สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2551 (อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 9, 2009 14:42 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตยางแท่งและยางแผ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59 และ 33.21 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตยางแท่งและยางแผ่นลดลงร้อยละ 17.46 และ 19.35 ตามลำดับ ใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ราคายางพาราตกต่ำอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 52.97 บาท ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 45.88 และ 32.51 ตามลำดับ โดยในเดือนธันวาคม 2551 ราคาเฉลี่ย ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ตกลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 38.59 บาท ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดในรอบ 5 ปี จากราคายางพาราที่เคยปรับตัวขึ้นสูงสุดในช่วงต้นไตรมาส ที่ 3 สูงถึงกิโลกรัมละกว่าร้อยบาท ทั้งนี้เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐอเมริกาส่งผลกระทบต่อความต้องการยางพาราจากไทยลดลง อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาซบเซา ยอดการจำหน่ายลดลงต่ำกว่าร้อยละ 30 ส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ซึ่งใช้ ยางพาราในการผลิต โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ และมีผลให้สหรัฐอเมริกาชะลอการซื้อยางรถยนต์จากจีนและญี่ปุ่น จึงทำ ให้จีนและญี่ปุ่นต้องชะลอการสั่งซื้อวัตถุดิบยางพาราจากไทย นอกจากนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ยางสังเคราะห์มีราคา ตกต่ำ มีการนำยางสังเคราะห์มาใช้ ทดแทนยางธรรมชาติมากขึ้น จึงยิ่งฉุดให้ราคายางธรรมชาติตกต่ำตามไปด้วย

การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ของกลุ่มยางยานพาหนะโดยรวมลดลง โดยกลุ่มยางนอกรถยนต์มีปริมาณการผลิต ประมาณ 5.77 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 10.76 โดยลดลงในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลด ลงร้อยละ 2.91 โดยลดลงในยางนอกรถกระบะ และยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ส่วนกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานมีปริมาณการผลิต ประมาณ 9.76 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.06 และ 6.96 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มยางในมีปริมาณการ ผลิต 12.93 ล้านเส้น ลดลงจาก ไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.89 และ 14.23 ตามลำดับ โดยลดลงในยางในทุก ประเภท เนื่องจากจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางในรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยมีการจำหน่ายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าของไทย แม้ คุณภาพสินค้าของจีนจะไม่ดีนัก สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.19 เนื่องจากน้ำยางข้น วัตถุดิบในการผลิตถุงมือยางมีราคาถูกลง ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง จึงทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนการผลิตถุงมือยางลดลงร้อยละ 4.67

การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นปี 2551 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.82 โดยเพิ่มขึ้นในยางแท่ง สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ยางปี 2551 ผลผลิต ยางยานพาหนะโดยรวมยังคงขยายตัว โดยกลุ่มยางนอกรถยนต์มีปริมาณการผลิต 24.88 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน 43.95 ล้าน เส้น เมื่อเทียบกับปีก่อนขยายตัวร้อยละ 6.84 และ 4.06 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นในยางนอกทุกประเภทยกเว้นยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร ส่วน กลุ่มยางในมีปริมาณการผลิต 56.97 ล้านเส้น ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.14 สำหรับการผลิตถุงมือยางปี 2551 ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 3.45 ตาม ความต้องการใช้ถุงมือยางในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศต่างๆตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันเชื้อโรคและการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย ของประชาชนในประเทศมากขึ้น รวมทั้งความต้องการนำถุงมือยางไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆแพร่หลายทั่วโลกเพิ่มขึ้น

2. การตลาด

2.1 ตลาดในประเทศ

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นในประเทศโดยรวมลดลง โดยปริมาณการจำหน่ายยางแผ่นและยางแท่ง ในประเทศลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 15.45 และ 8.35ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการจำหน่ายในประเทศยาง แผ่นลดลงร้อยละ 28.964 แต่ยางแท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.84

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ของกลุ่มยางยานพาหนะโดยรวมลดลงมาก จำแนกเป็นการจำหน่ายของกลุ่ม ยางนอกรถยนต์ 4.32 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยาน 4.58 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 7.82 ล้านเส้น การจำหน่ายในประเทศ ของกลุ่มยางนอกรถลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ10.58 โดยลดลงในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อย

ละ 2.69 โดยลดลงในยางนอกรถกระบะและยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร          การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/
รถจักรยานลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน  ร้อยละ 21.02 และ 8.53 ตามลำดับ กลุ่มยางในลดลงจากไตรมาสก่อน และไตร
มาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.58 และ 14.06 โดยลดลงในยางในรถทุกประเภท สำหรับถุงมือยางการจำหน่ายในประเทศในไตรมาสที่ 4 ของปี
2551 ยังคงขยายตัวจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.34 และ 37.91 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศปี 2551 ยังคงมีการขยายตัวในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มยางนอกรถยนต์ กลุ่มยาง นอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน และกลุ่มยางใน โดยมีปริมาณการจำหน่ายในประเทศ 18.84 20.52 และ 35.13 ล้านเส้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี ก่อนขยายตัวร้อยละ 3.92 4.75 และ 0.50 ตามลำดับ ส่วนการจำหน่ายในประเทศถุงมือยางปี 2551 เทียบกับปีก่อนขยายตัวที่ร้อยละ 24.71

2.2 ตลาดส่งออก

การส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่า 2,351.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาส เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.86 และ 10.60 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางตลอดปี 2551 มีมูลค่า 11,342.12 ล้านเหรียญ สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.04

การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 จำนวน 1,294.85 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 40.57 และ 21.25 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และน้ำยางข้นไปยัง ประเทศมาเลเซีย และจีน ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในสหรัฐโลก ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมทั้งส่งผลต่อการส่งออกยางพาราของไทย ทั้งนี้เนื่อง จากอุตสาหกรรมรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหายอดการจำหน่ายลดลงอย่างมาก จึงมีสต๊อกยางล้อเหลือมาก ส่งผลกระทบให้สหรัฐอเมริกา ชะลอการสั่งซื้อยางล้อจากจีนและญี่ปุ่นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย จึงทำให้จีนและญี่ปุ่นชะลอการสั่งซื้อยางพาราจากไทยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาง ล้อเนื่องจากทั้งสองประเทศได้ชะลอการผลิตลง จึงทำให้ยอดการส่งออกยางพาราจากไทยลดลง

การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นปี 2551 มีมูลค่า 6,791.72 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.42 เนื่องจากในช่วง 9 เดือน แรกของปี 2551 การส่งออกยางพารามีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 29.43 โดยเพิ่มขึ้นในยางแผ่นและน้ำยางข้น ตามความต้องการใช้ยางธรรมชาติใน ตลาดโลก โดยเฉพาะ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย จนกระทั่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 วิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อความต้อง การใช้ยางพาราเพื่ออุตสาหกรรมในบางประเทศเกิดการชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางพาราของไทย

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกให้ประเทศได้ประมาณ ร้อยละ 40 ของการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้ง หมด ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่งกำลัง ผลิตภัณฑ์ยางที่ ใช้ทางเภสัชกรรม ยางวัลแคไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 จำนวน 1,056.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง จากไตรมาสก่อนร้อยละ 20.16 โดยลดลงในผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว หากเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.15 โดยเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ยางเกือบทุกประเภท ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ มาเลเซีย

การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในปี 2551 มีมูลค่า 4,550.40 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังคงเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.54 โดยเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ ยางทุกประเภท โดยเฉพาะยางยานพาหนะสินค้าส่งออกสำคัญซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 2,092.30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 45.98 ของมูลค่าส่ง ออกผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด และขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.98 ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2551 การส่งออกยางยานพาหนะมี การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะลดลงในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ตลาดส่งออกสำคัญของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย เบลเยี่ยม และ ออสเตรเลีย

2.3 ตลาดนำเข้า

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 346.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อย ละ 12.89 โดยลดลงในสินค้ายางทุกประเภท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.83 ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 161.04 81.00 58.06 และ 36.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 17.64 7.15 6.45 และ 12.06 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อนสินค้ายางเกือบทุกประเภทมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นยกเว้นยางวัลแคไนซ์ สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.86 7.76 และ 3.74 ตามลำดับ ส่วนยางวัลแคไนซ์มีมูลค่าการนำเข้าลด ลงร้อยละ 15.63

ในปี 2551 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 1,453.81 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 24.14 โดย เพิ่มขึ้นในสินค้าทุกประเภทยกเว้นกระเบื้องปูพื้นปิดผนัง สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าและการขยายตัวสูง ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา

3. สรุปและแนวโน้ม

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 การผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางยานพาหนะลดลง จากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนการผลิตถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่ง ออก

ยางและผลิตภัณฑ์ยางโดยรวมลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ราคายางพาราในช่วงไตรมาสที่ 3- 4 ปี 2551 มี ความผันผวนอย่างมาก จากราคายางพาราที่เคยปรับตัวสูงสุดในช่วงต้น ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 สูงถึงกิโลกรัมละกว่าร้อยบาท ราคายางพารากลับ ตกต่ำอย่างรุนแรงและรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในเดือนธันวาคม 2551 อยู่ที่กิโลกรัมละ 38.59 บาท ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปี ทั้งนี้เป็นผลกระทบมาจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐอเมริกา ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐอเมริกาซบเซาและ ยอดจำหน่ายลดลงมาก ทำให้มีสต๊อกยางล้อเหลือเป็นจำนวนมาก สหรัฐอเมริกาจึงชะลอการสั่งซื้อยางรถยนต์จากจีนและญี่ปุ่น มีผลให้จีนและญี่ปุ่นชะลอ การสั่งซื้อวัตถุดิบยางพาราจากไทย นอกจากนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคายางสังเคราะห์ถูกลง เมื่อยาง สังเคราะห์ถูกลง ผู้บริโภคจะหันไปใช้ยางสังเคราะห์แทนยางพารามากขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 คาดว่าจะทรงตัวหรือชะลอตัว เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผล กระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้ต้องลดกำลังผลิตและปลดคนงาน ส่งผลให้ปริมาณความต้องการยางล้อและยางพารา ลดลง สำหรับแนวโน้มราคายางคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ได้ประกาศ ร่วมกันในการลดกำลังการผลิตและปริมาณส่งออกยางในปี 2552 เพื่อพยุงราคายาง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการสนับสนุนเกษตรกรแปรรูปยางเพิ่ม มูลค่าเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดสรรเงินกู้แบบปลอดดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรนำไป บริหารเพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นยางแท่งหรือยางก้อนเพื่อส่งออก ซึ่งสามารถเก็บสต๊อกไว้รอราคาที่ดีขึ้นได้ เมื่อยางมีราคาสูงขึ้นจึงจะนำออก จำหน่าย

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

     รายการ                 หน่วย                             ไตรมาส                      เทียบกับ   เทียบกับไตรมาส       ปี 2550          ปี 2551    เทียบกับช่วงเดียวกัน
                                             Apr-50           Mar-51           Apr-51   ไตรมาสก่อน  เดียวกันของปีก่อน                                    ของปีก่อน
ยางนอกรถยนต์                 เส้น           5,942,732        6,464,556        5,769,216     -10.8     -2.91          23,289,187        24,882,953      6.84
- ยางนอกรถยนต์นั่ง             เส้น           3,511,748        4,029,825        3,561,608     11.62      1.42          14,056,448        15,449,235      9.91
- ยางนอกรถกระบะ             เส้น           1,336,891        1,284,551        1,224,838     -4.65     -8.38           4,773,802         5,078,992      6.39
- ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร  เส้น           1,050,500        1,092,865          932,593    -14.67    -11.22           4,279,668         4,144,376     -2.39
- ยางนอกรถแทรกเตอร์          เส้น              43,593           57,315           50,177    -12.45     15.10             179,269           210,350     17.34

ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน    เส้น          10,490,456       12,058,601        9,760,425    -19.06     -6.96          42,237,421        43,951,841      4.06
- ยางนอกรถจักรยานยนต์         เส้น           5,772,104        6,183,163        5,045,184    -18.40    -12.59          22,405,402        22,829,154      1.89
- ยางนอกรถจักรยาน            เส้น           4,609,496        5,733,603        4,611,064    -19.58      0.03          19,393,540        20,556,988      6.00
-ยางนอกอื่น ๆ                 เส้น             108,856          141,835          104,177    -26.55     -4.30             438,479           565,699     29.01

ยางใน                       เส้น          15,075,388       14,673,980       12,929,876    -11.89    -14.23          60,061,982        56,972,702     -5.14
- ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร   เส้น             539,463          475,667          395,016    -16.96    -26.78           2,013,554         1,888,713     -6.20
- ยางในรถจักรยานยนต์          เส้น           9,439,556        9,255,050        8,352,187     -9.76    -11.52          36,322,128        35,824,635     -1.37
- ยางในรถจักรยาน             เส้น           5,096,369        4,943,263        4,182,673    -15.39    -17.93          21,726,300        19,259,354    -11.35

ยางรอง                      เส้น             738,549          687,237          432,252    -37.10    -41.47           3,187,708         2,482,271    -22.13
ยางหล่อดอก                   เส้น              19,618           22,572           21,158     -6.26      7.85              81,683            86,739      6.19
ถุงมือยางถุงมือตรวจ              ชิ้น       2,741,423,100    2,508,258,364    2,613,329,146      4.19     -4.67       9,819,640,294    10,158,081,150      3.45
ยางรัดของ                     ตัน            3,894.37         3,539.35         2,974.86    -15.95    -23.61           15,536.18         13,604.17    -12.14
ยางแปรรูปขั้นปฐม                ตัน          313,330.16       238,797.22       257,538.16      7.85    -17.81        1,128,716.73      1,160,582.22      2.82
- ยางแผ่น                     ตัน           56,727.24        34,344.32        45,750.25     33.21    -19.35          229,887.21        203,849.01    -11.33
- ยางแท่ง                     ตัน          256,602.92       204,452.90       211,787.91      3.59    -17.46          898,829.52        956,733.21      6.44
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ

     รายการ                     หน่วย                           ไตรมาส                   เทียบกับ  เทียบกับไตรมาส   ปี 2550         ปี 2551   เทียบกับช่วงเดียวกัน
                                                Apr-50         Mar-51         Apr-51  ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน                              ของปีก่อน
ยางนอกรถยนต์                      เส้น         4,437,837      4,829,093      4,318,407     -10.6     -2.69     18,124,868     18,836,250      3.92
- ยางนอกรถยนต์นั่ง                  เส้น         2,433,937      2,856,500      2,527,861    -11.50      3.86     10,215,514     10,932,811      7.02
- ยางนอกรถกระบะ                  เส้น         1,170,346      1,096,720       1044,696     -4.74    -10.74      4,503,855      4,544,382      0.90
- ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร       เส้น           810,826        848,752        720,077    -15.16    -11.19      3,313,709      3,248,637     -1.96
- ยางนอกรถแทรกเตอร์               เส้น            22,728         27,121         25,773     -4.97     13.40         91,790        110,420     20.30

ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน         เส้น         5,009,666      5,801,457      4,582,205    -21.02     -8.53     19,595,724     20,525,810      4.75
- ยางนอกรถจักรยานยนต์              เส้น         3,841,273      4,149,354      3,652,732    -11.97     -4.91     15,150,073     15,727,536      3.81
- ยางนอกรถจักรยาน                 เส้น         1,147,006      1,636,069        913,235    -44.18    -20.38      4,364,252      4,737,078      8.54
- ยางนอกอื่น ๆ                     เส้น            21,387         16,034         16,238      1.27    -24.08         81,399         61,196    -24.82

ยางใน                            เส้น         9,101,515      9,376,682      7,822,190    -16.58    -14.06     34,959,891     35,134,462      0.50
- ยางในรถบรรทุกและ                เส้น           423,925        426,730        307,157    -28.02    -27.54      1,672,625      1,639,066     -2.01
รถโดยสาร
- ยางในรถจักรยานยนต์               เส้น         6,706,477      6,494,473      5,734,370    -11.70    -14.50     26,039,430     25,363,305     -2.60
- ยางในรถจักรยาน                  เส้น         1,971,113      2,455,479      1,780,663    -27.48     -9.66      7,247,836      8,132,091     12.20
ยางรอง                           เส้น           362,030        331,235        257,664    -22.21    -28.83      1,457,687      1,340,749     -8.02
ยางหล่อดอก                        เส้น            20,134         21,173         21,733      2.64      7.94         83,512         87,197      4.41
ถุงมือยางถุงมือตรวจ                   ชิ้น       119,853,732    145,837,568    165,294,460     13.34     37.91    465,182,358    580,132,240     24.71
ยางรัดของ                          ตัน            296.96         359.76         226.75    -36.97    -23.64       1,035.20       1,030.25     -0.48
ยางแปรรูปขั้นปฐม                     ตัน         24,761.75      26,842.87      23,596.70    -12.09     -4.71     100,188.44      95,889.79     -4.29
- ยางแผ่น                          ตัน         16,838.82      14,147.95      11,962.37    -15.45    -28.96      68,380.84      60,889.76    -10.95
- ยางแท่ง                          ตัน          7,922.93      12,694.92      11,634.33     -8.35     46.84      31,807.60      35,000.03     10.04

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

     รายการ                            ไตรมาส               เทียบกับ   เทียบกับไตรมาส   ปี 2550      ปี 2551  เทียบกับช่วงเดียวกัน
                           Apr-50      Mar-51      Apr-51 ไตรมาสก่อน  เดียวกันของปีก่อน                          ของปีก่อน
ยางพารา                  1,644.20    2,178.86    1,294.85    -40.6        -21.3    5,639.98     6,791.72    20.42
ยางแผ่น                     576.03      769.41      461.48      -40        -19.9     1996.04     2,366.36    18.55
ยางแท่ง                      37.76       28.28       10.91    -61.4        -71.1      181.23        93.38    -48.5
น้ำยางข้น                    379.05      429.24      304.63      -29        -19.6    1,266.24     1,400.14    10.57
ยางพาราอื่น ๆ                651.36      951.93      517.83    -45.6        -20.5    2,196.47     2,931.84    33.48
ผลิตภัณฑ์ยาง                  985.83    1,322.94    1,056.27    -20.2         7.15    3,653.74     4,550.40    24.54
ยางยานพาหนะ                455.68      578.75      499.45    -13.7         9.61    1,622.20     2,092.30    28.98
ถุงมือยาง                    143.11      208.24      183.03    -12.1        27.89      583.94       658.42    12.75
ยางรัดของ                     16.5       17.92       17.22    -3.91         4.36       53.96        64.01    18.62
หลอดและท่อ                   36.83       43.04       37.53    -12.8          1.9      135.47       172.79    27.55
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง       17.16          21       18.93    -9.86        10.31       71.96        77.55     7.77
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม     54.44       73.28       69.39    -5.31        27.46      212.94       263.06    23.54
ยางวัลแคไนซ์                  55.57       63.98       52.28    -18.3        -5.92      212.07       222.56     4.95
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ               206.54      316.73      178.44    -43.7        -13.6       761.2       999.71    31.33
         รวม             2,630.03    3,501.80    2,351.12    -32.9        -10.6    9,293.72    11,342.12    22.04

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

     รายการ                                   ไตรมาส             เทียบกับ    เทียบกับไตรมาส   ปี 2550      ปี 2551  เทียบกับช่วงเดียวกัน
                                     Apr-50    Mar-51    Apr-51 ไตรมาสก่อน  เดียวกันของปีก่อน                        ของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง                         93.9    108.77     99.69    -8.35        6.17      373.95      406.18     8.62
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง              34.78     41.03     36.08    -12.1        3.74      138.09      156.19    13.11
ยางรถยนต์                              53.87     62.06     58.06    -6.45        7.78      216.14      227.34     5.18
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ                           5.25      5.68      5.55    -2.29        5.71       19.72       22.65    14.86
ยาง รวมเศษยาง                        129.48    199.32    163.81    -17.8       26.51      476.36      681.99    43.17
ยางธรรมชาติ                             1.33      1.93      1.35    -30.1         1.5        5.11        9.94    94.52
ยางสังเคราะห์                          126.94    195.52    161.04    -17.6       26.86      466.65      665.68    42.65
ยางอื่นๆ                                 1.21      1.87      1.42    -24.1       17.36         4.6        6.37    38.48
วัสดุทำจากยาง                           97.74     89.43     82.77    -7.45       -15.3       320.8      365.64    13.98
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง                        1.74      2.19      1.77    -19.2        1.72        9.48        7.99    -15.7
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์                         96     87.24        81    -7.15       -15.6      311.32      357.65    14.88
               รวม                   321.12    397.52    346.27    -12.9        7.83    1,171.11    1,453.81    24.14

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ