รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 18, 2009 15:50 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกุมภาพันธ์ 2552

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนกุมภาพันธ์ 2552 กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2552 หลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 ถึงเดือนมกราคม 2552 อย่างไรก็ตามดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 นับจากเดือนตุลาคม 2551 เป็นต้นมา คือ หดตัวร้อยละ -23.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2551 โดยดัชนีผลผลิตมีการหดตัวในเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักที่มีการส่งออกมาก ได้แก่ การผลิต Hard Disk Drive อุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ — 19.5 , ร้อยละ -50.6 และร้อยละ -40.5 ตามลำดับ จึงทำให้ดัชนีผลผลิตรวมหดตัวมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนดังกล่าว
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีระดับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 50.0 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำหากพิจารณาเป็นรายสาขาอุตสาหกรรมจะพบว่า อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 50

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนมีนาคม 2552

  • อุตสาหกรรมอาหาร

การผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวม เดือนมีนาคม จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากต้องเร่งการผลิตเพื่อสำรองไว้แทนช่วงเดือนเมษายนที่เป็นเทศกาลวันหยุดยาว ส่วนการส่งออก คาดว่า จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ทำให้ราคาสินค้าเปรียบเทียบถูกลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศอาจปรับตัวดีขึ้นจากข่าวการแจกเช็คแก่ประชาชน กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในช่วง 1-2 เดือนนี้สูงขึ้น

  • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

แนวโน้มการผลิตในภาพรวมในระยะ 2-3 เดือนถัดไปของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกสิ่งทอที่เป็นผ้าผืนอาจจะติดลบ เนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่มีคำสั่งซื้อลดลง แต่คาดว่า จะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาในไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

  • อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเดือนมีนาคม ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 25.85 จากการปรับตัวลดลงของเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ เป็นหลัก ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงเช่นกัน ประมาณร้อยละ 22.82 จากการปรับตัวลดลงของ HDD ที่ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 29.00 ซึ่งในตลาดโลกยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน แต่ผู้ประกอบการบางรายมียอดคำสั่งซื้อเข้าแล้วแต่มีปริมาณไม่มากนัก

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ม.ค. 52 = 139.13

ก.พ. 52 = 139.97

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • อิเล็กทรอนิกส์
  • เบียร์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ม.ค. 52 = 51.7

ก.พ. 52 = 50.0

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • น้ำมันปิโตรเลียม
  • เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารเดือนมีนาคม คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อสำรองไว้ก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ แนวโน้มมูลค่าการส่งออกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่วนการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากข่าวการแจกเช็คช่วยชาติ กระตุ้นประชาชนเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในช่วง 1-2 เดือนนี้

1. การผลิต

ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกุมภาพันธ์ ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.3 แต่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.3 แบ่งเป็น

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋องและปลาทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 21.1 และ 8.6 เนื่องจากกำลังซื้อของประเทศผู้นำเข้าลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนการผลิตปรับตัวดีขึ้น ร้อยละ 19.3 และ 5.6 ตามลำดับ ส่วนการผลิตกุ้งของไทยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 39.2 และ 13.4 เป็นผลจากระดับ ราคากุ้งที่ปรับลดลงเป็นอย่างมาก จึงมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

กลุ่มสินค้าสำ คัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำ มันปาล์ม มีปริมาณการกลั่นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 9.3 และ 9.8 ส่วนน้ำมันถั่วเหลืองมีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 16.5 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 23.4 จากการผลิตชดเชยสต็อกที่ ปรับลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 9.8 และ 10.9 จากภาวะการคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยของโลก ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 2.9 เนื่องจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 10.0 เป็นผลจากการส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งและน้ำตาลได้เพิ่มขึ้น

3. แนวโน้ม

คาดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวม เดือนมีนาคม จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากต้องเร่งการผลิตเพื่อสำรองไว้ แทนช่วงเดือนเมษายนที่เป็นเทศกาลวันหยุดยาว ส่วนการส่งออก คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ทำให้ ราคาสินค้าเปรียบเทียบถูกลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ อาจปรับตัวดีขึ้นจากข่าวการแจกเช็คแก่ประชาชน กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ในช่วง 1-2 เดือนนี้สูงขึ้น

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

...แนวโน้มการผลิตในระยะ 2-3 เดือนถัดไปของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง...

1. การผลิต

ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-26.8%) และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-17.0%)แต่ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น (+7.3%) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอปรับตัวลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ (-19.7%), ผ้าทอ (-21.2%) ผ้าขนหนูและเครื่องนอน(-11.4%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-38.9%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ (-19.4%) สาเหตุหลักที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอปรับตัวลดลง เนื่องจากลูกค้าต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตปลายน้ำลดการสั่งซื้อลงรวมทั้งผู้ผลิตในประเทศที่ผลิตเพื่อการส่งออกได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ทำให้ความต้องการลดลง

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ส่วนใหญ่ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อน แม้ว่าผู้บริโภคจะประหยัดรายจ่ายแต่สินค้าแฟชั่นในกลุ่มสตรียังมีความต้องการเพิ่มขึ้น

การส่งออก เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.0 ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-14.6%) เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ(-5.4%) แต่ผลิตภัณฑ์ต้นน้ำและกลางน้ำที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ด้ายฝ้าย +24.0%) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (+1.6%) เคหะสิ่งทอ (+10.3%)และเส้นใยประดิษฐ์ (+6.7) เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 16.3 ซึ่งปรับลดลงในทุกตลาดส่งออกหลักทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยกเว้นเพียงตลาดอาเซียน ที่ส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

3. แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตในภาพรวมในระยะ 2-3 เดือนถัดไปของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมถึง การส่งออกสิ่งทอที่เป็นผ้าผืนอาจจะติดลบ เนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่มีคำสั่งซื้อลดลง แต่คาดว่า จะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาในไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ปริมาณการผลิตเหล็กโลกในเดือนกุมภาพันธ์มีประมาณ 83.3 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยประเทศจีนเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่รายเดียวเท่านั้นที่มีการขยายตัวของการผลิตสำหรับประเทศอื่นๆ มีการผลิตที่ลดลงในระดับเลขสองหลัก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก กลับมีการผลิตเหล็กที่ลดลงถึงร้อยละ 44

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 7.80 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 88.57 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.07 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กลวด ร้อยละ 29.99 รองลงมาคือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.93 ซึ่งเป็นผลมาจากคำสั่งซื้อพิเศษของลูกค้าบางรายที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ แต่ในส่วนการผลิตของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่เหลือกลับลดลงเช่น เหล็กเส้นกลม ลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 28.93 และ 19.44 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ในกลุ่มธุรกิจก่อสร้างลดลง จึงมีผลให้ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ซึ่งยังคงมีปริมาณสต๊อกอยู่ลดปริมาณการผลิตและคำสั่งซื้อลง อย่างไรก็ตาม ได้มีการคาดการณ์ว่าสต๊อกเก่าจะหมดลงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ซึ่งมีผลทำให้ในช่วงนี้จนถึงปลายไตรมาสที่ 2 ผู้ผลิตในกลุ่มนี้ยังคงชะลอการผลิตอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 9.09 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ที่ลดลงถึง ร้อยละ 37.10 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 10.12 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญ ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า มีการผลิตที่ชะลอตัวลง จึงทำให้ความต้องการใช้ของเหล็กในกลุ่มทรงแบนลดลง ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงถึง ร้อยละ 31.58 โดยเหล็กทรงยาว มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 40.24 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 50.11 และลวดเหล็กแรงดึงสูงร้อยละ 46.74 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 27.53 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น มีการผลิตที่ลดลงร้อยละ 69.89 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี มีการผลิตลดลง ร้อยละ 50.86

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมีนาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กทุกตัวมีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ดังนี้ เหล็กแท่งเหล็กบิลเล็ต ลดลงจาก 368 เป็น 304 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 17.35 เหล็กแท่งแบน ลดลง จาก 355 เป็น 320 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 9.86 เหล็กเส้น ลดลง จาก 439 เป็น 398 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 9.40 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง จาก 403 เป็น 390 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 3.11 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง จาก 483 เป็น 470 เหรียญสหรัฐต่อตันลดลง ร้อยละ 2.59

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนมีนาคม 2552 คาดว่าในส่วนของการผลิตในกลุ่มเหล็กทรงยาวจะยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจึงทำ ให้ความต้องการของผู้ใช้ในธุรกิจก่อสร้างลดลงประกอบกับผู้ผลิตยังคงสต๊อกเก่าอยู่ ในขณะที่เหล็กทรงแบนเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนคาดว่าการผลิตจะทรงตัวเนื่องจากสถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังคงชะลอตัวอยู่

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ตลอดจนความเข้มงวดของสถาบันการเงินต่างๆ ต่อการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดรถยนต์ โดยมีข้อมูลสภาวะ อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 61,067 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีการผลิต 123,551 คัน ร้อยละ 50.57 และมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมกราคม 2552 ร้อยละ 15.72
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 34,361 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 49,248 คัน ร้อยละ 30.23 และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2552 ร้อยละ 7.09
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 44,609 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีการส่งออก 66,076 คัน ร้อยละ 32.49 แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนมกราคม 2552 ร้อยละ 9.80
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2552 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2552 เนื่องจากมีการจัดงานมอเตอร์โชว์ 2552 ซึ่งคาดหมายว่าผู้ประกอบการจะมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดพร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายรถยนต์ สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 49 และส่งออกร้อยละ 51
รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 120,272 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีการผลิต 138,909 คัน ร้อยละ 13.42 และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมกราคม 2552 ร้อยละ 13.24
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 119,477 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 140,217 คันร้อยละ 14.79 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2552 ร้อยละ 8.67
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์ จำนวน 14,096 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีการส่งออก 14,383 คัน ร้อยละ 2.00 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2552 ร้อยละ 25.44
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2552 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เนื่องจากมีการจัดงานมอเตอร์โชว์ 2552 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ

89 และส่งออกร้อยละ 11

5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงไม่ฟื้นตัว สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาได้แพร่กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ อย่างรวดเร็ว”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ1.86 และ 5.45 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงของฤดูกาลก่อสร้าง และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงร้อยละ16.72 และ 7.57ตามลำดับ

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงไม่ฟื้นตัว สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการลงทุนของภาคเอกชน ในขณะ เดียวกันโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ยังต้องใช้เวลานานกว่าจะมีการก่อสร้างจริง

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 14.52 และ 20.28 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ บังคลาเทศ กัมพูชา พม่า และเวียดนาม

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2552 มีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ต่อเนื่องมาจากปีก่อน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ยังไม่มีโครงการใหม่เกิดขึ้น สำหรับการส่งออกยังมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทยในแถบอาเซียน ก็ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งคาดว่าจะปรากฏชัดเจนขึ้นในปี 2552

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไฟฟ้าเดือนมีนาคม 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลง 25.85% จากการปรับตัวลดลงของ

เครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ เป็นหลักส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงเช่นกัน ประมาณ 22.82%

จากการปรับตัวลดลงของ HDD ที่ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลง ประมาณ 29.00% ซึ่งในตลาดโลกยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนแต่ผู้ประกอบการบางรายมียอดคำสั่งซื้อเข้าแล้วแต่มีปริมาณไม่มากนัก

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ก.พ. 2552
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์           มูลค่า            %MoM             %YoY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                 998.25            7.80           -30.00
IC                             363.15           11.66           -28.36
เครื่องปรับอากาศ                  162.67            2.12           -45.96
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                  89.49           -9.83           -36.58
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  3,772.89            4.02           -30.81

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 236.37 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.04 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 25.89 จากการปรับลดลงทุกผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 42.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.96 โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 79.26 ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ยอดการผลิตส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 22.81โดยมีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 325.49 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.64

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ -30.81 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 4.02 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,772.89 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการส่งออก เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัยโรงงาน มีมูลค่าการส่งออก 162.67 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดคือ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่า 998.25 ล้านเหรียญสหรัฐ

3. แนวโน้ม

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเดือนมีนาคม 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 25.85 จากการปรับตัวลดลงของเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ เป็นหลัก ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงเช่นกันประมาณร้อยละ 22.82 จากการปรับตัวลดลงของ HDD ที่ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลง ประมาณร้อยละ 29.00 ซึ่งในตลาดโลกยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน แต่ผู้ประกอบการบางรายมียอดคำสั่งซื้อเข้าแล้วแต่มีปริมาณไม่มากนัก

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีค่า 139.97 ขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนมกราคม 2552 (139.13) ร้อยละ 0.6 แต่หดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (181.96) ร้อยละ -23.1
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2551 ได้แก่ Hard Disk Drive อิเล็กทรอนิกส์ เบียร์ กุ้งแช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็ง เนื้อปลาบด
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ผ้าทอ เครื่องปรับอากาศ
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 50.0 จากเดือนมกราคม 2551 (ร้อยละ 51.7) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (ร้อยละ 66.0)
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนมกราคม 2551 ได้แก่ ยานยนต์ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเตา เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เม็ดพลาสติกเป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive โทรทัศน์สี ด้ายฝ้ายบริสุทธิ์ โพลีเอสเตอร์ ใยสังเคราะห์เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กลวด เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่นรีดเย็น เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2552

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2552 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 223 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมกราคม 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 267 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -16.48 การจ้างงานรวมมีจำนวน 5,870 คน ลดลงจากเดือนมกราคม 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,046 คน ร้อยละ -16.69 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,262.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2552 ซึ่งมีการลงทุน 6,642.91 ล้านบาท ร้อยละ 9.33
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 353 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -36.83 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีการลงทุน 8,894.07 ล้านบาท ร้อยละ-18.34 และมีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,286 คน ร้อยละ -29.16
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คือ อุตสาหกรรมขุดตักดิน 16 โรงงาน และอุตสาหกรรมทำมันเส้น จำนวน 16 โรงงานเท่ากัน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คืออุตสาหกรรมผลิตสุรากลั่น สุราผสม สุราปรุงพิเศษ เงินทุน 1,500 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทุกชนิด เงินลงทุน 1,167 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คืออุตสาหกรรมผลิตถุงพลาสติก จำนวนคนงาน 688 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทุกชนิด จำนวนคนงาน 585 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2552 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 107 ราย น้อยกว่าเดือนมกราคม 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 127 ราย คิดเป็นร้อยละ -15.75 มีเงินทุนของการเลิกกิจการจำนวน 2,682.56 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมกราคม 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,823.18 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,262 คน น้อยกว่าเดือนมกราคม 2552 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 6,866 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 98 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.18 แต่มีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,898 คน และมีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 11,619.67 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คืออุตสาหกรรมการซ่อมรถยนต์ จำนวน 9 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้านกัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 8 ราย
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คืออุตสาหกรรมทำสบู่ วัสดุสังเคราะห์สำหรับซักฟอก แชมพู ผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวดเงินทุน 1,533 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตแก้ว เส้นใยแก้ว ผลิตภัณฑ์แก้วเงินทุน 718 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คือ อุตสาหกรรมทำสบู่ วัสดุสังเคราะห์สำหรับซักฟอก แชมพู ผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวด คนงาน 460 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 413 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2552 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 53 โครงการ มากกว่าเดือนมกราคม 2552 ที่มีจำนวน 48 โครงการร้อยละ 10.41 แต่มีเงินลงทุน 2,700 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมกราคม 2552 ที่มีเงินลงทุน 2,800 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -3.57
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่มีจำนวน 50 โครงการ ร้อยละ 6.0 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่มีเงินลงทุน 2,600 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 3.85
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2552
การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)        มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย  100%              28                     2,300
2.โครงการต่างชาติ  100%             46                     2,200
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ        27                     1,100
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 2,200 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 1,000 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ