สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2551 (อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 5, 2009 14:20 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

งานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 25 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน -10 ธันวาคม 2551 ณ อิมแพคเมืองทองธานี ภายใต้แนว คิด “พันธกิจมนุษย์ หยุดโลกร้อน” หรือ “OBLIGATION OF MANKIND TO STOP GLOBAL WARMING” เพื่อร่วมรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึง วิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ โดยมีบริษัทรถยนต์หลายค่ายร่วมให้ความรู้เรื่องนี้ด้วย นอกเหนือจากการนำยานยนต์มาแสดงภายในงาน สำหรับงานนี้ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายรถยนต์จากหลากหลายยี่ห้อ โดยมียอดการจองรถยนต์ทั้งสิ้น 14,690 คัน ลดลงจากปี 2550 ที่มี ยอดจองรถยนต์ 17,605 คัน ร้อยละ 16.56

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. .... ที่สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ดังนี้ (ที่ มา : www.thaigov.go.th)

  • กำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ที่ต้องมีสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้าง รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถยนต์บริการ รถ
ยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์สาธารณะ รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ รถ
พ่วง รถบดถนน และรถแทรกเตอร์ และตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
  • กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจ ดังนี้
  • ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติ คุณลักษณะ สมรรถนะ ระบบการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน การติดตั้ง
ประเภท ขนาดหรือจำนวนของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์
  • กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการรับรอง และให้ความเห็นชอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ เพื่อให้
เกิดความปลอดภัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  • กำหนดเกณฑ์ของมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ เพื่อ
ควบคุมไม่ให้รถปล่อยมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบรถที่มีส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์แตกต่างจากที่กำหนดในกฎ
กระทรวง แต่รถมีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
  • กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ไม่ใช้บังคับกับรถที่จดทะเบียนไว้ก่อนกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎ
กระทรวงนี้ใช้บังคับ และรถที่จดทะเบียนไว้ก่อนกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับหากมีการเปลี่ยนแปลงส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์แตกต่างจากที่จดทะเบียนไว้ให้
นายทะเบียนตรวจสภาพรถ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2537) และกฎกระทรวงกำหนดให้
กระจกต้องเป็นกระจกนิรภัย พ.ศ. 2545
  • กำหนดให้รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้าง รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถยนต์บริการ รถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์รับจ้างสามล้อ
รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์สาธารณะ รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน และรถแทรกเตอร์ หาก
นำไปใช้สำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ จะต้องมีสภาพส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ เว้นแต่อนุสัญญาหรือความตกลง
ระหว่างประเทศจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
  • กำหนดให้ประกาศและระเบียบที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2537) และกฎกระทรวงกำหนดให้กระจกต้องเป็นกระจก
นิรภัย พ.ศ. 2545 ให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะมีประกาศหรือระเบียบตามกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตาม มาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์) ตามที่ กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศ คือ

  • มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ตามร่างประกาศ ดังนี้
  • ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด

1) ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดประเภทถังคอมโพสิทไฟเบอร์ ตามประเภทย่อย 3923.90.00 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตรา ศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า และสำหรับในกรณีที่นำเข้ามาเพื่อผลิตเป็นยานบกตามตอนที่ 87 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 เนื่องจากถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดประเภทดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่มีผู้ ผลิตในประเทศ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป สำหรับการนำเข้ามาในทั้ง 2 กรณี เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 10

2) ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดประเภทถังเหล็ก และถังอะลูมิเนียมตามประเภทย่อย 7311.00.11 7311.00.19 7311.00.91 7311.00.99 และ 7613.00.00 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและ ยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า และในกรณีที่นำเข้ามาเพื่อ ผลิตเป็นยานบกตามตอนที่ 87 ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป สำหรับการนำเข้าในทั้ง 2 กรณี เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดทั้ง 5 ประเภทย่อยดังกล่าว ไว้เท่ากับร้อยละ 10

  • ชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์

ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินโดยอัตโนมัติ (ไบ-ฟูแอล คอนเวอร์ชัน คิท) และชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยอัตโนมัติ (ดีเซล ดูเอล ฟูแอล คอนเวอร์ชัน คิท) ตาม ประเภทย่อย 9032.89.39 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราช กำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า และสำหรับในกรณีที่นำเข้ามาเพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานบกตามตอนที่ 87 ซึ่ง จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป สำหรับการนำเข้าในทั้ง 2 กรณี เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 10

  • แชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง

1) ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งที่นำเข้ามาในลักษณะของสำเร็จรูป สำหรับยานยนต์ที่มีน้ำหนักรถ รวมน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป ชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงระบบเดียวตามประเภทย่อย 8706.00.20 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการ คลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขา เข้า ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 30

2) ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบไม่ว่าจะเป็นของตามพิกัดประเภทใด แต่ไม่รวมถึงหม้อน้ำ ชุดหม้อพักเก็บเสียง และท่อไอเสีย แบตเตอรี่ แหนบตับหน้าและหลัง ยางนอกและยางใน กระจกนิรภัย ดรัมเบรกหน้าและหลัง มอเตอร์สตาร์ต ตัวยึดชุดท่อไอเสีย ตัวยึดแบตเตอรี่ ฝาครอบแบตเตอรี่ ชุดสายแบตเตอรี่ ชุดสายไฟ สีรถยนต์ กระจกมองหลังภายในรถ และแผงบังแดดที่นำเข้ามาเพื่อประกอบ หรือผลิตเป็นแชสซีย์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งตามประเภท 87.06 สำหรับรถยนต์ชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงระบบเดียว ดังนี้

2.1) รถแทรกเตอร์เดินบนถนนสำหรับลากรถกึ่งรถพ่วงตามประเภทย่อย 8701.20 ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป กำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 10

2.2) ยานยนต์สำหรับขนส่งตามประเภท 87.04 (เว้นแต่รถบรรทุกชนิดแวน ชนิดปิกอัพ และรถที่มีลักษณะคล้ายกับรถดัง กล่าว) ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป กำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 10

2.3) ยานยนต์ที่ใช้งานพิเศษตามประเภท 87.05 ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป กำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 20

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เห็นชอบเพิ่มมาตรการพิเศษ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว และเร่ง รัดการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” ( Thailand Investment Year 2008-2009) โดยมาตรการพิเศษดังกล่าว ให้ผู้ประกอบการยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และได้รับการอนุมัติให้การส่ง เสริม โดยได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดตามที่กฎหมายสามารถให้ได้ ประกอบด้วย การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ทุกเขตที่ตั้ง และได้รับ สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า และอนุญาตให้หักเงินค่า ติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุน นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาปกติสำหรับกิจการที่เข้า ข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน มี ทั้งสิ้น 6 กลุ่มกิจการ ได้แก่

  • กิจการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และพลังงานทดแทน เช่น กิจการผลิตแอลกอฮอล์ หรือเชื้อเพลิงจากผลผลิตทางการเกษตร
กิจการผลิตเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นต้น
  • กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น กิจการผลิตเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยประดิษฐ์ กิจการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ กิจการผลิตชิ้นส่วน
ยานพาหนะ เป็นต้น ทั้งนี้จะมีการเปิดประเภทกิจการใหม่เพิ่ม ได้แก่ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรม (Advanced Ceramics)
  • กิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และจะเปิดประเภทกิจการใหม่ขึ้นอีก 2 ประเภท ได้แก่ กิจการผลิตเคมีภัณฑ์ที่เป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Chemicals) และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Products) เช่น วัสดุบรรจุ
ภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ที่สามารถย่อยสลายเองได้
  • กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) เนื่องจากเป็นกิจการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐใน
การส่งเสริมให้เอกชนลงทุน เพื่อลดภาระของรัฐ
  • กิจการด้านการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงกับภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
  • กิจการในอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ เพื่อช่วยเหลือด้านราคาพืชผลทางการเกษตรและเพื่อยกระดับเทคโนโลยี
การผลิตให้สูงขึ้น เช่น กิจการผลิตสารให้ความหวาน กิจการผลิตเดรกตริน หรือโมดิไฟด์สตาร์ช

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มีโครงการลงทุนที่ได้รับ อนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 44 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 21,005.85 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปี 2550 ร้อยละ 68.46 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5,404 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 42 โครงการ โครงการผลิตรถจักรยานยนต์ประเภท 4 จังหวะ 1 โครงการ และโครงการผลิตยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า 1 โครงการ สำหรับไตรมาสนี้ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

  • โครงการผลิตชุดขับเคลื่อน 4 ล้อ (TRANSFER CASE) ของบริษัท ไอชิน เอไอ (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 2,810.30
ล้านบาท ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 343,960 ชุดต่อปี โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จะป้อนโครงการประกอบรถยนต์ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศ
ไทย) จำกัด
  • โครงการผลิตชิ้นส่วนของแกนพวงมาลัยรถ ของบริษัท สยาม เอ็น เอส สเตียริ่ง ซิสเต็มส์ จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 1,092 ล้านบาท

ซึ่งมีกำลังการผลิต 17,694,000 ชิ้นต่อปี สำหรับโครงการนี้เป็นการขยายการผลิตเพื่อเป็นฐานการส่งออกให้บริษัทในเครือทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ

อเมริกา จีน อังกฤษ และโปแลนด์ ฯลฯ เพื่อลดต้นทุนการผลิตซึ่งเดิมบริษัทมีการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศมาประกอบ

  • โครงการผลิต TURBOCHARGER, CARTRIDGE, BEARING HOUSING มูลค่าเงินลงทุน 6,764 ล้านบาท ซึ่งมีกำลังการผลิต

TURBOCHARGER 500,000 ชิ้นต่อปี CARTRIDGE 2,000,000 ชิ้นต่อปี และ BEARING HOUSING 40,000 ชิ้นต่อปี โดยจะผลิตให้บริษัทในเครือที่

ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 มีจำนวน 1,394,056 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.29 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.27 และ 2.78 ตามลำดับ แต่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการ พาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 24.27 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 783,712 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 ของ ปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 79 และ 21 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาส ที่สี่ของปี 2551 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 325,299 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 8.09 โดยมีการ ผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 40.49 และ 13.84 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.78 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2551 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.86 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 11.31, 6.84 และ 4.91 ตามลำดับ สำหรับไตรมาสที่สี่ ของปี 2551 มีผู้ประกอบการรายหนึ่งหยุด กิจการชั่วคราว อันเป็นผลจากปัญหาด้านแรงงานที่มีการประท้วงของสหภาพแรงงาน

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 มีจำนวน 614,078 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ลดลงร้อย ละ 2.72 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 18.60 และ 4.25 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ นั่ง และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.76 และ 0.23 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 154,012 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 14.40 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 36.23 และ 25.78 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.52 และ 1.40 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.18 โดยมีการ จำหน่ายรถยนต์ PPV รวม SUV รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.19, 11.68 และ 7.99 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์เพื่อ การพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 11.10

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) โดยรวมจำนวน 776,152 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.47 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 351,354.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 14.60 โดยมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ PPV รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.98, 12.51 และ 11.51 ตามลำดับ เมื่อ พิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยรวม จำนวน 176,721 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 76,887.33 ล้านบาท เปรียบ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 10.10 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 14.18 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่ สามของปี 2551 ปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยรวมลดลงร้อยละ 17.25 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 22.86 สำหรับไตรมาสสี่ของปี 2551 การส่งออก มีการชะลอตัว สาเหตุสำคัญเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบรุนแรงกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก และส่งผลต่อตลาดส่ง ออกหลักของไทย เช่น ออสเตรเลีย ยุโรป เป็นต้น

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ารถยนต์นั่งเป็นประเภทรถยนต์ที่มีมูลค่าการ ส่งออกสูงที่สุด โดยในปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 165,895.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 30.04 ประเทศที่เป็นตลาดส่ง ออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และซาอุดีอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 27.35, 12.08 และ 6.89 ตาม ลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และซาอุดีอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.48, 33.03 และ 53.89 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในปี 2551 มีมูลค่า 148,745.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 4.90 ประเทศที่ เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และรัสเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.52, 5.94 และ 5.35 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.45, 11.99 และ 52.74 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในปี 2551 มีมูลค่า 31,522.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 13.37 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และโอมาน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 26.59, 17.05 และ 7.47 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปโอมาน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.56 แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไป ออสเตรเลียและซาอุดีอาระเบีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 12.51 และ 6.49 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 15,459.58 และ 16,385.19 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.22 และการนำเข้า รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.69 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและ รถบรรทุก 5,071.02 และ 3,654.07 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น ร้อยละ 126.43 แต่มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 19.21 เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามปี 2551 มูลค่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.80 แต่มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 27.79 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 32.31, 17.02 และ 11.15 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่ง จากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.98, 89.78 และ 55.39 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 52.94 และ 11.67 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจาก อินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 473.60 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 19.98

อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2551 การผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตและจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวใน อัตราที่สูง ส่วนหนึ่งเนื่องจากในช่วงต้นปี 2551 รัฐบาลมีการปรับลดภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งเสริมรถยนต์นั่งที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อย กว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง (E20) ในขณะที่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราชะลอตัวเมื่อเปรียบ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่มีความผันผวน อีกทั้งวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบอย่าง รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ ทำให้ค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กำลังซื้อสินค้าและบริการ ของผู้บริโภคลดลง ปัจจัยเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและตลาดรถยนต์เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มากขึ้น ซึ่ง รถยนต์ขนาดใหญ่ที่มีอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากจะได้รับความนิยมลดลง ในขณะที่รถยนต์ประหยัดพลังงาน หรือรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงราคา ถูกกว่า หรือ รถยนต์เก่าหรือรถยนต์มือสองที่ถูกดัดแปลงไปใช้เชื้อเพลิงราคาถูก เช่น ก๊าซ LPG และ CNG จะได้รับความนิยมมากขึ้น สำหรับการส่ง ออกรถยนต์ในปี 2551 ยังสามารถขยายตัวได้ แต่มีแนวโน้มชะลอตัว อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ตลอดจนส่งผลต่อความต้องการรถยนต์ของทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะการส่งออกรถปิกอัพจากประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศโอเซียเนีย หรือประเทศ ในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจการเงินที่มีความใกล้ชิดกับประเทศ จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณการว่า ใน ปี 2552 จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1.08 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 45 และผลิตเพื่อการส่งออก ประมาณร้อยละ 55

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 มีจำนวน 1,923,651 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.36 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,765,761 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.92 และมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ สปอร์ต 157,890 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.71 สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากมีผู้ประกอบการรายหนึ่งได้รับคำสั่งซื้อรถจักรยานยนต์จากส่วนราชการ เมื่อ พิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 486,574 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.21 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และแบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.65 และ13.05 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับ ไตรมาสที่สามปี 2551 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 2.78 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 6.61 แต่มี การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.07

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 มีจำนวน 1,703,376 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการ จำหน่ายปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.54 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 921,340 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 18,353 คัน และ รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 763,683 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.63, 22.52 และ 4.92 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มีปริมาณ การจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 379,717 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.83 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และแบบสกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.75, 10.44 และ 3.59 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของ ปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 15.81 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสปอร์ต และแบบสกูตเตอร์ ลด ลงร้อยละ 19.87, 19.03 และ 10.44 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี 2551 มีจำนวน 1,252,584 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 150,482 คัน และ CKD จำนวน 1,102,102 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ลดลงร้อยละ 30.00 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 26,474.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.28 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มีปริมาณการส่งออก 198,590 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่ง ออก 7,321.39 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 59.24 และคิดเป็นมูลค่าลดลง ร้อยละ 0.93 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2551 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 25.01 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.60 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถ จักรยานยนต์ในปี 2551ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 26.74, 14.46 และ 11.69 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.66, 228.16 และ 465.74 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 438.23 ล้านบาท เมื่อ เปรียบเทียบกับปี 2550 ลดลงร้อยละ 80.67 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 110.82 ล้านบาท เปรียบ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 78.89 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าลด ลงร้อยละ 10.56 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 24.13, 21.07 และ 15.07 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากจีน และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.15 และ 83.58 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถ จักรยานยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 94.90

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ปี 2551 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศมีการขยายตัว โดยในช่วงต้นปี 2551 มีการปรับเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของตลาดรถจักรยานยนต์ นอกจากนี้ความผันผวน ของราคาน้ำมันยังเป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมมาเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ที่มีคุณสมบัติด้านการประหยัดน้ำมัน ประกอบกับมีผู้ประกอบ การรายใหญ่รายหนึ่งได้มีการผลิตรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีด ที่มีคุณสมบัติเด่นด้านการประหยัดน้ำมันออกสู่ตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขาย อีกด้วย สำหรับการส่งออกรถจักรยานยนต์ชะลอตัว เนื่องจากมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) ลดลง สาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทยสามารถประกอบรถจักรยานยนต์รุ่นที่เคยนำเข้าจากประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกรถ จักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะมีการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีด PGM-FI (Programmed Fuel Injection) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมัน จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณ การว่า ในปี 2552 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ 1.65 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 90 และผลิต เพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 10

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ในปี 2551 มีมูลค่า 132,813.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อ เปรียบเทียบกับปี 2550 ร้อยละ 18.22 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 18,029.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.64 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ รถยนต์ 11,007.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.25 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มี มูลค่า 29,931.98 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 9.95 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 3,460.72 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.49 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 3,506.97 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.84 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2551 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ ยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 17.97 และ 38.69 ตามลำดับ แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.98 จากข้อมูลของ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในปี 2551 มีมูลค่า 167,064.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 11.42 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.27, 12.46 และ 10.67 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ ยนต์ไปญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.24 ,36.73 และ 24.94 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยปี 2551 มีมูลค่า 132,940.13 ล้านบาท เมื่อ เปรียบเทียบกับปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.50 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2551 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 32,446.61 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.33 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาส ที่สามของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 7.68 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 60.56, 7.31 และ 6.19 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบ และอุปกรณ์รถยนต์จากฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.05, 20.97 และ 22.14 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 2551 มีมูลค่า 20,022.56 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.80 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2551 มีมูลค่า 638.83 ล้าน บาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ลดลงร้อยละ 38.20 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ จักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 4,506.86 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.00 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 132.50 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 55.93 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่ สามของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 10.18 และ 15.87 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ของไทยในปี 2551 มีมูลค่า 23,834.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.96 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถ จักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนามคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 26.28, 15.89 และ 13.56 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วน ประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.41, 35.64 และ 17.52 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในปี 2551 มีมูลค่า 14,113.70 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.58 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2551 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ จักรยานยนต์ฯ มีมูลค่านำเข้า 3,602.85 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.03 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อย ละ 11.24 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงปี 2551 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อย ละ 34.85, 21.34 และ 9.08 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.77, 35.58 และ 48.73 ตามลำดับ

ตารางกำลังการผลิตรถยนต์(1)

หน่วย : คัน

   ลำดับ               บริษัท                                     รถยนต์นั่ง    ปิกอัพ 1 ตัน   รถยนต์เพื่อการพาณิชย์    รวม
    1     บ. โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด                      200,000      300,000        50,000      550,000
    2     บ. มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด                      50,000      150,000             -      200,000
    3     บ. อีซูซุมอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด                               -      200,000        20,000      220,000
    4     บ. ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด                   120,000            -             -      120,000
    5     บ. สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด                             36,000       96,000         2,400      134,400
    6     บ. เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด                  40,000      120,000             -      160,000
    7     บ. ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด                          -      150,000         5,000      155,000
    8     บ. ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัด                  -            -        28,800       28,800
    9     บ. บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย)                 10,000            -             -       10,000
    10    บ. มิตซูบิชิ ฟูโซ่ ทรัค (ประเทศไทย) จำกัด                          -            -         6,000        6,000
    11    บ. นิสสันดีเซล(ประเทศไทย) จำกัด                                -            -         5,000        5,000
    12    บ. ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด                               16,300            -             -       16,300
    13    บ. วาย.เอ็ม.ซี.แอสเซ็มบลี้ จำกัด                            12,000            -             -       12,000
    14    บ. สแกนเนีย (ประเทศไทย) จำกัด                                -            -           210          210
    15    บ. ไทย-สวีดิช แอสเซมบลีย์ จำกัด                            10,000            -             -       10,000
    16    บ. ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน)                         20,000            -             -       20,000
    17    บ. ทาทา มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด                            -       35,000             -       35,000
  ยอดรวม                                                       514,300    1,051,000       117,410    1,682,710

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากสถาบันยานยนต์

หมายเหตุ : (1) กำลังการผลิตรถยนต์ ปี 2551

ตารางกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์(2)

   ลำดับ                             บริษัท                              รวม
    1     บ. ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด                              1,400,000
    2     บ. ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด                                       550,000
    3     บ. ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด                                    450,000
    4     บ. คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด             260,000
    5     บ. เจอาร์ดี   (ประเทศไทย) จำกัด                               144,000
    6     บ. สหไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด                                150,000
    7     บ. ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์ (ประเทศไทย) จำกัด                    54,000
    8     บ. บริษัท มิลเลนเนียมมอเตอร์ จำกัด                               60,000
  ยอดรวม                                                            3,068,000

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากสถาบันยานยนต์

หมายเหตุ : (2) กำลังการผลิตรถจักรยานยนต์ ปี 2551

ตารางการผลิตยานยนต์

หน่วย : คัน

                  ประเภทยานยนต์                           2549         2550         2551      %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์                                               1,188,044    1,287,346    1,394,056            8.29
  รถยนต์นั่ง                                             298,819      315,444      401,474           27.27
  รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(3)                           866,769      948,388      974,775            2.78
  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ                                  22,456       23,514       17,807          -24.27
รถจักรยานยนต์                                         2,084,001    1,653,139    1,923,651           16.36
  ครอบครัว                                           2,005,968    1,563,788    1,765,761           12.92
  สปอร์ต                                                78,033       89,351      157,890           76.71

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : (3) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV

ประเภทยานยนต์                              ไตรมาส 3   ไตรมาส 4   % เปลี่ยน  ไตรมาส 4   ไตรมาส 4   % เปลี่ยน
                                            ปี 2551     ปี 2551     แปลง     ปี 2550     ปี 2551     แปลง
รถยนต์                                      349,243    325,299    -6.86    353,940    325,299    -8.09
  รถยนต์นั่ง                                  105,107     93,219    -11.3     82,657     93,219    12.78
  รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและ อนุพันธ์(4)               240,186    228,400    -4.91    265,099    228,400    -13.8
  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ                        3,950      3,680    -6.84      6,184      3,680    -40.5
รถจักรยานยนต์                                500,498    486,574    -2.78    411,606    486,574    18.21
  ครอบครัว                                  467,825    436,888    -6.61    386,468    436,888    13.05
  สปอร์ต                                     32,673     49,686    52.07     25,138     49,686    97.65

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : (4) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV

ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ

หน่วย : คัน

           ประเภทยานยนต์                    2549         2550         2551      %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์                                   682,161      631,251      614,078           -2.72
  รถยนต์นั่ง                               191,763      170,118      225,841           32.76
  รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (5)                      423,395      382,636      311,470           -18.6
  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (6)                  36,907       42,619       40,806           -4.25
  รถยนต์ PPV  (รวม SUV)                   30,096       35,878       35,961            0.23
รถจักรยานยนต์                           2,061,610    1,598,876    1,703,376            6.54
  ครอบครัว                             1,250,608      856,028      921,340            7.63
  สปอร์ต                                  20,683       14,979       18,353           22.52
  สกูตเตอร์                               790,319      727,869      763,683            4.92

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : (5) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap

(6) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ

หน่วย : คัน

ประเภทยานยนต์                           ไตรมาส 3 ปี 2551      ไตรมาส 4 ปี 2551     % เปลี่ยน     ไตรมาส 4 ปี 2550    ไตรมาส 4 ปี 2551       % เปลี่ยน
                                                                                   แปลง                                                 แปลง
รถยนต์                                          139,783             154,012        10.18             179,925             154,012        -14.4
  รถยนต์นั่ง                                       55,958              60,428         7.99              40,963              60,428        47.52
  รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (7)                              66,571              74,349        11.68             116,593              74,349       -36.23
  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (8)                       10,571               9,398        -11.1              12,663               9,398       -25.78
  รถยนต์ PPV ( รวม SUV)                           6,683               9,837        47.19               9,701               9,837          1.4
รถจักรยานยนต์                                    451,013             379,717       -15.81             358,801             379,717         5.83
  ครอบครัว                                      252,024             201,936       -19.87             187,420             201,936         7.75
  สปอร์ต                                          5,055               4,093       -19.03               3,706               4,093        10.44
  สกูตเตอร์                                      193,934             173,688       -10.44             167,675             173,688         3.59

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : (7) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap

(8) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ

ตารางการส่งออกยานยนต์

               ประเภทยานยนต์                          2549          2550          2551      %   เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน)                                  538,966       690,100       776,152              12.47
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์                                          240,764.09    306,595.20    351,354.83               14.6
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM)                    87,170.92    112,341.89    132,813.68              18.22
เครื่องยนต์                                         8,357.93     10,504.23     18,029.29              71.64
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์                                  5,453.40      7,630.59     11,007.04              44.25
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน)                      1,575,666     1,789,485     1,252,584                -30
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์                                     24,535.24     26,400.00     26,474.69               0.28
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)              13,076.26     14,220.13     20,022.56               40.8
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์                              699.26      1,033.67        638.83              -38.2
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

                ประเภทยานยนต์                   ไตรมาส 3 ปี 2551     ไตรมาส 4 ปี 2551      % เปลี่ยนแปลง     ไตรมาส 4 ปี 2550     ไตรมาส 4 ปี 2551   % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน)                                   213,561             176,721            -17.25            196,586             176,721             -10.1
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์                                             99,670.75           76,887.33           -22.86           89,587.25           76,887.33           -14.18
  ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ   ยนต์ (OEM)                 36,490.28           29,931.98           -17.97           33,239.01           29,931.98            -9.95
  เครื่องยนต์                                         5,644.53            3,460.72           -38.69            2,896.36            3,460.72            19.49
  ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์                                  2,997.88            3,506.97            16.98            2,221.85            3,506.97            57.84
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน)                         264,804             198,590            -25.01            487,277             198,590            -59.24
มูลค่า (ล้านบาท)
  รถจักรยานยนต์                                      5,606.01            7,321.39            30.6             7,390.05            7,321.39            -0.93
  ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)               5,017.74            4,506.86           -10.18            3,819.36            4,506.86               18
  ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์                             157.49              132.5             -15.87             300.64              132.5             -55.93
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ตารางการนำเข้ายานยนต์

หน่วย: ล้านบาท

          ประเภทยานยนต์                        2549          2550          2551   % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง                                   9,462.01      8,578.32     15,459.58      80.22
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                    10,099.52     14,162.56     16,385.19      15.69
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                       117,916.77    116,100.67    132,940.13       14.5
รถจักรยานยนต์                               2,135.08      2,266.57       438.23      -80.67
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน  8,654.61     10,039.46     14,113.70      40.58
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

หน่วย : ล้านบาท

          ประเภทยานยนต์                   ไตรมาส 3ปี 2551     ไตรมาส 4 ปี 2551      % เปลี่ยนแปลง     ไตรมาส 4 ปี 2550     ไตรมาส 4  ปี 25   % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง                                        3,734.29            5,071.02            35.8             2,239.51           5,071.02       126.43
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                          5,060.10            3,654.07          -27.79             4,522.88           3,654.07       -19.21
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                             35,146.47           32,446.61           -7.68            32,019.96          32,446.61         1.33
รถจักรยานยนต์                                       123.9              110.82          -10.56               524.86             110.82       -78.89
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน       4,059.06            3,602.85          -11.24             2,629.17           3,602.85        37.03
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ

                   ประเภทยานยนต์                        2549        2550        2551     % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง                                               245.1      246.95      462.89           87.44
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                                264.25      407.63      491.94           20.68
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                                  3,070.80    3,336.78    3,994.84           19.72
รถจักรยานยนต์                                          55.59        64.88       13.13          -79.77
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน             232.07      288.15      423.28           46.9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ

                   ประเภทยานยนต์                 ไตรมาส 3 ปี 2551     ไตรมาส 4 ปี 2551      % เปลี่ยนแปลง   ไตรมาส 4 ปี 2550   ไตรมาส 4  ปี 2    % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง                                                  110.87              146.61            32.24             65.49        146.61          123.87
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                                    150.44              105.43           -29.92            132.22        105.43          -20.26
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                                      1,043.60              938.16           -10.1             935.65        938.16            0.27
รถจักรยานยนต์                                                3.68                3.22           -12.5              15.32          3.22          -78.98
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน                 120.49              104.09           -13.61              76.9        104.09           35.36
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ