สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2551 (อุตสาหกรรมยา)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 9, 2009 14:16 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 มีปริมาณ 7,214.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและ ไตรมาสก่อน ร้อยละ 10.7 และ 12.6 ตามลำดับ สำหรับในปี 2551 มีปริมาณการผลิต 25,805.8 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.2

ในด้านการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 มีปริมาณ 6,743 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.2 และ 7 ตามลำดับ สำหรับในปี 2551 มีปริมาณการจำหน่าย 24,776.8 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ร้อยละ 0.1

ยาที่มีปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาที่เพิ่มขึ้นมากในไตรมาสสุดท้ายของปี คือ ยาน้ำ ประเภทยาแก้ไข้ แก้ไอ และแก้หวัด เนื่องจากเป็น ยาที่มีความต้องการมากตามสภาพอากาศ และฤดูกาล นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจไทย จะมีผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ เนื่องจากยาถือว่าเป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต จึงไม่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก

2. การนำเข้า

การนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรค ไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 มีมูลค่า 8,660.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน ร้อยละ 20.9 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 1.9 โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,848.4 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 44.4 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด สำหรับในปี 2551 มีการนำเข้ามูลค่า 33,480.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียว กันของปีก่อนร้อยละ 21.3 โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจาก ประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 15,280.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.6 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด

ยารักษาหรือป้องกันโรคที่ยานำเข้าเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสิทธิบัตร ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำ ของโลก ซึ่งการนำเข้ายามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่บริษัทผู้นำเข้ายังให้ความสำคัญกับแผนการตลาด เช่น การรณรงค์เรื่องสุขภาพ การ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย คือ แพทย์ และเภสัชกร รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อกระตุ้นตลาดให้มีการใช้จ่ายและ จดจำตราสินค้า นอกจากนี้การเติบโตของโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งการที่ยานำเข้าถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักมากขึ้น มีส่วนทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่ม ขึ้นด้วย

4. การส่งออก

การส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 มีมูลค่า 1,382.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.7 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง ร้อยละ 3.2 ตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 973 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.4 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรค ทั้งหมด สำหรับในปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 5,418.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.5 ตลาดส่งออกสำคัญของปีนี้ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,749.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 69.2 ของมูลค่า การส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรคทั้งหมด

ตลาดที่มูลค่าการส่งออกมีการเติบโตมาก คือ ฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีผู้ประกอบการไทยสามารถขอขึ้นทะเบียนยาในประเทศดังกล่าวได้ นอก จากนี้การที่เมียนมาร์ ไม่มีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ตลาดนี้กลับมาสั่งซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้น รวมถึงตลาดใหม่ ๆ เช่น รัสเซีย และบาง ประเทศในแอฟริกา มีแนวโน้มการส่งออกดี อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการไทย ต้องประสบกับการแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมาเลเซีย และสิงคโปร์ ในตลาด หลัก เช่น ลาว และกัมพูชา ฉะนั้นผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะต้องสร้างความมั่นใจในสินค้าให้กับลูกค้า โดยต้องยกระดับมาตรฐานในการผลิตอย่างต่อ เนื่อง เพื่อให้สินค้าที่ผลิตได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ และสามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น

5. นโยบายภาครัฐ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมยา ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ที่สำคัญ คือ

5.1 ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยสาระสำคัญประการหนึ่ง ของร่างกฎหมายฯ ดังกล่าว คือ การกำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายแห่งชาติด้านยาและแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ จัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติและกำหนดราคากลางยาในการจัดซื้อของหน่วยงานของรัฐ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย โดยให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ

5.2 การขึ้นทะเบียนตำรับยาตามข้อตกลง ASEAN Harmonization Product on Pharmaceutical Registration

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การขึ้นทะเบียนตำรับยาตามข้อตกลง ASEAN Harmonization Product on Pharmaceutical Registration เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 โดยสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว คือ การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญ ยาใหม่ ยาสามัญใหม่ และยาชีววัตถุ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับ ยาแบบ ASEAN Harmonization เพียงแบบเดียว และข้อมูลที่ใช้ประกอบการขึ้นทะเบียนตำรับยาสามัญ ยาใหม่ ยาสามัญใหม่ และผลิตภัณฑ์ชีววัตถุ ให้ เป็นไปตามข้อกำหนดด้าน Technical Requirements

5. สรุปและแนวโน้ม

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ เศรษฐกิจจะชะลอตัว เพราะยาเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต โดยยาที่มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาก คือ ยาน้ำ ประเภทยาแก้ไข้ แก้ไอ และแก้ หวัด เนื่องจากเป็นยาที่มีความต้องการมากตามสภาพอากาศ และฤดูกาล ด้านการนำเข้าโดยส่วนใหญ่เป็นยาสิทธิบัตร มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก การดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดของผู้นำเข้า รวมถึงการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชน สำหรับการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยตลาดหลัก คือ อา เซียน

สำหรับในไตรมาสแรกของปี 2552 คาดว่าการผลิต และการจำหน่ายยาในประเทศ จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศ มีแนวโน้มที่จะจัดกิจกรรมด้านตลาด รวมถึงเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และทำการประชาสัมพันธ์ถี่ขึ้น เพื่อกระตุ้นตลาด ด้านมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะขยาย ตัวอย่างต่อเนื่องจากการนำเข้ายาสิทธิบัตร สำหรับมูลค่าการส่งออก คาดว่าจะมีการขยายตัวเช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้ประกอบการมีความต้องการส่ง ออกมากขึ้น โดยพยายามพัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์

หน่วย : ตัน

                 ประเภท                                    ไตรมาส                   2550         2551
                                               Apr-50      Mar-51      Apr-51
ยาเม็ด                                        1,524.20    1,482.60    1,518.30     5,823.00     5,881.80
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   2.4
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -0.4                         1
ยาน้ำ                                         3,039.90    3,178.60    4,217.80    12,471.40    13,404.10
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  32.7
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           38.7                       7.5
ยาแคปซูล                                         203.6       191.6       193.1        652.9        725.2
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   0.8
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -5.2                      11.1
ยาฉีด                                            108.2       135.9       122.3        431.6        485.3
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   -10
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                             13                      12.4
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน                                30.7        30.1        30.2        117.7        112.8
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   0.3
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -1.6                      -4.2
ยาครีม                                           605.4       505.7       537.4     2,343.40     2,077.40
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   6.3
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                          -11.2                     -11.4
ยาผง                                         1,006.70       879.9       595.1     3,906.60     3,119.20
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                 -32.4
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                          -40.9                     -20.2
รวม                                          6,518.70    6,404.40    7,214.20    25,746.60    25,805.80
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  12.6
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           10.7                       0.2

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 31 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 27 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 15 โรงงาน)

ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์

หน่วย : ตัน

                 ประเภท                                   ไตรมาส                    2550         2551
                                               Apr-50      Mar-51      Apr-51
ยาเม็ด                                        1,529.70    1,451.20    1,545.40     5,617.40     5,835.60
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   6.5
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                              1                       3.9
ยาน้ำ                                         3,905.80    3,935.10    4,355.50    15,348.70    15,546.90
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  10.7
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           11.5                       1.3
ยาแคปซูล                                           228       198.9         216        771.2        818.5
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   8.6
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           -5.3                       6.1
ยาฉีด                                             76.1        90.1        90.7        309.4        350.3
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   0.7
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           19.2                      13.2
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน                                  29        28.1        31.6        115.5        112.4
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  12.5
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                              9                      -2.7
ยาครีม                                           512.4         474       376.3     2,071.50     1,631.90
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                 -20.6
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                          -26.6                     -21.2
ยาผง                                            127.5       125.7       127.5        514.5        481.2
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                   1.4
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                              0                      -6.5
รวม                                          6,408.50    6,303.10    6,743.00    24,748.20    24,776.80
        เทียบกับไตรมาสก่อน                                                     7
        เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                            5.2                       0.1

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 31 โรงงาน (ยาเม็ด 28 โรงงาน ยาน้ำ 27 โรงงาน ยาแคปซูล 25 โรงงาน

ยาฉีด 8 โรงงาน ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน ยาครีม 16 โรงงาน และยาผง 15 โรงงาน)

ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรค*

               มูลค่า (ล้านบาท)                                ไตรมาส                   2550         2551
                                                 Apr-50      Mar-51      Apr-51
มูลค่าการนำเข้า                                   7,164.90    8,830.20    8,660.80    27,604.50    33,480.70
          เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  -1.9
          เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           20.9                      21.3
มูลค่าการส่งออก                                   1,164.40    1,428.40    1,382.60     4,860.10     5,418.20
          เทียบกับไตรมาสก่อน                                                  -3.2
          เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน                                           18.7                      11.5

ที่มา : กรมศุลกากร

หมายเหตุ : รวบรวมจาก HS 3003 และ 3004

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ