สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2551 (อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 5, 2009 15:07 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 96.40 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส ก่อนร้อยละ 20.85 หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 22.79 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับลดลงทุกรายการยกเว้น หม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดโดยการปรับระบบจากแบบเดิมเป็น แบบดิจิตอลมากขึ้น หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอด การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่า 3,920.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 17.92 และปรับตัวลดลงเช่นกัน ร้อยละ 7.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลง ถึงร้อยละ 7.76 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อย ละ 8.02 และ 5.93

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 6,537.91 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.03 เมื่อ เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.66 ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ตลาดอียู สหรัฐอเมริกา และจีน มีอัตราการขยายตัวลดลง 25.93% 21.59% และ 21.39% ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 จะปรับตัวลดลงร้อยละ 22.04 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของเครื่องปรับ อากาศปรับตัวลดลงร้อยละ 42.27 และอุตสาหกรรมตู้เย็นในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.05 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสอด คล้องกับการประมาณการภาวะอุตสาหกรรมเครื่องคอมเพรสเซอร์ปรับตัวลดลง ร้อยละ 22.20 ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 จะปรับตัวลดลงร้อยละ 15.00 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงของส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ HDD และ IC

2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.1 การผลิต

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 96.40 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส ก่อนร้อยละ 20.85 หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 22.79 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับลดลงทุกรายการยกเว้น หม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดโดยการปรับระบบจากแบบเดิมเป็น แบบดิจิตอลมากขึ้น หลังจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากการโจมตีของสินค้าจีนที่มีราคาถูกแต่ไม่เป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันยอด การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยราคาเหมาะสมสามารถแข่งขันได้ในตลาด

ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2551

             สินค้า                           ดัชนีผลผลิต         การเปลี่ยนแปลง                   การเปลี่ยนแปลง
                                            ไตรมาสที่ 4    เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 51       เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50
                                             ปี 2551             (ร้อยละ)                        (ร้อยละ)
          เครื่องใช้ไฟฟ้า                         96.4              -20.85                         -22.79
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน - คอนเดนซิ่งยูนิต        176.67              -22.51                         -17.87
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน - แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต       169.15              -23.75                         -23.58
คอมเพรสเซอร์                                 127.17              -22.72                         -11.97
พัดลม                                         16.39              -23.81                         -13.78
ตู้เย็น                                        210.64              -21.34                          -2.80
กระติกน้ำร้อน                                  187.54               -0.83                          -4.98
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า                                119.02                3.89                           4.20
สายไฟฟ้า                                      78.46              -24.13                         -52.04
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว)                 15.97               -2.80                         -51.55
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า)            165.75              -27.83                         -35.96
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม, มกราคม 2552

สินค้าที่ปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลง เนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลด ลง แต่กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น และไทยยังคงมีข้อจำกัดทางด้าน Rule of Origin ในการใช้วัตถุดิบ ในประเทศ/ภูมิภาคอาเซียน 40% ซึ่งขณะนี้ ส่วนของ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิ พิเศษและควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก

เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร มาสที่ 4 ปี 2551 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลง ได้แก่ กล้องถ่ายวิดีโอ ตู้เย็น กล้องถ่าย รูปดิจิตอล เป็นต้น ยกเว้นบางรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องปรับอากาศ แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้านเพื่อการส่งออกในปัจจุบันมีฐานการผลิตในจีน และภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะไทยเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ญี่ปุ่นเองยังคงทำการวิจัยและพัฒนาเป็น ต้นแบบสินค้าที่ผลิตในประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นในกลุ่มภาพและเสียงปรับตัว เพิ่มขึ้นตามความนิยมของตัวสินค้าเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด

ตารางที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 4 ปี 2551

                                 ดัชนีผลผลิต         การเปลี่ยนแปลง                    การเปลี่ยนแปลง
                                 ไตรมาสที่ 4   เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 51         เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50
                                  ปี 2551            (ร้อยละ)                           (ร้อยละ)
Household  Electrical Machinary    92.5             -7.87                              -3.44
เครื่องปรับอากาศ                     105.4            -13.82                               0.67
หม้อหุงข้าว                             98               3.7                              -4.85
ตู้เย็น                               65.3             -8.93                              -25.2
พัดลม                               71.9             -5.52                              -9.22
เครื่องซักผ้า                          78.4             -14.6                             -14.13
พลาสมา ทีวี                           142            -17.87                             -12.72
แอลซีดี ทีวี                          196.7              1.18                               0.77
เครื่องเล่นดีวีดี                        82.5            -40.99                               23.5
กล้องถ่ายวีดีโอ                        55.7             -32.4                             -40.87
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล                    126.8            -27.95                             -23.52
ที่มา :  Ministry  of  Economic , Trade and Industry, Japan, มกราคม 2552

2.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าในไตรมาสที่ 4 ปี 2551ปรับตัวลดลงร้อยละ 20.74 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลง เช่นกันร้อยละ 18.84

สินค้าปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-คอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน-แฟนคอยล์ยูนิต พัดลม ปรับตัวลดลง 35.80% 32.32% และ 32.27% ตามลำดับ

ขณะที่ สินค้าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่สายไฟฟ้า โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) และ โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ปรับตัวลดลง41.23% 40.47% และ 32.98%ตามลำดับ

ตารางที่ 3 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2551

   สินค้า                                     ดัชนีการส่งสินค้า        การเปลี่ยนแปลง                 การเปลี่ยนแปลง

ไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50

                                               ปี 2551             (ร้อยละ)                        (ร้อยละ)
    เครื่องใช้ไฟฟ้า                                104.93              -20.74                        -18.84
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต              154.13               -35.8                        -22.61
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต             161.89              -32.32                        -22.13
คอมเพรสเซอร์                                    139.74              -15.78                         -5.95
พัดลม                                             17.9              -32.27                        -18.61
ตู้เย็น                                           222.84              -18.67                          0.15
กระติกน้ำร้อน                                     192.47                4.98                         -7.24
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า                                   123.01                7.07                         -0.32
สายไฟฟ้า                                         87.14               -9.98                        -41.23
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว)                    19.66               24.98                        -40.47
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า)               175.71              -25.32                        -32.98
ที่มา :  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม, มกราคม 2552

ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดในประเทศที่ชะลอลง จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงการจัดซื้อเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม และการทำตลาดจากงานโครงการ และมหกรรมสินค้าราคาประหยัดที่ สามารถกระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับตลาดในประเทศที่หดตัวเนื่อง จากกำลังซื้อตลาดต่างประเทศหดตัว

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่า 3,920.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 17.92 และปรับตัวลดลงเช่นกัน ร้อยละ 7.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตารางที่ 4 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก

                                                             มูลค่าส่งออก             การเปลี่ยนแปลง          การเปลี่ยนแปลง

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3 ปี51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ปี50

                                                           (ล้านเหรียญสหรัฐ)             (ร้อยละ)              (ร้อยละ)
        รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า                                          3,920.53              -17.92                -7.61
เครื่องปรับอากาศ                                                     416.07              -33.35               -27.8
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม         401.69              -16.03               -1.89
กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ                        303.67                6.07                4.61
ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน                                                 239.18              -19.98                3.06
มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W)                                       203.09               -1.32                2.87
เครื่องรับโทรทัศน์สี                                                    192.52              -46.57              -10.38
เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น                                 191.48               -7.39                18.2
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์                                            190.27              -21.34              -11.54
เครื่องซักผ้า                                                         150.28              -14.32               10.97
สายไฟ ชุดสายไฟ                                                     141.08              -25.93              -22.59
ที่มา กรมศุลกากร, มกราคม 2552

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอุปกรณ์ ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม และกล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอ/ภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ โดยมีมูลค่าส่งออก 416.07 ล้านเหรียญสหรัฐ 401.69 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 303.67 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยเครื่องปรับอากาศมีการอัตราการขยายตัวชะลอลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 27.80% ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของเครื่องปรับ อากาศที่ส่งไปยังตลาดอียูนั้นปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 50.31 เนื่องจากกำลังซื้อที่ปรับลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ส่ง สัญญาณว่าจะถดถอยและจากการที่ตัวเลขส่งออกในปี 2550มีฐานที่ค่อนข้างสูงสำหรับตลาดนี้หลังการบังคับใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีในปี 2549

ตารางที่ 5 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องปรับอากาศในตลาดต่างๆ

เครื่องปรับอากาศ ----------------------------------------------------------------------------------

     ตลาดส่งออก                      มูลค่าส่งออก                      การเปลี่ยนแปลง
                                ไตรมาสที่ 4 ปี 2551             เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50
                                 (ล้านเหรียญสหรัฐ)                       (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา                           23.32                            -31.79
อียู                                   84.61                            -50.31
ญี่ปุ่น                                  32.07                             72.91
อาเซียน                               86.53                              5.92
จีน                                    6.71                             -8.01
ตะวันออกกลาง                          67.06                            -42.09
ตลาดอื่นๆ                             115.79                            -22.02
รวมมูลค่าส่งออก                        416.07                             -27.8
ที่มา กรมศุลกากร, มกราคม 2552

ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ถึงร้อยละ 10.38 โดยมีมูลค่าส่งออก 192.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง 60.87% ซึ่งไทยเคยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดนี้มากที่สุดประมาณ 51% ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์รวมใน ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 และมีการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มีมูลค่าสูงกว่าเครื่องรับโทรทัศน์แบบเดิมทดแทน

ตารางที่ 6 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีในตลาดต่างๆ

เครื่องรับโทรทัศน์สี -------------------------------------------------------------------------------

     ตลาดส่งออก                      มูลค่าส่งออก                       การเปลี่ยนแปลง
                                ไตรมาสที่ 4 ปี 2551              เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50
                                 (ล้านเหรียญสหรัฐ)                       (ร้อยละ)
สหรัฐอเมริกา                           55.19                            -60.87
อียู                                   15.87                             21.87
ญี่ปุ่น                                  10.95                             37.03
อาเซียน                               51.03                            205.12
ตะวันออกกลาง                          15.49                             -8.34
ตลาดอื่นๆ                              43.98                            130.03
รวมมูลค่าส่งออก                        192.52                            -10.38
ที่มา กรมศุลกากร, มกราคม 2552

สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 860.36 ล้านเหรียญ สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 599.99 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง 9.60% สามารถสรุปสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักได้ดังนี้

ตารางที่ 7 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า 5 อันดับแรกใน 3 ตลาดหลัก

      ตลาดส่งออก              สินค้า                                       มูลค่าส่งออก   การเปลี่ยนแปลง       การเปลี่ยนแปลง
                                                                    (ล้านเหรียญสหรัฐ)   เมื่อเทียบกับ          เมื่อเทียบกับ

ไตรมาสที่ 3 ปี 51 ไตรมาสที่ 4 ปี 50

                                                                                      (ร้อยละ)              (ร้อยละ)
    1 อาเซียน    - มอเตอร์เล็ก (กำลังไม่เกิน 750 W)                                97.97     45.06               93.68
                - เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ            97.69      5.89              143.87
                - เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน                           86.53     -22.8                5.92
                - ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน                                          74.49     -7.12                1.88
                - เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม   71.7    -25.42              -13.96
                รวม 5 อันดับแรก                                               428.38
                - สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้                    49.79%

    2 ญี่ปุ่น       - เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า -                   104.87      3.32                6.28

รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket)

                - ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน                                           46.7    -38.33              -13.91
                - เตาอบไมโครเวฟ                                              43.83     35.53               -4.08
                - สายไฟ ชุดสายไฟ                                              43.38     11.63              -12.65
                - เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น                          41.43     -6.52                1.74
                รวม 5 อันดับแรก                                               280.21
                - สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้                    47.80%

    3 อียู        - กล้องถ่าย TV,VDO                                            105.34      27.1               27.76
                - เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน                           84.61    -24.61              -50.31
                - ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์)             57.32    -33.67              -13.95
                - เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า -                    49.13     -24.4               -7.56

รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket)

                - เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่ (Power Supply)                      29.75    -12.71              -13.01
                รวม 5 อันดับแรก                                               326.14
                - สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกของตลาดนี้                    54.36%

ที่มา กรมศุลกากร, มกราคม 2552

3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

3.1 การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ใน ไตรมาสที่ 4 ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลด ลงถึงร้อยละ 7.76 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Other IC และ Hard Disk Drive เพิ่มขึ้นร้อย ละ 8.02 และ 5.93

ตารางที่ 8 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2551

                                         ดัชนีผลผลิต               การเปลี่ยนแปลง                       การเปลี่ยนแปลง
                                        ไตรมาสที่ 4         เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 51            เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50
                                          ปี2551                    (ร้อยละ)                            (ร้อยละ)
                   ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์     414.94                   -14.59                              -7.76
Semiconductor Devices Transisters         101.24                   -29.64                             -26.61
Monolithic IC                             125.56                    -23.6                             -24.14
Other IC                                  216.66                   -29.47                              -8.02
Hard Disk Drive                           822.77                   -11.87                              -5.93
Printer                                    19.1                    -19.13                             -18.99
ที่มา :   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม, มกราคม 2552

จากการผลิตเพื่อส่งออกที่ปรับตัวลดลงโดยเฉพาะส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ HDD และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น IC เนื่อง จากภาวะชะลอตัวของการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดส่งออกหลักของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ถึงแม้จะมีการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดย เฉพาะ HDD มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2549 และต้นปี 2551 เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกไปยังภูมิภาคเอชียแปซิฟิก โดยเฉพาะตลาดจีน แต่ในช่วงเดือนธันวาคม 2551 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพียง 64.96% เท่านั้น จากเดิมที่เคยมีอัตราการใช้กำลังการผลิต เกือบเต็มที่ ประมาณ 95-100%

ขณะที่ การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขาย ปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้

ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูล เร็วขึ้น ใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท

3.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตร มาสที่ 4 ปี2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.86 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนมีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.22

ตารางที่ 9 ดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2551

                                          ดัชนีส่งสินค้า                 การเปลี่ยนแปลง                        การเปลี่ยนแปลง
                                          ไตรมาสที่ 4          เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 51              เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50
                                            ปี2551                      (ร้อยละ)                            (ร้อยละ)
             ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอทรอนิกส์      444.32                     -13.86                              -7.22
Semiconductor devices Transisters           104.22                     -27.82                              -26.63
Monolithic IC                               123.39                     -23.83                              -22.73
Other IC                                    190.83                      -26.7                              -7.75
Hard Disk Drive                             820.55                       -12                               -5.91
Printer                                     20.04                      -14.67                              -16.79

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, มกราคม 2552

จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) ให้ข้อคิดเห็นว่า อุตสาหกรรม กำลังเริ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญอยู่ ส่งผลต่อเนื่องถึงอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นของทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค

มูลค่าการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปรับตัวลดลง ร้อยละ 11.20 ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับตัวลดลงของทุกภูมิภาคทั่วโลก รวมถึงใน เอเชียแปซิฟิกทั้งที่ ใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมาการเจริญเติบโตค่อนข้างดี โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 7.78 เช่นเดียวกับตลาดญี่ปุ่นที่มีมูลค่าการจำหน่ายค่อน ข้างสูงแต่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 7.96

ตารางที่ 10 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาสที่ 4 ปี 2551

                                            ไตรมาสที่ 4                    การเปลี่ยนแปลง                        การเปลี่ยนแปลง
                                              ปี 2551              เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 51              เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50
                                         (พันล้านเหรียญสหรัฐ)                   (ร้อยละ)                            (ร้อยละ)
    Worldwide  Semiconductor  Sales           60.76                         -10.45                              -11.2
US                                             8.98                          -9.04                              -20.78
EU                                             9.14                         -11.42                              -15.56
Japan                                         12.02                          -4.48                              -7.96
Asia Pacific                                  30.62                          -12.7                              -7.78
ที่มา :  Semiconductor  Industry  Association (SIA), มกราคม 2552

การส่งออก

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 6,537.91 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.03 เมื่อ เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.66

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.27 โดยปรับตัวลดลงในตลาดจีน อียูและสหรัฐอเมริกา 18.60% 20.00% และ 16.52% ตามลำดับ

ตารางที่ 11 มูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทยที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก

                                                                       มูลค่าส่งออก             การเปลี่ยนแปลง                การเปลี่ยนแ
                                                                   ไตรมาสที่ 4 ปี 2551    เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 51     เมื่อเทียบกับไตรมาสที่4 ปี50
                                                                    (ล้านเหรียญสหรัฐ)            (ร้อยละ)                     (ร้อยละ)
          รวมอิเล็กทรอนิกส์                                                6,537.91               -16.03                      -20.66
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์                                           3,824.88               -17.32                      -19.27
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit)                           1,395.25               -24.07                      -32.78
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆ                                312.11                 65.31                      100.78
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์                           225.72                 -0.12                      -15.96
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit)                                               200.06                -23.75                      -45.66
ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ                                           187.8                -27.85                      -23.32
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า                                                           106.26                   -26                      -12.05
เครื่องโทรศัพท์                                                              89.02                -11.27                       -8.48
เครื่องคอมพิวเตอร์ ครบชุด,Notebook,palm                                       73.72                283.35                      354.45
ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์                                                   55.51                 -1.32                       11.82
ที่มา กรมศุลกากร, มกราคม 2552

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ตลาดอียู สหรัฐอเมริกา และจีน มีอัตรา การขยายตัวลดลง 25.93% 21.59% และ 21.39% ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่ส่งออกสามารถสรุปสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักดังกล่าว ได้ดังนี้

ตารางที่ 12 มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรกใน 3 ตลาดหลัก

                                                          มูลค่าส่งออก                               การเปลี่ยนแปลง
                                                       ไตรมาสที่ 4 ปี 2551                     เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 50
     สินค้า                                               (ล้านเหรียญสหรัฐ)                              (ร้อยละ)
                                                 จีน          อียู      สหรัฐอเมริกา         จีน             อียู        สหรัฐอเมริกา

ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์               1,009.73    714.86        701.17        -18.97           -20        -16.52
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit)    155.84    150.22        153.85        -41.78        -28.32           -42
เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ หรือโทรเลข อุปกรณ์อื่นๆ       15.27     38.35         46.14         57.27        180.75          4.03
เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์     1.52     53.28         52.11         31.43        -51.72         19.43
วงจรพิมพ์ (Printed Circuit)                        41.01     39.42         34.69        -37.52        -59.31        -55.03
รวม 5 อันดับแรก                                 1,223.36    996.13        987.94
สัดส่วนสินค้า 5 อันดับแรกต่อมูลค่าส่งออกรวมของตลาดนั้นๆ     96.97%    95.04%        95.32%

ที่มา กรมศุลกากร, มกราคม 2552

เป็นที่น่าสังเกตว่า เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ หรือโทรเลข อุปกรณ์อื่นๆ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงแม้มูลค่าโดยรวมของทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์นั้นไม่สูงมากนัก

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552

จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2552โดยดูจากดัชนีการ ส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 22.04 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียว กันของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศปรับตัวลดลงร้อยละ 42.27 และการปรับตัวลดลงของดัชนีการส่งสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ (ไม่รวม LCD/Plasma) โดยประมาณการว่าจะชะลอตัวโดยปรับตัวลดลง 34.85%YoY

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมตู้เย็นในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.05 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับ การประมาณการภาวะอุตสาหกรรมเครื่องคอมเพรสเซอร์ปรับตัวลดลง ร้อยละ 22.20 เช่นกัน

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 15.00 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐส่งสัญญาณชะลอลงซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณการไตรมาสที่ 1 ปี 2551

หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD และ ICโดยเฉพาะ Other IC ปรับตัวลดลง ทั้งสิ้น โดยปรับตัวลดลง 13.90% และ15.48%

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ