อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายของประเภทผลิตภัณฑ์ และมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเคมีภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย
ผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐานที่มีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือ ส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ โซดาไฟ คลอรีน ไฮโดร คลอริก(กรดเกลือ) และกรดซัลฟูริก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟ โดยในไตรมาสที่ 4 ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายมีปริมาณลดลง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การผลิต
โซดาไฟ หน่วย: ตัน โซดาไฟ Q1 ปี 2551 Q2 ปี 2551 Q3 ปี 2551 Q4 ปี 2551 Q4/Q3 ปี 2551 (ร้อยละ) การผลิต 221,325.70 239,833.60 227,467.50 154,340.20 -32.14 การจำหน่าย 193,136.10 198,740.20 212,688.90 136,922.50 -35.62
ที่มา :สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 4 มีปริมาณ 154,340.2 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 32.14 และการจำหน่ายโซดาไฟในไตร มาสที่ 4 มีปริมาณ 136,922.5 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 35.62 การผลิตและการจำหน่ายลดลงอย่างมากเนื่องจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ของสหรัฐ ฯ ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัวลง อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จึงได้รับผลกระทบด้วย
หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมาก มาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 4 ปี 2551 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 10,950 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 56.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลด ลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 19,186 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.1 เมื่อเทียบกับ ไตร มาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 7,976 ลดลงร้อยละ 27.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว และลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 5,803 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 80.4 เมื่อเทียบกับไตร มาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 5,330 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ย : การนำเข้าลดลง เนื่องจาก เป็นช่วงนอกฤดูการเกษตร ประกอบกับราคาปุ๋ยในตลาดโลกยังคงมีราคาสูงอยู่ ส่งผลให้ เกษตรกรไทยใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลง ประกอบกับผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมี เมื่อนำเข้าแม่ปุ๋ยมาแล้ว ก็มีการปรับสูตรการผลิตให้มีความหลากหลาย ซึ่งลูกค้า/เกษตรกร ได้ประโยชน์ในการใช้ปุ๋ยสูตรธาตุอาหารต่ำที่เหมาะสมกับสภาพดินและพืชที่ปลูก นับเป็นการช่วยลูกค้า/เกษตรกรในการประหยัดเงิน ซึ่งเท่ากับเป็นการ ลดต้นทุนให้ทางอ้อม แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยส่วนใหญ่ ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
อุตสาหกรรมสี : การนำเข้าลดลง เนื่องจาก การชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจก่อสร้าง ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ ชะลอตัวลง ทำให้ความต้องการใช้สีชะลอลงตามกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงด้วย เฉพาะอย่างยิ่งตลาดสีทาอาคาร และการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุน การผลิต จากการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งบางส่วนยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผงสี สารเรซิน ตัวทำละลาย และสารเติม แต่งคุณสมบัติ ประกอบกับ ค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าของประเทศคู่แข่ง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : การนำเข้าลดลง เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย ทำให้กำลังซื้อในประเทศลดลง จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางชะลอตัวลง
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q4/2550 Q1/2551 Q2/2551 Q3/2551 Q4/2551 Q4/51กับQ3/51 Q4/51กับQ4/50 1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 12,586 14,734 19,413 25,254 10,950 -57 -13 1.2 อินทรีย์ * 29 23,312 24,927 25,149 31,012 19,186 -38 -18 1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 18,345 22,717 20,345 21,742 16,980 -22 -7.4 2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 2.1 ปุ๋ย 31 7,798 17,192 26,269 29,680 5,803 -80 -26 2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 8,662 9,172 9,748 10,953 7,976 -27 -7.9 2.3 เครื่องสำอาง 33 4,900 5,484 5,445 6,098 5,330 -13 8.7 2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,600 4,228 4,425 5,128 4,168 -19 15.7
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 4 ปี 2551 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 6,152 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์ อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 3,469 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก 1,931 ลดลงร้อยละ 35.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว และลดลงร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 10,982 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการ ส่งออก 1,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 197.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : การส่งออกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก ราคาปุ๋ยในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเกษตรกรหันมาปลูกพืชทดแทน พลังงานเพิ่มสูงขึ้น โดยตลาดส่งออกปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย
อุตสาหกรรมสี : การส่งออกลดลงเนื่องมาจากวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ของสหรัฐที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว และการล้มละลายของวานิชธนกิจราย ใหญ่ของสหรัฐในปีนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญให้ชะลอตัวลงด้วย ตลาดส่งออกหลักคือ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : การส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ มีคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น ตลาดส่งออก หลัก ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง และอินโดนีเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q4/2550 Q1/2551 Q2/2551 Q3/2551 Q4/2551 Q4/51กับQ3/51 Q4/51กับQ4/50 1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 3,283 2,867 3,436 4,191 3,469 -17 5.6 1.2 อินทรีย์ * 29 5,898 6,742 6,994 9,039 6,152 -32 4.3 1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 3,665 4,660 4,357 5,610 4,537 -19 23.7 2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 2.1 ปุ๋ย 31 370 416 731 783 1,100 40.4 197 2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 2,231 2,412 2,608 2,982 1,931 -35 -13 2.3 เครื่องสำอาง 33 8,262 7,875 7,898 9,465 10,982 16.1 32.9 2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,361 3,425 21,589 4,223 3,333 -21 -0.8
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในไตรมาสที่1 ปี 2552 น่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัวลง ทั้งนี้เนื่องจาก อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุ ดิบเบื้องต้นในการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งจากวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา กับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังมี ความไม่แน่นอน น่าจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจหดตัว รวมทั้งอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--