สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2551 (ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 5, 2009 15:55 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (Petrochemical Industry)

ไตรมาส 4 ปี 2551 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียตลอดไตรมาสมีความผันผวนอย่างมากและปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบ โดยมีสาเหตุ จากสถานการณ์วิกฤตการเงินของสหรัฐฯ และภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ส่วนราคาเอทิลีนโดยเฉลี่ยตลอดไตรมาสมีการ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันดิบและแนฟธา ปริมาณการซื้อขายมีน้อยมาก เนื่องจากปริมาณความต้องการในตลาดผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องมีน้อย อุป ทานเอทิลีนในตลาดเอเชียมีความตึงตัว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการหลายรายได้ปรับลดกำลังการผลิตลง

สำหรับการซื้อขายเม็ดพลาสติกทั้ง PE และ PP ตลอดไตรมาสราคามีความผันผวนตามตลาดต่างประเทศ ปริมาณการซื้อขายในประเทศมี น้อย ผู้ใช้ต่างชลอการซื้อขายลงเนื่องจากยังคงมีสต็อกเพียงพอ และคาดว่าราคาจะลดลงอีก รวมถึงเข้าสู่ช่วงวันหยุดในหลายประเทศ ได้แก่ วันชาติ จีน วัน Eid Al-Fitr ของชาวมุสลิม

การผลิต

ไตรมาส 4 ปี 2551 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศ มีแผนเพิ่มกำลังการผลิต MEG ขนาด 300,000 ตัน/ปี ขึ้นอีก 30% ทำให้ กำลังการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเป็น 390,000 ตัน/ปี มีแผนลงทุนสร้างหน่วยผลิตเม็ดพลาสติก PVC ขนาด 6,000 ตัน/ปี โดยหน่วยผลิตนี้จะทำการผลิต Special Type of Plasticiser เพื่อรองรับความต้องการในตลาดเอเชียที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2553 ส่วนโครงการเอทิลี นแครกเกอร์ขนาด 1,000,000 ตัน/ปี คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ตามหมายกำหนดเดิมในช่วงปลายไตรมาส 4 ของปี 2552 นอก จากนี้ในโครงการก่อสร้างแนฟธาแครกเกอร์ขนาด 600,000 — 1,000,000 ตัน/ปี ประสบปัญหาความล่าช้า เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน คาดว่าจะ แล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้ในปี 2555

สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย รัฐบาลอินเดียมีแผนอนุญาติให้บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ต่างๆ เข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจด้านการ ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกและเคมีภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศ พัฒนาความก้าวหน้าด้าน เทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างงานภายในประเทศให้มากขึ้น มีการเลื่อนเปิดดำเนินการคอมเพล็กซ์ที่ประกอบด้วยแครกเกอร์ขนาด 900,000 ตัน/ ปี และหน่วยผลิตโพลีโพรพิลีนขนาด 700,000 ตัน/ปี สไตรีน ขนาด 600,000 ตัน/ปี และโพลีสไตรีนขนาด 200,000 ตัน/ปี ออกไปจากปี 2552 เป็นปี 2553 เนื่องจากมีปัญหาด้านเงินลงทุน นอกจากนี้ได้เริ่มทดลองเดินเครื่องหน่วยผลิต PP compound rasin ขนาด 15,000 ตัน/ปี โดยมีแผน จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2552

ปากีสถาน เริ่มเดินเครื่องทดสอบกระบวนการผลิตของโรงงานผลิต PVC ขนาด 50,000 ตัน/ปี โดยเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ไป แล้วในช่วงกลางไตรมาสที่ 4 ของปี 2551

ฮ่องกง ประกาศปิดโรงงานของเล่นเด็ก 2 แห่งในประเทศจีน ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตการเงินโลก ซึ่งส่งผลต่อสถานะความต้องการผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต

มาเลเซีย ประกาศปิดโรงงานปิโตรเคมี 2 แห่ง เนื่องจากควาต้องการโพลิเมอร์มีน้อยมาก คาดว่าจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตโอเลฟินส์ โพลีเอทิลีน โพลีโพรพิลีน โพลีไวล์นิลคลอไรด์ และอะโรแมติกส์

จีนและสิงคโปร์ ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี โดยมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2552 ซึ่งจะก่อให้เกิด ประโยชน์ระหว่างกันในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์สื่อสาร

ญี่ปุ่น มีแผนปรับลดกำลังการผลิตของโรงงานผลิต PP และ PE ลงเหลือ 60% ในเดือนมกราคม 2552 นอกจากนี้ยังมีการลงนามในสัญญา กับบริษัทปิโตรเคมีของบราซิล ทำข้อตกลงเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจำนวน 50,000 ตัน/ปี คาดว่าจะเริ่มทำการตลาดได้ในปี 2554 ขณะนี้ บราซิลอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิต Polyethylene จากวัตถุดิบธรรมชาติขนาด 200,000 ตัน/ปี โดยมีแผนเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2554

ซาอุดิอาระเบีย อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี ซึ่งประกอบด้วยแครกเกอร์อีเทนและบิวเทน ขนาด 2 ล้านตัน/ปี หน่วยผลิตโพลีเอทิลีนขนาด 700,000 ตัน/ปี ethylene glycol ขนาด 530,000 ตัน/ปี polypropylene ขนาด 350,000 ตัน/ปี phenolics ขนาด 240,000 ตัน/ปี และ bisphenol-A ขนาด 260,000 ตัน/ปีคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้ในปี 2553

การตลาด

ราคาเม็ดพลาติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551 ราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือน ธันวาคม 2551 ของ LDPE, HDPE, และ PP อยู่ที่ระดับ 29.86, 28.86 และ 27.39 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มี ระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ระดับราคา 57.75, 55.21 และ 53.06 บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ

การนำเข้า

ไตรมาส 4 ปี 2551 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 3,208.17 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลด ลงถึงร้อยละ 56.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 4,516.33 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 52.20 เมื่อเทียบ กับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 35.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 18,591.72 ล้านบาท ลดลงถึง ร้อยละ 33.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 3.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

   ปิโตรเคมี       ------- มูลค่านำเข้า (ล้านบาท)-------    ------------เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)-----------------
                 Q4/2550      Q3/2551      Q4/2551    เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา   เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
    ขั้นต้น        7,311.45     6,658.85     3,208.17          -51.82                 -56.12
   ขั้นกลาง       7,025.08     9,449.18     4,516.33           -52.2                 -35.71
   ขั้นปลาย      19,305.90    27,833.77    18,591.72           -33.2                   -3.7
ที่มา   :   ข้อมูลจากกรมศุลกากร

การส่งออก

ไตรมาส 4 ปี 2551 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 4,489.22 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 41.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว และลดลงร้อยละ 25.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 8,402.14 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.26 เมื่อ เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงถึงร้อยละ 37.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 32,889.46 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 33.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 29.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  ปิโตรเคมี      -------มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)-----     --------------เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)-----------------
                Q4/2550    Q3/2551    Q4/2551     เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา     เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
 ขั้นต้น          6,019.83   7,681.10   4,489.22          -41.55                         -25.43
 ขั้นกลาง       13,389.93  11,877.79   8,402.14          -29.26                         -37.25
 ขั้นปลาย       46,958.60  49,722.23  32,889.46          -33.85                         -29.96
ที่มา   :   ข้อมูลจากกรมศุลกากร

แนวโน้ม

คาดการณ์ว่า วัฏจักรธุรกิจปิโตรเคมีจะเข้าสู่วงจรขาลงยาวนานกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ จากเดิมที่น่าจะไม่เกินปี 2553-2555 และจากการ ที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ในขณะที่ปริมาณการผลิตของโลกยังคงเข้าสู่ตลาดมากขึ้นตามแผนการผลิตเดิม โดยเฉพาะสินค้าจากตะวัน ออกกลางและจีน ได้สร้างแรงกดดันในการแข่งขันให้ทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรักษาตลาดเดิมไว้โดยประสานความ ร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตกับกลุ่มลูกค้าในการคิดค้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของตลาดให้ได้มากที่สุด การปรับเปลี่ยนกระบวน การผลิตให้ครบวงจรมากขึ้น รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของตน ตลอดจนมีการวางแผนปรับลดกำลังการผลิตเพื่อลดต้นทุนในช่วงที่ผลิตภัณฑ์ ในตลาดมีมากและราคาตกต่ำ และไม่ควรมองข้ามการรุกหาตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะตลาดของประเทศที่เริ่มพัฒนาประเทศ เช่น อินเดีย อาฟริกาใต้ ปากีสถาน เป็นต้น

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ