สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2551 (อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 9, 2009 14:08 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551

มีปริมาณการผลิต 2.63 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อย ละ 21.96 ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากต้นทุนราคาน้ำมันที่ลดลง และเป็นช่วงฤดูขายปลายปี อย่างไรก็ตาม การผลิตมี ปริมาณที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ส่ง ผลกระทบต่ออุปสงค์ของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

2. การตลาด

2.1 การจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี2551 มีปริมาณการจำหน่าย 1.05 ล้านชิ้น เมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.94 และ 94.44 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้น เนื่อง จากอุปสงค์โดยเฉพาะของตลาดกลางและตลาดบนยังมีอยู่ ประกอบกับมาตรการลดผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพและมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริม ทรัพย์ของรัฐบาล เพิ่มอำนาจซื้อให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งเป็นช่วงโหมกิจกรรมทางการตลาดของที่อยู่อาศัยและเครื่องเรือนเพื่อกระตุ้นยอดขายปลายปี

2.2 การส่งออก

การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 514.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 17.37 และ 17.71 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกที่ลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ส่งผลให้ความต้องการไม้และเครื่อง เรือนจากไทยลดลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปตลาดใหม่ของไทย เช่น ออสเตรเลีย ประเทศในสหภาพยุโรปอื่นๆ ประเทศแถบตะวันออกกลาง และ เอเซียใต้ ยังมีการขยายตัว

สำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้

1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มี มูลค่าการส่งออก 251.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 49 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ 10.80 และ 16.48 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือนและชิ้นส่วน เครื่องเรือน คือ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบ

รูปไม้ และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 79.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 16 ของ มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ 10.80 และ 20.14 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์

3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้ วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 182.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่าการส่งออกสินค้า ประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 27.10 และ 18.28 ตาม ลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไม้อัดและไฟเบอร์บอร์ด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้ แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย และเวียดนาม

2.3 การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีจำนวน 139.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน ลดลงร้อยละ 22.88 และ 1.39 ตามลำดับ การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อ แข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูปและไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ มาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์และมาเลเซีย และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้า จากประเทศจีน มาเลเซีย และเมียนมาร์

3. สรุปและแนวโน้ม

การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากปัจจัยบวก ของราคาน้ำมันที่ลดลง และเป็นช่วงฤดูขายปลายปี การจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 เมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ที่ยังมีอยู่โดยเฉพาะของตลาดบนและตลาดล่าง กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค จากมาตรการกระตุ้นธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์และมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐ และจากกิจกรรมการขายและงานแสดงสินค้าเครื่องเรือนเป็นจำนวนมากเพื่อกระตุ้น ยอดขายปลายปี

สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 คาดว่าจะทรง ตัว เนื่องจากสภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจทั้งในประเทศและทั่วโลก ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ความผันผวนของราคาน้ำมัน และค่า ครองชีพที่สูง จะทำให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคระมัดระวังการลงทุนและการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวก ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขา ลง การต่ออายุมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และอุปสงค์ของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนที่ยังมีอีก ตามโครงการที่อยู่อาศัย ประเภทต่างๆที่ออกสู่ตลาด

การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจถดถอยของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ทำให้คำสั่งซื้อจากไทยลดลง

สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากประเทศคู่ค้าหลักของ ไทยยังประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวก ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนของไทยที่นิ่ง และการส่งออกไปตลาดใหม่ๆของไทยที่ยังขยาย ตัวได้ โดยเฉพาะออสเตรเลีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และเอเซียใต้

ดังนั้น ผู้ประกอบการควรบริหารจัดการต้นทุน ซึ่งรวมทั้งวัตถุดิบ พลังงาน สาธารณูปโภค และการขนส่ง ผลิตสินค้าที่มีความแตกต่าง เช่น มีประโยชน์ใช้สอยได้หลายอย่าง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พิจารณาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ และเน้นเจาะตลาดภายใน ประเทศที่ยังมีกำลังซื้อ และตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพ เช่น ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ รัสเซีย และประเทศแถบตะวันออกกลาง เป็นต้น

ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้

หน่วย : ล้านชิ้น

                 ผลิตภัณฑ์                                  ไตรมาส                    ปี 2550         ปี 2551
                                              Apr-50      Mar-51      Apr-51     (ม.ค.-ธ.ค.)    (ม.ค.-ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้                                3.37        2.62        2.63          16.64          10.12
     เทียบกับไตรมาสก่อน                                                    0.38
     เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน                                        -21.96                        -39.18

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน

ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้

หน่วย : ล้านชิ้น

                 ผลิตภัณฑ์                                   ไตรมาส                   ปี 2550         ปี 2551
                                              Apr-50      Mar-51      Apr-51    (ม.ค.-ธ.ค.)    (ม.ค.-ธ.ค.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้                                0.54        1.02        1.05           2.36           3.52
     เทียบกับไตรมาสก่อน                                                    2.94
     เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน                                         94.44                         49.15

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

   รายการ                                ไตรมาส            เทียบกับ    เทียบกับไตรมาส     ปี 2550      ปี 2551  เทียบกับช่วงเดียวกัน

Apr-50 Mar-51 Apr-51 ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.) (ม.ค.-ธ.ค.) ของปีก่อน

1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน              301.1    281.9    251.5    -10.8        -16.5       1,153.42    1,078.51    -6.49
  1.1 เครื่องเรือนไม้                152.3    144.2    137.8    -4.47         -9.5         599.32      554.52    -7.48
  1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ              79.58     62.1    57.38     -7.6        -27.9         293.03      241.58    -17.6
  1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน             69.29    75.61    56.33    -25.5        -18.7         261.07      282.41     8.17
2. ผลิตภัณฑ์ไม้                       99.9    89.44    79.78    -10.8        -20.1         379.58      345.17    -9.07
  2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้             23.55    22.48    21.01    -6.54        -10.8          90.71       88.69    -2.23
  2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้              35.25    28.23    22.98    -18.6        -34.8         140.69      112.31    -20.2
  2.3 กรอบรูปไม้                   24.82    22.76    22.58    -0.79        -9.02          91.49       82.56    -9.76
  2.4 รูปแกะสลักไม้                 16.28    15.97    13.21    -17.3        -18.9          56.69       61.61     8.68
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น               223.7    250.8    182.8    -27.1        -18.3         807.46      916.93    13.56
  3.1 ไม้แปรรูป                    66.49    69.89    59.61    -14.7        -10.4         273.46      269.72    -1.37
  3.2 แผ่นไม้วีเนียร์                   1.7     1.52     0.49    -67.8        -71.2           8.27        5.68    -31.3
  3.3 ไม้อัด                       63.21    69.82    47.19    -32.4        -25.3         232.99      261.76    12.35
  3.4 Fiber Board                67.71    68.24    40.49    -40.7        -40.2          224.4      245.71      9.5
  3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ               24.58    41.29    35.02    -15.2        42.47          68.34      134.06    96.17
รวม                              624.7    622.1    514.1    -17.4        -17.7       2,340.46    2,340.61    0.006

ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

       รายการ                      ไตรมาส                      เทียบกับ      เทียบกับไตรมาส      ปี 2550        ปี 2551        เทียบกับ
                        Apr-50      Mar-51      Apr-51       ไตรมาสก่อน     เดียวกันของปีก่อน  (ม.ค.-ธ.ค.)   (ม.ค.-ธ.ค.) ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไม้ซุง                    18.95       37.04       20.83         -43.76            9.92         90.94         113.25         24.53
ไม้แปรรูป                 77.17       96.27       80.51         -16.37            4.33        356.27         361.38          1.43
ไม้อัด วีเนียร์              32.45       33.26       24.68          -25.8          -23.94        111.39         121.67          9.23
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ             12.92       14.35        13.5          -5.92            4.49         49.99           56.9         13.82
         รวม            141.5       180.9       139.5         -22.88           -1.39        608.59          653.2          7.33

ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ