รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 23, 2009 14:39 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมกราคม 2552

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนมกราคม 2552 หดตัวจากเดือนธันวาคม 2551 ร้อยละ -6.7 และหดตัวจากเดือนเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ -25.6 ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีระดับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคม2551 จนกระทั่งเริ่มหดตัวติดลบในเดือนกันยายน 2551 เป็นต้นมา โดยดัชนีผลผลิตมีการหดตัวในเกือบทุกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักที่มีการส่งออกมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และการผลิต Hard Disk Drive ดัชนีผลผลิตหดตัวมากถึงร้อยละ — 52.1, -35.6 และ -31.0 ตามลำดับ จึงทำให้ดัชนีผลผลิตรวมหดตัวมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนดังกล่าว
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2552 มีระดับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 51.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำหากพิจารณาเป็นรายสาขาอุตสาหกรรมจะพบว่า อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 50

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ 2552

  • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
  • แนวโน้มการผลิตในภาพรวมในระยะ 2-3 เดือนถัดไปของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอจะยังมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อเก่าที่ยังมีต่อเนื่องจนถึงเดือนเมษายน อีกทั้งการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
  • สำหรับการส่งออกซึ่งปรับลดลงในทุกตลาดยกเว้นเพียงตลาดญี่ปุ่น ยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการที่เน้นผลิตเพื่อส่งออกจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์มาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นหรือหาตลาดใหม่ทดแทนทั้งนี้การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้ง Technical และ Functional Textile เพื่อสนองความต้องการตลาดเฉพาะที่มีมูลค่าเพิ่มสูงก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ธุรกิจสามารถรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้
  • อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังคงมีการหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณการว่าจะปรับลดลง ร้อยละ 25.35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์สำคัญของอุตสาหกรรม เช่น เครื่องปรับอากาศ(-35.16%) ตู้เย็น (-13.12%) และเครื่องรับโทรทัศน์ (-30.57%) ปรับลดลงทุกผลิตภัณฑ์ ถึงแม้ได้ทำการเปิดตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่มยอดขายได้แต่สัดส่วนยังคงมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังมีสินค้าคงคลังในช่วงที่ผ่านมาเหลืออยู่จำนวนมาก สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเช่นกัน ต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมาจากความต้องการที่ลดลงของตลาดส่งออกหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เป็นต้น โดยปรับตัวลดลงร้อยละ -27.60 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(มูลค่าเพิ่ม)

ธ.ค. 51 = 149.0

ม.ค. 52 = 139.0

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีหดตัวมากได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • อิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ธ.ค. 51 = 53.0

ม.ค. 52 = 51.7

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงมาก ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • ด้ายฝ้ายบริสุทธิ์ ใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารชะลอตัวจากเดือนก่อน แนวโน้มมูลค่าการส่งออกจะลดลง เนื่องจากคำสั่งซื้อชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ส่วนการจำ หน่ายในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวลง จากความไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนลดการจับจ่ายใช้สอย

1. การผลิต

ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมกราคม 2552 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 14.8 และ 10.3 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็งสับปะรดกระป๋อง และปลาทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 21.6 41.8 และ 0.8 ตามลำดับเนื่องจากกำลังซื้อของประเทศผู้นำเข้าลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์มมีปริมาณการกลั่นลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 14.2 และ 17.2 ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 28.7 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 34.8 จากผลิตชดเชยสต็อกที่ปรับลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนมกราคม 2552 สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 6.1 และ 2.0

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนมกราคม 2552 มูลค่าการส่งออก โดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 19.0 และ 15.5 ตามลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

3. แนวโน้ม

คาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2552 จะชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออกคาดว่า จะมีมูลค่าลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ส่งผลกระทบไปสู่การถดถอยของภาวะเศรษฐกิจโลกได้ส่งสัญญาณต่อระดับราคาสินค้าอาหารของตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศอาจชะลอตัวลงจากความไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

...แนวโน้มการผลิตในระยะ 2-3 เดือนถัดไปของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง...

1. การผลิต

ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในเดือนมกราคม 2552 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ ผ้าทอ (-0.3%) เครื่องนอน (-5.6%) ผ้าลูกไม้ (-9.7%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-1.2%) ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ (+15.0%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (+4.7%) และลดลงเมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน โดย เส้นใยสิ่งทอฯ (-28.6%), ผ้าทอ(-26.2%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-27.4%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-8.6%) ซึ่งสาเหตุหลักที่ส่งผลให้ลดลงเนื่องจากลูกค้าต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตปลายน้ำลดการสั่งซื้อลง รวมทั้งผู้ผลิตในประเทศที่ผลิตเพื่อการส่งออกได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ทำให้ความต้องการลดลง

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนมกราคม 2552 ส่วนใหญ่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 แม้ว่าผู้บริโภคจะประหยัดรายจ่ายแต่สินค้าแฟชั่นในกลุ่มสตรียังมีความต้องการเพิ่มขึ้นการส่งออก เดือนมกราคม 2552 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่วนใหญ่ ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.9 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-3.3%) ผ้าผืน (-10.1%) ด้ายฝ้าย (-8.8%) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (-16.2%) เคหะสิ่งทอ (-26.9%) เป็นต้น และลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับลดลงในทุกตลาดส่งออกหลักทั้งสหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ยกเว้นเพียงตลาดญี่ปุ่น ที่ส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และร้อยละ7.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

3. แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตในภาพรวมในระยะ 2-3 เดือนถัดไปของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอจะยังมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อเก่าที่ยังมีต่อเนื่องจนถึงเดือนเมษายน อีกทั้งการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในขณะนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักสำหรับการส่งออกซึ่งปรับลดลงในทุกตลาดยกเว้นเพียงตลาดญี่ปุ่นยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการที่เน้นผลิตเพื่อส่งออกจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์มาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นหรือหาตลาดใหม่ทดแทน ทั้งนี้การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้ง Technical และ Functional Textile เพื่อสนองความต้องการตลาดเฉพาะที่มีมูลค่าเพิ่มสูงก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ธุรกิจสามารถรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

รัฐบาลจีนวางแผนที่จะลดการผลิตเหล็กในปี 2009 ลง ร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เหลือ 460 ล้านตันยิ่งกว่านั้นรัฐบาลยังต้องการจะควบคุมการส่งออกเหล็กให้ลดลงจากที่เคยส่งออกสูงกว่า ร้อยละ 10 เหลือเพียงร้อยละ 8 ของผลผลิตทั้งหมด และเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายรัฐบาลตัดสินใจที่จะปิดกำลังการผลิตเหล็ก 72 ล้านตัน และกำลังการผลิตเหล็กกล้า 25 ล้านตันภายในปี 2011 นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังสนับสนุนให้มีการควบรวมกิจการระหว่างผู้ผลิตเหล็กของจีน เช่น การควบรวมระหว่างบริษัทAnshan และบริษัท Panzhihua และบริษัท Dongbei

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมกราคม 2552 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.32 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 96.06 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 10.17 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กเส้นข้ออ้อย ร้อยละ 23.55 รองลงมาคือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 0.69 เนื่องจากความต้องการใช้ในกลุ่มธุรกิจก่อสร้างลดลง จึงมีผลให้ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ซึ่งยังคงมีปริมาณสต๊อกอยู่ลดปริมาณการผลิตและคำสั่งซื้อลง สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.37 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ที่เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 223.98 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 113.86 เนื่องจากในช่วงเดือนธันวาคมผู้ผลิตได้ลดการผลิตลง จากการที่ผู้ซื้อให้ชะลอการส่งมอบสินค้าจากเดือนธันวาคมเป็นเดือนมกราคมหรือเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนหนึ่งเพราะความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงถึง ร้อยละ 36.75 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 43.24 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ ลวดเหล็กแรงดึงสูง ลดลง ร้อยละ 57.62 และเหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 48.24 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 37.45 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 67.54 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี มีการผลิตลดลง ร้อยละ 50.48

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มขึ้นมีดังนี้ เหล็กแผ่นรีดเย็นเพิ่มขึ้นจาก 463 เป็น 483 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.32 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 388 เป็น 403 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.87 แต่ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมีดังนี้ เหล็กแท่งแบน ลดลง จาก 375 เป็น 355 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 5.33 เหล็กเส้น ลดลง จาก 463 เป็น 439 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 5.14 เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต ลดลงจาก 383 เป็น 368 เหรียญสหรัฐต่อตันลดลง ร้อยละ 3.92

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คาดว่าในส่วนของการผลิตในกลุ่มเหล็กทรงยาวจะยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจึงทำให้ความต้องการของผู้ใช้ในธุรกิจก่อสร้างลดลง ในขณะที่เหล็กทรงแบนเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนคาดว่าการผลิตจะทรงตัวเนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมต่อเนื่องยังคงชะลอตัวอยู่

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และความต้องการรถยนต์ในตลาดส่งออกลดลง อันเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การจำหน่ายและการส่งออกรถยนต์ชะลอตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 72,456 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีการผลิต 108,129 คัน ร้อยละ 32.99 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนธันวาคม 2551 ร้อยละ 14.36
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 32,085 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 45,431 คัน ร้อยละ 29.38
และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนธันวาคม 2551 ร้อยละ 45.62
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 49,454 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีการส่งออก 58,510 คัน ร้อยละ 15.48
แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2551 ร้อยละ 14.28 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกรถกระบะ 1 ตัน ไปประเทศแถบเอเชีย
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2552 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 42 และส่งออกร้อยละ 58

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำ ให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 138,630 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีการผลิต 138,832 คัน ร้อยละ 0.15 แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2551 ร้อยละ 1.88
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 109,940 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 143,208 คัน ร้อยละ 23.23 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนธันวาคม 2551 ร้อยละ 5.25
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์ การส่งออกรถจักรยานยนต์จำนวน 11,237 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีการส่งออก 9,889 คัน ร้อยละ 13.63 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนธันวาคม 2551 ร้อยละ 35.83
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2552 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 87 และส่งออกร้อยละ 13
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงไม่ฟื้นตัว สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาได้แพร่กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ อย่างรวดเร็ว”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเดือนมกราคม 2552 เทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.62 และ 6.80 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงของฤดูกาลก่อสร้าง และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 12.09 และ 12.00 ตามลำดับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงไม่ฟื้นตัว สาเหตุหลักมาจากภาคการก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้การลงทุนในภาคเอกชนซึ่งประกอบด้วย การลงทุนในกลุ่มที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม มีแนวโน้มหดตัวในขณะเดียวกันโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ยัง ต้องใช้เวลานานกว่าจะมีการก่อสร้างจริง

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนมกราคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 10.28 และ 11.72 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย รองลงมา คือ กัมพูชาและบังคลาเทศ

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม 2552 มีแนวโน้มทรงตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีโครงการใหม่เกิดขึ้นสำหรับการส่งออกยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทยในแถบอาเซียน ก็ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจ โลกชะลอตัว ซึ่งคาดว่าจะปรากฏชัดเจนขึ้นในปี 2552

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมกราคม 2552 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 15.61 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 36.08 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 2,509.45 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยปรับตัวลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์
  • มีผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากประเทศอิหร่านจากเดิมที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ในเดือนมกราคม 2552 นี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 และมีการเปิดตลาดในแถบยุโรปตะวันออก เช่น สาธารณเช็ค สโลวัก เป็นต้น
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ม.ค. 2552
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์          มูลค่า             %MoM             %YoY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                 926.02           -11.86           -39.09
IC                             325.21           -24.26           -47.13
เครื่องปรับอากาศ                  159.29            32.53           -41.19
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                  99.25           -11.45           -23.41
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  2,509.45           -15.61           -36.08

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมกราคม 2552 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 207.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 35.31 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 12.90 เนื่องจากการผลิตเพื่อส่งออกชะลอลงในผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD และ IC

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 34.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 89.01 โดยเป็นการปรับลดลงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ เนื่องจากทั้งตลาดในและต่างประเทศชะลอลง เนื่องจากกำลังซื้อหดตัว ทำให้อุปสงค์ตลาดลดลง การผลิตเพื่อทดแทนจึงลดลงเช่นกัน สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 35.45 โดยมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 274.34 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวลดลง ร้อยละ 15.98 เนื่องจากเร่งกำลังการผลิตในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับตลาดส่งออกหลักหดตัว ทำให้มีสินค้าคงคลังมาก และมีการระบายสินค้าออกในช่วงนี้โดยไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ๆเข้ามา

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมกราคม 2552 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 15.61 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 36.08 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 2,509.45 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนมกราคม 2552 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 9.84 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 27.29 ซึ่งปรับตัวลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ยกเว้นส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากคำสั่งซื้อจากประเทศอิหร่านจากเดิมที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ในเดือนมกราคม 2552 นี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และมีการเปิดตลาดในแถบยุโรปตะวันออก เช่น สาธารณเช็ค สโลวัก เป็นต้น สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมกราคม 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 40.87 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 19.09 โดยผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รองลงมาคือวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกคือ 926.02 และ 325.21 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังคงมีการหดตัวอย่างต่อเนื่องโดยประมาณการว่าจะปรับลดลง ร้อยละ 25.35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์สำคัญของอุตสาหกรรม เช่น เครื่องปรับอากาศ (-35.16%)ตู้เย็น (-13.12%) และเครื่องรับโทรทัศน์ (-30.57%) ปรับลดลงทุกผลิตภัณฑ์ ถึงแม้ได้ทำการเปิดตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่มยอดขายได้แต่สัดส่วนยังคงมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังมีสินค้าคงคลังในช่วงที่ผ่านมาเหลืออยู่จำนวนมาก สำ หรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเช่นกัน ต่อเนื่องจากเดือนพ.ย.-ธ.ค.51 ที่ผ่านมา จากความต้องการที่ลดลงของตลาดส่งออกหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาสิงคโปร์ เป็นต้น โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 27.60 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนมกราคม 2552 มีค่า 139.0 หดตัวจากเดือนธันวาคม 2551 (149.0) ร้อยละ -6.7 และหดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (186.8) ร้อยละ -25.6
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวมากเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เบียร์ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลน้ำมันเตา
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เบียร์ โทรทัศน์สี เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมกราคม 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.7 จากเดือนธันวาคม 2551 (ร้อยละ 53.0) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (ร้อยละ 68.2)
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนธันวาคม 2551 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ด้ายฝ้ายบริสุทธิ์ ใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ โทรทัศน์สี เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ด้ายฝ้ายบริสุทธิ์ โพลีเอสเตอร์บริสุทธิ์ ใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ โทรทัศน์สี เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กลวด เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2552

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 267 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนธันวาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 205 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 30.24 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 6,642.91 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 7,707.84 ล้านบาท ร้อยละ -13.82 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 7,046 คน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,544 คน ร้อยละ -6.60
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 314 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -14.97 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 7,507.3 ล้านบาท ร้อยละ -11.51 และมี
การจ้างงานรวมลดลงจากเดือนมกราคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,749 คน ร้อยละ -19.47
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2552 คือ อุตสาหกรรมทำมันเส้น จำนวน 42 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดตักดิน 16 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2552 คืออุตสาหกรรม ผลิตปุ๋ยเคมี เงินทุน 803.72 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตแป้งมันสำปะหลัง เงินลงทุน 764.31 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2552 คืออุตสาหกรรม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 2,249 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรม ทำผลิตภัณฑ์ยาง ยางท่อน้ำ ยางสายน้ำมัน จำนวนคนงาน 455 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 127 ราย น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 144 ราย คิดเป็นร้อยละ -11.81 การเลิกจ้างงานมีจำนวน 6,866 คน น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2551 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 8,545 คน แต่ในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการมีจำนวน 2,823.18 ล้านบาท มากกว่าเดือนธันวาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,796.61 ล้านบาท
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมกราคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 175 ราย คิดเป็นร้อยละ -27.43 แต่มีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมกราคม 2551 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,000 คน และมีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมกราคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,518.05 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2552 คืออุตสาหกรรมการซ่อมรถยนต์ จำนวน 9 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอกกรวด ทรายหรือดิน จำนวน 8 ราย
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2552 คืออุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์ เงินทุน 814 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตของเล่นเกมและของเล่น เงินทุน 461 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2552 คือ อุตสาหกรรมการผลิตของเล่นเกมและของเล่น คนงาน 2,730 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 1,916 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 48 โครงการ น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2551 ที่มีจำนวน 119 โครงการ ร้อยละ -59.66 และมีเงินลงทุน 2,800 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2551 ที่มีเงินลงทุน 87,500 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -96.81
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนมกราคม 2551 ที่มีจำนวน 123 โครงการ ร้อยละ -60.96 และมีเงินลงทุนน้อย กว่าเดือนมกราคม 2551 ที่มีเงินลงทุน 35,500 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -92.11
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือน มกราคม 2552
              การร่วมทุน           จำนวน(โครงการ)    มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย  100%           14              1,600
          2.โครงการต่างชาติ 100%           16                600
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     18                600
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม 2552 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 1,500 ล้านบาทรองลงมา คือ หมวดอุตสาหกรรมเบา มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 400 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ