั่งซื้อสินค้าชะลอลงซึ่งเกรงว่าผู้ซื้ออาจขาดสภาพคล่องหรือชำระเงินล่าช้าลง นอกจากนี้เริ่มมีการต่อรองราคาสินค้ามากขึ้นด้วย

สินค้าที่ปรับตัวลดลงยังคงเป็นสินค้าที่มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ได้แก่ โทรทัศน์สีเล็กกว่าหรือเท่ากับ 20 นิ้ว โทรทัศน์สีขนาดจอเท่ากับ 21 นิ้ว หรือมากกว่า 21 นิ้วขึ้นไป หรือ สินค้าที่ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีแล้วหรือน้อยมาก เช่น พัดลม ซึ่งสามารถมองโอกาสจากความต้อง การของผู้ซื้อที่มีความเชื่อมั่นในการบริโภคลดลงอาจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อซื้อสินค้าทดแทนที่มีราคาถูกกว่าก็เป็นได้ นอกจากนี้ เครื่องรับโทรทัศน์ยัง คงมีการไปเปิดตลาดใหม่ทางอินเดียและแอฟริกาได้อีกด้วย

ตารางที่ 5 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ารายไตรมาสปี 2551 และม.ค.—ต.ค.51
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม                                                   2551
                                            ไตรมาสที่ 1      ไตรมาสที่ 2      ไตรมาสที่ 3     ม.ค.—ต.ค.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้า                          143.59         135.47            122       131.01
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                   15          -5.65          -10.1            -
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน(%)
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                 7.63           -2.7          -8.78        -2.47
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน(%)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, ธันวาคม 2551

เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาโดยได้มีการปรับระบบ การทำงานเป็นแบบระบบดิจิตอล การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายหน้าที่การทำงานมากขึ้น เช่น หม้อหุงข้าวพร้อมนึ่ง และราคาโดยเฉลี่ยปรับตัวสูง ขึ้น ส่วนใหญ่จัดซื้อทดแทนสินค้าที่มีอยู่ในระบบเดิม และมีคุณลักษณะอเนกประสงค์มากขึ้น และปรับเป็นระบบดิจิตอล หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผล กระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอดการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะ สมสามารถแข่งขันได้ในตลาด

ภาวะการตลาด

มูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.98 มีมูลค่าส่งออก 15,381.58 ล้านเหรียญ สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงมากในตลาดสหรัฐอเมริกาและอียูเหลือเพียงร้อยละ 3.90 และ 2.79 ตามลำดับ ขณะที่ตลาดเอชีย ได้แก่ อา เซียน ตะวันออกกลางและจีนกลับขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากโดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 32.09% 30.21% และ18.90 ตามลำดับ ส่วนตลาดญี่ปุ่นค่อนข้าง ชะลอลง โดยมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.27

ตารางที่ 6 มูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารายไตรมาสปี 2551และม.ค.—ต.ค.51
มูลค่าส่งออก                                                           2551
                                           ไตรมาสที่ 1      ไตรมาสที่ 2      ไตรมาสที่ 3      ม.ค.—ต.ค.
มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)                    4,525.38       4,544.77       4,776.64      15,381.58
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                6.65           0.43            5.1              -
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน(%)
อัตราการเปลี่ยนแปลง                               15.24           11.2          17.22          13.98
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน(%)
ที่มา กรมศุลกากร, ธันวาคม 2551

สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก ส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวได้ดีในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 เป็นที่น่าสังเกตสินค้า เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออกเป็นอันดับต้นๆ แต่อัตราการขยายตัวกลับเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงจากปีก่อนทั้งนี้เนื่องจากเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลง ในตลาดหลัก ได้แก่ อียู สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นปรับตัวลดลงในช่วง 10 เดือนแรก 10.20% 17.06% และ 3.82% ตามลำดับ รวมสัดส่วนการส่ง ออกเครื่องปรับอากาศทั้ง 3 ตลาด มีสัดส่วน ประมาณ 43% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องปรับอากาศทั้งหมด ขณะที่ตลาดอาเซียน ตะวันออกกลางกลับ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งนอกจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของโลกที่ชะลอลงแล้วยังมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอยทำให้ส่งผลกระทบโดย รวมต่อยอดสั่งซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าไปด้วย

ตารางที่ 7 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก รายไตรมาสและช่วงเดือนม.ค. - ต.ค.51

มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)

                                                                   มูลค่าส่งออก  (ล้านเหรียญสหรัฐ)               อัตราการเปลี่ยนแปลง                     อัตราการเปลี่ยนแปลง
                                                                                                         เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%)          เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%)
                                                               Q1        Q2        Q3    ม.ค.-ต.ค.        Q1        Q2        Q3        Q1       Q2       Q3     ม.ค.-ต.ค.
เครื่องปรับอากาศ                                              956.18    867.49    624.25     2,610.50     65.93     -9.28    -28.04     16.93     3.53    -8.93         2.67
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม  426.05    485.02    478.37     1,560.97      4.05     13.84     -1.37     16.11    39.84    22.97         26.7
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ                 289.56    239.08     286.3       946.62     -0.25    -17.43     19.75     39.12     8.74    37.38         30.3
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน                                          253.98    255.09    298.92       904.59      9.43      0.44     17.18     26.58    17.99    26.02        23.17
เครื่องรับโทรทัศน์สี                                             135.93    244.66    360.34       829.55    -36.72     79.99     47.28    -17.19     23.8    93.13        33.37
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น                          218.51    204.53    206.76       711.07     34.88      -6.4      1.09     32.14    23.04    34.34        32.04
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์                                     172.56    196.54    241.88       686.86    -19.77      13.9     23.07     12.03    23.34    27.44        18.55
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W)                                192.64       175     205.8       645.18     -2.43     -9.16      17.6     19.33     9.59    21.66        16.95
สายไฟ ชุดสายไฟ                                              173.51    176.75    190.47       595.65     -4.79      1.87      7.77      5.96    15.34    -2.51         3.93
เครื่องซักผ้า                                                  161.87    163.23    175.39       560.77     19.52      0.84      7.45     19.67    21.35       36        25.77
ที่มา กรมศุลกากร, ธันวาคม 2551

ตารางที่ 8 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจำแนกตามตลาดส่งออกสำคัญช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.ปี 2551
ตลาดส่งออก               US        EU         JP      ASEAN       CN          ME       other        total
มูลค่าส่งออก         1,757.11  2,602.01   2,290.68   2,906.10    877.3    1,219.58    3,728.76    15,381.58
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
อัตราการเปลี่ยนแปลง       3.9      2.49      -1.27      32.09     18.9       30.21       21.46        13.98
(%)
สัดส่วน(%)             11.42     16.92      14.89      18.89      5.7        7.93       24.24          100
ที่มา กรมศุลกากร, ธันวาคม 2551

จากสัดส่วนมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2551 พบว่า ตลาดการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มส่งออกใน ตลาดที่มิใช่ตลาดเดิมมากขึ้น เช่น ตลาดตะวันออกกลาง อาเซียน และตลาดอื่นๆ เช่น อินเดีย ออสเตรเลีย เป็นต้น

ตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า

ตลาดสหรัฐอเมริกา

ส่วนใหญ่ไทยส่งออกจำพวกสินค้าภาพและเครื่องเสียง โดยมีสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์เป็นหลัก ถึงแม้จะชะลอตัวในช่วงไตรมาสแรก แต่กลับ กระเตื้องขึ้นในไตรมาส 2 และไตรมาส 3 สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคที่มีความระมัดระวังมากขึ้น และมีแนวโน้มใช้อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่มีราคาไม่สูงมากนัก ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเครื่องรับโทรทัศน์แบบเดิมยังมีความต้องการอยู่บ้าง โดยมูลค่าส่งออก 10 เดือนแรกของ เครื่องรับโทรทัศน์รวมในตลาดนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.73

ตลาดสหภาพยุโรป

ตลาดอียูถือเป็นตลาดหลักในการส่งออกเครื่องปรับอากาศมีสัดส่วนการส่งออกเครื่องปรับอากาศ 33% ของมูลค่าส่งออกเครื่องปรับอากาศ ทั้งหมด ซึ่งในช่วงกลางปี 2549 ชะลอลงบ้างจากมาตรการที่มิใช่ภาษี และกลับกระเตื้องขึ้นในปี 2550 พร้อมกับกระแสโลกร้อน ทำให้ยิ่งขยายตัวเพิ่ม ขึ้นสูงมาก ขณะที่ในปี 2551 สินค้าเครื่องปรับอากาศในตลาดอียูปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาส 2 และ 3 ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.69 และ 51.38 ตาม ลำดับ จากฐานของการส่งออกค่อนข้างสูงในปี 2550 ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของอียูที่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่งผลให้มูลค่าการส่งออก 10 เดือน แรก ของเครื่องปรับอากาศในตลาดนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.20

ตลาดญี่ปุ่น

ตลาดญี่ปุ่นมีมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุมและตู้เย็นมีสัดส่วนค่อนข้าง มากในการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น โดยที่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุมมีอัตราการขยายตัวในช่วง 10 เดือนแรกของตลาดนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.37 ขณะที่ตู้เย็นปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 3.08 ซึ่งภาวะอุตสาหกรรมตู้เย็นที่ส่งออกไปญี่ปุ่นก่อน หน้าได้รับผลกระทบจากการผลิตที่ส่งออกจากจีนมากขึ้น ทำให้ไทยส่งออกชะลอลงแต่ยังมีอัตราการขยายตัวอยู่บ้าง

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ภาวะการผลิต

ภาพรวมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยดูจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ในช่วง 10 เดือนแรกระหว่างเดือนมกราคม ถึงตุลาคม 2551 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.08 เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของ HDD และ Other IC เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Consumer Electronics ในช่วงที่ผ่านมา และยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุปกรณ์บางชนิด เช่น MP3/MP4, Flash Drive และอุปกรณ์นำทางเคลื่อนที่ (Portable Navigation Devices) แต่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในแถบเอเชียแปซิฟิกทดแทนหลังได้รับผลกระทบจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้ยอดการผลิตโดยรวมยังปรับเพิ่มขึ้นในอัตราลดลง

ตารางที่ 9 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์รายไตรมาสปี 2551และม.ค.—ต.ค.51
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม                                              2551
                                       ไตรมาสที่ 1      ไตรมาสที่ 2      ไตรมาสที่ 3     ม.ค. — ต.ค.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์               429.07         418.81         485.82        447.95
อัตราการเปลี่ยนแปลง                           -4.62          -2.39             16-
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน(%)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, ธันวาคม 2551

จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรายไตรมาส พบว่าในไตรมาสที่ 3 มีอัตราขยายตัวในอัตราชะลอลง เนื่องจากผลกระทบจากตลาดส่งออกที่ ปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ทั้งนี้ไม่ได้ลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากคำสั่งซื้อล่วงหน้าที่มีเข้ามาก่อนหน้านี้ โดยไตรมาสที่ 3 มีอัตราเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพียงร้อยละ 24.97 ทั้งที่ในทุกปีในไตรมาสที่ 3 จนถึงเดือนต.ค.และพ.ย.จะเป็นช่วงที่มีการผลิตค่อนข้างสูง

ตารางที่ 10 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.ปี 2551
          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม            ม.ค.-ต.ค.51    ม.ค.-ต.ค.50    %YoY
                     การผลิตอิเล็กทรอนิกส์    447.95          352.5       27.08
Semiconductor devices transistors        140.97         130.75       7.81
Monolithic integrated circuits           155.06         154.16       0.59
Other IC                                 269.31         198.61       35.6
Hard Disk Drive                          862.82         659.06       30.92
Printer                                   22.02          23.41       -5.95

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, ธันวาคม 2551

หมายเหตุ %YoY การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่วนประกอบและชิ้นส่วนส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ดี โดยอุปกรณ์ประเภท HDD และ Other IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงมากเนื่องจากภาวะความ ต้องการของตลาดโลกที่มีความต้องการสูง ขณะที่คำสั่งซื้อหลังจากช่วง 8 เดือนแรกนั้นมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากตลาดคู่ค้าของอุปกรณ์ส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นส่วนใหญ่เป็นตลาดสหรัฐอเมริกา อียู แต่ยังมีตลาดใหม่ๆที่ยังคงมีความต้องการอุปกรณ์ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และสินค้า Consumer Electronics ด้วย จะส่งผลให้ไทยมีคำสั่งซื้อจากส่วนประกอบและอุปกรณ์จากตลาดเหล่านี้ทดแทนตลาดเดิมได้ ถึงแม้ปริมาณและราคาอาจ ไม่สูงมากนักก็ตาม

ภาวะการตลาด

มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2551 มีมูลค่า 25,355.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.87 โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นในแต่ละไตรมาสกลับเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาเฉลี่ยลดลงจากเดิม และปริมาณการสั่งซื้อปรับตัวลดลงด้วยเช่นกันโดยเฉพาะตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และจีน เป็นต้น

ตารางที่ 11 มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รายไตรมาสปี 2551และม.ค.—ต.ค.51
มูลค่าส่งออก                                                               2551
                                                ไตรมาสที่ 1      ไตรมาสที่ 2      ไตรมาสที่ 3    ม.ค.—ต.ค.51
มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)                         7,562.38       7,361.37       7,786.34      25,355.01
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                    -8.23          -2.66           5.77              -
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (%)
อัตราการเปลี่ยนแปลง                                     9.99           8.31           1.16           4.87
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%)
ที่มา กรมศุลกากร, ธันวาคม 2551

สินค้าที่ส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งของอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น HDD มีมูลค่าส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น ในช่วง 10 เดือนแรก 15.91% หากดูเป็นรายไตรมาสพบว่า มีการขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยเฉพาะในไตรมาส 3 มีการขยายตัวชะลอลงมาก เหลือเพียง 6.28%เท่านั้น

ตารางที่ 12 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก รายไตรมาสและช่วงเดือนม.ค. - ต.ค.51
                                                             มูลค่าส่งออก  (ล้านเหรียญสหรัฐ)                  อัตราการเปลี่ยนแปลง                     อัตราการเปลี่ยนแปลง
                                                                                                       เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน                 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
                                                                                                              (%)                                     (%)
                                                       Q1          Q2          Q3    ม.ค.-ต.ค.        Q1       Q2       Q3
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์                     4,515.13    4,313.35    4,626.24    14,998.17      -4.7    -4.47     7.25     29.38     23.25      6.28        15.91
วงจรรวมและไมโคร -แอสแซมบลี (Integrated Circuit)   1,794.81    1,770.27    1,837.43     5,945.30    -13.52    -1.37     3.79    -15.29    -19.03    -14.42       -17.33
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์         267       268.7      225.98       851.52      -0.6
0.64    -15.9     -5.36      8.54     -3.32         0.78
วงจรพิมพ์                                            249.12      237.94      262.37       838.34    -32.33    -4.49    10.27     10.74     -8.44    -17.09        -9.86
(Printed Circuit)
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ                     226.17       255.8      260.27       818.94     -7.65     13.1     1.75    -13.36      1.48     19.56         0.23
ที่มา กรมศุลกากร, ธันวาคม 2551

ตารางที่ 13  มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จำแนกตามตลาดส่งออกในช่วงเดือนม.ค.-ต.ค.ปี 2551
ตลาดส่งออก                   US          EU          JP        ASEAN         CN         ME       other        total
มูลค่าส่งออก              4,148.32    4,107.47    2,719.04    3,526.11    5,264.63    256.98    5,332.46    25,355.01
(ล้านเหรียญสหรัฐ)
อัตราการขยายตัว (%)          4.36        2.03       -3.96       -6.53       33.29      31.79      -1.79        4.87
สัดส่วน(%)                  16.36        16.2       10.72       13.91       20.76       1.01      21.03         100
ที่มา กรมศุลกากร, ธันวาคม 2551

ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยมีมูลค่าส่งออกสูงมากที่สุดและมีสัดส่วนการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดถึง 21% ได้แก่ ตลาดจีน รองลงมา คือ ตลาดสหรัฐอเมริกาที่

ไทยเคยมีมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 4.36% มี สัดส่วนมูลค่าการส่งออกของตลาด นี้ร้อยละ 16 เท่านั้น

ตลาดส่งออกอิเล็กทรอนิกส์

ตลาดจีน

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังประเทศจีน ได้แก่ ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออกในช่วงมกราคมถึงตุลาคมของปีนี้ มี มูลค่า 4,146.91 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนส่งออกมากที่สุด 28% ของมูลค่าส่งออกส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทั้งนี้ จีนเป็น ฐานการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าสำเร็จรูปไปยังภูมิภาคต่างๆ ประกอบกับไทยเป็นฐานการผลิตส่วนประกอบเพื่อส่งออกเช่นกัน ทำให้ภาวะการส่งออกส่วน ประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ของไทยนั้นขึ้นกับตลาดส่งออกจีนที่ได้รับคำสั่งซื้อจากความต้องการของสินค้าสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลก

ตลาดสหรัฐอเมริกา

ตลาดสหรัฐอเมริกา เคยเป็นตลาดหลักของส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์เช่นกัน ปัจจุบันเป็นตลาดส่งออกอันดับสองของส่วน ประกอบนี้มีสัดส่วนประมาณ 19% เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการ Logistics และ Supply Chain ที่มีคำสั่งซื้อทางภูมิภาคเอเชียมากขึ้น การผลิตและขายในภูมภาคเดียวกันจึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ส่วนหนึ่ง ประกอบกับช่วงปี 2551 เศรษฐกิจคู่ค้าเดิมนั้นมีแนวโน้มชะลอ ลงบ้าง ทำให้ตลาดดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนักเพียง 7.42%

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ