สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2551 และแนวโน้มปี 2552(อุตสาหกรรมปิโตรเคมี)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 12, 2009 14:05 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปี 2551

สถานการณ์ปี 2551 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงที่มีความผันผวนอย่างมาก ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ราคาอยู่ในทิศทางขาขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก มีสาเหตุหลักจากปัจจัยด้านอุปทาน และปัจจัยด้าน การเมือง ได้แก่ สภาพอากาศแปรปรวนในแหล่งผลิต การเกิดเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันในสก็อตแลนด์ การก่อการร้ายท่อส่งน้ำมันในไนจีเรีย และความ ไม่สงบทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง รวมถึงค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ราคาน้ำมัน ดิบปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัวลง ทำให้ราคาปิโต รเคมีปรับมาอยู่ในทิศทางขาลง

การตลาดภายในประเทศ

จากตัวเลขมูลค่าการนำเข้า — ส่งออก ในรอบ 10 เดือน ของปี 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการนำเข้าปิโต รเคมีขั้นต้น ขั้นกลางและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้น ทางด้านมูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลายเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกปิโตรเคมีขั้นกลางลดลง สาเหตุโดยรวมเกิดจากปัจจัยด้านอุปสงค์ เนื่องจากตลาดเกิดการตึงตัวผู้ใช้เกิดการชะลอการสั่งซื้อเพราะคาดการณ์ว่าราคาอาจลดลงได้อีก ตามราคา น้ำมันดิบปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังมีสต็อกเพียงพอ รวมถึงมีอุปทานสินค้าจากตะวันออกกลางทะลักเข้าสู่ตลาดเอเชียเพิ่มขึ้น

เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2551 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 25,303.34 34,402.94 และ 100,342.69 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงร้อยละ 2.29 ส่วนมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.48 และ 35.01 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน ทางด้านมูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายในปี 2551 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 22,084.73 47,461.40 และ 183,387.69 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออก ปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้น ปลายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.03 และ 9.46 ตามลำดับ ส่วนปิโตรเคมีขั้นกลางลดลงร้อยละ 13.06 เมื่อเทียบกับปีก่อน

    ไตรมาส/ปี              ปิโตรเคมีขั้นต้น               ปิโตรเคมีขั้นกลาง              ปิโตรเคมีขั้นปลาย
                            (ล้านบาท)                   (ล้านบาท)                   (ล้านบาท)
                        นำเข้า        ส่งออก        นำเข้า        ส่งออก         นำเข้า         ส่งออก
Q1 / 2550            6,006.82     3,993.55     8,225.73    12,565.38     17,879.95     36,675.75
Q2 / 2550            6,407.74     4,317.68     7,188.23    13,448.54     18,580.15     40,445.01
Q3 / 2550            6,170.11     4,539.69     7,351.40    15,188.93     18,533.77     43,452.14
Jan-Oct 2550        20,742.20    14,724.41    24,950.47    45,390.29     62,023.84    138,539.67
2550                25,896.13    18,870.75    29,790.44    54,592.78     74,319.77    167,531.50
Q1 / 2551            5,586.69     3,044.03     9,464.87    10,969.31     21,139.05     42,314.00
Q2 / 2551            7,361.04     5,134.80     7,463.71    12,977.82     22,689.32     46,749.64
Q3 / 2551            6,658.85     7,681.10     9,449.18    11,877.79     27,833.77     49,722.23
Jan-Oct 2551        21,060.49    18,403.94    28,669.11    39,551.17     79,369.87    152,929.66
2551*               25,303.34    22,084.73    34,402.94    47,461.40    100,342.69    183,387.99
2551*/2550              -2.29        17.03        15.48       -13.06         35.01          9.46
(%)

ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร

หมายเหตุ * ตัวเลขประมาณการ

แนวโน้มปี 2552

จากสถานการณ์สภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่อยู่ในภาวะถดถอยที่ส่งผลกระทบต่อการปรับลดลงของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบของ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทำให้ราคาปิโตรเคมีปรับลดลง และมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงได้อีก คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะอยู่ในช่วงที่ซบเซา อันจะพบ ได้จากบริษัทรายย่อยได้ปิดกิจการลงเพราะประสบปัญหาการขาดทุน และความต้องการสินค้าของตลาดมีน้อย คาดว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2552 จะมีการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันด้านการตลาดที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศอาจเกิดการชะลอตัวลง นอกจากนี้ ผู้ผลิตจะต้องเผชิญกับปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยลง ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความ สามารถในการแข่งขัน จึงควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาดโดยการมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์ Specialty มากขึ้น และควบคุมต้นทุน ตลอดจนควร มองหาตลาดใหม่ๆ เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ