รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมกราคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 3, 2009 15:44 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนธันวาคม 2551
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนธันวาคม 2551 มีค่า 149.1 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่มีค่า 167.7 คิดเป็นร้อยละ 11.1 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2550 ที่มีค่า 185.5 คิดเป็นร้อยละ 19.7 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ (IC , Other IC) การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ (ผ้าทอ) การผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (พัดลม ตู้เย็น) การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ (ทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง) เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 2551 มีค่า 53.0 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนที่มีค่า 55.8 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2550 ที่มีค่า 66.0

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนมกราคม 2552

อุตสาหกรรมอาหาร

  • คาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมกราคม 2552 ในภาพรวมจะชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออก คาดว่า จะมีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ส่งผลกระทบไปสู่การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ได้ส่งสัญญาณต่อระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประชาชนเพิ่มการจับจ่ายใช้สอย หลังจากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • แนวโน้มปี 2552 อุตสาหกรรมเส้นใยฯ และผ้าทอมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตไทยเน้นผลิตสินค้าคุณภาพ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในระดับกลางถึงบน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เพื่อทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกา สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องนุ่งห่มจากต่างประเทศช่วงปลายเดือนธันวาคม 2551 ลดลง

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • แนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเดือนมกราคม 2552 ประมาณการจากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงของสินค้าหลัก เช่น เครื่องปรับอากาศ ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลง ร้อยละ 32 และ ตู้เย็น ปรับตัวลดลงร้อยละ 11 สอดคล้องกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ HDD ซึ่งคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนธ.ค.51 โดยประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 23 นอกจากนี้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น IC ปรับลดลงเช่นเดียวกัน ประมาณร้อยละ 19 ทั้งนี้จากคำสั่งซื้อที่ลดลงของตลาดส่งออกหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2551

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 166.0 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (184.9) ร้อยละ 10.2 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (183.7) ร้อยละ 9.7

อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสากรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสากรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ เป็นต้น

ในปี 2551 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 178.9 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปี 2550 (172.2) ร้อยละ 3.9 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสากรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 56.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (62.7) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 (67.3) อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจน อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น

ในปี 2551 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 62.6 ลดลงจากปี 2550 (66.1) โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)

พ.ย. 51 = 167.7

ธ.ค. 51 = 149.1

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่

  • การผลิตยานยนต์
  • การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ (IC)
  • การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

พ.ย. 51 = 55.8

ธ.ค. 51 = 53.0

โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • การผลิตยานยนต์
  • การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ(Hard Disk Drive)
  • การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมกราคม 2552 จะชะลอตัวจากเดือนก่อนแนวโน้มมูลค่าการส่งออกจะลดลง เนื่องจากคำสั่งซื้อชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ส่วนการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ประชาชนเพิ่มการจับจ่ายใช้สอย

1. การผลิต

ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนธันวาคม 2551 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 แบ่งเป็น

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 7.6 และ 16.7 จากคำสั่งซื้อลดลง ส่วนปลาทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 3.2 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.3 เนื่องจากกำลังซื้อของประเทศผู้นำเข้าลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง

กลุ่มสินค้าสำ คัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำ มันปาล์ม มีปริมาณการกลั่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 8.2 และ 12.6 เนื่องจากมีการขยายกำลังการผลิต ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 14.9 เนื่องจากราคาจำหน่ายได้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนธันวาคม 2551 สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.6 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนขยายตัวร้อยละ 3.3 เนื่องจากผู้บริโภคเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลปีใหม่

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 0.9 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.9 เนื่องจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง

3. แนวโน้ม

คาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมกราคม 2552 ในภาพรวมจะชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออก คาดว่า จะมีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ส่งผลกระทบไปสู่การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ได้ส่งสัญญาณต่อระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประชาชนเพิ่มการจับจ่ายใช้สอย หลังจากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

...แนวโน้มปี 2552 อุตสาหกรรมเส้นใยฯ และผ้าทอมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตไทยเน้นผลิตสินค้าคุณภาพ...

1. การผลิต

ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในเดือนธันวาคม 2551 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ (-14.0%) ผ้าทอ (-17.1%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-12.4%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-3.0%) และลดลงเมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน โดย เส้นใยสิ่งทอฯ (-37.5%), ผ้าทอ (-24.9%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-20.1%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (- 5.8%) ซึ่งสาเหตุหลักที่ส่งผลให้สิ่งทอต้นน้ำลดลงเนื่องจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตปลายน้ำลดการสั่งซื้อลง ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำปรับลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการผลิต เพื่อไม่ต้องการให้มีสินค้าคงคลังสะสมต่อเนื่องถึงต้นปี

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนธันวาคม ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ (-16.6, -33.3%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-15.7%, -7.7%) ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดหดตัวลงแต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักยังมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนการส่งออก ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่วนใหญ่เดือนธันวาคม 2551 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.2 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (+13.8%) ผ้าผืน (+6.5%) ด้ายฝ้าย (+4.4%) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (+8.5%) เคหะสิ่งทอ (+5.8%) เป็นต้น แต่ลดลงร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับลดลงในทุกตลาดส่งออกหลักทั้งสหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ยกเว้นเพียงตลาดญี่ปุ่น ที่ส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.2

3. แนวโน้ม

แนวโน้มปี 2552 อุตสาหกรรมเส้นใยฯ และผ้าทอมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตไทยเน้นผลิตสินค้าคุณภาพสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในระดับกลางถึงบน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสหภาพยุโรบ และญี่ปุ่น เพื่อทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกา สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องนุ่งห่มจากต่างประเทศช่วงปลายเดือนธันวาคมลดลง

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

จากข้อมูลสถิติของสมาคมเหล็กโลก (World Steel Association) ผลผลิตเหล็กดิบของโลกในปี 2008 อยู่ที่ 1,329.7 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนธันวาคม ผลผลิตลดลงถึงร้อยละ 24.3 เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กที่ลดลงอย่างมาก โดยการผลิตเหล็กดิบจากประเทศจีนมีปริมาณ 502 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและการผลิตเหล็กดิบของประเทศเกาหลีใต้และอินเดียเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.8 และ ร้อยละ 3.7 ตามลำดับ แต่ผลผลิตของประเทศญี่ปุ่นกลับลดลง ร้อยละ 1.2

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนธันวาคม 2551 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 85.11 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตขยายตัวขึ้นถึง ร้อยละ 35.42 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กลวด ร้อยละ 52.38 รองลงมาคือ เหล็กเส้นข้ออ้อยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50.49 และเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.73 เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ในกลุ่มเหล็กทรงยาวโรงงานหนึ่งได้ผลิตเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดการผลิตลงตั้งแต่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม เนื่องจากความต้องการใช้ในกลุ่มธุรกิจก่อสร้างลดลง จึงมีผลให้ในช่วงนั้นผู้ผลิตลดการผลิตลงและระบายสินค้าในสต๊อกแทน ซึ่งขณะนี้ปริมาณสต๊อกในโรงงานนี้ได้ลดลงแล้ว จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตเพิ่มการผลิต โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงยึดนโยบายผลิตให้เพียงพอกับคำสั่งซื้อเท่านั้น อย่างไรก็ตามยังมีโรงงานบางโรงที่ยังคงหยุดการผลิตอยู่สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 8.08 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ร้อยละ 72.69 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 31.55 แต่เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน กลับมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงงานหนึ่งได้ดำเนินการผลิตลงจากที่หยุดการผลิตมานาน ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 38.89 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 32.02 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ ลวดเหล็กแรงดึงสูง ลดลง ร้อยละ 61.64 และเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 41.13 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 43.96 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 77.25 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี มีการผลิตลดลง ร้อยละ 50.19

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมกราคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของเหล็กในกลุ่มเหล็กทรงแบนลดลงทุกตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง จาก 985 เป็น 463 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 53.03 เหล็กแท่งแบน ลดลง จาก 450 เป็น 375 เหรียญสหรัฐต่อตันลดลง ร้อยละ 16.67 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง จาก 454 เป็น 388 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 14.60 สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นมีราคาที่เพิ่มขึ้น คือ เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้น จาก 359 เป็น 383 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.62 และเหล็กเส้น เพิ่มขึ้น จาก 435 เป็น 463 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.32

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนมกราคม 2552 คาดว่าในส่วนของการผลิตในกลุ่มเหล็กทรงยาวจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณสต๊อกที่มีอยู่เริ่มลดลง ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้นจะไม่มีการสต๊อกไว้ ในขณะที่เหล็กทรงแบนเมื่อเทียบกับเดือนก่อน คาดว่าการผลิตจะทรงตัวเนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมต่อเนื่องยังคงชะลอตัวอยู่

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2551 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 84,602 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 105,024 คัน ร้อยละ 19.45 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ร้อยละ 27.09 เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของการส่งออก ประกอบกับมีผู้ประกอบการรายหนึ่งหยุดกิจการชั่วคราว อันเป็นผลจากปัญหาด้านแรงงานที่มีการประท้วงของสหภาพแรงงาน
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 59,002 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 64,346 คัน ร้อยละ 8.31 แต่มีปริมาณการจำ หน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ร้อยละ 28.08 เนื่องจากมีการจัดงาน Motor Expo 2008 ซึ่งภายในงานมีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการรถยนต์
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 43,273 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 68,313 ร้อยละ 36.65 และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ร้อยละ 34.35 โดยเป็นการลดลงของทุกตลาดส่งออกซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2552 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 32 และส่งออกร้อยละ 68

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 136,066 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีการผลิต 133,039 คัน ร้อยละ 2.28 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ร้อยละ 21.70
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 116,026 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีการจำหน่าย 103,218 คัน ร้อยละ 12.41 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ร้อยละ 7.42
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์ จำนวน 17,512 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีการส่งออก 9,747 คัน ร้อยละ 79.67 เนื่องจากมีการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีดซึ่งมีความประหยัดน้ำมัน และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือน พฤศจิกายน 2551 ร้อยละ 7.12
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2552 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 89 และส่งออกร้อยละ 11
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงไม่ฟื้นตัว สาเหตุหลักมาจากภาคการก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ได้แพร่กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ อย่างรวดเร็ว”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการผลิตเดือนธันวาคม 2551 ลดลงร้อยละ 5.17 แต่การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.66 ตามลำดับและเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 23.14 ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.96

ในปี 2551 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงไม่ฟื้นตัวสาเหตุหลักมาจากภาคการก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้ตัดสินใจเลื่อนการลงทุนออกไปก่อน สำหรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนธันวาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.69 และ 6.95 ตามลำดับ เนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ได้แพร่กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ อย่างรวดเร็ว สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย รองลงมา คือ กัมพูชาและบังคลาเทศ

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2551 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีโครงการใหม่เกิดขึ้นสำหรับการส่งออกยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากตลาด

ส่งออกหลักของไทยในแถบอาเซียน ก็ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่าจะปรากฏชัดเจนขึ้นในปี 2552

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 237.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัว
ลดลงร้อยละ 31.14 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของสินค้าทุกรายการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จากคำสั่งซื้อจากการผลิตเพื่อส่งออกที่
ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายน 2551
  • มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนธันวาคม 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 10.02 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี

ก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 28.09 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 2,973.80 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตารางที่ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ธ.ค. 2551
 เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์            มูลค่า            %MoM             %YoY
 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                1,050.56           -14.65           -32.10
 IC                              429.40             1.50           -38.10
 เครื่องปรับอากาศ                   120.19            -9.85           -36.47
 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                  112.09            -5.07           -21.52
 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์   2,973.80           -10.02           -28.09
ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2551 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 237.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 31.14 ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 24.91 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของสินค้าทุกรายการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จากคำสั่งซื้อจากการผลิตเพื่อส่งออกที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนพฤศจิกายน 2551 เมื่อพิจารณาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 31.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 81.73 และเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัว ลดลง ร้อยละ 18.23 นอกจากนี้ ระดับสินค้าคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้นในบางรายการ เช่น เครื่องปรับอากาศ กระติกน้ำร้อน เป็นต้น ขณะที่ อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับที่ไม่ถึง 50% เช่น สินค้าเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น สายไฟฟ้า เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 31.10 โดยมีดัชนีอยู่ที่ระดับ 326.52 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.77 โดยเฉพาะส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 31.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมา

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนธันวาคม 2551 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 10.02 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 28.09 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 2,973.80 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 11.92 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 21.72 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,117.28 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เดือน ธันวาคม 2551 มีมูลค่า 1,856.55 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 31.45 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 8.83

3. แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเดือนมกราคม 2552 ประมาณการจากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงของสินค้าหลัก เช่น เครื่องปรับอากาศ ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลง ร้อยละ 32 และ ตู้เย็นปรับตัวลดลงร้อยละ 11 สอดคล้องกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ HDD ซึ่งคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนธ.ค.51 โดยประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 23 นอกจากนี้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น IC ปรับลดลงเช่นเดียวกัน ประมาณร้อยละ 19 ทั้งนี้ จากคำสั่งซื้อที่ลดลงของตลาดส่งออกหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา อียู และญี่ปุ่น

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนธันวาคม 2551 มีค่า 149.1 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 (167.7) ร้อยละ 11.1 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (185.5) ร้อยละ 19.7
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ (IC , Other IC) อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจาก ขนสัตว์ (ผ้าทอ) อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (พัดลม ตู้เย็น) เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ (IC , Other IC) อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนธันวาคม 2551 มีค่า 53.0 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 (55.8) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (66.0)
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ (ทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง) เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ (Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2551

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 205 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 282 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -27.30 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,707.84 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีการลงทุน 18,002.09 ล้านบาท ร้อยละ -57.18 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 7,544 คน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,739 คน ร้อยละ -29.75
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 281 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -27.05 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีการลงทุน 9,428.3 ล้านบาท ร้อยละ -18.25 แต่มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,914 คน ร้อยละ 9.11
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมทำมันเส้น จำนวน 14 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้า จำนวน 10 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2551 คือ อุตสาหกรรม ผลิตกระแสไฟฟ้า เงินทุน 1,672.61 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตขวดแก้วใส เงินลงทุน 1,120 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2551 คืออุตสาหกรรม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 2,565 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรม ผลิตเครื่องสำอางค์ จำนวนคนงาน 980 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 144 ราย มากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 130 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.77 การเลิกจ้างงานมีจำนวน 8,545 คน มากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 4,710 คน แต่ในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมีจำนวน 2,796.61 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,548.42 ล้านบาท
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 109 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.11 มีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนธันวาคม 2550 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,502 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 3,360.11 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2551 คืออุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำ นวน 19 ราย รองลงมาคืออุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป และอุตสาหกรรม ซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ มีจำนวนเท่ากันอุตสาหกรรมละ 10 ราย
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์เงินทุน 935 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าหรือชิ้นส่วนรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง พลาสติกเงินทุน 769 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2551 คือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าหรือชิ้นส่วนรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็งพลาสติก คนงาน 5,223 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้าเนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 799 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 119 โครงการ น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่มีจำนวน 159 โครงการ ร้อยละ -25.16 แต่มีเงินลงทุน 87,500 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่มีเงินลงทุน 80,400 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 8.83
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนธันวาคม 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนธันวาคม 2550 ที่มีจำนวน 101 โครงการ ร้อยละ 17.82 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนธันวาคม 2550 ที่มีเงินลงทุน 78,300 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 11.75
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-ธันวาคม 2551
             การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)           มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%                 400                     133,400
          2.โครงการต่างชาติ 100%                496                     159,800
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ          357                     206,500
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม - ธันวาคม 2551 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 204,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 94,400 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ