สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2551 และแนวโน้มปี 2552(อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 12, 2009 15:23 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ปี 2551 คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตรวม 10.06 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลง ร้อยละ 39.76 เนื่องจากวิกฤติสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ลุกลามเป็นวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆอยู่ในภาวะชะลอตัว และกำลังซื้อลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ส่งผลอย่างมากต่ออุปสงค์ของอุตสาหกรรมไม้และ เครื่องเรือน อีกทั้งความไม่สงบทางการเมือง และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิตลง

2. การตลาด

2.1 การจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนใน ปี 2551 คาดว่าจะมีปริมาณการจำหน่ายรวม 3.35 ล้านชิ้น เมื่อ เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.58 ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้ เนื่องจากผู้บริโภคภายในประเทศยังมีกำลังซื้อ โดยเฉพาะตลาด กลางและตลาดบน อีกทั้งไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาลของการขายปลายปี การจัดงานมหกรรมที่อยู่อาศัยและเครื่องเรือนต่างๆ ตลอดจนการปรับลดของ ราคาน้ำมัน และมาตรการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล เป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้บริโภค

2.2 การส่งออก

การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2551 คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 2,438.24 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.32 ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา กำลังประสบปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกไม้และเครื่องเรือนของไทย แต่ตลาดส่งออกอื่น ๆ ของไทย โดยเฉพาะ ออสเตรเลีย ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศแถบเอเซียใต้ และตะวันออกกลาง ยังขยายตัวได้ดี เพราะเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง

รายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้

1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่น ๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน คาดว่ามีมูลค่า การส่งออก 1,109.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 46 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดย เมื่อเทียบกับปีก่อนมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.55 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดย ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย

2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ คาดว่ามีมูลค่าการส่งออก 357.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 14 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.83 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย

3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ คาดว่ามีมูลค่าการส่งออก 971.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออก สินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.32 ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่ม นี้ คือ ไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไม้อัด และไฟเบอร์บอร์ด ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม และอินโดนีเซีย

2.3 การนำเข้า

การนำเข้า ปี 2551 คาดว่าจะมีมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 679.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.23 โดย การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ซึ่งนำ เข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่องเช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้ซุงท่อนส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ และมาเลเซีย สำหรับผลิตภัณฑ์ ประเภทไม้หรือไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์จะ นำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซียและ อินโดนีเซีย ตามลำดับ

3. สรุปและแนวโน้ม

การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2551 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทยได้รับผล กระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเหล่านั้นชะลอตัว และกำลังซื้อลดลง ส่งผลต่อความต้องการอุตสาหกรรมไม้และเครื่อง เรือนที่ลดลงไปด้วย อีกทั้งปัญหาความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการต้องลดปริมาณการผลิตลง

การจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในปี 2551 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ภายใน ประเทศยังขยายตัว โดยเฉพาะตลาดกลางและตลาดบน อีกทั้งเป็นช่วงฤดูการขายปลายปี มีการจัดกิจกรรมทั้งที่อยู่อาศัยและเครื่องเรือนเป็นจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นยอดขาย นอกจากนี้ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง และจากมาตรการเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้ จ่ายของประชาชน และเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์

สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2552 น่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัว จาก การที่ตลาดส่งออกหลักของไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวจากวิกฤติการเงินโลก ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่ออุปสงค์อุตสาหกรรมไม้และเครื่อง เรือน และต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม และจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ คาดว่าผู้ประกอบการจะปรับลด ปริมาณการผลิต และผู้บริโภคจะระมัดระวังค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น อยางไรก็ตาม ปัจจัยบวก ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง

การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2551 เมื่อเทียบกับปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดใหม่ของไทยยังขยาย ตัวได้ดี โดยเฉพาะออสเตรเลีย ประเทศแถบเอเซียใต้ และตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรปที่มีกำลังซื้อ สูง และมีศักยภาพ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปตลาดหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร ลดลง เนื่องจากประเทศเหล่า นั้นกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จากวิกฤติเศรษฐกิจโลก

สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนใน ปี 2552 คาดว่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัว จากการที่ตลาดส่งออกหลักของ ไทยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่ออุปสงค์และการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกคือ ตลาดส่งออกอื่นๆ โดยฉพาะประเทศแถบตะวันออกกลางยังมีความต้องการ และกำลังซื้อสูง

ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ดังใน ปัจจุบัน ผู้ประกอบการคงต้องปรับการบริหารจัดการทั้งในส่วนของการควบคุมวัตถุดิบและต้นทุน การลดค่าใช้จ่ายและของเสียในกระบวนการผลิต การ สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น โครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ และการเร่งขยายฐานผู้บริโภคที่มีศักยภาพ เป็นตลาดเฉพาะ ทั้งในและต่าง ประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของไทยที่มีความประณีต คุณภาพสูง และมีรูปลักษณ์เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้
                   การผลิต            2548    2549     2550     2551*
          เครื่องเรือนทำด้วยไม้           20.5    18.5     16.7     10.06
          อัตราการขยายตัว (%)                 -9.82    -9.53    -39.76

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน

2. ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้
                   การผลิต            2548     2549      2550     2551*
          เครื่องเรือนทำด้วยไม้           8.2      3.73      2.4      3.35
          อัตราการขยายตัว (%)                 -54.51    -35.66    39.58

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : 1 จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน

2. ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          รายการ                              มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ                อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
                                     2548        2549        2550      2551*      2549     2550      2551
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน              1,110.15    1,098.69    1,150.16    1,109.39    -1.03     4.68     -3.55
1.1 เครื่องเรือนไม้                    662.17      612.08      599.26      563.53    -7.56    -2.09     -5.96
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ                  286.26      279.12      291.01      246.62    -2.49     4.26    -15.25
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน                 161.72      207.49      259.89      299.24     28.3    25.25     15.14
2. ผลิตภัณฑ์ไม้                        362.88      364.86      379.58      357.44     0.55     4.03     -5.83
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้                   96.2       81.57       90.71       91.58    -15.2    11.21      0.96
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้                  124.56      124.51      140.69      117.64    -0.04    12.99    -16.38
2.3 กรอบรูปไม้                        94.24      107.73       91.49       82.78    14.31    -15.1     -9.52
2.4 รูปแกะสลักไม้                      47.88       51.05       56.69       65.44     6.62    11.05     15.43
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น                 556.56      697.32      807.37      971.41    25.29    15.78     20.32
3.1 ไม้แปรรูป                        205.47      268.65      273.46      283.24    30.75     1.79      3.58
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์                       8.84        7.87        8.27        6.54      -11     5.08    -20.92
3.3 ไม้อัด                           148.16      217.01      232.99      277.92    46.47     7.36     19.28
3.4 Fiber Board                    128.54      157.32       224.4      265.87    22.39    42.64     18.48
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ                    65.55       46.47       68.25      137.84    -29.1    46.87       102
รวม                              2,029.59    2,160.87    2,337.11    2,438.24     6.47     8.16      4.32

ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  รายการ                           มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ             อัตราการขยายตัว : ร้อยละ
                          2548       2549      2550     2551*      2549      2550     2551
ไม้ซุง                     116.91    110.76     90.94    124.52     -5.26    -17.89    36.93
ไม้แปรรูป                  482.85    374.97    356.27    370.15    -22.34     -4.99      3.9
ไม้อัด วีเนียร์                88.04     96.34    113.39    126.42      9.43      17.7    11.49
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ               33.08     45.13     49.99     58.06     36.43     10.77    16.14
         รวม             720.88     627.2    610.59    679.15       -13     -2.65    11.23

ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

หมายเหตุ : ปี 2551 เป็นตัวเลขประมาณการ

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ