1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 28.26 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบ กับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 20.16 และ 10.49 ตามลำดับ สำหรับการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.74 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเทียบ กับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 22.63 และ 15.67 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิต เซรามิกลดลงจาก ผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจ และภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
การผลิตเซรามิก ในปี 2551 มีปริมาณเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่การผลิตที่ เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากสามารถขยายตลาดต่างประเทศได้ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 139.67 ล้าน ตารางเมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 8.31 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ในอัตราร้อยละ 2.83 และ 1.31 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 32.82 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.99 และ 7.16 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 0.89 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 23.24 และ 25.00 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งการจำหน่าย เซรามิกมีการแข่ง ขันอย่างรุนแรงโดยเฉพาะสินค้านำเข้าที่มีราคาถูกจากจีน และจากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจ และภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ส่งผลให้อำนาจในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคลดลง จนทำให้การจำหน่ายเซรามิกในประเทศลดลงตามไปด้วย
การจำหน่ายเซรามิก ในปี 2551 อยู่ในภาวะที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ จึงมีการเติบโตไม่ มากนัก โดยการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 150.83 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ในอัตราร้อยละ 2.39 ในขณะที่การจำหน่าย เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.46 ล้านชิ้น ลดลงจาก ปี 2550 เพียงเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.45
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 204.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และระยะเดียว กันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 19.91 และ 20.60 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) ซึ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตการเงินที่ เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาจนลุกลามไปยังสหภาพยุโรป และประเทศต่าง ๆ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในตลาดสหรัฐ อเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียสหราชอาณาจักร จีน เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอา เซียน ในปี 2551 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีมูลค่ารวม 954.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.18 ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์มี การส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดหลักที่สำคัญเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดสหรัฐอเมริกาที่การส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้นบุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้บน โต๊ะอาหาร และของชำร่วยเครื่องประดับ มีมูลค่าการส่งออกลดลง
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสเปน โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2551 การ นำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกมีมูลค่า 61.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 17.68 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.68 (ดังตารางที่ 4) สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2551 มีมูลค่ารวม 265.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.29 ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และมาเลเซีย และการนำ เข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าอิฐทนไฟ จากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเยอรมนี และนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจาก จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน ประเทศ นอกจากนี้การจำหน่ายเซรามิกยังเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงโดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากจีน ทำให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเซรามิกลด ลงเป็นอย่างมาก สำหรับแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 แม้ว่าในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ตลาดเข้าสู่ฤดูการขายแล้วก็ตาม แต่ การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศจะอยู่ในภาวะทรงตัว จนกว่าปัญหาเศรษฐกิจในประเทศจะคลี่คลายไปในทางที่ดี จึงจะทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจใน การตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาจนลุกลามไป ยังสหภาพยุโรป และประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่อง สุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีแนว โน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องเร่งขยาย ตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่กำลังมีปัญหา
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 Apr-50 Mar-51 Apr-51 การผลิต 31,572,610 35,396,718 28,259,865 135,828,958 139,669,995 เทียบกับไตรมาสก่อน -20.16 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.49 2.83 การจำหน่ายในประเทศ 35,348,275 34,911,316 32,818,898 147,305,300 150,825,458 เทียบกับไตรมาสก่อน -5.99 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -7.16 2.39 ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 9 โรงงาน ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 Apr-50 Mar-51 Apr-51 การผลิต 2,057,648 2,242,662 1,735,210 8,197,938 8,305,693 เทียบกับไตรมาสก่อน -22.63 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -15.67 1.31 การจำหน่ายในประเทศ 1,185,116 1,157,939 888,862 4,480,043 4,460,023 เทียบกับไตรมาสก่อน -23.24 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -25 -0.45
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 ผลิตภัณฑ์ Apr-50 Mar-51 Apr-51 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 29.83 35.98 27.83 108.64 126.98 เทียบกับไตรมาสก่อน -22.65 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.7 16.88 เครื่องสุขภัณฑ์ 42 37.26 30.89 142.31 139.32 เทียบกับไตรมาสก่อน -17.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -26.45 -2.1 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 45.73 48.42 37.89 188.38 167.97 เทียบกับไตรมาสก่อน -21.75 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.14 -10.83 ของชำร่วยเครื่องประดับ 8.65 8.09 6.24 34.52 30.35 เทียบกับไตรมาสก่อน -22.87 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -27.86 -12.08 ลูกถ้วยไฟฟ้า 7.07 7.95 4.79 23.47 26.81 เทียบกับไตรมาสก่อน -39.75 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -32.25 14.23 ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 124.02 117.37 96.65 402.06 463.49 เทียบกับไตรมาสก่อน -17.65 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -22.07 15.28 รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 257.3 255.07 204.29 899.38 954.92 เทียบกับไตรมาสก่อน -19.91 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -20.6 6.18
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ปี 2550 ปี 2551 ผลิตภัณฑ์ Apr-50 Mar-51 Apr-51 ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 18.02 32.09 21.06 66.29 99.77 เทียบกับไตรมาสก่อน -34.37 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.87 50.51 ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 28.66 42.58 40.41 124.2 165.57 เทียบกับไตรมาสก่อน -5.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 41 33.31 รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 46.68 74.67 61.47 190.49 265.34 เทียบกับไตรมาสก่อน -17.68 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 31.68 39.29
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร หมายเหตุ : 1. โครงสร้างสินค้านำเข้า แบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็น
1) ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และ
2) ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ได้แก่ อิฐทนไฟ อิฐก่อสร้าง กระเบื้องมุงหลังคา หลอดท่อเซรามิก และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--