สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2551 และแนวโน้มปี 2552(อุตสาหกรรมเซรามิก)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 12, 2009 14:40 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในปี 2551 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แม้ว่า จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศ แต่ยังสามารถขยายตลาดส่งออกได้ จึงมีการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2551 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 142.33 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 8.59 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ในอัตรา ร้อยละ 4.79 และ 4.81 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)

2. การตลาด

2.1 ตลาดในประเทศ

การจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างมีการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศด้วยกันเองและสินค้านำเข้าโดยเฉพาะ จากประเทศจีน ทำให้ผู้ประกอบการต่างเร่งสร้างกิจกรรมกระตุ้นการตลาดด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ หลากหลายรูปแบบ ภาย ใต้ช่องทางการจำหน่ายที่ทันสมัย รวดเร็ว ครบวงจร ตลอดจนจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากที่สุด แม้ว่าการจำหน่าย เซรามิกจะได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และภาระต้นทุนที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น แต่สามารถขยายตัวได้ดีจากตลาดซ่อมแซมบ้าน เก่า โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคที่ในช่วงต้นปีสินค้าเกษตรมีราคาดี ส่งผลให้ประชาชนใช้จ่ายเงินส่วนหนึ่งในการซ่อมแซมต่อเติมบ้าน ทำให้การจำหน่าย เซรามิกเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยในปี 2551 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 151.70 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.52 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ในอัตรา ร้อยละ 2.99 และ 1.00 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)

2.2 การส่งออก

การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร จีน เยอรมนี และประเทศใน กลุ่มอาเซียน โดยในปี 2551 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่ารวม 1,003.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ในอัตรา ร้อยละ 11.61 (ดังตารางที่ 2) โดยการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา เครื่องสุขภัณฑ์ และลูกถ้วยไฟฟ้า เพิ่มขึ้นในตลาดอา เซียน และสหภาพยุโรป ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่น ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ลดลงในตลาดญี่ปุ่น และ สหรัฐ อเมริกา และของชำร่วยเครื่องประดับ ลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

2.3 การนำเข้า

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2551 มีมูลค่ารวม 272.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ในอัตรา ร้อยละ 42.99 (ดัง ตารางที่ 3) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้า จากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเยอรมนี ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์ เซรามิกสำหรับใช้ตามห้อง ปฏิบัติการจะนำเข้าจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นหลัก สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นจะนำเข้าอิฐทนไฟจาก ประเทศจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น นำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม

3. สรุปและแนวโน้ม

การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ซบเซาลง แต่การผลิตเซรามิกยังสามารถขยายตัวได้ดีในตลาดส่งออก และการจำหน่ายเซรามิกในประเทศสามารถขยายตัว ได้ดีจากตลาดซ่อมแซมบ้านเก่า โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาค ทำให้การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในปี 2551 เติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน สำหรับการผลิตและ จำหน่ายเซรามิก ในปี 2552 มีแนวโน้มลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคระมัด ระวังการใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ การจำหน่ายเซรามิกยังมีการแข่งขันอย่างรุนแรง ทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศ และสินค้านำเข้าจากจีน โดยผู้ผลิต หันมาเน้นตลาดในประเทศมากขึ้น หลังจากตลาดหลักในการส่งออกหดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2551 มี มูลค่าเพิ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ สามารถขยายตลาดได้ดีในกลุ่มประเทศอา เซียน ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับกลับมีมูลค่าลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ สำหรับการส่งออก ผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2552 มีแนวโน้มลดลงในตลาดหลัก ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และลุกลามไปยัง สหภาพยุโรป ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกของไทย นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และ ของชำร่วยเครื่องประดับ ซึ่งมีผู้ผลิตส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดลำปาง ยังได้รับผลกระทบจากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่ให้ปรับราคาก๊าซ แอลพีจี ซึ่งเป็นพลังงานในการผลิตเซรามิก ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง จากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ตารางที่ 1 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
                ผลิตภัณฑ์                         ปี 2548          ปี 2549          ปี 2550        ปี 2551 *

การผลิต

กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร)               151,623,481      143,820,741    135,828,958    142,332,582
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                                             -5.15          -5.56           4.79
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น)                             9,141,304        8,278,734      8,197,938      8,592,122
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                                             -9.44          -0.98           4.81

การจำหน่าย

กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร)               163,090,167    1,577,163,701    147,305,300    151,704,215
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                                             -3.63          -6.27           2.99
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น)                             5,004,318        4,712,974      4,480,043      4,524,731
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                                             -5.82          -4.94              1

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 9 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน

2. ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก

มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ

            ผลิตภัณฑ์                  ปี 2548     ปี 2549     ปี 2550     ปี 2551 *
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง                     104.94     102.12     108.64       131.74
    อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                        -2.69       6.38        21.26
เครื่องสุขภัณฑ์                          110.43     121.19     142.31       143.64
    อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                         9.74      17.43         0.93
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร                  180.64     171.97     188.38       174.05
    อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                         -4.8       9.54        -7.61
ของชำร่วยเครื่องประดับ                   32.63      28.38      34.52        32.26
    อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                       -13.02      21.63        -6.55
ลูกถ้วยไฟฟ้า                            17.25      23.27      23.47        28.73
    อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                         34.9       0.86        22.41
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ                    185.35     222.75     402.06       493.34
    อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                        20.18       80.5         22.7
รวมส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก                631.24     669.68     899.38     1,003.76
    อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                         6.09       34.3        11.61

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก

มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ

                      ผลิตภัณฑ์                            ปี 2548      ปี 2549     ปี 2550     ปี 2551 *
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ                      61.17       57.6      66.29       102.64
   อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                                             -5.84      15.09        54.83
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น                                           98.68     107.49      124.2       169.75
    อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                                             8.93      15.55        36.67
รวมนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก                                    159.85     165.09     190.49       272.39
     อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)                                            3.28      15.39        42.99

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

หมายเหตุ : 1. ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

2. โครงสร้างสินค้านำเข้า แบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็น 1) ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และ

2) ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ได้แก่ อิฐทนไฟ อิฐก่อสร้าง กระเบื้องมุงหลังคา หลอดท่อเซรามิก และกระเบื้อง

ปูพื้น บุผนัง

3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ

เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง

ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม-- -พห-


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ