สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2551 (อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 5, 2009 15:49 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก

ในไตรมาสที่ 4 ความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลงจากไตรมาสที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจากความกังวลของเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และ สภาวะการณ์นี้จะยาวนานแค่ไหน ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลง เนื่องจากมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของภาครัฐบาล ถึงแม้จะมีการออกนโยบาย อัดฉีดเงินเข้าไปในระบบ พยุงสถาบันการเงินในหลายๆประเทศให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่ปัญหาการเงินที่ยืดเยื้อมานานได้มาสำแดงให้เห็น กันมากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี ยิ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมากขึ้น

นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมพลาสติกมีความต้องการน้อยลง นั้นคือ ผลกระทบมาจากภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ พลาสติก ยกตัวอย่างเช่น ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐเกิดการล้มละลาย ทำให้รัฐบาลสหรัฐจะต้องอนุมัติเงินเพื่อพยุงกิจการของบริษัทรถยนต์ยักษ์ ใหญ่ (Big 3) ซึ่งประกอบด้วย เจเนรัลมอเตอร์ ไครส์เลอร์และฟอร์ด โดยได้ดำเนินการลดเงินเดือนผู้บริหาร ลดจำนวนพนักงาน สร้างความสั่น คลอนกับอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก และยังส่งผลให้บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนเพื่อส่งขายให้บริษัทเหล่านี้ระส่ำไปด้วย เพราะจะทำให้ยอดการสั่งซื้อหายไป หากบริษัทเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ นอกจากนี้บริษัทรถยนต์ในญี่ปุ่นหลายบริษัทก็มีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจที่กำลัง ย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ ซึ่งได้ทำการลดกำลังการผลิต ลดพนักงาน ควบคุมต้นทุนในการผลิตให้น้อยลง เพื่อประคองให้ธุรกิจอยู่ ได้ ซึ่งนอกจากภาคอุตสาหกรรมรถยนต์แล้ว ในภาคของอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้รับผลกระทบจากพิษของเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ทำให้หลายบริษัทต้องพากันลด พนักงาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น โซนี่ คอร์ป ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และในส่วนของประเทศไทย ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้รับผลกระทบ จากยอดการสั่งซื้อที่ลดลง เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วจะผลิตเพื่อส่งออก หากประเทศคู่ค้ามีปัญหาทางการเงิน ก็จะทำให้ไม่สามารถผลิตต่อไปได้ ส่งผลให้ ต้องลดจำนวนพนักงานลงเป็นจำนวนมาก ดังเป็นข่าวใหญ่โตเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

แม้ว่าจะมีผลกระทบจากเศรษฐกิจ ทำให้หลายภาคอุตสาหกรรมที่เป็นสินค้าที่ไม่จำเป็น หรือฟุ่มเฟือย ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ แต่ยังมี ภาคอุตสาหกรรมอื่นที่ยังดีอยู่ คือภาคอุตสาหกรรมอาหารที่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ประจำวัน เพื่อทำให้พลาสติกที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมนี้ ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย สามารถประคับประคองให้อุตสาหกรรมพลาสติกอยู่ได้

การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

ผลิตภัณฑ์พลาสติกในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 การผลิตโดยรวมลดลง โดยการผลิตในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติก

                   ผลิตภัณฑ์             Q4        Q1        Q2        Q3        Q4       Q4/Q3ปี51    Q4ปี51 /Q4 ปี50(ร้อยละ)
                                     ปี50       ปี51       ปี51       ปี51       ปี51       (ร้อยละ)
พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆ          144.89     144.5    141.02    146.01    128.34        -12.1          -11.42
พลาสติกแผ่น                          163.12    128.97    127.42    131.97    126.91        -3.83          -22.19
แผ่นฟิล์มพลาสติก                       249.09    232.31       245    292.39     223.7       -23.49          -10.19
กระสอบพลาสติก                       110.78    113.33    108.72    104.46     93.11       -10.86          -15.95
ถุงพลาสติก                            137.3    145.19     137.8    136.59    125.97        -7.77           -8.25
เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ  107.26     108.6    102.76     98.85     92.61        -6.31          -13.65
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 12.10 และลดลงร้อยละ 11.42 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยพลาสติกแผ่น แผ่นฟิล์มพลาสติก กระสอบพลาสติก ถุงพลาสติก และเครื่องใช้ประจำโต๊ะ อาหาร ครัว และห้องน้ำ มีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 3.83 23.49 10.86 7.77 และ 6.31 ตามลำดับ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ลดลงนั้น เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัวลงอย่างมาก สาเหตุจากภาวะ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งทำให้ยอดการส่งออกของไทยลดลง

การนำเข้า

--------------------------------- มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) --------------------------------------------

          ผลิตภัณฑ์ประเภท     Q2 ปี     Q3 ปี      Q4 ปี     Q1 ปี     Q2 ปี      Q3 ปี      Q4 ปี    Q4/2551เทียบกับQ3/2551   Q4/2551เทียบกับQ4/2550
                           2550     2550      2550     2551     2551      2551      2551            (ร้อยละ)                   (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก            22.6       23     33.91     27.9     29.1     34.53     27.02            -21.75                    -20.32
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก   208.1    227.8     231.1    238.7    245.5     256.1    230.41            -10.03                     -0.3
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ           354.3    359.9    389.34    446.6    420.1     397.6    416.04              4.64                      6.86
            รวมทั้งสิ้น         585    610.7    654.35    713.2    694.7    688.23    673.47             -2.14                      2.92

ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกโดยรวมในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่า 673.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่านำเข้า 27.02 ล้านเหรียญ สหรัฐ ลดลงร้อยละ 21.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 20.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ พลาสติก มีมูลค่านำเข้า 230.41 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 0.30 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก คือ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย

การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกในไตรมาสที่ 4 ลดลงเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัวลง อุตสาหกรรมพลาสติกซึ่งเป็นอุตสาหกรรม Supporting Industry ของอุตสาหกรรมอื่น ๆ มากมาย จึง ได้รับในผลกระทบดังกล่าวด้วย ส่งผลให้การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลง

การส่งออก

              ประเภท                 -----------------------------   มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ )  ---------------------------------------
              ผลิตภัณฑ์                 Q2 ปี     Q3 ปี     Q4 ปี     Q1 ปี     Q2 ปี     Q3 ปี     Q4 ปี   Q4/2551เทียบกับQ3/2551   Q4/2551เทียบกับQ4/2550
                                     2550     2550     2550     2551     2551     2551     2551            (ร้อยละ)                   (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก                     127      145     157.8     160      168     182.6     155             -15.01                    -1.62
แผ่นฟิลม์  ฟอยล์ และแถบ                   183      180     197.5     198      223     220.5     185             -15.92                    -6.16
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ             4.8      5.2     5.75      5.3      6.9     5.61      6.1              7.66                      5.04
กล่องหีบพลาสติก                         11.5     13.6     17.92    20.4     21.8     21.8     18.2             -16.37                     1.73
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก             5.5      5.4     5.71      5.1      5.4     5.79      5.2             -10.18                    -8.93
หลอดและท่อพลาสติก                      11.4     12.4     15.73    16.9     16.3     20.16     17              -15.67                     8.07
พลาสติกปูพื้นและผนัง                      19.9     20.5     18.82    20.2     22.2     24.75    14.9             -39.71                   -20.72
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก              28.5     30.2     30.35    30.2     36.8     36.27    35.6              -1.7                     17.46
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ                       188      204     214.4     211      230     237.2     242              1.95                     12.76
              รวมทั้งสิ้น                 579      617      664      666      731     754.7     679             -9.96                      2.32

ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกรวมในไตรมาสที่ 4 มีมูลค่า 679.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก155.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 1.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ มีมูลค่าส่งออก 185.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.92 และลดลงร้อยละ 6.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลักผลิตภัณฑ์พลาสติกของ ไทย คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน

การส่งออกลดลงในไตรมาสที่ 4 เนื่องจาก ผู้นำเข้าต่างประเทศมีคำสั่งซื้อลดลง อันผลมาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ส่ง ผลกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลก

แนวโน้ม

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 คาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกจะชะลอตัวลง เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความวิตกกังวลของปัญหาทาง เศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิตจะมีราคาลดลงก็ตาม แต่ข่าวที่หลายบริษัทมีผลประกอบการลดลง ยอดการสั่งซื้อที่ลดลง จนต้องลด ต้นทุนการผลิตด้วยการปรับลดพนักงาน ยิ่งทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น และสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ครั้งนี้ เกิดในประเทศที่ เป็นคู่ค้ากับไทย ยิ่งตอกย้ำให้ประเทศไทยส่งออกได้ยากลำบากมากขึ้น สุดท้ายแล้วจะส่งผลให้ผู้ประกอบการพลาสติกไทยได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ