1. การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ปี 2551 คาดว่าจะมีการผลิตปูนเม็ด 39.26 ล้านตัน ส่วนการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีปริมาณ 35.29 ล้าน ตัน เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 3.63 และ 4.85 ตามลำดับ เนื่องจากราคาของถ่านหินซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ปรับตัว เพิ่มขึ้น
ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง ซึ่งสาเหตุที่สำคัญ คือ ธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ซบเซา เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน อีกทั้งการดำเนินโครงการลง ทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐก็ล่าช้าไปด้วย
1.2 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปี 2551 คาดว่าจะมีปริมาณการจำหน่ายรวม 27.26 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.16 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 27.10 ล้านตัน
โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณการจำหน่ายในประเทศรวม ลดลงร้อยละ 3.57
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงนี้ เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา รวมถึงการลงทุนในโครงการ ขนาดใหญ่ของภาครัฐยังมีความล่าช้า ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน อีกทั้งปัญหาค่าครองชีพที่สูงจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงใน ช่วงครึ่งปีแรกทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงอีกด้วย
2 การส่งออกและการนำเข้า
2.1 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ปี 2551 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 16.34 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 27,365.16 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณ การส่งออกรวมลดลง ร้อยละ 12.34 แต่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.90 โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 11.47 ล้านตัน คิด เป็นมูลค่า 19,439.90 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณการส่งออกปูนเม็ดลดลง ร้อยละ 18.01 แต่มูลค่าการส่งออกปูนเม็ดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.04 สำหรับปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 4.87 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 7,925.26 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออก ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.73 และ 17.82 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกที่ลดลงนี้เนื่องจากผลของวิกฤตการเงินของสหรัฐ อเมริกาที่กำลังลุกลามและส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ส่วนมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเกิดจากผู้ประกอบการสามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาสูง ขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ได้มีการปรับตัวเนื่องจากมองเห็นสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ช่วงที่เกิด ปัญหาวิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพในอสังหาริมทรัพย์ (Sub — prime Loans) มาระยะหนึ่งแล้ว จึงมีการขยายตลาดส่งออกใหม่ๆ ไปยังประเทศแถบตะวัน ออกกลาง และแอฟริกา เนื่องจากประเทศต่างๆ เหล่านี้
มีกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ บังคลาเทศ ซึ่งเป็น ตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย รองลงมาคือเวียดนาม กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนสหรัฐอเมริกาที่เดิมเป็นประเทศคู่ค้าหลักที่มีสัดส่วนการ ส่งออกปูนซีเมนต์จากไทย
ในปี 2548 ถึงร้อยละ 27.60 แต่ในปี 2551สัดส่วนการส่งออกปูนซีเมนต์จากไทยลดลงเหลือ เพียงร้อยละ 0.47 เท่านั้น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ ปี 2551 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 9,530.49 ตัน คิดเป็นมูลค่า 150.01 ล้านบาท แบ่งเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 117.46 ตัน คิดเป็นมูลค่า 5.94 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 9,413.03 ตัน คิดเป็นมูลค่า 144.07 ล้านบาท โดยเมื่อ เทียบกับปีก่อนปริมาณ
และมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 58.01 และ 54.38 ตามลำดับ การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิต ได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ปี 2551 ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เนื่องจากราคาของถ่านหินซึ่งเป็น แหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น
ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง โดยเป็นผลมาจากธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริม ทรัพย์ซบเซา ซึ่งสาเหตุที่สำคัญคือความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลกระทบให้ และผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน อีกทั้งการดำเนิน โครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของภาครัฐก็ล่าช้าไปด้วย
สำหรับหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในปี 2552 ขึ้นอยู่กับการขยายตัวของธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน ประเทศ ซึ่งคาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 จะยังชะลอตัวอยู่ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่มีความแน่นอน ส่งผลกระทบถึงความเชื่อมั่น ของผู้บริโภคและผู้ลงทุน และความคืบหน้าในการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล อย่างไรก็ตามถ้าสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง ภาคอสังหาริมทรัพย์อาจมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ในขณะที่โครงการของภาครัฐน่าจะมีความชัดเจนขึ้นบ้าง
สำหรับตลาดต่างประเทศ ใน ปี 2551 ปริมาณการส่งออกปูนซีเมนต์ลดลง เนื่องจากผลของวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมริกาที่กำลังลุกลาม และส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันที่ปริมาณการส่งออกปูนซีเมนต์ลดลงแต่มูลค่าการส่งออกปูนซีได้เพิ่มสูง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ ประกอบการสามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ก็ได้มีการปรับตัว เนื่องจากมองเห็นสัญญาณ ชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพในอสังหาริมทรัพย์ (Sub — prime Loans) มาระยะหนึ่งแล้ว จึงมี การวางแผนขยายการส่งออกไปยังตลาดส่งออกใหม่ๆ เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา เนื่องจากประเทศต่างๆเหล่านี้มีกิจกรรมการก่อ สร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การส่งออกปูนซีเมนต์ใน ปี 2552 มีแนวโน้มทรงตัว แม้ว่าตลาดส่งออกหลักของไทยจะไม่ใช่สหรัฐอเมริกา และยุโรป แต่วิกฤตการณ์ทาง การเงินก็เริ่มลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ในแถบภูมิภาคเอเชียซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกปูนซีเมนต์ แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการได้ขยายตลาดไป ยังเอเชียใต้ แอฟริกา และตะวันออกกลางมากขึ้น
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปูนเม็ด 38.77 40.94 40.74 39.26 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 5.6 -0.49 -3.63 ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 40.22 42.17 37.09 35.29 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 4.85 -12.05 -4.85
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปูนเม็ด 0.2 0.24 0.13 0.16 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 20 -45.83 23.08 ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 31.15 31.63 28.14 27.1 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1.54 -11.03 -3.7 รวม 31.35 31.87 28.27 27.26 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1.66 -11.3 -3.57 ผลิตภัณฑ์ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปูนเม็ด 0.2 0.24 0.13 0.16 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 20 -45.83 23.08 ซีเมนต์ไม่รวมปูนเม็ด 31.15 31.63 28.14 27.1 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1.54 -11.03 -3.7 รวม 31.35 31.87 28.27 27.26 อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 1.66 -11.3 -3.57
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ
หน่วย : ล้านตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปูนเม็ด 8.27 7.86 13.99 11.47 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.96 77.99 -18.01 ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 6.27 7.12 4.65 4.87 % D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 13.56 -34.69 4.73 รวม 14.54 14.98 18.64 16.34 % D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3.03 24.43 -12.34
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปูนเม็ด 9,369.22 8,951.86 14,502.67 19,439.90 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -4.45 62.01 34.04 ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 9,120.92 10,742.58 6,726.83 7,925.26 % D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 17.78 -37.38 17.82 รวม 18,490.14 19,694.44 21,229.50 27,365.16 % D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 6.51 7.79 28.9
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปูนเม็ด 8.7 22.54 172.1 117.46 % D เทียบกับไตรมาสก่อน 159.08 663.53 -31.75 ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 8,141.85 5,517.33 5,859.36 9,413.03 % D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -32.23 6.2 60.65 รวม 8,150.55 5,539.87 6,031.46 9,530.49 % D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน -32.03 8.87 58.01
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ
หน่วย : ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปูนเม็ด 0.19 0.48 4.64 5.94 % D เทียบกับไตรมาสก่อน 152.63 866.67 28.02 ซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) 79.59 82.62 92.53 144.07 % D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3.81 11.99 55.7 รวม 79.78 83.1 97.17 150.01 % D เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 4.16 16.93 54.38
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--