สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2551 (อุตสาหกรรมอาหาร)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 10, 2009 14:21 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 1.0 จากไตรมาส ที่ 3 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มน้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ และประมง ลดลงร้อยละ 21.7 6.9 1.9 และ 1.7 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากการปรับราคาสินค้าอาหารขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสที่ 3 ทำให้ความต้องการของประชาชนในประเทศปรับตัวลดลง ประกอบกับความ ไม่มั่นใจในเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ และผลสืบเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศผู้นำเข้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จึง ทำให้ผู้ผลิตปรับจัวชะลอการผลิตลง แต่หากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 จากการเปิดฤดูหีบอ้อยประจำปี 2552 สำหรับภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับปี 2550 พบว่า ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 250.2 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อย

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 0.8 เป็นผล จากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา และกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเกษตร และอาหารปรับตัวลดลง ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหารที่อิงตลาดส่งออกมีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ธัญพืชและ แป้ง และน้ำตาล ลดลงร้อยละ 14.8 และ 5 ตามลำดับ สำหรับสินค้าที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศหรือเป็นวัตถุดิบมีการผลิตลดลง เช่น น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์ นม อาหารสัตว์ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 6.2 6.2 1.8 และ 9.3 ตามลำดับ เป็นผลจากความไม่มั่นใจในภาคเศรษฐกิจและการ เมืองของประเทศที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการตัดสินใจปรับลดการผลิตลง

ภาพรวมด้านการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในปี 2551 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับปี 2550 เป็นผลจากการ ผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าสำคัญ ได้แก่ ปศุสัตว์ น้ำมันพืช ผักผลไม้ น้ำตาล และประมง ร้อยละ 31.6 15.6 9.1 8.3 และ 1.6 เนื่องจากตลาด ต่างประเทศมีความต้องการในผลิตภัณฑ์กลุ่มปศุสัตว์ของไทย จากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศประกอบกับการเกิดปัญหาวิกฤตความเชื่อ มั่นในความปลอดภัยของอาหารจากประเทศจีน ที่ทำให้หลายประเทศหันมานำเข้าสินค้าอาหารจากไทยทดแทนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถขยายการส่ง ออกไปตลาดใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับกลุ่มสินค้าที่ปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปี 2550 เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์นม และธัญพืชและแป้ง ผลิตลดลง ร้อยละ 7 และ 8 จากปัญหาโลกร้อน ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นมและข่าวการปนเปื้อน สารเมลามีนในผลิตภัณฑ์ ในส่วนการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชะลอตัวลงเช่นกันร้อยละ 4.4 จากวัตถุดิบ แป้งสาลี ได้ปรับราคาสูงขึ้น ตามภาวะวิกฤต อาหารและพลังงานของโลกในช่วงไตรมาสที่ 2-3 2. การตลาด

2.1 ตลาดในประเทศ

ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 1.9 จาก ไตรมาสก่อน และร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของผู้ บริโภคในประเทศที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการปรับราคาเพิ่มขึ้นในสินค้าหลายชนิด ทำให้ความต้องการลดลงในหลายกลุ่มสินค้าเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 9.0 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 9.6 อาหารสัตว์ ร้อยละ 3.0 น้ำมันพืช ร้อยละ 2.4 และ ประมง ร้อยละ 0.1

หากเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศของปี 2550 และ ปี 2551 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 7.2 เป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำหน่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 นอกจากนี้สินค้าหลักอื่นๆ เช่น น้ำตาล น้ำมันพืช และผักผลไม้ สามารถจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 14.9 และ 11.0 ตามลำดับ แต่หากพิจารณาสินค้าที่มีปริมาณการจำหน่ายลดลง พบว่า สินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ลดลงมากที่สุด ร้อยละ 9.0 และประมง ร้อยละ 7.0 เนื่องจากประชาชนยังมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไม่ดีนัก จากปัญหาด้านราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุน และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น

2.2 ตลาดต่างประเทศ

1) การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 4,794.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 167,074.6 ล้านบาท โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 22.0 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 19.8 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ในรูป เหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 3.4 ในรูปของเงินบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3-4) ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ จะพบว่า ภาวะ การส่งออกในรูปของมูลค่าลดลงโดยเฉพาะในกลุ่มผักผลไม้ และกลุ่มข้าวและธัญพืชในรูปเหรียญสหรัฐฯ และเงินบาท เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โลก โดยเฉพาะลูกค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ประสบปัญหาวิกฤตการณ์การเงิน ทำให้ยอดคำสั่งซื้อชะลอตัวมาตั้งแต่ปลายไตร มาสที่ 3 อย่างไรก็ดีคุณภาพของสินค้าอาหารไทยยังเป็นที่น่าเชื่อถือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การส่งออกยังขยายตัวได้ แม้จะชะลอตัวลงบ้างในช่วง ไตรมาสที่ 4 และหากเปรียบเทียบทั้งปี 2550 และ 2551 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.6 ในรูปเหรียญ สหรัฐฯ หรือร้อยละ 27.0 ในรูปของเงินบาท เป็นผลจากระดับราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี จากสาเหตุวิกฤตการณ์อาหารและพลังงานของ โลก รวมถึงราคาน้ำมันได้ทะยานสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2-3 สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มีมูลค่าการส่งออก 1,703.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 59,350.5 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.5
ในรูปเหรียญสหรัฐฯ และร้อยละ 2.8 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็งและกระป๋อง และหากเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในรูปเงินบาท สำหรับมูลค่าการส่ง
ออกโดยเปรียบเทียบปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 6,464.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 215,642.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 15.7 ในรูป
เหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 11.7 ในรูปเงินบาท ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในกลุ่ม คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และปลาทูน่ากระป๋อง พบว่า
สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือเงินบาท โดยเฉพาะตลาดใหม่ๆ ในอาฟริกา ขณะที่ตลาดหลักเดิมอย่าง
สหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราที่ลดลง
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ มีมูลค่าการส่งออก 501.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 17,466.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.4 ในรูปเหรียญ
สหรัฐฯ หรือร้อยละ 3.7 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 2.2 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในรูปเงินบาท จาก
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผักและผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง และผักกระป๋องและแปรรูปมีมูลค่าลดลง อย่างไรก็ตามในส่วนของผลไม้กระป๋องและแปรรูป
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มสามารถขยายการส่งออกได้มากขึ้น จากราคาส่งออกที่สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกลดลง และหากเปรียบเทียบในปี
2550 และ 2551 พบว่า มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาท ร้อยละ 9.6
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ มีมูลค่าการส่งออก 489.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 17,052.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในรูปเหรียญ
สหรัฐฯ หรือร้อยละ 4.0 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 51.1 ในรูปเงินบาท เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูปมีการขยายตัวสูงขึ้น และได้มีการรับรองโรงงานแปร
รูปเพิ่มขึ้นจากประเทศผู้นำเข้าหลักสินค้าไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประกอบกับได้เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเวียดนาม และสหภาพ
ยุโรปเร่งทำประวัติสั่งซื้อไก่จากไทยเพิ่มขึ้นอย่างเต็มโควตา รวมทั้งสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้น และหาก
พิจารณาเปรียบเทียบปี 2550 และ 2551 มูลค่าการส่งออกปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.3 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 57.6 ในรูปเงินบาท โดย
เป็นการขยายตัวของการส่งออกในรูปไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.9 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 57.2 ในรูปของเงินบาท
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 1,470.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 51,240.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
38.0 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 36.2 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากการปรับราคาส่งออกลดลงของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และ
ข้าว ความต้องการในตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง หลังจากราคาน้ำมันได้ปรับ
ชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ทำให้ความต้องการผลิตเอทานอลในจีนลดลง ส่งผลทำให้ยอดส่งออกชะลอตัวด้วย ประกอบกับการผลิตข้าวของ
ประเทศสำคัญ เช่น อินเดีย และเวียดนาม กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติในช่วงต้นปี 2551 และหากเปรียบเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.9 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 17.6 ในรูปเงินบาท นอก
จากนี้หากเปรียบเทียบในปี 2550 และ 2551 เนื่องจากการปรับราคาสูงขึ้นของสินค้าธัญพืช ในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 51.5 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 46.2 ในรูปเงินบาท
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 275.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 9,606.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41.5 ในรูปเหรียญ
สหรัฐฯ หรือร้อยละ 39.8 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากระดับราคาที่ชะลอตัวลงของตลาดโลก เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกอยู่
ในระดับสูง และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 53.2
ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกัน หากเปรียบเทียบปี 2550 และ 2551 พบว่า มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 9.5 ใน
รูปเงินบาท
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 354.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 12,358.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.6 และ 24.5
ในรูปเหรียญสหรัฐฯ และในรูปเงินบาทจากไตรมาสก่อน และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ
และร้อยละ 9.8 ในรูปเงินบาท ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบในปี 2550 และ 2551 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 ใน
รูปเหรียญสหรัฐและร้อยละ 31.3 ในรูปเงินบาท โดยเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้
ผสม ซุปและอาหารปรุงแต่ง และสิ่งปรุงรสอาหาร

2) การนำเข้า

การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่ารวม 3,335.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 116,257.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.9 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 57.3 ในรูปเงินบาท จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการนำเข้ากากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 51.5 ในรูปเงินบาท (ตารางที่ 5) และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำเข้า สินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 ในรูปเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 27.6 ในรูปเงินบาท จากการนำเข้ากากพืชน้ำมัน เมล็ดพืชน้ำมัน และปลาทู น่าแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นทั้งในรูปเหรียญสหรัฐฯ และเงินบาท หากเปรียบเทียบในปี 2550 และ 2551 พบว่า มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 36.2 ในรูปเงินบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าปลาทูน่าแช่เย็นแช่แข็งมากที่สุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 42.3 ในรูป เงินบาทรองลงมา คือ กากพืชน้ำมัน ร้อยละ 57.7 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 63.3 ในรูปเงินบาท เมล็ดพืชน้ำมัน ร้อยละ 70.2 ในรูปเหรียญ สหรัฐฯ หรือร้อยละ 64.3 ในรูปเงินบาท และนมและผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 14.5 ในรูปเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 10.5 ในรูปเงินบาท และ เนื่อง จากค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปี ทำให้การนำเข้าได้รับผลดีจากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง

3. นโยบายของภาครัฐ

ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ถึงแม้ว่าจะประสบปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่รัฐบาลได้ดำเนิน นโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ ได้แก่

3.1 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 และวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551เห็นชอบ เรื่อง มาตรการรับจำนำข้าวเปลือก นาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ปีการผลิต 2551/52 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถจำหน่ายผล ผลิตในราคาที่เป็นธรรม

3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบ เรื่อง โครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มดิบ ปี 2551/52 ตามที่ กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบได้ในราคาที่ลดลง

3.3 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบ เรื่อง นโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2552 ประกอบด้วย กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมอบให้กรมศุลการกรดำเนินการออกประกาศกระทรวง การคลังเพื่อลด/ยกเว้นอัตราอากรขาเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าว ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของภาคเอกชน ตั้งแต่ต้น ปี 2552 ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ

4. สรุปและแนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 จัดอยู่ในช่วงชะลอตัวลง โดยภาคการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ประสบปัญหาวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องไปยังระบบเศรษฐกิจของประเทศ อื่นๆ ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าประเภทอาหารจำนวนหลายรายการที่ต้องปรับ ตัวตาม อย่างไรก็ตามในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการยอมรับจากประเทศผู้นำเข้าอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ประสบวิกฤตความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของอาหารจากประเทศจีน ปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านการตลาดใน การเจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน

สำหรับแนวโน้มการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่าย ในประเทศและส่งออกที่ชะลอตัวตาม

ภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่ส่งผลต่อเนื่องกับตลาดต่างประเทศ และยังต้อง ติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่ยังไม่มีเสถียรภาพ จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณตกต่ำจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและ การก่อการร้ายในหลายประเทศ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัด นก ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันทางการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศ มาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างใน อาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ดีหากพิจารณาปัจจัยเสริมที่ได้รับจากการทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 สินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีทันที แม้จะมีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำอยู่ก่อนแล้ว เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งแปรรูป และไก่ปรุงสุก อาจทำ ให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยขยายตัวในเชิงมูลค่าได้จากราคาเปรียบเทียบที่ลดลง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภคญี่ปุ่น

ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

                                            ปริมาณการผลิต (ตัน)                                               การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ

(ร้อยละ)

               ไตรมาส4/50      ไตรมาส3/51      ไตรมาส4/51        ปี 2550           ปี 2551      ไตรมาสก่อน   ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน   ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปศุสัตว์          333,430.70      424,571.60      424,684.40     1,221,350.90     1,607,599.20        0               27.4              31.6
ประมง          235,989.30      247,038.70      242,802.80       944,004.70       959,159.00     -1.7                2.9               1.6
ผักผลไม้         242,519.30      171,294.30      275,349.90       910,167.10       993,136.50     60.7               13.5               9.1
น้ำมันพืช         375,210.80      449,458.00      352,034.80     1,461,971.80     1,690,579.60    -21.7               -6.2              15.6
ผลิตภัณฑ์นม       261,077.90      263,029.90      244,992.00     1,081,907.20     1,006,069.70     -6.9               -6.2                -7
ธัญพืชและแป้ง     587,606.40      492,353.80      500,365.00     2,130,191.00     1,959,876.50      1.6              -14.8                -8
อาหารสัตว์     1,841,128.90    1,841,966.70    1,807,869.00     7,007,387.70     7,188,802.40     -1.9               -1.8               2.6
น้ำตาล        1,580,166.50      428,427.10    1,500,406.90    11,015,703.60    11,934,422.20    250.2                 -5               8.3
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป   46,244.80       40,682.60       41,942.70       169,688.40       162,201.30      3.1               -9.3              -4.4
รวม          5,503,374.50    4,358,822.70    5,390,447.40    25,942,372.40    27,501,846.30     23.7               -2.1                 6
รวม          3,923,208.00    3,930,395.60    3,890,040.60    14,926,668.80    15,567,424.20       -1               -0.8               4.3
(ไม่รวมน้ำตาล)

ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

                                           ปริมาณการจำหน่าย (ตัน)                                           การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ

(ร้อยละ)

              ไตรมาส4/50      ไตรมาส3/51      ไตรมาส4/51          ปี 2550         ปี 2551     ไตรมาสก่อน     ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน  ช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปศุสัตว์         251,864.50      308,034.30      320,680.40       951,509.70     1,192,669.80      4.1               27.3              25.3
ประมง          31,903.90       25,788.30       31,857.90       131,034.00       121,801.30     23.5               -0.1                -7
ผักผลไม้         48,542.20       52,126.10       56,107.20       184,019.40       204,287.90      7.6               15.6                11
น้ำมันพืช        284,893.80      296,043.30      277,917.30     1,059,913.80     1,217,987.30     -6.1               -2.4              14.9
ผลิตภัณฑ์นม      233,806.20      240,134.70      211,439.20       954,899.00       898,115.40    -11.9               -9.6              -5.9
ธัญพืชและแป้ง    299,473.20      270,987.40      293,676.50     1,205,707.60     1,084,718.70      8.4               -1.9               -10
อาหารสัตว์    1,684,165.60    1,689,409.30    1,633,411.50     6,400,328.70     6,520,170.60     -3.3                 -3               1.9
น้ำตาล         987,188.30    1,435,005.00    1,318,847.30     5,199,495.10     6,029,397.20     -8.1               33.6                16
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  39,638.00       32,978.60       35,461.50       142,526.30       129,699.80      7.5              -10.5                -9
รวม         3,861,475.60    4,350,506.90     4,179,398.70    16,229,433.40    17,398,848.10     -3.9                8.2               7.2
รวม         2,874,287.40    2,915,501.90     2,860,551.40    11,029,938.30    11,369,450.80     -1.9               -0.5               3.1
(ไม่รวมน้ำตาล)
ที่มา : ข้อมูลเพื่อการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม

ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

                                                      มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)                                        การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                     2550               2551                                       เทียบไตรมาสก่อน   เทียบไตรมาสเดียวกัน      เทียบระหว่าง
                                   ไตรมาสที่ 4   ไตรมาสที่ 3     ไตรมาสที่ 4      ปี 2550        ปี 2551                          ปีก่อน          ปี 51 และ 50
 1. กลุ่มอาหารทะเล                   53,135.60    61,072.60    59,350.50    193,105.50    215,642.30     -2.8               11.7              11.7
  - อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง            21,064.90    25,768.90    22,710.50     84,081.20     86,718.50    -11.9                7.8               3.1
  - อาหารทะเลกระป๋อง                17,253.10    20,273.60    18,054.20     56,648.60     71,874.20    -10.9                4.6              26.9
  - อาหารทะเลแปรรูป                 14,817.70    15,030.10    18,585.90     52,375.70     57,049.70     23.7               25.4               8.9
2. ปศุสัตว์                           11,283.00    16,389.20    17,052.20     35,954.70     56,668.50        4               51.1              57.6
  - ไก่                             10,281.60    14,726.20    15,474.60     33,030.50     51,618.40      5.1               50.5              56.3
  (1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง                  365.80        412.2        403.7      1,047.90      1,343.00     -2.1               10.3              28.2
  (2) ไก่แปรรูป                       9,915.80    14,314.00    15,070.90     31,982.60     50,275.40      5.3                 52              57.2
3. กลุ่มผักผลไม้                       17,374.60    18,142.30    17,466.40     68,375.30     74,952.20     -3.7                0.5               9.6
 - ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง          2,652.00     4,074.00     2,445.40     13,200.10     13,589.30      -40               -7.8               2.9
 - ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง            1,438.70     1,588.10     1,434.10      6,867.10      6,898.90     -9.7               -0.3               0.5
 - ผลไม้กระป๋องและแปรรูป              10,972.70     9,715.40    11,549.20     38,319.20     44,792.80     18.9                5.3              16.9
 - ผักกระป๋องและแปรรูป                 2,311.30     2,764.90     2,037.70      9,988.90      9,671.20    -26.3              -11.8              -3.2
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช                   62,221.70    80,314.00    51,240.40    190,853.90    279,116.80    -36.2              -17.6              46.2
 - ข้าว                             42,772.70    60,704.60    35,422.30    119,215.40     203,218.7    -41.6              -17.2              70.5
 - ผลิตภัณฑ์ข้าว                        1,501.60      1,719.8      1,872.2       5,435.4       6,487.0      8.9               24.7              19.3
 - ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ   4,937.80      6,031.5      5,424.6      17,650.9      21,646.0    -10.1                9.9              22.6
 - ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                 13,009.70     11,858.0      8,521.4      48,552.2      47,765.1    -28.1              -34.5              -1.6
5. น้ำตาลทราย                        6,269.20     15,969.8      9,606.3      45,062.8      49,338.8    -39.8               53.2               9.5
6. อาหารอื่นๆ                        11,260.40     16,376.5     12,358.8      41,608.7      54,630.3    -24.5                9.8              31.3
 - สิ่งปรุงรสอาหาร                     2,216.50      2,628.5      2,733.9       8,076.3       9,847.2      4.0               23.3              21.9
 - นมและผลิตภัณฑ์นม                     1,190.4      1,133.5        992.2       4,530.4       4,501.1    -12.5              -16.6              -0.6
 - หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม            845.0      1,201.3      1,053.3       2,806.7       4,116.1    -12.3               24.7              46.7
 - ซุปและอาหารปรุงแต่ง                    308.9        459.8        571.7       1,527.9       1,840.7     24.3               85.1              20.5
 - ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์            4,008.9      6,937.4      3,167.1      13,022.1      21,397.7    -54.3              -21.0              64.3
 - เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์    2,002.9      3,171.7      2,948.7       9,043.9       9,791.9     -7.0               47.2               8.3
 - โกโก้และของปรุงแต่ง                    517.5        584.8        680.6       1,782.2       2,180.2     16.4               31.5              22.3
 - ไอศกรีม                              170.3        259.6        211.3         819.3         955.4    -18.6               24.0              16.6
รวม                                161,544.4    208,264.3    167,074.6     574,960.9     730,348.9    -19.8                3.4              27.0
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย

                                                      มูลค่าการส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐ)                               การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                        2550               2551                                     เทียบ            เทียบไตรมาส        เทียบระหว่าง
                                      ไตรมาสที่ 4   ไตรมาสที่ 3   ไตรมาสที่ 4      ปี 2550     ปี 2551    ไตรมาสก่อน         เดียวกันปีก่อน        ปี 51และ50
 1. กลุ่มอาหารทะเล                       1,567.00    1,802.60    1,703.00    5,587.50    6,464.10     -5.5                8.7              15.7
  - อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง                   621.2       760.6       651.7    2,432.90    2,599.50    -14.3                4.9               6.8
  - อาหารทะเลกระป๋อง                       508.8       598.4       518.1    1,639.10    2,154.50    -13.4                1.8              31.4
  - อาหารทะเลแปรรูป                          437       443.6       533.3    1,515.50    1,710.10     20.2                 22              12.8
2. ปศุสัตว์                                  332.7       483.7       489.3    1,040.40    1,698.70      1.1               47.1              63.3
  - ไก่                                    303.2       434.7         444       955.7    1,547.30      2.2               46.4              61.9
  (1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง                       10.8        12.2        11.6        30.3        40.3     -4.8                7.4              32.8
  (2) ไก่แปรรูป                             292.4       422.5       432.5       925.4    1,507.10      2.4               47.9              62.9
3. กลุ่มผักผลไม้                              512.4       535.5       501.2    1,978.50    2,246.80     -6.4               -2.2              13.6
  - ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                78.2       120.2        70.2       381.9       407.4    -41.6              -10.3               6.7
  - ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                  42.4        46.9        41.2       198.7       206.8    -12.2                 -3               4.1
  - ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                    323.6       286.8       331.4    1,108.80    1,342.70     15.6                2.4              21.1
  - ผักกระป๋องและแปรรูป                       68.2        81.6        58.5         289       289.9    -28.4              -14.2               0.3
4. กลุ่มข้าวและธัญพืช                       1,834.90    2,370.50    1,470.30    5,522.40    8,366.80      -38              -19.9              51.5
  - ข้าว                                1,261.40    1,791.80    1,016.40    3,449.50    6,091.70    -43.3              -19.4              76.6
  - ผลิตภัณฑ์ข้าว                              44.3        50.8        53.7       157.3       194.5      5.8               21.3              23.6
  - ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ       145.6        178.0       155.7       510.7       648.9    -12.6                6.9              27.0
  - ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                      383.7        350.0       244.5     1,404.9     1,431.8    -30.1              -36.3               1.9
5. น้ำตาลทราย                             184.9        471.4       275.6     1,303.9     1,479.0    -41.5               49.1              13.4
6. อาหารอื่นๆ                              332.1        483.4       354.6     1,204.0     1,637.6    -26.6                6.8              36.0
  - สิ่งปรุงรสอาหาร                          65.4         77.6        78.4       233.7       295.2      1.1               20.0              26.3
  - นมและผลิตภัณฑ์นม                         35.1         33.5        28.5       131.1       134.9    -14.9              -18.9               2.9
  - หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม              24.9         35.5        30.2        81.2       123.4    -14.8               21.3              51.9
  - ซุปและอาหารปรุงแต่ง                       9.1         13.6        16.4        44.2        55.2     20.9               80.1              24.8
  - ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์               118.2        204.8        90.9       376.8       641.4    -55.6              -23.1              70.2
  - เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์        59.1         93.6        84.6       261.7       293.5     -9.6               43.3              12.2
  - โกโก้และของปรุงแต่ง                      15.3         17.3        19.5        51.6        65.4     13.1               28.0              26.7
  - ไอศกรีม                                 5.0          7.7         6.1        23.7        28.6    -20.9               20.7              20.8
รวม                                    4,763.9      6,147.1     4,794.1    16,636.6    21,893.0    -22.0                0.6              31.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 5 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสำคัญของไทย

                                                    มูลค่านำเข้า (ล้านบาท)                                        การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                 2550                2551
                              ไตรมาสที่ 4    ไตรมาสที่ 3     ไตรมาสที่ 4                             เทียบไตรมาสก่อน   เทียบไตรมาสเดียวกันของ   ปีก่อนเทียบกับ
                                                                         ปี 2550        ปี 2551                                          ปี 2550
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง           9,904.90    15,674.00     10,496.10     33,053.60     47,029.40       -33                   6            42.3
เมล็ดพืชน้ำมัน                     5,909.70     8,970.00      8,058.90     20,245.80     33,266.90     -10.2                36.4            64.3
กากพืชน้ำมัน                      5,682.30     8,387.00     12,707.70     24,059.80     37,935.90      51.5               123.6            57.7
นมและผลิตภัณฑ์นม                  5,827.50     3,436.00      4,933.30     16,194.90     17,897.50      43.6               -15.3            10.5
อาหารรวม                      91,122.60    73,896.40    116,257.70    225,067.00    306,455.00      57.3                27.6            36.2

มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

                                    2550        2551                                                     การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
                                ไตรมาสที่ 4    ไตรมาสที่ 3     ไตรมาสที่ 4                     เทียบไตรมาสก่อน   เทียบไตรมาสเดียวกันของ   ปีก่อนเทียบกับ
                                                                       ปี 2550     ปี 2551                                          ปี 2550
ปลาทูนาสด แช่เย็น แช่แข็ง                292.1       462.6       301.2       956.4    1,409.80    -34.9                3.1              47.4
เมล็ดพืชน้ำมัน                          174.3       264.8       231.2       585.8       997.2    -12.7               32.7              70.2
กากพืชน้ำมัน                           167.6       247.6       364.6       696.2    1,137.20     47.3              117.6              63.3
นมและผลิตภัณฑ์นม                       171.9       101.4       141.6       468.6       536.5     39.6              -17.6              14.5
อาหารรวม                         2,687.20    2,181.10    3,335.90    6,512.40    9,186.30     52.9               24.1              41.1
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ