สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่1 (มกราคม—มีนาคม) พ.ศ.2552(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 9, 2009 15:44 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากร สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน - ญี่ปุ่น (ฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามในความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วน เศรษฐกิจอาเซียน - ญี่ปุ่น (Agreement on Comprehensive Economic Partnership among Member States of the Association of Southeast Asian Nations and Japan : AJCEP) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 และรัฐสภาได้มีการประชุมร่วมกัน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 มีมติเห็นชอบให้รัฐบาลแสดงเจตนาให้ความตกลง AJCEP มีผลผูกพันกับประเทศไทยได้ โดยในส่วนของการยกเลิกหรือลดอากรศุลกากร กำหนด ให้เริ่มลดอัตราที่กำหนดไว้ของปีที่ 2 ของความตกลงฯ โดยสาระสำคัญของร่างประกาศ ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)

ให้ยกเว้นอากรและลดอัตราอากรสำหรับของในภาค 2 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช กำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเลิก เพิ่ม และแก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราอากรขาเข้า ในภาค 2 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น ดังนี้

1.กำหนดให้ของตามบัญชีอัตราอากร 1 และบัญชีอัตราอากร 2 ที่มีราคา เอฟ.โอ.บี. เกินสองร้อยดอลลาร์สหรัฐสมาคมสหประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และของที่มีราคาศุลกากรรวม (ซี.ไอ.เอฟ.) เกินสองแสนเยน จากญี่ปุ่น ให้ผู้นำของเข้าต้องแสดงหนังสือรับรองถิ่น กำเนิดสินค้า (Form AJ) ที่ออกตามความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมความตกลงต่าง ๆ ระหว่างสมาคมสหประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น

2.กำหนดให้ของตามประเภทย่อยในข้อ (1) ที่นำเข้ามาโดยผู้ผลิตรถยนต์หรือยานยนต์เพื่อใช้ในการประกอบเป็นรถยนต์หรือยานยนต์ตาม ประเภท 87.02 ถึงประเภท 87.05 หรือที่นำเข้ามาโดยผู้ผลิตส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของรถยนต์หรือยานยนต์เพื่อใช้ในการประกอบเป็นส่วน ประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของรถยนต์หรือยานยนต์ตามประเภท 87.02 ถึงประเภท 87.05 เพื่อส่งให้ผู้ผลิตรถยนต์หรือยานยนต์ดังกล่าว ต้องแสดง หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมความตกลงต่างๆ ระหว่างสมาชิกสมาคมสห ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น ที่ออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

3.กำหนดให้ของตามบัญชีอัตราอากร 3 ที่มีราคา เอฟ.โอ.บี. เกินสองร้อยดอลลาร์ จากสมาคมสหประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ และของที่มีราคาศุลกากรรวม (ซี.ไอ.เอฟ.) เกินสองแสนเยน จากญี่ปุ่น ให้ผู้นำของเข้าต้องแสดงหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form AJ) ที่ออกตามตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมความตกลงต่าง ๆ ระหว่างสมาชิกสมาคมสหประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้และญี่ปุ่น และต้องแสดงหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนสำหรับสินค้าที่มีกำหนดปริมาณการนำเข้า (ใน โควตา) ตามความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมความตกลงต่างๆ ระหว่างสมาคมสหประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่น ที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย

4.กำหนดให้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นจะได้รับสิทธิยกเว้นอากรและลดอัตราอากรเมื่อประเทศนั้นได้ดำเนิน ขั้นตอนภายในของตนเสร็จสิ้นและแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้รัฐบาลไทยทราบแล้ว โดยให้กรมศุลกากรประกาศรายชื่อประเทศที่ได้ดำเนินการดังกล่าว เสร็จแล้ว

งานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ “The 30th Bangkok International Motor Show” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มีนาคม -6 เมษายน 2552 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายใต้คอนเซ็ปต์งาน “ยานยนต์ คน รักษ์ธรรมชาติ” (Green Life on Wheels) เพื่อตอบสนองนโยบายพลังงานทดแทน รวมทั้งช่วยกันลดปัญหาโลกร้อนจากมลพิษที่รถยนต์ปล่อยออกมาในอากาศ พร้อมกันนี้ยังช่วยผลักดันให้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการพัฒนาทัดเทียมเท่ากับต่างประเทศ ซึ่งภายในงานมีการแนะนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และมีการจัด กิจกรรมส่งเสริมการขายจากหลากหลายยี่ห้อ ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 16,934 คัน (ที่มา : www.manager.co.th)

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ครั้งที่ 6/2552 ซึ่งมีมติรับทราบข้อเสนอของภาค อุตสาหกรรมเรื่องมาตรการเพื่อแก้ไขผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์อันเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยรัฐบาลจะนำข้อเสนอ มาตรการระยะกลางและระยะยาวของภาคเอกชน ไปพิจารณาประกอบการปรับปรุงนโยบาย และมาตรการของภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป พร้อม ทั้งมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาปัญหาให้กับผู้ประกอบการยานยนต์ ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)

1.เรื่องแรงงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้คณะกรรมการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทาง เศรษฐกิจและสังคมในชุมชน ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ) เป็นประธานรับไปพิจารณา

2.เรื่องสินเชื่อ เห็นควรให้ภาคเอกชนและกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันจัดทำข้อมูลการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์ของประชาชน เพื่อหา ข้อสรุปอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐสำรวจสภาพรถยนต์ที่ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเป็นการช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ในระยะสั้น

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการบังคับของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น พร้อมมอบหมายให้มีการ ดำเนินการต่อไปนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)

1.มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบบริหารการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศภาคีภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอา เซียน-ญี่ปุ่น เพื่อนำมาประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อประกอบรถยนต์ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงการคลังออกประกาศให้สอดคล้องกัน

2.มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือทางการทูตแจ้งต่อประเทศภาคี และสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อแสดงเจตนาให้ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย โดยที่ความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับต่อประเทศไทยในวันที่หนึ่งของเดือนที่สองหลัง จากรัฐบาลไทยมีหนังสือทางการทูตแจ้งต่อประเทศภาคี

3.มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานการดำเนินการให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ เพื่อให้การดำเนินการ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง ทางบก พ.ศ. 2522 (ปรับปรุงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ขนาด และข้อกำหนดทางเทคนิคของรถ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงมีดังนี้

1. กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 1 มาตรฐาน 2 มาตรฐาน 3 มาตรฐาน 4 มาตรฐาน 6 มาตรฐาน 7 และรถ ขนาดเล็ก จะต้องมีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ดังนี้ (1) คัสซี (2) ตัวถัง และ (3) โคมไฟ

2. กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 5 จะต้องมีเครื่องและส่วนควบอุปกรณ์ดังนี้ (1) คัสซี (2) ตัวถัง และ (3) โคมไฟ

3. กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็กให้มีมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนี้ (1) ความกว้าง (2) ความสูง (3) ความยาว (4) ส่วนยื่นหน้า และ (5) ส่วนยื่นท้าย

4. กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ 1 ลักษณะ 2 ลักษณะ 3 ลักษณะ 4 ลักษณะ 5 และลักษณะ 9 จะต้องมีเครื่อง อุปกรณ์และส่วนควบ ดังนี้ (1) คัสซี (2) ตัวถัง และ (3) โคมไฟ

5. กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ 6 ลักษณะ 7 และลักษณะ 8 จะต้องมีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ ดังนี้ (1) คัสซี (2) ตัวถัง และ (3) โคมไฟ

6. กำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของให้มีขนาดมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ ดังนี้ (1) ความกว้าง (2) ความสูง (3) ความยาว (4) ส่วนยื่นหน้า และ (5) ส่วนยื่นท้าย

7. กำหนดบทเฉพาะกาล ให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก รวมทั้งรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ที่ได้ติดตั้ง เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และมีขนาดตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2524) และได้จดทะเบียนก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ได้รับยกเว้นไม่ ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่อาจขอเปลี่ยนแปลงเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และขนาดของรถให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ได้

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตาม มาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์) ตามที่ กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญของร่างประกาศ ดังนี้ (ที่มา : www.thaigov.go.th)

1. ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด

1.1 ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดประเภทถังคอมโพสิทไฟเบอร์ ตามประเภทย่อย 3923.90.00 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตรา ศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า และสำหรับในกรณีที่นำเข้ามาเพื่อผลิตเป็นยานบกตามตอนที่ 87 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 เนื่องจากถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดประเภทดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่มีผู้ ผลิตในประเทศ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป สำหรับการนำเข้ามาในทั้ง 2 กรณี เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 10

1.2 ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดประเภทถังเหล็ก และถังอลูมิเนียมตามประเภทย่อย 7311.00.11 7311.00.19 7311.00.91 7311.00.99 และ 7613.00.00 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากร ศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า และในกรณีที่นำเข้ามาเพื่อผลิตเป็นยานบก ตามตอนที่ 87 ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป สำหรับการนำเข้าในทั้ง 2 กรณี เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดทั้ง 5 ประเภทย่อยดังกล่าวไว้เท่ากับร้อย ละ 10

2. ชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์

ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินโดยอัตโนมัติ (ไบ-ฟูแอล คอนเวอร์ชัน คิท) และชุดอุปกรณ์ควบคุมการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยอัตโนมัติ (ดีเซล ดูเอล ฟูแอล คอนเวอร์ชัน คิท) ตาม ประเภทย่อย 9032.89.39 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราช กำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า และสำหรับในกรณีที่นำเข้ามาเพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานบกตามตอนที่ 87 ซึ่ง จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้น ไป สำหรับการนำเข้าในทั้ง 2 กรณีเห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 10

3. แชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง

3.1 ขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งที่นำเข้ามาในลักษณะของสำเร็จรูป สำหรับยานยนต์ที่มีน้ำหนักรถ รวมน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป ชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงระบบเดียวตามประเภทย่อย 8706.00.20 ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการ คลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขา เข้า ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป เห็นควรกำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 30

3.2 ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบไม่ว่าจะเป็นของตามพิกัดประเภทใด แต่ไม่รวมถึงหม้อน้ำ ชุดหม้อพักเก็บเสียง และท่อไอเสีย แบตเตอรี่ แหนบตับหน้าและหลัง ยางนอกและยางใน กระจกนิรภัย ดรัมเบรกหน้าและหลัง มอเตอร์สตาร์ต ตัวยึดชุดท่อไอเสีย ตัวยึดแบตเตอรี่ ฝาครอบแบตเตอรี่ ชุดสายแบตเตอรี่ ชุดสายไฟ สีรถยนต์ กระจกมองหลังภายในรถ และแผงบังแดดที่นำเข้ามาเพื่อประกอบหรือผลิต เป็นแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งตามประเภท 87.06 สำหรับรถยนต์ชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงระบบเดียว ดังนี้

3.2.1 รถแทรกเตอร์เดินบนถนนสำหรับลากรถกึ่งรถพ่วงตามประเภทย่อย 8701.20 ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวัน ที่ 31 ธันวาคม 2554 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป กำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 10

3.2.2 ยานยนต์สำหรับขนส่งตามประเภท 87.04 (เว้นแต่รถบรรทุกชนิดแวน ชนิดปิกอัพ และรถที่มีลักษณะคล้ายกับรถดังกล่าว) ยกเว้น อากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป กำหนดอัตราอากร ขาข้าไว้เท่ากับร้อยละ 10

3.2.3 ยานยนต์ที่ใช้งานพิเศษตามประเภท 87.05 ยกเว้นอากรขาเข้าเป็นระยะเวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และสำหรับ การนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป กำหนดอัตราอากรขาเข้าไว้เท่ากับร้อยละ 20

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีโครงการลงทุนที่ได้รับ อนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 20 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 3,609.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 20.73 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1,226 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้าน บาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการผลิต Suction Control Value ของบริษัท สยาม เคียวซัน เด็น โซ่ จำกัด เงินลงทุน 618.50 ล้าน บาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 112 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 198,972 คัน ลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 365,623 คัน ร้อยละ 45.58 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 55,380 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 140,108 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 3,484 คัน ลดลงร้อยละ 45.66, 45.82 และ 31.75ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมด แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 132,731 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.71 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ซึ่งจากจำนวนรถยนต์ที่ผลิตเพื่อ การส่งออก 132,731 คัน คิดเป็นรถยนต์นั่งร้อยละ 22.60 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) ร้อยละ 77.40 หากพิจารณาในไตรมาสแรก ของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 38.83 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถ ยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 40.59, 38.66 และ 5.33 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2552(ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 107,774 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 160,786 คัน ร้อยละ 32.97 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการ จำหน่ายรถยนต์นั่ง 43,969 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 49,606 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 7,016 คัน รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 7,183 คัน ลดลงร้อยละ 16.17, 43.02, 34.42 และ 32.06 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 30.02 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) ลดลงร้อยละ 27.24, 33.28, 25.35 และ 26.98 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 138,805 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 197,558 คัน ร้อยละ 29.74 ถ้าหากคิดเป็นมูลค่า การส่งออกมีมูลค่า 63,381.10 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 88,898.74 ล้านบาท ร้อยละ 28.70 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 21.46 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่ง ออกลดลงร้อยละ 17.57

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2552 มีมูลค่า 30,574.97 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 24.86 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถ ยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และโอมาน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.66, 17.01 และ 8.74 ตามลำดับ โดยการส่งออก รถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 55.99 แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปซาอุดีอาระเบีย และโอมาน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 141.80 และ 109.12 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทย (รวบรวมข้อมูลจากมูลค่าการส่งออกรถแวน และรถปิกอัพที่มีน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 มีมูลค่า 21,597.05 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 40.32 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออก สำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย มาเลเซีย และซาอุดีอาระเบีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.33, 6.58 และ 6.55 ตาม ลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลียและซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 38.39 และ 26.98 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถ แวนและปิกอัพไปมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 180.55 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 มีมูลค่า 7,447.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 11.18 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และจอร์แดน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.06, 17.57 และ 15.20 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถ บรรทุกไปออสเตรเลีย และซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 23.09 และ 12.27 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปจอร์แดน มีมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 25,365.88

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถ โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 3,459.98 และ 2,687.15 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้า รถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 31.55 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบ เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 31.77 และ 26.46 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถ ยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และแอฟริกาใต้ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.63, 21.09 และ 20.33 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 15.21 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.20 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์ โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 47.35, 14.25 และ 8.56 ตามลำดับ โดย การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 45.91 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 19,097.74 และ 26.17 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่มีการ ชะลอตัว สำหรับตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการชะลอตัวเช่นกัน อันเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ซึ่ง สอดคล้องกับการอุปโภคบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัว และความเข้มงวดของสถาบันการเงินต่างๆ ต่อการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ ในขณะที่ตลาดส่งออกก็ชะลอตัวเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย เอเชีย อย่างไรก็ดี การ ส่งออกรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ไปตลาดแถบตะวันออกกลาง ยังมีการขยายตัว จึงเป็นตลาดที่ผู้ส่งออกให้ความสำคัญ และพยายามเข้าไปเปิด ตลาดให้มากขึ้น สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สอง ปี 2552 คาดว่าการผลิตจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถ ยนต์ในไตรมาสที่สอง ประมาณ 2.08 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 47 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อย ละ 53

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 385,086 คัน ลด ลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 436,342 คัน ร้อยละ 11.75 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์รถ จักรยานยนต์แบบครอบครัว 339,617 คัน ลดลงร้อยละ 14.30 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 45,469 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.56 หาก พิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 20.86 โดยมีการผลิตรถ จักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 22.26 และ 8.49 ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2552 มีจำนวน 356,292 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 428,222 คัน ร้อยละ 16.80 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 177,837 คัน ลดลงร้อยละ 16.96 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 162,761 คัน ลดลงร้อยละ 16.59 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ แบบสปอร์ต 15,694 คัน ลดลงร้อยละ 16.99 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถ จักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 6.17 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 6.92 และ 5.93 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.35

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2552 จำนวน 120,017 คัน (เป็น การส่งออก CBU จำนวน 42,700 คัน และ CKD จำนวน 77,317 ชุด) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถ จักรยานยนต์ 407,974 คัน ร้อยละ 70.58 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 5,625.10 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 6,710.05 ล้านบาท ร้อยละ 16.17 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เทียบกับไตร มาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 39.57 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 23.17

การนำเข้า การนำเข้าจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 85.60 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 139.77 ล้านบาท ร้อยละ 38.76 หาก พิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 22.76 แหล่งนำเข้ารถ จักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 28.32, 27.46 และ 17.79 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 36.62 และ 11.53 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถ จักรยานยนต์จากเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.34

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากตลาดรถ จักรยานยนต์ในประเทศที่ชะลอตัว ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ถอดถอย ทำให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภาคการเกษตร ซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์มีผลผลิต และราคาพืชผลทางการเกษตรมีแนวโน้มตกต่ำ ทำให้รายได้ของเกษตรกรลด ต่ำลง นอกจากนี้ความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินในส่วนของตลาดรถจักรยานยนต์ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับรถยนต์ ซึ่งขณะ นี้ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศกำลังประสบปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ จึงเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาดรถจักรยานยนต์ชะลอตัว สำหรับตลาดส่งออกมีการส่งออกรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจโลกที่อยู่ใน ช่วงชะลอตัว สำหรับรถจักรยานยนต์ในไตรมาสสอง ปี 2552 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องมาจากปัจจัยลบทาง ด้านเศรษฐกิจ อย่าไรก็ดี มีปัจจัยบวกจากมาตรการของภาครัฐในการเพิ่มรายได้เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน และมาตรการด้านอื่นๆ เช่น มาตรการด้านการเกษตร มาตรการด้านอุตสาหกรรม ซึ่งน่าจะส่งผลให้เครื่องชี้การบริโภค และรายได้ของประชาชนปรับตัวดีขึ้น ถือเป็นการเพิ่มอำนาจ ซื้อ ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดรถจักรยานยนต์ด้วย จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่า จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ CBU ในไตรมาสที่สอง ประมาณ 3.80 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 92 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 8

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 (ม.ค.- มี.ค) มีมูลค่า 18,776.39 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 40.71 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 1,818.72 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 60.43 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,955.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 27.12 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่ง ออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ลดลงร้อยละ 37.27, 47.45 และ 15.72 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 มีมูลค่า 24,129.64 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 41.55 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 13.36, 12.62 และ 9.79 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปมาเลเซีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 22.75, 54.09 และ 52.17 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 2,726.00 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 41.77 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถ จักรยานยนต์ มีมูลค่า 104.00 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 52.89 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 39.51 และ 21.51 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถ จักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 มีมูลค่า 3,776.01 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 34.57 ตลาดส่งออก ที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.08, 14.43 และ 12.64 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย และเวียดนาม ลดลงร้อยละ 4.10 และ 45.64 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วน ประกอบรถจักรยานยนต์ไปฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 20,654.53 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 37.01 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วน ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 36.34 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 59.12, 7.03 และ 6.76 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จาก ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนี ลดลงร้อยละ 38.39, 18.96 และ 3.27 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การ นำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 2,906.53 ล้านบาท เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 11.66 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2552 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 19.33 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงไตรมาส แรกของปี 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 47.54, 16.08 และ 8.41 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วน ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และไต้หวัน ลดลงร้อยละ 30.90 และ 1.34 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ จักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.99

ตารางการผลิตยานยนต์

หน่วย : คัน

           ประเภทยานยนต์                     2550         2551       2552 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์                                  1,287,346    1,394,029            198,972
รถยนต์นั่ง                                  315,444      401,474             55,380
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1)                948,388      974,775            140,108
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ                       23,514       17,780              3,484
รถจักรยานยนต์                            1,653,139    1,923,651            385,086
ครอบครัว                                1,563,788    1,765,761            339,617
สปอร์ต                                     89,351      157,890             45,469

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV

หน่วย : คัน

  ประเภทยานยนต์                        ไตรมาส 4   ไตรมาส 1   % เปลี่ยน    ไตรมาส 1  ไตรมาส 1    เปลี่ยน
                                        ปี 2551     ปี 2552      แปลง      ปี2551     ปี 2552     แปลง
รถยนต์                                  325,299    198,972     -38.8    365,623    198,972    -45.6
  รถยนต์นั่ง                               93,219     55,380     -40.6    101,912     55,380    -45.7
  รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1)            228,400    140,108     -38.7    258,606    140,108    -45.8
  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ                    3,680      3,484     -5.33      5,105      3,484    -31.8
รถจักรยานยนต์                            486,574    385,086     -20.9    436,342    385,086    -11.8
  ครอบครัว                              436,888    339,617     -22.3    396,304    339,617    -14.3
  สปอร์ต                                 49,686     45,469     -8.49     40,038     45,469    13.56

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV

ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ

หน่วย : คัน

           ประเภทยานยนต์                    2550         2551     2552 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์                                   631,251      614,078              107,774
  รถยนต์นั่ง                               170,118      225,841               43,969
  รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1)                     382,636      311,470               49,606
  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2)                 42,619       40,806                7,016
  รถยนต์ PPV  (รวม SUV)                   35,878       35,961                7,183
รถจักรยานยนต์                           1,598,876    1,703,376              356,292
  ครอบครัว                               856,028      921,340              177,837
  สกูตเตอร์                               727,869      763,683              162,761
  สปอร์ต                                  14,979       18,353               15,694

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          หมายเหตุ :        (1)  เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap

(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ

หน่วย : คัน

  ประเภทยานยนต์                       ไตรมาส 4   ไตรมาส 1  % เปลี่ยน   ไตรมาส 1  ไตรมาส 1     เปลี่ยน
                                       ปี 2551     ปี 2552     แปลง      ปี2551     ปี 2552     แปลง
รถยนต์                                 154,012    107,774      -30    160,786    107,774      -33
  รถยนต์นั่ง                              60,428     43,969    -27.2     52,448     43,969    -16.2
  รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน(1)                    74,349     49,606    -33.3     87,066     49,606      -43
  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ(2)                9,398      7,016    -25.4     10,699      7,016    -34.4
  รถยนต์ PPV ( รวม SUV)                  9,837      7,183      -27     10,573      7,183    -32.1
รถจักรยานยนต์                           379,716    356,292    -6.17    428,222    356,292    -16.8
  ครอบครัว                             191,053    177,837    -6.92    214,170    177,837      -17
  สกูตเตอร์                             173,023    162,761    -5.93    195,145    162,761    -16.6
  สปอร์ต                                15,640     15,694     0.35     18,907     15,694      -17

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          หมายเหตุ :        (1) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap

(2) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ

ตารางการส่งออกยานยนต์
               ประเภทยานยนต์                          2550          2551     2552 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ (CBU) (คัน)                                  690,100       776,241              138,805
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์                                          306,595.20    351,640.71            63,381.10
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM)                   112,341.89    132,813.75            18,776.39
เครื่องยนต์                                        10,504.23     18,029.30             1,818.72
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์                                  7,630.59     11,007.08             2,955.52
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน)                      1,789,485     1,255,212              120,017
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์                                     26,400.00     26,551.98             5,625.10
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)              14,220.13     20,081.97             2,726.00
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์                            1,033.67        644.21                  104
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  ประเภทยานยนต์                                  ไตรมาส 4     ไตรมาส 1  % เปลี่ยน     ไตรมาส 1     ไตรมาส 1    เปลี่ยน
                                                  ปี 2551       ปี 2552     แปลง        ปี2551       ปี 2552     แปลง
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์                                          76,888.49    63,381.10    -17.6    88,898.74    63,381.10    -28.7
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM)                   29,931.98    18,776.39    -37.3    31,666.27    18,776.39    -40.7
เครื่องยนต์                                        3,460.72     1,818.72    -47.5     4,595.95     1,818.72    -60.4
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์                                 3,506.97     2,955.52    -15.7     2,324.99     2,955.52    27.12
รถจักรยานยนต์(CBU&CKD) (คัน)                        198,590      120,017    -39.6      407,974      120,017    -70.6
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์                                      7321.39     5,625.10    -23.2     6,710.05     5,625.10    -16.2
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)               4506.86     2,726.00    -39.5      4681.62     2,726.00    -41.8
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์                              132.5          104    -21.5       220.78          104    -52.9

ตารางการนำเข้ายานยนต์

หน่วย: ล้านบาท

                   ประเภทยานยนต์                             2550          2551     2552 (ม.ค-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง                                                 8,578.32     15,459.58            3,459.98
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                                  14,162.56     16,385.19            2,687.15
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                                     116,100.67    132,940.13           20,654.53
รถจักรยานยนต์                                             2,266.57        438.23                85.6
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน               10,039.47     14,113.70             2906.53
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

หน่วย : ล้านบาท

ประเภทยานยนต์                       ไตรมาส 4ปี 2551     ไตรมาส 1 ปี 2552   % เปลี่ยนแปลง   ไตรมาส 1 ปี 2551   ไตรมาส 1  ปี 2552  %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง                                  5,071.02            3,459.98        -31.77          3,113.48           3,459.98       11.13
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                    3,654.07            2,687.15        -26.46          3,925.79           2,687.15      -31.55
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                       32,446.61           20,654.53        -36.34         32,791.27          20,654.53      -37.01
รถจักรยานยนต์                                110.82                85.6        -22.76            139.77               85.6      -38.76
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน  3,602.85            2,906.53        -19.33          3,290.13           2,906.53      -11.66
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ

                   ประเภทยานยนต์                           2550        2551     2552 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง                                                 246.95      462.89                98.87
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                                   407.63      491.94                77.01
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                                     3,336.78    3,994.84               589.59
รถจักรยานยนต์                                              64.88       13.13                 2.44
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน                288.15      423.28                83.02
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ

       ประเภทยานยนต์                ไตรมาส4 ปี2551    ไตรมาส1 ปี2552   %เปลี่ยนแปลง   ไตรมาส1 ปี2551    ไตรมาส1 ปี2552   %เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง                                   146.61            98.87       -32.56           93.96            98.87         5.23
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                     105.43            77.01       -26.96          118.06            77.01       -34.77
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                         938.16           589.59       -37.15          987.01           589.59       -40.27
รถจักรยานยนต์                                 3.22             2.44       -24.22            4.22             2.44       -42.18
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยา   104.09            83.02       -20.24           99.02             83.0       -16.16
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ