สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2551 และแนวโน้มปี 2552(อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 12, 2009 14:04 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาพรวมผลิตภัณฑ์พลาสติก

ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ เป็นต้น อุตสาหกรรมพลาสติกมีจำนวนโรง งานทั่วประเทศประมาณ 3,400 โรงงาน (จากการสำรวจล่าสุดเมื่อปี 2551) ทั้งนี้โรงงานส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และมีเพียงร้อยละ 10 ที่เป็นโรง งานขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมที่ใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบในการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น โครงสร้างต้นทุนในการผลิตอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประกอบด้วยวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก) ร้อยละ 70 แรงงานร้อยละ 10 — 15 พลังงานร้อยละ 8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 7-12

การผลิต

ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกของไทย

หน่วย:พันตัน

   เม็ดพลาสติก        2546     2547     2548     2549     2550     2551*    2551/2550

(ร้อยละ)

PE                 1,058    1,056    1,072    1,105    1,120    1,113        -0.62
PP                   801      844      842      865      963      957        -0.62
PVC                  415      465      495      472      467      461        -1.28
PS/EPS               265      268      248      227      241      197       -18.25
ABS/SAN              106       99      101      113       90      132        46.66
Total              2,646    2,732    2,758    2,782    2,882    2,861        -0.72

ที่มา: สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ * ปี 2251 เป็นตัวเลขประมาณการณ์

          PE = Polyethylene       PP = Polypropylene           PVC = Poly Vinyl Chloride

PS/EPS = Polystyrene ABS/SAN = Acrylonitrile Butadiene Styrene

PE มีอัตราการเติบโตของปี 2551 ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ PE ในการผลิตจะเป็นสินค้าประเภท บรรจุภัณฑ์ ถุงพลาสติก ถุงบรรจุอาหารแช่แข็ง ฟิลม์เพื่อการเกษตร จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ หากมองในช่วง 9 เดือนแรกจะ เห็นว่าการส่งออกสินค้าต่าง ๆ ของไทยยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดี แต่ในช่วง 3 เดือนหลัง จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินทั่วโลก ความมั่น ใจของผู้บริโภคลดลง คาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการสินค้าที่ใช้ PE ในการผลิตปรับตัวลดลง

PP อัตราการเติบโตของปี 2551 ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน คุณลักษณะของ PP สามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกได้หลาก หลายประเภท ผลิตเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ ขวดแชมพู ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ความต้องการ PP สูงเมื่อเทียบกับปีที่ ผ่านมา เนื่องจาก ในช่วงโอลิมปิกที่ประเทศจีน โรงงานปิโตรเคมี และเม็ดพลาสติก ได้มีการหยุดผลิต เพราะความกังวลด้านปัญหาทางมลพิษ จึงเป็น โอกาสดีของไทย จึงมีการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกส่งไปยังจีนมากขึ้น อีกทั้งจีนยังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้มีความต้องการสินค้าอุปโภค บริโภคเพิ่ม ขึ้น แต่ในช่วง 3 เดือนหลัง ได้มีปัญหาวิกฤตการณ์การเงินของอเมริกา อีกทั้งยังมีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ จึงคาดว่าจะส่งผลให้ ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง และจะทำให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในการซื้อสินค้า

PVC อัตราการเติบโตของปี 2551 ลดลงประมาณร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้PVC ส่วนใหญ่จะถูกนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่อยู่ใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปีนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงอย่างมาก เนื่องจากการที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้น มีผลต่อค่าครองชีพ เกิดสภาวะเงิน ฝืด การปล่อยสินเชื่อของธนาคารในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ก็เข้มงวดมากขึ้น จึงส่งผลให้อัตราการใช้ PVC ลดลง

PS อัตราการเติบโตของปี 2551 ลดลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากมีผู้ผลิตในประเทศได้ปิดโรงงานไป 1 ราย เนื่อง จากประสบปัญหาด้านการเงิน ประกอบกับ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ PSในการผลิต อาทิเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ นั้น มียอดการสั่งซื้อลดลงตามสภาพเศรฐกิจที่ ชะลอตัว อีกทั้งคุณสมบัติของ PS สามารถถูกทดแทนด้วยเม็ดพลาสติกอื่นได้ง่าย เช่น PP ซึ่งมีราคาถูกกว่า ดังนั้นการใช้เม็ด PS จึงลดลงมาก

ABS/SAN อัตราการเติบโตของปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากในช่วง 9 เดือนแรก มีการผลิตสินค้า ประเภทคอมพิวเตอร์มากขึ้น มียอดสั่งซื้อตั้งแต่ต้นปีที่คงค้างมา จึงเป็นส่วนที่ช่วยให้ภาพรวมความต้องการของทั้งปียังคงดีอยู่ แต่อย่างไรก็ตามในไตรมาส ที่ 4 มีแนวโน้วความต้องการลดลงอย่างมาก ด้วยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีตัวเลขการเลิกจ้างงานสูงขึ้น

การตลาด

การส่งออก

ปี 2551 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 2,518.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์ และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก โดยมีมูลค่าส่งออกประมาณ 747 600 และ121 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 8.21 และ 6.59 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ

การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2551 เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจาก ประเทศจีนจัดงานโอลิมปิคและเกิดแผ่นดินไหวขึ้นใน เดือนพฤษภาคม ทำให้ประเทศจีนจำเป็นต้องผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก ทำให้จีนมีการส่งออกน้อยลง ส่ง ผลให้ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย สามารถส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ก็ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก เพิ่มสูงขึ้น

ประเภทผลิตภัณฑ์                                            มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)                      2551เทียบกับ 2550
                                    2546        2547        2548        2549        2550        2551*       (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก                    385       372.9       518.8       530.4         554       599.5         8.21
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ                  354.2       466.1       536.7       558.7         714       747.7         4.71
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ          34.1        25.8        22.6        17.9        21.3        21.1        -0.93
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก                  21.1        26.3        30.9          30        51.9        74.1        42.77
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก           33.4        21.8        22.6        20.2        21.6        18.9        -12.5
หลอดและท่อพลาสติก                     26.7        32.7        41.5          46        51.3        63.9        24.56
พลาสติกปูพื้นและผนัง                     39.1        40.1        50.6        59.1        77.7        77.8         0.12
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก             63.2        68.9          84        98.9       113.7       121.2         6.59
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ                    344.4       493.2       551.1       624.2       781.5       794.1         1.61
รวมทั้งสิ้น                         1,301.20    1,547.80    1,858.80    1,985.40    2,387.00    2,518.30          5.5

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

  • ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

การนำเข้า

ปี 2551 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมประมาณ 2,523.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.13 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีการนำเข้าหลอดและท่อพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 105 883 และ

1529 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ  โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.03    3.38   และ 7.81 เมื่อเทียบกับปีก่อน  ตามลำดับ    แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น
จีน มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา

การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2551 เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ ราคาเม็ดพลาสติก และ ราคาผลิตภัณฑ์พลาสติก เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มสูงขึ้นมาก

          ประเภทผลิตภัณฑ์                           มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)                       2551เทียบกับ2550
                              2546        2547        2548        2549        2550       2551*       (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก               66.8        80.5        79.7        88.2        99.4       105.4        6.03
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก        586       668.9       742.4       767.5       859.2       888.3        3.38
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ           1,006.40    1,174.00    1,224.00    1,366.90    1,418.70    1,529.60        7.81
รวมทั้งสิ้น                   1,659.20    1,923.40    2,046.10    2,222.60    2,377.40      2523.3        6.13

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

  • ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิต การนำเข้า และการส่งออก ในปี 2551 ยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่แนวโน้มในปี 2552 การผลิต การนำเข้า และการส่งออกน่าจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัวลงอย่างมาก เนื่องจากภาวะวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐ อเมริกาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ยอดการส่งออกลดลง ประกอบกับ สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอน และนโยบายการผลักดันโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐยังไม่ชัดเจน ส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ หาก สถานการณ์ดังกล่าวยังคงยืดเยื้อออกไป คาดว่าผู้ประกอบการอาจต้องปรับตัวโดยการเลิกจ้างงาน หรือหยุดการผลิต ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของ ประเทศชะลอตัวลงอย่างมากในไตรมาสหน้าและปี 2552

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ